คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 575

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097-3098/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ/ซ้อน คดีแพ่งแรงงาน ไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คำขอท้ายฟ้องเหมือนกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ยึดถือคำวินิจฉัยศาลแรงงาน
คดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานความผิดเรื่องยักยอก และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญานั้น แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตามแต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ทำให้เกิดความเสียหายนี้อาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและในมูลแห่งสัญญาจ้างแรงงานที่มีต่อกันอยู่ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ ถึงแม้คำขอบังคับจะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน คือขอให้จำเลยที่ 2ใช้ค่าเสียหาย แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อมูลหนี้ในคำฟ้องของทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างเช่นนี้ ประเด็นที่วินิจฉัยจึงมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31และคำฟ้องของโจทก์กรณีของการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญาไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาจ้างแรงงานมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่เป็นกรณีที่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันในความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ไม่เป็นฟ้องซ้อนและคำฟ้องของโจทก์กรณีนี้มิใช่การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 40 จึงนำบทบัญญัติในมาตรา 46 มาใช้กับการพิจารณาคดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้บังคับบัญชาในการอนุมัติการจ่ายเงินพันธบัตรโดยไม่มีเอกสารมอบอำนาจ ทำให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อได้ลงลายมือชื่อกำกับชื่อผู้มีสิทธิรับเงินคนเดิมที่จำเลยที่ 1 ขีดฆ่าออกและลงลายมือชื่อกำกับชื่อที่พิมพ์หรือเขียนแทนลงไปใหม่ กับได้ลงลายมือชื่อสั่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจ่ายเงินในคำขอรับคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรตามที่จำเลยที่ 1 นำเสนอ การที่จำเลยที่ 1 กับพวกสามารถทุจริตและนำเงินไปเป็นประโยชนส่วนตัวได้ เพราะจำเลยที่ 2 ที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อโดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชาได้ลดขั้นตอนการตรวจสอบ ให้จำเลยที่ 1 เสนอคำขอต่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยตรงไม่ต้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น อันเป็นการเสี่ยงต่อการทุจริตแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอรับคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล คำฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบ ไม่จัดให้มีการตรวจสอบเป็นขั้นตอนตามลำดับชั้นว่าการขีดฆ่าและเปลี่ยนแปลงชื่อผู้มีสิทธิรับเงินตามพันธบัตรรัฐบาลนั้นถูกต้องหรือไม่ แต่จำเลยที่ 2ที่ 3 ลงลายมือชื่อโดยไม่ใช้ความระมัดระวัง ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ที่ 3จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ และทางพิจารณาโจทก์ก็นำสืบเพื่อให้ศาลเห็นว่ามีขั้นตอนในการตรวจสอบมากมาย แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้ตรวจสอบเลย และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและได้เซ็นชื่อตามที่จำเลยที่ 1 กากบาทไว้ให้เซ็นเท่านั้น เช่นนี้ แม้ไม่มีระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขอคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลของผู้ใช้ไฟฟ้า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็อาจจะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ควบคุมการทำงานของจำเลยที่ 1 ให้เป็นไปโดยถูกต้องและสุจริตการที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อดังกล่าวก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการตรวจสอบว่าถูกต้องแล้วดังนั้น ไม่ว่าจะมีระเบียบการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อด้วยความประมาทเลินเล่อแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ศาลแรงงานไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความรับผิดของของจำเลยที่ 2ที่ 3 ให้ตรงกับข้อกล่าวหาตามคำฟ้องและตามข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมา ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิจารณาพิพากษาความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษร
