พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อการไม่ปฏิบัติตามระเบียบของนายจ้าง และอายุความของคดีแรงงาน
คำสั่งหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดสัญญาจ้าง โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างให้รับผิด เนื่องจากจงใจฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลผิดสัญญาจ้างแรงงานมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 อุทธรณ์ว่าจำเลยปฏิบัติตามระเบียบของโจทก์โดยเคร่งครัดแล้วการกระทำของจำเลยไม่เป็นประมาทเลินเล่อก็ดี เหตุที่เกิดขึ้นตามฟ้องเป็นเหตุสุดวิสัยก็ดีให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ย้อนหลัง5 ปี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรงก็ดี เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54 ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยรับผิดในฐานะลูกจ้างมิใช่ตัวแทนจำเลยที่ 3 อุทธรณ์ว่า นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 มิใช่ตัวการตัวแทน แต่เป็นนายจ้างกับลูกจ้างนั้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งนายจ้าง รวมถึงอายุความฟ้องในกรณีผิดสัญญาจ้าง
การที่จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งของโจทก์ไม่ว่าจะเป็นระเบียบที่มีอยู่เดิมหรือที่ออกในภายหลัง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ จำเลยจึงผิดสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย คำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และโจทก์ได้มีคำสั่งปลดจำเลยออกจากธนาคารโจทก์แล้วฐานปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และขาดความไว้วางใจนั้นเป็นการฟ้องในมูลผิดสัญญาจ้างแรงงานจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าจ้างสั่งการหน้าที่พนักงาน และความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญาจ้าง
สัญญาจ้างระหว่างจำเลยผู้รับจ้างกับโจทก์ผู้ว่าจ้างมีข้อความว่า ผู้รับจ้างยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของผู้ว่าจ้างหรือบุคคลที่ผู้ว่าจ้างมอบหมายทุกประการ โจทก์ผู้ว่าจ้างจึงมีสิทธิโดยชอบที่จะออกคำสั่งมอบหมายให้จำเลยซึ่งมีตำแหน่งเป็นเสมียนพนักงานไปทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนตำแหน่งของจำเลย คำสั่งโจทก์เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง ไม่ก่อให้เกิดการเสี่ยงต่อความเสียหายเพิ่มมากขึ้นนอกเหนือจากข้อตกลงตามสัญญาจ้างผูัค้ำประกันการทำงานของจำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยทำผิดสัญญาจ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ด้วย
สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์จ้างแรงงาน: แม้มีเอกสารจ้างเหมา หากพฤติการณ์เป็นจ้างแรงงาน ศาลยึดพฤติการณ์จริง
จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ขับรถยนต์ตามคำสั่งของบริษัทจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2สั่งให้จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จากที่ทำการของจำเลยที่ 1ไปส่งยังที่ทำการของจำเลยที่ 2 เพื่อนำไปขายเดือนละประมาณ 10 คันคันละเที่ยว จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างให้เที่ยวละ 550 บาท ระหว่างปฏิบัติงานอยู่กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จะไปขับรถยนต์ที่อื่นไม่ได้เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ทำการงานให้แก่จำเลยที่ 2 และอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นรายเที่ยว ก็เป็นเพียงวิธีการคำนวณสินจ้างและกำหนดการจ่ายเงิน เมื่องานที่ทำแล้วเสร็จเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 เมื่อจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์ไปในทางการที่จ้างและได้ทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในความเสียหายที่จำเลยที่ 3 ก่อขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เช่ารถแท็กซี่กับเจ้าของรถ: