คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 575

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: การแบ่งรายได้, การบังคับบัญชา, และสิทธิค่าชดเชย
โจทก์เป็นช่างแต่งผมชาย ใช้สถานที่ของจำเลยเปิดบริการลูกค้า โดยจำเลยเป็นผู้จัดหาสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ และของใช้ต่าง ๆ ส่วนโจทก์มีกรรไกร ปัตตะเลี่ยน เครื่องมือใช้เช็ดหู รายได้จากการแต่งผมชายของโจทก์แบ่งกันคนละครึ่งระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยจำเลยจ่ายส่วนที่จะได้แก่โจทก์ ให้โจทก์ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน ได้มีการตกลงเรื่องระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า โจทก์ต้องตอกบัตรลงเวลาการทำงาน หากโจทก์ไม่มาทำงานหรือมาทำงานสายในวันใด โจทก์จะถูกหักค่าจ้าง โจทก์ได้รับบัตรประจำตัวพนักงานจากจำเลยเพื่อแสดงว่าเป็นพนักงานและจำเลยใช้ตรวจสอบในการอนุมัติให้เข้าออกบริเวณสถานที่ของจำเลย โจทก์ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน เห็นได้ว่าโจทก์มีเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จำเลยมีอำนาจสั่งการและบังคับบัญชาให้โจทก์ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดเวลาทำงานและตรวจสอบเวลาทำงานของโจทก์ กับมีอำนาจหักรายได้ของโจทก์ในกรณีที่โจทก์ขาดงานหรือมาทำงานสาย และเงินรายได้จากการแต่งผมที่จ่ายให้โจทก์ก็คำนวณได้ตามผลงานที่โจทก์ทำได้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์ทำงานให้แก่จำเลย เพื่อรับค่าจ้างโดยคำนวณค่าจ้างตามผลงานที่โจทก์ทำได้ โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างจากลักษณะการทำงานและการจ่ายค่าจ้างตามผลงาน เพื่อสิทธิในการรับค่าชดเชย
โจทก์เป็นช่างแต่งผมชาย ใช้สถานที่ของจำเลยเปิดบริการ ลูกค้าโดยจำเลยเป็นผู้จัดหาสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ และ ของใช้ต่าง ๆ ส่วนโจทก์มีกรรไกร ปัตตะเลี่ยน เครื่องมือใช้เช็ด หู รายได้จากการแต่งผมชายของโจทก์แบ่งกันคนละครึ่ง ระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยจำเลยจ่ายส่วนที่จะได้แก่โจทก์ ให้โจทก์ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน ได้มีการตกลง เรื่องระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า โจทก์ต้อง ตอกบัตรลงเวลาการทำงาน หากโจทก์ไม่มาทำงานหรือมาทำงานสาย ในวันใด โจทก์จะถูกหักค่าจ้าง โจทก์ได้รับบัตรประจำตัว พนักงานจากจำเลยเพื่อแสดงว่าเป็นพนักงานและจำเลยใช้ตรวจสอบ ในการอนุมัติให้เข้าออกบริเวณสถานที่ของจำเลย โจทก์ทำงาน สัปดาห์ละ 6 วัน เห็นได้ว่าโจทก์มีเวลาทำงานปกติของ วันทำงาน จำเลยมีอำนาจสั่งการและบังคับบัญชาให้โจทก์ ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดเวลา ทำงานและตรวจสอบเวลาทำงานของโจทก์ กับมีอำนาจหักรายได้ของโจทก์ในกรณีที่โจทก์ขาดงานหรือมาทำงานสาย และเงินรายได้ จากการแต่งผมที่จ่ายให้โจทก์ก็คำนวณได้ตามผลงานที่โจทก์ ทำได้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเช่นนี้ ถือได้ว่า โจทก์ทำงานให้แก่จำเลย เพื่อรับค่าจ้างโดยคำนวณค่าจ้าง ตามผลงานที่โจทก์ทำได้ โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายพนักงานข้ามแผนกไม่ถือเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง หากไม่มีข้อตกลงผูกมัดและงานอยู่ในระดับเดียวกัน
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ทั้งหก แม้ตามสำเนาใบสมัครงานของโจทก์ที่ 1โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 และโจทก์ที่ 5 จะระบุว่าโจทก์ที่ 1 สมัครทำงานในตำแหน่งพนักงานห้องซักผ้า โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 และโจทก์ที่ 5 สมัครทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ก็ตาม ก็เป็นเรื่องโจทก์แสดงความประสงค์จะทำงานในตำแหน่งดังกล่าวเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ประกาศรับสมัครพนักงานในตำแหน่งดังกล่าว เมื่อจำเลยรับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เข้าทำงานและให้ทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำสัญญาว่าจะให้โจทก์ทั้งสี่ดังกล่าวทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่อย่างเดียว เช่นเดียวกับเมื่อจำเลยรับโจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 เข้าทำงาน โดยเฉพาะโจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 