คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 198

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: การเจ็บป่วยและการดำเนินการโดยผู้อื่น
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ โจทก์จะยื่นคำร้องดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
หากโจทก์เจ็บป่วยจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จริง โจทก์อาจให้ภริยาของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ดูแลโจทก์ในขณะเจ็บป่วยตามที่โจทก์อ้างในฎีกาเป็นผู้ติดต่อทนายความของโจทก์ซึ่งมีอำนาจอุทธรณ์เพื่อยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์หรือยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ได้ เพราะระยะเวลาดังกล่าวมีเวลาถึง 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟัง ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอสมควรที่โจทก์จะดำเนินการได้ทันทีตามกำหนด ข้ออ้างในฎีกาของโจทก์จึงมิใช่เหตุสุดวิสัย ส่วนข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์ที่ว่าโจทก์ถูกฟ้องขับไล่และทนายความของโจทก์อยู่ต่างจังหวัดก็มิใช่เหตุสุดวิสัยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์และการนับวันหยุดราชการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547 คู่ความย่อมยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์วันที่ 6 มีนาคม 2547 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2547 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ระยะเวลาที่ขยายออกไปจึงเริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์ คือ วันที่ 6 มีนาคม 2547 โดยเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2547 แม้วันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ดังนั้น จำเลยจึงยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 5 เมษายน 2547

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8659/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาอุทธรณ์คดีอาญา และเหตุสุดวิสัยในการขอขยายระยะเวลา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ซึ่งการนับระยะเวลาเริ่มต้นต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง โดยเริ่มนับแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 ส่วนวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์นั้น ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/5 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 มิได้เป็นวันต้นแห่งเดือนกำหนดระยะเวลาเป็นเดือนจึงไม่อาจคำนวณตามปีปฏิทินได้ ระยะเวลาสิ้นสุดย่อมเป็นวันที่ 18 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลา มิใช่ต้องนับระยะเวลาเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีกำหนด 11 วัน และเดือนมีนาคม 2547 มีกำหนด 19 วัน เป็น 30 วัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/6 วรรคหนึ่งและวรรคสาม เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการนับระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนดเป็นเดือนและส่วนของเดือน มิได้กำหนดระยะเวลาเป็นเดือน
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ส่วนคำว่า "เหตุสุดวิสัย" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึง เหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
เหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลาเนื่องจากจำเลยไม่สามารถตรวจพยานหลักฐานคำคู่ความซึ่งมีจำนวนมากและพยานหลักฐานอื่นของฝ่ายโจทก์ จำเลยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและอยู่ระหว่างสอบประจำภาคที่กรุงเทพมหานคร ทนายจำเลยไม่สามารถพบจำเลยและสอบถามรายละเอียดได้ทันระยะเวลายื่นอุทธรณ์ กับทนายจำเลยมีภาระต้องดำเนินคดีต่อเนื่องอีกหลายคดีนั้น เมื่อคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากเป็นพิเศษ ทั้งมิได้มีปัญหายุ่งยากสลับซับซ้อนจนทนายจำเลยไม่อาจตรวจหรือทำคำฟ้องอุทธรณ์ได้ทัน หรือต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยอีก จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8659/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาอุทธรณ์คดีอาญา และเหตุขยายเวลาต้องยื่นก่อนครบกำหนด เหตุผลที่อ้างไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ซึ่งการนับระยะเวลาเริ่มต้น การยื่นอุทธรณ์หนึ่งเดือนต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง โดยเริ่มนับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 ดังนั้น เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 มิได้เป็นวันต้นแห่งเดือน กำหนดระยะเวลาเป็นเดือนจึงไม่อาจคำนวณตามปีปฏิทินได้ ระยะเวลาสิ้นสุดย่อมเป็นวันที่ 18 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5 หาใช่ต้องนับระยะเวลาเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีกำหนด 11 วัน และเดือนมีนาคม 2547 มีกำหนด 19 วัน เป็น 30 วันตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/6 วรรคหนึ่งและวรรคสามไม่ เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการนับระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนดเป็นเดือนและส่วนของเดือนมิได้กำหนดระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2547 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2547 หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อีกทั้งเหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก็ไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์หลังวันหยุดราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้: ความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งรับอุทธรณ์
วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2544 เป็นวันรายออิฎิลฟิตรี วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2544 เป็นวันหยุดชดเชย ศาลจังหวัดยะลาจึงปิดทำการ จำเลยจึงมิอาจยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าวได้ และมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์หลังวันหยุดราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าชอบด้วยกฎหมาย
ตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือของศาลจังหวัดยะลาที่แนบท้ายคำร้องของจำเลยทั้งสองระบุว่า วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2544 เป็นวันรายออิฎิลฟิตรี วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2544 เป็นวันหยุดชดเชย โดยโจทก์มิได้ยื่นคำแก้ฎีกาคัดค้าน ดังนั้น วันที่ 17 ธันวาคม 2544 ศาลชั้นต้นปิดทำการ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าวได้และต้องยื่นอุทธรณ์ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรก สอดคล้องกับคำสั่งรับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นที่ระบุว่าวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ศาลชั้นต้นเปิดทำการเป็นวันแรก เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 18 ธันวาคม 2544 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีอาญาต้องกระทำก่อนสิ้นกำหนด หากเลยกำหนดแม้มีเหตุเชื่อถือคำบอกเล่าเจ้าหน้าที่ก็ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลาอุทธรณ์เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัย
ทนายจำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปถึงวันที่ 6 กันยายน 2545 ดังนั้น การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 12 กันยายน 2545 จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 30 วันต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 9 สิงหาคม 2545 โดยมีหมายเหตุท้ายคำร้องว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว" พร้อมทั้งลงลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ร้องไว้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอว่า อนุญาตให้ขยายเวลาถึงวันที่ 6 กันยายน 2545 ย่อมถือได้ว่าทนายจำเลยผู้ร้องทราบคำสั่งศาลในวันที่ยื่นคำร้องแล้ว ข้อที่อ้างว่าจำเลยเชื่อถือคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ศาลว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 12 กันยายน 2545 ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาดังกล่าว ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง มิใช่มีเหตุสุดวิสัย
ทนายจำเลยป่วยเจ็บเพราะเกิดอุบัติเหตุทำให้สมองกระเทือนต้องพักรักษาตัวโดยไม่ปรากฏว่ามีอาการถึงขนาดที่จะทำให้ไม่สามารถทำคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มายื่นได้ทันก่อนสิ้นระยะเวลา จึงไม่ถือเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุผล 'แต่งทนายช้า' ไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษ
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้ว จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังปรากฏว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ คดีของโจทก์ไม่มีข้อยุ่งยาก หากจำเลยหาทนายความและยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ก็อยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ แต่จำเลยเพิ่งแต่ทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ในวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ และทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อ้างว่าจำเลยเพิ่งแต่งทนายความเพื่อว่าความในชั้นอุทธรณ์ ทนายจำเลยไม่อาจเรียกฟ้องอุทธรณ์ได้ทัน จึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปสามสิบวัน ซึ่งข้ออ้างและเหตุผลดังกล่าวไม่ใช่กรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5689/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ต้องทำก่อนคดีถึงที่สุด และการไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาลับหลัง
การขอถอนคำร้องทุกข์ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ต้องถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2541 จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2541 แต่จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ถือว่าคดีถึงที่สุด การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยเป็นการไม่ชอบ เพราะการส่งหมายแจ้งวันนัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษา ศาลชั้นต้นชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องก่อนว่าเป็นจริงหรือไม่ หากเป็นจริงก็ชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาได้การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งว่าการอ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่เสียก่อนโดยไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์กรณีบริษัทมหาชนดำเนินการตามมติที่ประชุม และเกิดเหตุสุดวิสัยในการค้นหาสำนวน
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 20 วัน เนื่องจากที่ประชุมกรรมการบริษัทโจทก์เพิ่งมีมติให้ทนายโจทก์ยื่นอุทธรณ์ แต่ระยะเวลาที่เหลืออยู่กระชั้นชิดไม่สามารถทำอุทธรณ์ได้ทัน นับว่ามีเหตุอันสมควรและเป็นพฤติการณ์พิเศษเพราะโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด (มหาชน) การดำเนินการใด ๆในเรื่องสำคัญย่อมต้องกระทำในรูปมติของคณะกรรมการบริษัทซึ่งอาจไม่คล่องตัวหรือต้องล่าช้าไปบ้าง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับแรกก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ 2 วัน และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับที่สองโดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่ห้องเก็บสำนวนหาสำนวนไม่พบ โจทก์จึงยังไม่ทราบคำสั่งศาลตามคำร้องฉบับแรก โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาและยังมีความประสงค์จะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แสดงว่าโจทก์เอาใจใส่และติดตามคดีของตนตลอดมา เมื่อโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาลเพราะหาสำนวนไม่พบ โจทก์ก็ดำเนินการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลอีกครั้งหนึ่งทันที ตามรูปคดีนับว่ามีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุอันควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์
of 15