ไม่ถือเป็นลูกจ้างหรือตัวแทน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่ารถยนต์แท็กซี่คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2ไปรับจ้างผู้โดยสารเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ส่วนที่มีกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 22(พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ข้อ 5(8)บัญญัติว่า ต้องไม่นำรถยนต์รับจ้างของบริษัทจำกัด ไปให้บุคคลอื่นยืมเช่า หรือเช่าซื้อ เว้นแต่ให้เช่าเพื่อประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารนั้นกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวก็มีไว้ใช้บังคับแก่บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยใช้รถยนต์รับจ้าง ไม่ได้ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป และไม่ใช่เป็นบทบัญญัติที่จะบังคับให้ผู้เช่ารถยนต์ของบริษัทต้องกลายเป็นลูกจ้างของบริษัท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานเป็นมรดก ไม่ใช่สินสมรส ระเบียบบริษัทจ่ายให้ภริยาและทายาทที่ระบุได้
เงินตามโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานซึ่งนายจ้างจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานเป็นเงินของลูกจ้าง ถ้าลูกจ้างยังไม่ตายและออกจากงาน นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง เมื่อลูกจ้างตายเงินดังกล่าวจึงเป็นมรดกของผู้ตาย มิใช่สินสมรสระหว่างผู้ตายกับภริยา ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างในการจ่ายเงินตามโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานที่กำหนดให้ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีสิทธิได้รับไปครึ่งหนึ่ง กับบุคคลที่ลูกจ้างระบุไว้ในหนังสือรับรองทายาทอีกครึ่งหนึ่งนั้น ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องลูกจ้างในมูลละเมิดควบคู่กับการฟ้องผู้ใช้ไฟฟ้าในมูลหนี้สัญญาซื้อขาย ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องซ้ำซ้อน
ลูกจ้างกระทำโดยประมาทเลินเล่อและจงใจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และคำสั่งเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหายไม่สามารถเก็บค่ากระแสไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าได้ การที่นายจ้างฟ้องลูกจ้างดังกล่าวในมูลละเมิดว่าลูกจ้างประมาทเลินเล่อหรือจงใจเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหายและเป็นการผิดสัญญาจ้างนั้น แม้นายจ้างจะได้ฟ้องผู้ใช้ไฟฟ้าให้ชำระหนี้ค่าไฟฟ้าซึ่งเป็นฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาซื้อขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย แต่นายจ้างยังไม่ได้รับชำระหนี้ดังกล่าว การฟ้องลูกจ้างเช่นว่านั้นมิใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องที่ซ้ำซ้อน จึงฟ้องลูกจ้างได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงาน-ที่ปรึกษาหลังพ้นตำแหน่งผู้บริหาร การสิ้นสุดสัญญาจ้างและสิทธิประโยชน์
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการบริหารกิจการ และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่งฯ จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 มีอำนาจในการให้ความเห็นชอบของนโยบายบริหารงานและควบคุมดูแลโดยทั่วไป และออกข้อบังคับต่าง ๆ เท่านั้น ไม่มีอำนาจตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และไม่ใช่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 จึงไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการของจำเลยที่ 1 ตามวาระแล้ว จำเลยที่ 1 มีหนังสือส่งให้โจทก์ลงนามในสัญญาที่ปรึกษาหากโจทก์ประสงค์จะเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เพื่อรับเงินเดือนและสวัสดิการต่อไปโจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ลงนามเข้าเป็นที่ปรึกษาของจำเลยที่ 1 ก่อน แต่โจทก์ไม่ยอมลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษาตามที่จำเลยที่ 1 กำหนด จึงถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะทำงานเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ต่อไป มีผลเป็นการลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นับแต่พ้นกำหนดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง: การซื้อเวลาออกอากาศ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง
จำเลยที่ 1 มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ให้เป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อให้โจทก์มีสิทธิที่จะเข้าไปจัดรายการสดที่สถานีวิทยุของจำเลยที่ 1 โดยถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดไว้เท่านั้นมิใช่เป็นการแสดงออกซึ่งเจตนาที่จะให้โจทก์เข้าไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่ประการใด และงานที่โจทก์ทำในสถานีของจำเลยที่ 1เป็นงานจัดรายการสดซึ่งผู้จัดรายการได้ซื้อเวลาออกอากาศของจำเลยที่ 1 ไป และเมื่อมีการซื้อเวลาออกอากาศไปแล้ว ผู้ซื้อเวลาออกอากาศจะจัดรายการออกอากาศอย่างไร จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจควบคุมการปฏิบัติงานของผู้จัดรายการ ดังนั้น งานที่โจทก์ทำโดยแท้จริงคือการจัดรายการสด ซึ่งงานนี้แม้จะทำในสถานที่ของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ขายเวลาในการจัดรายการให้ผู้ซื้อไปแล้ว งานจัดรายการจึงมิใช่งานของจำเลยที่ 1 แต่เป็นงานของผู้ที่ซื้อเวลาไป โจทก์เป็นผู้หนึ่งที่ซื้อเวลาออกอากาศไปจากจำเลยที่ 1 ดังนั้น การทำงานจัดรายการสดจึงมิใช่งานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยที่ 1 จึงไม่มีกรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยที่ 1เป็นการตอบแทนการทำงานอันจะถือว่าเป็นค่าจ้างตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ และโจทก์มิได้ทำงานให้แก่จำเลยที่ 1 นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1จึงไม่ใช่ฐานะลูกจ้างและนายจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างในการควบคุมเรือ กู้เรือ และอายุความ
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ควบคุมดูแลเรือ ว. ทองทะเล 4 ที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 เป็นผู้เช่าบ้านให้จำเลยที่ 1พักรวมกับคนงานอื่น ๆ จัดรถยนต์รับส่งระหว่างบ้านพักกับสะพานที่เกิดเหตุที่ถูกเรือดังกล่าวชนเพื่อให้จำเลยที่ 1 กับคนงานอื่น ๆลงเรือดังกล่าวไปทำงานกู้ตัดเหล็กซากเรือใหญ่ที่อับปางซึ่งเป็นกิจการของจำเลยที่ 4 ทุกวัน และเป็นผู้เปิดบัญชีธนาคารให้จำเลยที่ 1 เบิกเป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานดังกล่าว ทั้งภริยาจำเลยที่ 1ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 4 ให้เป็นผู้ควบคุมการเบิกจ่ายค่าแรงและจัดการเรื่องอาหารทุกมื้อให้แก่คนงานทั้งหมดของจำเลยที่ 4 และได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอรับเรือของจำเลยที่ 4 คืนจากเจ้าพนักงานตำรวจหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังได้ใช้เรือของจำเลยที่ 4 ที่ตนควบคุมอยู่ทำการช่วยเหลือกู้เรือชาวประมงตามพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างควบคุมเรือ ว. ทองทะเล 4กระทำกิจการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 ขณะเกิดเหตุเป็นฤดูมรสุม จำเลยที่ 1 มีอาชีพกู้เรือมานาน20 ปี ย่อมรู้ดีว่าการจอดเรือ ว. ทองทะเล 4 ในบริเวณที่ไม่มีที่กำบังลมเพื่อกู้ตัดเหล็กซากเรือใหญ่ที่อับปางอาจถูกลมพายุพัดหลุดลอยได้ง่าย การจัดการป้องกันด้วยการนำเรือไปหลบหาที่กำบังพายุก็สามารถกระทำได้ทันเพราะมีประกาศเตือนทางวิทยุให้รู้ว่าจะเกิดพายุล่วงหน้าติด ๆ กันทุกชั่วโมงตั้งแต่หัวค่ำของคืนก่อนวันเกิดเหตุ เมื่อจำเลยที่ 1 อาจป้องกันไม่ให้เรือถูกพายุได้แต่ไม่จัดการป้องกัน เป็นเหตุให้เรือ ว. ทองทะเล 4 ถูกพายุพัดหลุดลอยไปชนสะพานของโจทก์ จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความคือวันที่ 23 ตุลาคม 2522 เป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2522 จึงไม่ขาดอายุความ.