นั้นเมื่อสมัครเข้าทำงานกับจำเลยก็มิได้ระบุว่าจะขอทำงานในตำแหน่งใดแผนกใด ดังนี้ การที่จำเลยจะรับโจทก์ทั้งหกเข้าทำงานและให้ทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ตลอดมา ก็ไม่เป็นการผูกมัดจำเลยว่าจะต้องให้โจทก์ทั้งหกทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ตลอดไป นอกจากนี้งานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่แผนกห้องผ้าหรือซักรีด และงานตำแหน่งพนักงานทำความสะอาด แผนกทำความสะอาด ต่างก็อยู่ในระดับเดียวกัน และเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเป็นพิเศษ พนักงานในแผนกหนึ่งย่อมสามารถสับเปลี่ยนไปทำงานในอีกแผนกหนึ่งได้ และเหตุที่จำเลยย้ายโจทก์ไปอยู่แผนกทำความสะอาดก็เพราะพนักงานรีดผ้าโดยเครื่องรีดและพับผ้าอัตโนมัติที่จำเลยติดตั้งใหม่ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากดังแต่ก่อน และเป็นเรื่องที่จำเลยจัดการบริหารงานบุคคลเพื่อลดค่าใช้จ่ายของจำเลย ส่วนค่าจ้างและผลประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ทั้งหกเมื่อย้ายไปอยู่แผนกทำความสะอาดก็มิได้ลดลงกว่าเดิม ทั้งจำเลยย้ายโจทก์ทั้งหกไปอยู่แผนกทำความสะอาดนี้มิได้เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก การที่จำเลยย้ายโจทก์ทั้งหกจากแผนกห้องผ้าหรือซักรีดไปอยู่แผนกทำความสะอาดจึงไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างของโจทก์ทั้งหก จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีอำนาจกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานพนักงานระดับเดียวกัน ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง นายจ้างมีอำนาจบริหารจัดการ
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ทั้งหกแม้ตามสำเนาใบสมัครงานของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3และโจทก์ที่ 5 จะระบุว่าโจทก์ที่ 1 สมัครทำงานในตำแหน่งพนักงานห้องซักผ้า โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 และโจทก์ที่ 5สมัครทำงานในตำแหน่งพนักงานซักรีดผ้าเครื่องใหญ่ก็ตามก็เป็นเรื่องโจทก์แสดงความประสงค์จะทำงานในตำแหน่งดังกล่าว เท่านั้น และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ประกาศรับสมัครพนักงาน ในตำแหน่งดังกล่าว เมื่อจำเลยรับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3และที่ 5 เข้าทำงานและให้ทำงานในตำแหน่ง พนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำสัญญา ว่าจะให้โจทก์ทั้งสี่ดังกล่าวทำงานในตำแหน่ง พนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่อย่างเดียว เช่นเดียวกับเมื่อจำเลย รับโจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 เข้าทำงาน โดยเฉพาะ โจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 นั้นเมื่อสมัครเข้าทำงานกับจำเลย ก็มิได้ระบุว่าจะขอทำงานในตำแหน่งใดแผนกใด ดังนี้ การที่จำเลยจะรับโจทก์ทั้งหกเข้าทำงานและให้ทำงานในตำแหน่ง พนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ตลอดมา ก็ไม่เป็นการผูกมัดจำเลย ว่าจะต้องให้โจทก์ทั้งหกทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ตลอดไป นอกจากนี้ งาน ใน ตำแหน่งรีดผ้าเครื่องใหญ่แผนกห้องผ้าหรือซักรีด และงานตำแหน่งพนักงานทำความสะอาด แผนกทำความสะอาด ต่างก็อยู่ในระดับเดียวกัน และเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถเป็นพิเศษ พนักงานในแผนกหนึ่งย่อมสามารถสับเปลี่ยน ไป ทำงานในอีกแผนกหนึ่งได้ และเหตุที่จำเลยย้ายโจทก์ ไปอยู่แผนกทำความสะอาดก็เพราะพนักงานรีดผ้า โดยเครื่องรีดและพับผ้าอัตโนมัติที่จำเลยติดตั้งใหม่ ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากดังแต่ก่อน และเป็นเรื่องที่จำเลย จัดการบริหารงานบุคคลเพื่อลดค่าใช้จ่ายของจำเลย ส่วนค่าจ้างและผลประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ทั้งหก เมื่อย้ายไปอยู่แผนกทำความสะอาดก็มิได้ลดลงกว่าเดิม ทั้งจำเลยย้ายโจทก์ทั้งหกไปอยู่แผนกทำความสะอาดนี้ มิได้เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก การที่จำเลย ย้ายโจทก์ทั้งหกจากแผนกห้องผ้าหรือซักรีดไปอยู่แผนกทำความสะอาดจึงไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างของโจทก์ทั้งหก จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีอำนาจกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิด: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาอายุความทั้งสองประเภทได้
