พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ใช้รถจักรยานยนต์และการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องขอคืนรถ
จำเลยทั้งสองนำรถจักรยานยนต์ของผู้ร้องไปขับแข่งกับกลุ่มวัยรุ่นในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงถูกจับกุมดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯก่อนที่จำเลยทั้งสองจะนำรถจักรยานยนต์ของผู้ร้องไปใช้ในการกระทำความผิด ผู้ร้องและจำเลยทั้งสองได้นั่งดื่มเบียร์ในร้านซึ่งอยู่ใกล้กับที่ทำงานของผู้ร้อง ดังนั้น หากผู้ร้องรู้สึกว่าตนมีอาการเมาไม่สามารถขับรถจักรยานยนต์กลับบ้านได้ ก็น่าจะนำไปเก็บไว้ยังที่ทำงานของตน ไม่จำเป็นต้องฝากให้ผู้อื่นรับภาระดูแลรักษา ทั้งผู้ร้องเคยให้จำเลยที่ 1ใช้รถจักรยานยนต์ของผู้ร้องหลายครั้ง จึงน่าเชื่อว่าในคืนเกิดเหตุผู้ร้องยินยอมให้จำเลยที่ 1ใช้รถจักรยานยนต์ของผู้ร้องได้ตามอำเภอใจ ถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง จึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์ที่ถูกริบหลังคดีถึงที่สุด ผู้ซื้อสิทธิจากสถาบันการเงินมีสิทธิขอคืนได้ภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2541โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น คดีที่มีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางดังกล่าวถึงที่สุดในวันที่ 21 สิงหาคม 2541 แต่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2543 จึงเป็นการยื่นคำร้องเกินกำหนด1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การยื่นคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบเพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 25 ก็มิได้บัญญัติยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติการขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ก่อนคดีถึงที่สุดและสิทธิการขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบ
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 188 จะบัญญัติว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป" ก็ตาม แต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางนั้น ก็ยังไม่ทำให้รถยนต์ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.อ. มาตรา 35 ทันที เพราะคดียังไม่ถึงที่สุดเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างที่อาจอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ ดังนั้นในระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุด เจ้าของรถยนต์ย่อมโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้ผู้ร้องได้โดยชอบ และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามโอนไว้ ผู้ร้องซึ่งซื้อรถยนต์มาจากเจ้าของก่อนคดีถึงที่สุดจึงเป็นเจ้าของที่แท้จริงและมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางหลังจากคดีถึงที่สุดแล้วได้ ภายในกำหนด 1 ปี แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์เกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดจึงต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36 ประกอบกับ พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 มาตรา 25 ก็มิได้บัญญัติยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติการขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบตาม ป.อ. มาตรา 36 ไว้ คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ก่อนคดีถึงที่สุด และการขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบหลังคดีถึงที่สุด
เดิมบริษัทเงินทุน ท. เป็นเจ้าของรถยนต์ให้จำเลยเช่าซื้อเมื่อวันที่ 1 เมษายน2540 จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2541 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถยนต์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 และผู้ร้องซื้อทรัพย์สินประเภทสัญญาเช่าซื้อจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินในนามและแทนบริษัทเงินทุน ท. เมื่อวันที่30 กรกฎาคม 2541 แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 188 จะบัญญัติว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป"แต่การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถยนต์ ก็ยังไม่ทำให้รถยนต์ตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 35 ทันที เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด ดังนั้นในระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุด บริษัทเงินทุน ท. ย่อมมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้แก่ผู้ร้องได้โดยชอบและไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์หลังจากคดีถึงที่สุดแล้วได้ภายในกำหนด 1 ปี แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องเกิน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ประกอบกับพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 มาตรา 25 ก็มิได้บัญญัติยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติการขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถบรรทุกไม่รู้เห็นการกระทำผิดฐานขนย้ายสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต สิทธิในการขอคืนของกลาง