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อได้ลงลายมือชื่อกำกับชื่อผู้มีสิทธิรับเงินคนเดิมที่จำเลยที่ 1 ขีดฆ่าออกและลงลายมือชื่อกำกับชื่อที่พิมพ์หรือเขียนแทนลงไปใหม่ กับได้ลงลายมือชื่อสั่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจ่ายเงินในคำขอรับคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรตามที่จำเลยที่ 1 นำเสนอ การที่จำเลยที่ 1 กับพวกสามารถทุจริตและนำเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวได้ เพราะจำเลยที่ 2 ที่ 3ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชาได้ลดขั้นตอนการตรวจสอบ ให้จำเลยที่ 1 เสนอคำขอต่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยตรงไม่ต้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้นอันเป็นการเสี่ยงต่อการทุจริตแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอรับคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล คำฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบ ไม่จัดให้มีการตรวจสอบเป็นขั้นตอนตามลำดับชั้นว่าการขีดฆ่าและเปลี่ยนแปลงชื่อผู้มีสิทธิรับเงินตามพันธบัตรรัฐบาลนั้นถูกต้องหรือไม่ แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ลงลายมือชื่อโดยไม่ใช้ความระมัดระวัง ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ และทางพิจารณาโจทก์ก็นำสืบเพื่อให้ศาลเห็นว่ามีขั้นตอนในการตรวจสอบมากมาย แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้ตรวจสอบเลยและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและได้เซ็นชื่อตามที่จำเลยที่ 1 กากบาทไว้ให้เซ็นเท่านั้น เช่นนี้แม้ไม่มีระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขอคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลของผู้ใช้ไฟฟ้าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็อาจจะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ควบคุมการทำงานของจำเลยที่ 1 ให้เป็นไปโดยถูกต้องและสุจริต การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3ได้ลงลายมือชื่อดังกล่าวก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว ดังนั้น ไม่ว่าจะมีระเบียบการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อด้วยความประมาทเลินเล่อแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ศาลแรงงานไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ให้ตรงกับข้อกล่าวหาตามคำฟ้องและตามข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมา ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิจารณาพิพากษาความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548-2549/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแข่งขันหลังพ้นสภาพงาน: ข้อตกลงไม่ตัดสิทธิประกอบอาชีพโดยสิ้นเชิง ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองความว่า "9. ลูกจ้างให้สัญญาว่าจะไม่กระทำการต่อไปนี้โดยมิได้รับความยินยอมจากบริษัท...(ข) ภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง...(2) เข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการพัฒนา ทำ ผลิต หรือจำหน่าย ซึ่งผลิตภัณฑ์อันเป็นการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทซึ่งตนได้เคยมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในระหว่างที่ทำงานกับบริษัท" มิได้เป็นการห้ามจำเลยทั้งสองมิให้กระทำโดยเด็ดขาด จำเลยทั้งสองอาจกระทำได้เมื่อได้รับความยินยอมจากโจทก์ และเฉพาะส่วนของงานที่จำเลยทั้งสองเคยทำกับโจทก์ ทั้งกำหนดเวลาที่ห้ามไว้ก็เพียง 24 เดือนนับแต่จำเลยทั้งสองพ้นจากการเป็นลูกจ้างโจทก์เท่านั้น ลักษณะของข้อสัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้ในการงดเว้นการกระทำที่กำหนดโดยเจตนาของคู่กรณีเช่นนี้ ไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งสองทั้งหมด เพียงแต่เป็นการห้ามประกอบอาชีพบางอย่างที่เป็นการแข่งขันกับโจทก์ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และกำหนดไว้ไม่นานเกินสมควร เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีที่เป็นไปโดยชอบในเชิงของการประกอบธุรกิจ ไม่เป็นการปิดการทำมาหาได้ของฝ่ายใดโดยเด็ดขาดจนไม่อาจดำรงอยู่ได้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน มีผลใช้บังคับกันได้ไม่เป็นโมฆะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548-2549/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาห้ามแข่งขันหลังพ้นสภาพงาน: ข้อจำกัดที่ชอบธรรมและการรักษาสิทธิทางธุรกิจ