การที่จำเลยขับรถไปตามทางการที่จ้างของโจทก์ด้วยความประมาท ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานอย่างหนึ่ง และในขณะเดียวกันก็เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย แม้จำเลยจะอ้างอายุความเรื่องละเมิด โดยมิได้กล่าวถึงอายุความเรื่องผิดสัญญาขึ้นมาต่อสู้คดีโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยก็ได้ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ว่าเพราะเหตุใดคดีโจทก์จึงขาดอายุความขึ้นมากล่าวไว้ในคำให้การด้วยแล้วว่า มูลหนี้คดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2523 และโจทก์ได้รู้ถึงวันละเมิดอันหมายความถึงวันเกิดเหตุ อันเป็นมูลก่อให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องและรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันนั้น แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 19 มกราคม2536 เมื่อนับแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาถึง 12 ปีเศษแล้ว จึงพ้นกำหนด1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันทำละเมิด จากข้อเท็จจริงที่ว่านับแต่วันเกิดเหตุซึ่งเป็นวันที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน 10 ปี อันเป็นอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้อ้างอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาต่อสู้ไว้แล้ว เมื่อคดีโจทก์เป็นทั้งเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิดในขณะเดียวกันดังได้วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น ศาลแรงงานจึงมีอำนาจที่จะยกอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาปรับแก่คดีโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความทั้งสัญญาจ้างแรงงานและละเมิด ศาลใช้ได้ทั้งสองกรณีเมื่อจำเลยอ้างเหตุขาดอายุความ
การที่จำเลยขับรถไปตามทางการที่จ้างของโจทก์ด้วยความประมาท ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานอย่างหนึ่ง และในขณะเดียวกันก็เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยแม้จำเลยจะอ้างอายุความเรื่องละเมิด โดยมิได้กล่าวถึงอายุความเรื่องผิดสัญญาขึ้นมาต่อสู้คดีโจทก์ก็ตามแต่จำเลยก็ได้ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ว่าเพราะเหตุใดคดีโจทก์จึงขาดอายุความขึ้นมากล่าวไว้ในคำให้การด้วยแล้วว่า มูลหนี้คดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2523และโจทก์ได้รู้ถึงวันละเมิดอันหมายความถึงวันเกิดเหตุอันเป็นมูลก่อให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องและรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันนั้น แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2536เมื่อนับแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาถึง 12 ปีเศษแล้วจึงพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือพ้นกำหนด10 ปีนับแต่วันทำละเมิด จากข้อเท็จจริงที่ว่านับแต่วันเกิดเหตุซึ่งเป็นวันที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน10 ปี อันเป็นอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วยดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้อ้างอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาต่อสู้ไว้แล้ว เมื่อคดีโจทก์เป็นทั้งเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิดในขณะเดียวกันดังได้วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น ศาลแรงงานจึงมีอำนาจที่จะยกอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาปรับแก่คดีโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานและลงโทษทางวินัยของลูกจ้าง กรณีชักชวนเพื่อนร่วมงานละเลยหน้าที่ จนทำให้องค์กรเสียหาย และสิทธิประโยชน์อื่นของลูกจ้าง
