คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 36

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์เช่าซื้อตกเป็นของผู้เช่าซื้อเมื่อชำระค่างวดครบถ้วน แม้จะล่าช้า
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่ผู้ร้องครบทุกงวดแล้ว แม้จะชำระค่างวดล่าช้าไม่ตรงกำหนด แต่ผู้ร้องก็รับค่าเช่าซื้อจนครบทุกงวดตามสัญญาเช่าซื้อ โดยไม่ได้บอกเลิกสัญญา ถือว่ากำหนดเวลาชำระเงินไม่เป็นสาระสำคัญ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อของกลางจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ทันทีตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 และตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 3 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ก่อน แม้ตามข้อ 9 ของสัญญาเช่าซื้อจะให้ผู้ร้องคิดดอกเบี้ยของเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระและค่าใช้จ่ายในการไปเก็บเงินดังกล่าวได้ ผู้ร้องก็ต้องไปเรียกร้องเอากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ซึ่งก็ไม่แน่ว่าผู้ร้องจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยดังกล่าวได้ตามสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ทั้งข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เงื่อนไขที่จะไม่ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางตกเป็นสิทธิแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. แม้ผู้ร้องจะยังมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลางตามหนังสือแสดงการจดทะเบียน ผู้ร้องก็มิใช่เจ้าของแท้จริง จึงไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ใช้รถร่วมโดยไม่จำกัดเงื่อนไข ถือเป็นความรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด
ผู้ร้องเป็นภรรยา ส. เจ้าของรวมกรรมสิทธิ์รวมรถยนต์กระบะของกลาง เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกส่วนของ ส. ย่อมตกแก่ทายาทซึ่งรวมถึงผู้ร้องด้วย รถยนต์กระบะของกลางเก็บอยู่ที่บ้านผู้ร้องซึ่งพักอยู่กับพี่สาว กุญแจรถแขวนเก็บไว้ใต้หิ้งพระภายในบ้าน ญาติพี่น้องและบุตรของผู้ร้อง รวมทั้งจำเลยซึ่งเป็นบุตรเขยของผู้ร้องสามารถนำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้ได้ จำเลยเคยนำไปใช้หลายครั้ง วันเกิดเหตุจำเลยเอากุญแจรถกระบะของกลางไปใช้กระทำความผิดโดยไม่ได้บอกกล่าวผู้ร้อง และผู้ร้องไม่ทราบว่าจำเลยนำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบเอากุญแจรถยนต์กระบะของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลาที่จำเลยต้องการใช้ โดยไม่คำนึงว่าจำเลยจะนำรถไปใช้ในกิจการใด เมื่อจำเลยนำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้บรรทุกถ่านไม้โกงกางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว ส่วนบุคคลอื่นซึ่งเป็นทายาทและเจ้าของรวมจะมีสิทธิร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลางหรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันตามสิทธิของตนต่างหากจากคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถบรรทุกมีหน้าที่ควบคุมการบรรทุกน้ำหนัก แม้มีประกาศข้อบังคับแล้ว หากปล่อยปละละเลยถือว่ารู้เห็นเป็นใจ
ผู้ร้องเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการขนส่ง และมีรถบรรทุกไว้บริการลูกค้าประมาณ 10 คัน การที่ผู้ร้องได้ออกประกาศข้อบังคับให้ลูกจ้างถือปฏิบัติการบรรทุกน้ำหนักตามกำหนดนั้น ถือเป็นเรื่องภายในของผู้ร้อง แต่ผู้ร้องยังจะต้องมีหน้าที่ตรวจตราโดยหาวิธีการอื่นมาควบคุมมิให้มีการบรรทุกเกินอีกด้วย มิใช่เพียงแต่ปิดประกาศข้อบังคับให้ลูกจ้างทราบแล้วปล่อยให้ลูกจ้างขับรถไปบรรทุกโดยไม่มีการควบคุมอีกชั้นหนึ่งย่อมเป็นช่องทางให้มีการบรรทุกเกินกำหนดได้โดยง่าย ซึ่งผู้ร้องย่อมทราบเรื่องนี้เป็นอย่างดี ดังนั้น การที่ผู้ร้องปล่อยปละละเลยจนจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกของผู้ร้องไปบรรทุกเกินกำหนด ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1762/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์โดยปริยายจากการปล่อยให้บุตรใช้รถเป็นเวลานาน โดยศาลพิจารณาเจตนาการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
การที่ผู้ร้องมิได้ทักท้วงในกรณีที่ผู้ขายใส่ชื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลาง และปล่อยให้จำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางจนถึงวันเกิดเหตุซึ่งเป็นเวลานานถึงประมาณ 11 เดือน โดยในระหว่างนั้นจำเลยที่ 2 ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางขับไปเรียนหนังสือนั้น แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้ร้องมีเจตนาที่จะยกรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้ใช้เป็นยานพาหนะในการไปศึกษาเล่าเรียน อันถือได้ว่าเป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลาง ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดทางอาญา และการขอคืนของกลาง ศาลฎีกาชี้ว่าการยินยอมให้ใช้ทรัพย์สินโดยไม่คำนึงถึงการนำไปใช้ผิดกฎหมายถือเป็นการรู้เห็นเป็นใจ
การร้องขอคืนของกลางที่ศาลมีคำสั่งให้ริบตาม ป.อ. มาตรา 36 มิใช่เป็นการฟ้องขอให้ลงโทษผู้ร้องว่าได้กระทำผิดอาญา เมื่อผู้ร้องอ้างว่าของกลางที่ศาลสั่งริบเป็นของผู้ร้องและผู้ร้องไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วย จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องจะต้องนำสืบให้ได้ความตามที่กล่าวอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 กรณีหาใช่โจทก์จะต้องเป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบในข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่
การที่ผู้ร้องอยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลยซึ่งเป็นสามีโดยความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับสามี แต่ละฝ่ายย่อมมีสิทธิใช้สอยทรัพย์ของอีกฝ่ายหนึ่งได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวหรือขอยืมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อน พฤติการณ์จึงไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นกรณีที่จำเลยขอยืมรถจักรยานยนต์ไปใช้ แต่น่าเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวไปใช้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการใช้ โดยผู้ร้องมิได้คำนึงว่าจำเลยจะนำรถไปใช้ในกิจการใด เมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับรถแข่งในทางโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายเช่นนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8169/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ริบแล้ว ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิขอคืน
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย ร. 1 จะครบกำหนดระยะเวลาเช่าซื้อในวันที่ 27 สิงหาคม 2543 แต่ปรากฏในใบคู่มือจดทะเบียนเอกสารหมาย ร. 2 แผ่นที่ 3 ระบุว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะของกลางในวันที่ 7 มีนาคม 2545 จึงต้องฟังว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด โอนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้ร้องในวันดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์กระบะของกลางเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2544 และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นอันถึงที่สุด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะของกลางที่ศาลสั่งริบย่อมตกเป็นของแผ่นดิน ผู้ร้องรับโอนรถยนต์กระบะของกลางในวันที่ 7 มีนาคม 2545 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันที่กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะของกลางตกเป็นของแผ่นดิน ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่เป็นเจ้าของรถยนต์กระบะของกลาง ผู้ร้องจึงย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8169/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตกเป็นของแผ่นดินหลังศาลริบ แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ภายหลัง ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอคืน
สัญญาเช่าซื้อจะครบกำหนดระยะเวลาเช่าซื้อในวันที่ 27 สิงหาคม 2543 แต่ปรากฎในใบคู่มือจดทะเบียนระบุว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะของกลางในวันที่ 7 มีนาคม 2545 จะต้องฟังว่า บริษัท ท. โอนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้ร้องในวันดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์กระบะของกลางเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2544 และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นอันถึงที่สุดกรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะของกลางที่ศาลสั่งริบย่อมตกเป็นของแผ่นดิน ผู้ร้องรับโอนรถยนต์กระบะของกลางในวันที่ 7 มีนาคม 2545 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันที่กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะของกลางตกเป็นของแผ่นดิน ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่เป็นเจ้าของรถยนต์กระบะของกลาง ผู้ร้องจึงย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7086/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องคืนของกลางโดยไม่สุจริต แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระหนี้ได้ ผู้ร้องก็ยังต้องการรถยนต์ ทำให้สิทธิในการเรียกร้องคืนเป็นโมฆะ
ผู้ร้องได้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อจากผู้ให้เช่าซื้อยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลาง ซึ่งมีราคามากกว่าราคาค่าเช่าซื้อที่ยังเหลืออยู่จำนวนมาก เมื่อผู้เช่าซื้อจะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ผู้ร้องก็ปฏิเสธ แสดงเจตนาว่าผู้ร้องต้องการรถยนต์บรรทุกของกลาง ซึ่งมีราคามากกว่าที่ตนควรจะได้ การยื่นคำร้องขอคืนของกลางจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอคืนของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7013/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถยนต์ให้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชอบ หากผู้เช่าซื้อนำไปใช้กระทำความผิด และไม่ได้รู้เห็นเป็นใจ
ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อมิได้รู้เห็นเป็นใจกับ ส. ผู้เช่าซื้อและจำเลยที่ร่วมกันนำรถยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิด การที่ผู้ร้องไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่ติดต่อตามเอารถยนต์ของกลางที่ให้เช่าซื้อคืน ทั้ง ๆ ที่มีการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อติดต่อกันหลายงวด ก็เป็นเพียงการไม่ถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญาที่กำหนดกันไว้ ซึ่งเป็นสิทธิที่ผู้ร้องจะใช้หรือไม่ก็ได้ ยังไม่ถือว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตของผู้ร้อง เพราะกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ทั้ง ป.อ. มาตรา 36 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าหากปรากฏว่าผู้เป็นเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดก็ให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินแก่เจ้าของ จึงต้องพิจารณาเฉพาะข้อความตามที่กล่าวไว้ใน ป.อ. มาตรา 36 เพราะการแปลความกฎหมายทางอาญาจะต้องแปลโดยเคร่งครัดตามตัวอักษรจะใช้หลักในการสันนิษฐานไม่ได้ จะเพิ่มเติมใจความตามตัวบทเข้ามาไม่ได้ ดังนั้น การที่ผู้ร้องไม่ใช้สิทธิที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อ และร้องขอรถยนต์ของกลางคืน จะถือว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่ทายาทของ ส. เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แล้วไม่คืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้องหาได้ไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลาง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงมีสิทธิได้รับคืนรถยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6506/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ ผู้ร้องไม่มีอำนาจเนื่องจากไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ การยื่นคำร้องซ้ำจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดต่อกฎหมาย
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบ ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีอำนาจ ยื่นคำร้องขอคืนของกลาง ให้ยกคำร้องและคดีถึงที่สุด แล้วผู้ร้องยื่นคำร้องเข้ามาใหม่ขอให้ศาลยกคำร้องขึ้นไต่สวนและมีคำสั่งใหม่โดยอ้างเหตุเดียวกันว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในของกลางซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
of 48