สัญญาที่บริษัทโจทก์ทำกับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างว่าภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ลูกจ้างจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการพัฒนาทำ ผลิต หรือจำหน่าย (สุดแต่จะพึงปรับได้กับกรณีของลูกจ้าง) ซึ่งผลิตภัณฑ์อันเป็นการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ตนเคยมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในระหว่างที่ทำงานกับบริษัท โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท สัญญาดังกล่าวไม่ได้ห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้กระทำโดยเด็ดขาด คงห้ามเฉพาะสิ่งที่เป็นการแข่งขันกับงานของโจทก์ และในส่วนของงานที่จำเลยเคยทำกับโจทก์ทั้งเป็นการห้ามเพียงตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นเท่านั้นไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดเสียทีเดียวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในเชิงการประกอบธุรกิจโดยชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548-2549/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาห้ามแข่งขันหลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง: ข้อจำกัดต้องสมเหตุสมผล ไม่ตัดสิทธิประกอบอาชีพโดยสิ้นเชิง
สัญญาที่บริษัทโจทก์ทำกับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างว่าภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ลูกจ้างจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการพัฒนา ทำ ผลิต หรือจำหน่าย (สุดแต่ จะพึงปรับได้ กับกรณีของลูกจ้าง) ซึ่งผลิตภัณฑ์อันเป็นการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทโจทก์ที่ตนได้เคยมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในระหว่างที่ทำงานกับบริษัทโจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทโจทก์ สัญญาดังกล่าวไม่ได้ห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้กระทำโดยเด็ดขาด คงห้ามจำเลยเฉพาะสิ่งที่เป็นการแข่งขันกับงานของบริษัทโจทก์ และในส่วนของงานที่จำเลยเคยทำกับบริษัทโจทก์ ทั้งเป็นการห้ามเพียงตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น ไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดเสียทีเดียว จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในเชิงการประกอบธุรกิจโดยชอบไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2327/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างช่วง สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา การเลิกจ้างตามสัญญา มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ทำสัญญาจ้างรวม 4 ครั้งจ้างกันเป็นช่วง ๆ นั้น เมื่อบทกฎหมายที่เกี่ยวกับการจ้างแรงงานคือ ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 6 เรื่องจ้างแรงงาน หรือประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้มีบทบัญญัติห้ามไว้ชัดแจ้งว่าจะทำสัญญาในลักษณะดังกล่าวมิได้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนกฎหมายจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดเวลาในสัญญา ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาจ้าง: การคืนเงินประกันเมื่อลาออกระหว่างทดลองงาน ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานกับบริษัทจำเลยนายจ้างข้อ 2 มีข้อความว่า บริษัทฯ ตกลงรับพนักงานเข้าปฏิบัติงานเป็นการทดลองงาน เป็นระยะเวลา 180 วัน ในระหว่างทดลองงานบริษัทฯจะให้การอบรมเกี่ยวกับหน้าที่การงาน... ฯลฯ ... ข้อ 4 มีข้อความว่าในกรณีที่พนักงานผ่านการอบรมครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวและบริษัทฯ เห็นควรว่าจ้างพนักงานต่อไป บริษัทฯ ตกลงว่าจ้างให้พนักงานเป็นพนักงานประจำของบริษัทฯ... ข้อ 5 มีข้อความว่าในกรณีบริษัทฯ ตกลงว่าจ้างพนักงานตามข้อ 4 แล้วพนักงานสัญญาว่าจะทำงานให้แก่บริษัทฯ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันครบกำหนดการทดลองงาน... และข้อ 16 มีข้อความว่า เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานของพนักงานตามสัญญานี้ พนักงานได้วางเงินประกันการทำงานไว้แก่บริษัทฯ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2531 