แม้ข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 46 ไม่มีข้อความห้ามพนักงานจัดนำเที่ยวหรือชักชวนพนักงานอื่นไปเที่ยวก็ตาม แต่หมวดว่าด้วยวินัยของพนักงานมีว่า พนักงานต้องตั้งใจปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบคำสั่ง แบบแผน และวิธีปฏิบัติของจำเลยด้วย การที่โจทก์ชักชวนพนักงานที่มีเวรหยุดและวันทำงานตรงกับวันเกิดเหตุไปเที่ยวโจทก์ย่อมเล็งเห็นว่าจะไม่มีพนักงานเพียงพอที่จะนำรถยนต์โดยสารออกแล่นได้ ทำให้จำเลยขาดรายได้ ถือว่าโจทก์ทำผิดวินัย จำเลยสั่งพักงานโจทก์ได้ เงินช่วยเหลือบุตรเป็นสวัสดิการที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานเป็นสิทธิประโยชน์อื่นตามข้อบังคับของจำเลย แม้โจทก์จะถูกพักงานก็มีสิทธิได้รับเงินจำนวนนี้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยรับผิด หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทเศษแต่พิพากษาให้จ่ายเป็นเงินจำนวนหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทเศษเป็นการผิดพลาดในการรวมจำนวนเงิน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้: ไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์ แต่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน อายุความ 10 ปี
เมื่อไม้กองอยู่ริมทางเดินห่างจากบ้านของจำเลยประมาณ 2 กิโลเมตร จำเลยมิได้ชักลากไม้มาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตน และตามสัญญาผู้ว่าจ้างอาจมาขนไม้จากที่เดิมไปเมื่อใดก็ได้เพียงแต่แจ้งให้ผู้รับจ้างทราบ แสดงว่าอำนาจการครอบครองไม้ยังคงอยู่แก่ผู้ว่าจ้างมิได้ส่งมอบให้แก่ผู้รับจ้างผู้รับจ้างคงมีหน้าที่เพียงเฝ้ามิให้ไม้สูญหายไปเท่านั้น ไม่ได้นำทรัพย์สินที่รับฝากมาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตน สัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์ แต่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อกฎหมายลักษณะจ้างแรงงานมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม คือมีอายุความ 10 ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานเฝ้ารักษาไม้ของกลาง ไม่เป็นสัญญาฝากทรัพย์ อายุความ 10 ปี
กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลาง ระบุชื่อสัญญาว่า "สัญญาจ้างเฝ้ารักษา" มีข้อสัญญาว่าผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางตามบัญชีท้ายสัญญาโดยคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายลูกบาศก์เมตร นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไปจนกว่าผู้ว่าจ้างจะรับไม้คืน หากขาดหายหรือเป็นอันตรายผู้รับจ้างให้ผู้ว่าจ้างปรับไหมเป็นรายลูกบาศก์เมตรตามจำนวนที่สูญหายหรือเป็นอันตราย ระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษาไม้ผู้ว่าจ้างอาจขนไม้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใด ๆก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ที่ขนไปนั้นทุกคราวไป หลังจากทำสัญญาแล้วไม้ของกลางอยู่ห่างจากบ้านผู้รับจ้างประมาณ 2 กิโลเมตร โดยกองอยู่ริมทางเดินในหมู่บ้านผู้รับจ้างมิได้ชักลากไม้มาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตนแต่ประการใดดังนี้ แสดงว่าอำนาจการครอบครองไม้ยังอยู่แก่ผู้ว่าจ้าง มิได้ส่งมอบไม้ให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างมีหน้าที่เฝ้ารักษามิให้ไม้เป็นอันตรายหรือสูญหายไปเท่านั้น ไม่ได้นำทรัพย์สินที่รับฝากมาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตน สัญญาดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาฝากทรัพย์ แต่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 685/2512และ 1020/2519) สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีกำหนด 10 ปี คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามสัญญาได้หรือไม่ ค่าเสียหายมีเพียงใด และคดีขาดอายุความหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความพิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกา เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามสัญญาได้หรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใดจึงเป็นเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งให้บริบูรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งนายจ้าง รวมถึงอายุความฟ้องในกรณีผิดสัญญาจ้าง
การที่จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งของโจทก์ไม่ว่าจะเป็นระเบียบที่มีอยู่เดิมหรือที่ออกในภายหลัง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ จำเลยจึงผิดสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย คำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และโจทก์ได้มีคำสั่งปลดจำเลยออกจากธนาคารโจทก์แล้วฐานปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และขาดความไว้วางใจนั้นเป็นการฟ้องในมูลผิดสัญญาจ้างแรงงานจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
of 249