พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันจำเลย แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องการแบ่งทรัพย์มรดก และการใช้สิทธิของบุคคลอื่น
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ว. โจทก์ที่ 1 ยื่นคำคัดค้านอ้างว่าตนมีสิทธิได้รับมรดกแทนที่ ส. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับ ว. ศาลในคดีดังกล่าวได้ทำการไกล่เกลี่ยโดยจำเลยที่ 1 เข้าร่วมไกล่เกลี่ยด้วย แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ จำเลยที่ 3 จึงขอถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก แสดงว่าจำเลยทั้งสามกับฝ่ายโจทก์ยังคงมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการจัดการแบ่งมรดกของ ว. ซึ่งยังตกลงกันไม่ได้ ประกอบกับจำเลยที่ 3 เบิกความตอบคำถามค้านว่าหลังจากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 1 ได้มาบอกจำเลยที่ 3 ว่ามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสาม โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในช่องที่ระบุชื่อของจำเลยที่ 3 อันเป็นการลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 3 ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสาม โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อของตนแทนจำเลยที่ 3 แล้ว อีกทั้งหลังจากที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 ด้วยการชำระเงินในนามของจำเลยทั้งสามจำนวน 1,100,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสาม โดยเป็นเงินมรดกของ ค. ซึ่งอยู่ในบัญชีของ ว. และจำเลยทั้งสามมีสิทธิได้รับมรดกดังกล่าว กับจำเลยที่ 2 นำเงินมาอีกส่วนหนึ่งด้วย ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้โต้แย้งคัดค้านต่อโจทก์ทั้งสามว่าไม่ได้รู้เห็นหรือไม่ยินยอมในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 3 รู้เห็นและยินยอมโดยปริยายให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อของตนแทนจำเลยที่ 3 ในสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ให้ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญายอมด้วย
ส่วนที่จำเลยทั้งสามฎีกาอ้างว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 414 ซึ่งเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 56705 ตามที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ตกเป็นของโจทก์ทั้งสามทั้งหมด แต่ ศ. และ ร. ในฐานะทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งด้วย โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยทั้งสามนั้น หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยทั้งสามกล่าวอ้างก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ทั้งสามและ ศ. กับ ร. ที่จะไปว่ากล่าวกันต่างหาก แต่สัญญาประนีประนอมยอมความก็ยังคงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามอยู่ หาได้มีผลให้โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ดังที่จำเลยทั้งสามฎีกาอ้างไม่
ส่วนที่จำเลยทั้งสามฎีกาอ้างว่า สัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกที่สมบูรณ์ และโจทก์ทั้งสามยอมรับว่าถูกพินัยกรรมของ ว. ตัดสิทธิจากกองทรัพย์มรดกของ ว. แล้ว การที่โจทก์ทั้งสามใช้สิทธิของบุคคลอื่นมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เพื่อประโยชน์ของตนเองโดยไม่มีอำนาจ ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลบังคับ โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง และสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 3 ไม่ได้หมายความรวมถึงที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 414 นั้น จำเลยทั้งสามไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท ถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบมาตรา 252
ส่วนที่จำเลยทั้งสามฎีกาอ้างว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 414 ซึ่งเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 56705 ตามที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ตกเป็นของโจทก์ทั้งสามทั้งหมด แต่ ศ. และ ร. ในฐานะทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งด้วย โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยทั้งสามนั้น หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยทั้งสามกล่าวอ้างก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ทั้งสามและ ศ. กับ ร. ที่จะไปว่ากล่าวกันต่างหาก แต่สัญญาประนีประนอมยอมความก็ยังคงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามอยู่ หาได้มีผลให้โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ดังที่จำเลยทั้งสามฎีกาอ้างไม่
ส่วนที่จำเลยทั้งสามฎีกาอ้างว่า สัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกที่สมบูรณ์ และโจทก์ทั้งสามยอมรับว่าถูกพินัยกรรมของ ว. ตัดสิทธิจากกองทรัพย์มรดกของ ว. แล้ว การที่โจทก์ทั้งสามใช้สิทธิของบุคคลอื่นมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เพื่อประโยชน์ของตนเองโดยไม่มีอำนาจ ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลบังคับ โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง และสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 3 ไม่ได้หมายความรวมถึงที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 414 นั้น จำเลยทั้งสามไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท ถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3290/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นจากข้อตกลงในสัญญากู้ยืม และการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน
ตามสัญญาเงินกู้ ข้อ 4 ระบุว่า "หากผู้กู้ค้างชำระดอกเบี้ยเกินกว่าหนึ่งปี ผู้กู้ยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระ มารวมกับเงินต้นเดิมเป็นเงินต้นใหม่ และให้คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นใหม่นี้ โดยจะคิดทบไปทุกปี จนกว่าจะได้รับการชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา" จึงเป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากู้ยืมได้ตกลงกันเป็นหนังสือให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง และไม่อยู่ในบังคับของข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ทั้งข้อตกลงดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าต้องกระทำเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระครบหนึ่งปีแล้วเท่านั้น ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง วรรคสาม (9) ฉะนั้น ตราบใดที่จำเลยยังคงค้างชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินและคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้ทุกครั้งที่มีการค้างชำระดอกเบี้ยถึงหนึ่งปีเช่นนั้น แม้ว่าจะครบกำหนดชำระคืนและลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดแล้วก็ตาม จะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดในรูปดอกเบี้ยทบต้นไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาเห็นว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน เห็นสมควรลดเบี้ยปรับลง โดยกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ครั้งเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางและเจตนาลวงในสัญญากู้ยืม ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ใหม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาปล่อยเงินกู้ จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ยืมเป็นการแสดงเจตนาลวง โจทก์จำเลยไม่มีเจตนากู้ยืมเงินกัน เป็นการอำพรางนิติกรรมที่โจทก์ให้เงินแก่จำเลยเพื่อไปซื้อยางก้อนถ้วยมาส่งให้แก่โจทก์ โดยจำเลยจะได้รับค่าตอบแทน ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยวินิจฉัยว่าสัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์และจำเลยไม่เป็นการแสดงเจตนาลวงและนิติกรรมอำพราง จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว โดยเนื้อหาที่บรรยายมาในคำฟ้องอุทธรณ์เป็นการโต้แย้งการฟังข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น และเมื่ออ่านอุทธรณ์ทั้งฉบับโดยเฉพาะในหน้าที่ 14 และหน้าที่ 15 แล้วสามารถเข้าใจได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์และจำเลยไม่เป็นการแสดงเจตนาลวงและนิติกรรมอำพราง อุทธรณ์จำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ชัดแจ้งชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งแล้ว
อนึ่ง คดีนี้จำเลยฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาล 66,375 บาท แต่เมื่อศาลฎีกาย้อนสํานวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษาใหม่ เช่นนี้ จำเลยชอบที่จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ 200 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 200 บาท แก่จำเลย
อนึ่ง คดีนี้จำเลยฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาล 66,375 บาท แต่เมื่อศาลฎีกาย้อนสํานวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษาใหม่ เช่นนี้ จำเลยชอบที่จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ 200 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 200 บาท แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินชำระหนี้เช็ค - สิทธิการรับเงินค้างจ่าย - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 345
จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เพื่อชำระหนี้ตามเช็คพิพาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบล ห. ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และจำเลยวางเงินรวม 73,060 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 73,060 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 93,060 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 73,060 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 93,060 บาท และต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่า เงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหาย และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่ง เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้น ก็ไม่ถูกต้อง ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินวางชำระหนี้ที่เจ้าหนี้ไม่รับภายใน 5 ปี ศาลต้องคืนเงินให้เจ้าหนี้ แม้มีการทำผิดพลาดในการดำเนินการ
จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบลหนองเรือ ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และมีการวางเงิน 72,597 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 72,597 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 92,597 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 72,597 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 92,597 บาท และการที่เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหาย และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าว และขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง นำส่ง เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้น ก็ไม่ถูกต้อง ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน กรณีแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยเจตนา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้นซึ่งออกตามบทบัญญัติมาตรา 1108 อนุมาตรา (5) หรือมาตรา 1221" วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่" มิได้มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าหากมิได้ดำเนินการตามมาตรา 1119 แล้ว จะทำให้การเป็นผู้ถือหุ้นเป็นโมฆะ หรือกลับกลายเป็นไม่เป็นผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด ดังนั้น บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงมีผลแต่เพียงว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวยังมิได้ใช้เงินเป็นค่าหุ้นแก่บริษัทเท่านั้น กรรมการจึงสามารถที่จะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทเสียเมื่อใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1124 ทั้งตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในขณะที่ ส. ยังมีชีวิตอยู่ ส. ก็ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ที่มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นส่งไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิษณุโลก ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามข้อฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่าโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแล้วหรือไม่ และโดยวิธีใด เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการเรียกเงินค่าหุ้น จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามกฎหมายแล้ว ส่วนที่โจทก์ไม่เคยได้รับมอบใบหุ้น ไม่เคยเข้ามีส่วนได้เสียในบริษัท เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การรับรู้ส่วนได้เสียของบริษัท เช่น กำไร ขาดทุน นั้น ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้ออกใบหุ้นให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ไปรับหรือไม่ จำเลยที่ 2 เคยมีหนังสือเชิญประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้วหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจะว่าโจทก์ไม่ได้รับมอบใบหุ้นและไม่เข้ามามีส่วนได้เสียของบริษัทหาได้ไม่ จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องในความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และ ป.อ. มาตรา 137
แม้คำฟ้องของโจทก์ ข้อ 2.1 ที่บรรยายว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่ ทำให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียหุ้นจำนวน 10,000 หุ้น โจทก์จะมิได้บรรยายเจตนาพิเศษมาในคำฟ้องก็ตาม แต่ต่อมาในข้อ 2.3 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องชัดเจนว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 และฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการหรือยินยอมให้มีการปลอมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตามฟ้อง ข้อ 2.1 เพื่อลวงโจทก์ให้ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) แล้ว ดังนี้ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายแล้ว
แม้คำฟ้องของโจทก์ ข้อ 2.1 ที่บรรยายว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่ ทำให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียหุ้นจำนวน 10,000 หุ้น โจทก์จะมิได้บรรยายเจตนาพิเศษมาในคำฟ้องก็ตาม แต่ต่อมาในข้อ 2.3 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องชัดเจนว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 และฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการหรือยินยอมให้มีการปลอมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตามฟ้อง ข้อ 2.1 เพื่อลวงโจทก์ให้ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) แล้ว ดังนี้ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ นำเงินที่ชำระแล้วหักจากต้นเงินได้
แม้ตามสำเนาหนังสือสัญญาจำนองรวมแปดโฉนด ข้อ 5 ระบุให้สัญญาฉบับนี้เป็นหลักฐานการกู้เงิน ข้อ 6 ระบุว่า ไม่มีดอกเบี้ย กำหนดชำระคืนภายในหนึ่งปี และตามบันทึกข้อตกลง ข้อ 1 ระบุว่า หากผู้กู้ผิดสัญญากู้โดยไม่ชำระหนี้คืนให้แก่ผู้ให้กู้ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนจำนอง ผู้กู้จะต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินจำนองแก่ผู้ให้กู้ นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น อันเป็นการระบุว่าการกู้เงินระหว่างโจทก์และจำเลยนั้น โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งไม่เกินกว่าที่ ป.พ.พ. มาตรา 654 กำหนดไว้ก็ตาม แต่การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลและพยานวัตถุฟังได้ว่า ในการทำสัญญาจำนองตกลงกันว่าจะไม่มีการคิดดอกเบี้ย แต่ความจริงโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยตั้งแต่วันทำสัญญาจำนองอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งจะต้องเสียดอกเบี้ยเดือนละ 204,300 บาท แต่พยานขอลดหย่อนเหลือเดือนละ 200,000 บาท โดยโจทก์ให้จำเลยแบ่งชำระเงิน 2 ยอด ยอดแรกชำระ 150,000 บาท อีกยอดชำระ 50,000 บาท โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินให้เฉพาะยอดเงิน 150,000 บาท เพราะเกรงว่าจะถูกกล่าวหาว่าคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เป็นการผิดกฎหมาย ซึ่งต้นเงิน 13,620,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต้องเสียดอกเบี้ยเดือนละ 170,250 บาท จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เท่าที่รวบรวมใบเสร็จรับเงินได้ 12 ฉบับ รวมเป็นเงิน 1,150,000 บาท เป็นการนำสืบถึงข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะอันเป็นผลทำให้หนี้ตามสัญญาบางส่วนไม่สมบูรณ์ อันเป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย การรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้บางส่วนที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94