ถ้าพนักงานมีความประสงค์ที่จะลาออกและได้ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปีแล้ว ทางบริษัทฯ จะคืนเงินประกันจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยธนาคารให้ ข้อสัญญาดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า พนักงานที่จำเลยจะคืนเงินประกันเมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกตามสัญญาข้อ 16 หมายถึงพนักงานที่จำเลยได้ตกลงว่าจ้างให้เป็นพนักงานประจำของจำเลยตามสัญญาข้อ 4, 5 ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเพียงพนักงานที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้ปฏิบัติงานเป็นการทดลองงานขอลาออกจากงานในระหว่างทดลองงาน จึงไม่เป็นการผิดสัญญาจ้างจำเลยจะอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินประกันให้แก่โจทก์ไม่ได้
การตีความสัญญานั้นต้องพิจารณาข้อความในสัญญาทั้งฉบับ จะหยิบยกแต่เฉพาะข้อสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรือเพียงบางข้อขึ้นวินิจฉัยหาเป็นกาถูกต้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทดลองงาน การคืนเงินประกัน และการตีความสัญญาตามวัตถุประสงค์
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานกับบริษัทจำเลยนายจ้างข้อ 2 มีข้อความว่า บริษัทฯ ตกลงรับพนักงานเข้าปฏิบัติงานเป็นการทดลองงาน เป็นระยะเวลา 180 วัน ในระหว่างทดลองงานบริษัทฯจะให้การอบรมเกี่ยวกับหน้าที่การงาน... ฯลฯ ... ข้อ 4มีข้อความว่าในกรณีที่พนักงานผ่านการอบรมครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวและบริษัทฯ เห็นควรว่าจ้างพนักงานต่อไป บริษัทฯ ตกลงว่าจ้างให้พนักงานเป็นพนักงานประจำของบริษัทฯ... ข้อ 5 มีข้อความว่าในกรณีบริษัทฯ ตกลงว่าจ้างพนักงานตามข้อ 4 แล้วพนักงานสัญญาว่าจะทำงานให้แก่บริษัทฯ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันครบกำหนดการทดลองงาน... และข้อ 16 มีข้อความว่า เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานของพนักงานตามสัญญานี้ พนักงานได้วางเงินประกันการทำงานไว้แก่บริษัทฯ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท เมื่อวันที่ 15พฤศจิกายน 2531 ถ้าพนักงานมีความประสงค์ที่จะลาออกและได้ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปีแล้ว ทางบริษัทฯ จะคืนเงินประกันจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยธนาคารให้ ข้อสัญญาดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า พนักงานที่จำเลยจะคืนเงินประกันเมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกตามสัญญาข้อ 16 หมายถึงพนักงานที่จำเลยได้ตกลงว่าจ้างให้เป็นพนักงานประจำของจำเลยตามสัญญาข้อ 4,5 ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเพียงพนักงานที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้ปฏิบัติงานเป็นการทดลองงานขอลาออกจากงานในระหว่างทดลองงาน จึงไม่เป็นการผิด สัญญาจ้างจำเลยจะอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินประกันให้แก่โจทก์ไม่ได้ การตีความสัญญานั้นต้องพิจารณาข้อความในสัญญาทั้งฉบับ จะหยิบยกแต่เฉพาะข้อสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรือเพียงบางข้อขึ้นวินิจฉัยหาเป็นกาถูกต้องไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างอาจเกิดได้โดยปริยาย แม้ไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ หากลูกจ้างยอมรับโดยไม่มีการโต้แย้ง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นส่วนหนึ่งของของสัญญาจ้างแรงงานนั้นนอกจากจะเกิดขึ้นได้โดยการตกลงกันโดยชัดแจ้งจากการแจ้งข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 13 แล้ว ยังอาจเกิดขึ้นได้โดยปริยายอีกด้วย เมื่อธนาคารนายจ้างออกข้อบังคับเกี่ยวกับเงินเดือนและการแต่งตั้งพนักงานใช้บังคับอยู่แล้วและภายหลังลูกจ้างผู้นั้นเข้ามาเป็นพนักงานก็ได้มีคำสั่งแก้ไขข้อบังคับนั้นในเวลาต่อมา โดยแก้บัญชีอัตราเงินเดือนให้มีขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นและแก้ไขให้ผู้จัดการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานไปดำรงตำแหน่งอื่นในระดับที่ต่ำกว่าเดิมได้ พนักงานทุกคนก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านและยอมรับเอาผลจากการแก้ไขข้อบังคับด้วยดีตลอดมา ทั้งสัญญาจ้างแรงงานก็เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ ข้อบังคับที่แก้ไขแล้วดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับแก่ลูกจ้างผู้นั้นด้วย.
of 249