จำเลยว่าจ้างให้ ท. ขับรถยนต์บรรทุกของผู้ร้องบรรทุกช้าง2เชือก ผ่านบริเวณด่านกักสัตว์ จึงถูกจับกุมดำเนินคดีฐานไม่มีใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ฯ มาตรา 4,34,49 ในชั้นร้องขอคืนของกลางจำเลยเบิกความเป็นพยานผู้ว่า จำเลยเป็นผู้ว่าจ้าง ท. เอง ผู้ร้องมิได้รู้เห็นในการว่าจ้างบรรทุกช้างของจำเลย ซึ่งจำเลยเป็นพยานคนกลางไม่มีส่วนได้เสียกับการยึดรถยนต์บรรทุกของกลาง จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ อีกทั้งความผิดคดีนี้อยู่ที่จำเลยไม่มีใบอนุญาตเคลื่อนย้ายช้าง หาใช่ความผิดอยู่ที่การเคลื่อนย้ายไม่ กรณีจึงเชื่อได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ต้องคืนรถยนต์บรรทุกของกลางแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนรถบรรทุกของกลาง: ผู้ร้องไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด
นอกจากผู้ร้องจะมีใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์อันเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกของกลางแล้ว ยังได้ความจากคำรับของจำเลยที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนในทันทีทันใดภายหลังเกิดเหตุ โดยไม่ทันมีเวลาคิดไตร่ตรองหาลู่ทางบิดเบือนข้อเท็จจริงให้ผิดไปว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรถได้กำชับมิให้จำเลยบรรทุกทรายหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด แต่จำเลยลักลอบขนทรายขึ้นบรรทุกเองโดยผู้ร้องไม่รู้เห็น เพื่อนำทรายส่วนที่เกินไปขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว คำให้การดังกล่าวมีน้ำหนักพอรับฟังว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องมีสิทธิขอให้คืนรถยนต์บรรทุกของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถจักรยานยนต์มีสิทธิขอคืนรถได้ แม้จำเลย (บุตร) นำไปใช้กระทำผิด หากไม่มีเจตนาอนุญาตให้ใช้โดยเสรี
แม้ผู้ร้องจะเป็นบิดาของจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์และอาศัยอยู่บ้านหลังเดียวกันขณะผู้ร้องไม่อยู่บ้านจะเก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ในตู้โดยไม่มีที่ล็อกแต่ได้ความว่าผู้ร้องเคยอนุญาตให้จำเลยใช้รถแต่ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และยังเคยตักเตือนจำเลยว่าอย่าขับรถเร็วและอย่าประมาท ประกอบกับจำเลยขับรถจักรยานยนต์ไปใช้กระทำความผิดขณะที่ผู้ร้องไปเฝ้ามารดาที่ป่วยที่โรงพยาบาล พฤติการณ์จึงไม่มีข้อส่อแสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยนำรถของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการโดยไม่คำนึงว่าจำเลยจะนำรถไปใช้ในกิจการใดอันจะถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดในลักษณะที่เป็นการเสี่ยงภัยต่อร่างกายและชีวิตของจำเลย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอให้ศาลสั่งคืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่ผู้ร้องได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5142/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนรถเช่าซื้อหลังเกิดเหตุอาญา: ผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลซึ่งการให้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของผู้ร้อง เมื่อ ส. เช่าซื้อรถของกลางจากผู้ร้องไปแล้ว ผู้ร้องไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะนำรถของกลางไปใช้กระทำผิดเมื่อใดการที่ผู้ร้องมาขอคืนรถของกลางภายหลังเกิดเหตุ 1 ปีเศษ ไม่พอฟังว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะได้รถของกลางคืนแต่เป็นการขอคืนเพื่อประโยชน์ของ ส. ผู้เช่าซื้อทั้งการที่ผู้ร้องไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อทั้งที่ ส. ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 5 งวดสุดท้ายนั้น ก็น่าจะเป็นการให้โอกาสแก่ ส.ซึ่งเป็นลูกค้าชั้นดีและตามพฤติการณ์ไม่ปรากฏว่าส.รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ที่ผู้ร้องมาขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง จึงมิใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใดต้องคืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิด ต้องรอคำสั่งริบทรัพย์สินจากศาลก่อน
คำร้องของผู้ร้องเป็นกรณีขอคืนทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลต้องมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินก่อน จึงจะมีคำสั่งในเรื่องขอคืนของกลางได้ เมื่อคดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งยังไม่มีคำพิพากษาและมีคำสั่งให้ริบรถยนต์ของกลาง ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้คืนของกลางไม่ได้ ต้องรอฟังผลคำพิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองและขอให้ริบรถยนต์ของกลางเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีลักทรัพย์: การใช้ยานพาหนะเป็นเครื่องมือความผิด
จำเลย ผู้ร้อง และ ว.ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในคดีเดียวกัน โจทก์คดีนี้ได้แยกฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวโดยขอให้ริบรถยนต์ของกลางด้วย ศาลพิพากษาให้ริบของกลาง คดีถึงที่สุด ส่วนผู้ร้องและ ว. ถูกฟ้องที่ศาลอาญาโดยโจทก์ในคดีที่ผู้ร้องและ ว.ถูกฟ้องนั้นขอริบรถยนต์ของกลางเช่นกัน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอให้ริบรถยนต์ของกลาง ผู้ร้องจึงมายื่นคำร้องขอคืนของกลางในคดีนี้ เมื่อปรากฏว่า รถยนต์ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด จึงต้องคืนให้แก่ผู้ร้อง