คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 198

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยที่ไม่สมเหตุผล การปฏิบัติภารกิจอื่นไม่ใช่เหตุขยายเวลา
โจทก์ซึ่งขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ครั้งหนึ่งแล้ว และสามารถทำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลได้ภายในระยะเวลาที่ศาลขยายให้ดังกล่าว แต่กลับไม่ทำ คงปฏิบัติภารกิจอื่นและเดินทางไปต่างจังหวัดจนถึงวันสุดท้ายที่ศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จึงมีกำหนดกลับที่พัก แต่เดินทางกลับในเที่ยวบินช่วงเช้าไม่ได้เพราะเที่ยวบินเต็ม จึงเดินทางกลับในเที่ยวบินบ่าย ทำให้ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ทัน ถือเป็นข้อบกพร่องของโจทก์เอง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8804/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาและการระบุประเด็นข้อกฎหมายที่เกินกำหนดอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ชอบจะอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำสั่งให้โจทก์ฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่งเมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจนพ้นกำหนด 1 เดือน ย่อมต้องถือว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้นั้นเป็นอันยุติแล้ว โจทก์อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาดังกล่าวต่อไปไม่ได้ ที่โจทก์ยื่นคำร้องครั้งหลังอ้างว่ามีเหตุสงสัยในคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง ขอให้เพิกถอนคำสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีถึงที่สุดและคำสั่งชอบแล้ว ไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งโจทก์ก็ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นเห็นได้ว่าไม่ใช่เหตุตามกฎหมายแต่เป็นการพยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์เพื่อให้กลับไปสู่การวินิจฉัยเรื่องถอนฟ้องซึ่งยุติไปแล้ว เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงให้โจทก์สามารถอุทธรณ์ได้แม้จะพ้นกำหนดเวลาอันเป็นการไม่ถูกต้องการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์เป็นการไม่ชอบและถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ฎีกาต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ไว้ไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8721/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ 1 เดือน ต้องคำนวณตามปีปฏิทิน หากไม่มีวันตรงกันให้ถือวันสุดท้ายของเดือน
กำหนดระยะเวลา 1 เดือน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ต้องคำนวณตามปีปฏิทิน และถ้าไม่มีวันตรงกันในเดือนสุดท้าย ก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายแห่งเดือนนั้นเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ฟังเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 และเดือนกุมภาพันธ์ 2544 มีเพียง 28 วัน จำเลยที่ 3 ต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 หากจำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวไม่ทัน จำเลยที่ 3 ต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องขอให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปได้ เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษเว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2544 โดยไม่มีเหตุสุดวิสัย จึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 แล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฎว่าจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งเพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์ – การขยายเวลา และการยื่นคำร้องต่อศาลอื่น
จำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 28 กันยายน 2541 จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนี้ภายในวันที่ 28 กันยายน 2541 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 หากไม่อาจยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลชั้นต้นได้โดยเหตุสุดวิสัย จำเลยจะยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลซึ่งตนอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 10 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ทนายจำเลยได้รับมอบหมายจากจำเลยให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดลพบุรี) และทนายจำเลยได้ ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไป 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาขอขยายวันที่ 29 กันยายน 2541 แต่ศาลชั้นต้น ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีนี้ไปเพียงวันที่ 28 กันยายน 2541 ซึ่งในวันที่ 28 กันยายน 2541 ทนายจำเลยไปดูที่เกิดเหตุคดีอื่นภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา เวลาประมาณ 8 นาฬิกา ปรากฏว่ารถยนต์ของทนายจำเลยขับไปชนก้อนหินขนาดใหญ่ เป็นเหตุให้ก้นถังน้ำมันเครื่องแตก ช่างไม่สามารถทำการซ่อมให้เสร็จในวันเดียวกันหรือหากเสร็จก็จะเป็นเวลาเย็น เป็นเหตุให้ทนายจำเลยกลับมายื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดลพบุรีไม่ทัน ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นศาลที่ทนายจำเลยอยู่ภายในเขตศาล เนื่องจากทนายจำเลยไปคนเดียวและรถยนต์ ของทนายจำเลยมีราคาประมาณสองล้านบาทและไม่รู้จักกับเจ้าของอู่ซ่อมรถ จึงไม่อาจทิ้งรถยนต์ไว้ที่อู่ซ่อมรถ เมื่อมีเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจที่จะกลับไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดลพบุรี) ได้ทัน ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อันเป็นเหตุสุดวิสัย ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทนายจำเลยอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 10 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์ – อุบัติเหตุทางรถยนต์ทำให้ไม่สามารถยื่นภายในกำหนดได้ ศาลอนุญาตให้ยื่นต่อศาลในเขตที่อยู่
ทนายจำเลยไปดูที่เกิดเหตุคดีอื่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา เวลา 8 นาฬิกา รถยนต์ที่ทนายจำเลยขับไปกระทบก้อนหิน ทำให้ก้นถังน้ำมันเครื่องแตกไม่สามารถซ่อมให้เสร็จในวันที่ครบกำหนดอุทธรณ์หรือหากเสร็จก็จะเป็นเวลาเย็น การที่ทนายจำเลยไปคนเดียวและรถของทนายจำเลยมีราคาสองล้านบาท ทั้งไม่รู้จักกับเจ้าของอู่ซ่อมรถจึงไม่อาจทิ้งรถไว้ได้ ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทนายจำเลยไม่อาจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดลพบุรีซึ่งเป็นศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้ ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทนายจำเลยอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7757/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดทางอาญา, คำฟ้องไม่เคลือบคลุม, องค์คณะศาลไม่ครบ, และการแก้ไขโทษของศาลอุทธรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 241 และ มาตรา 242ไม่มีผลเป็นการบังคับว่าในการพิสูจน์ความผิดของจำเลย โจทก์จะต้องพิสูจน์ด้วยพยานวัตถุ โจทก์อาจพิสูจน์ความผิดของจำเลยด้วยพยานหลักฐานอื่นที่ไม่ใช่พยานวัตถุก็ได้
โจทก์คดีนี้พิสูจน์ความผิดของจำเลยว่า ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยอ้างบัญชีของกลางคดีอาญา ซึ่งระบุว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในกระเป๋ากางเกงด้านขวามือของจำเลยและจำเลยลงชื่อรับว่าถูกต้องและเป็นจริงประกอบกับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของกลางว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดเมทแอมเฟตามีนโจทก์จึงไม่จำต้องนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาศาล
คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดจากการกระทำนั้น อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ซึ่งระบุรายละเอียดแตกต่างจากคำฟ้อง พนักงานสอบสวนเบิกความว่า เป็นการพิมพ์ผิดพลาด อีกทั้งคำฟ้องจะเคลือบคลุมหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกับรายละเอียดในคำร้องขอฝากขังแต่ประการใดคำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ทุกครั้งที่มีการพิจารณาคดี จำเลยและทนายจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าการนั่งพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะ จนกระทั่งมีคำพิพากษาจึงให้ผู้พิพากษาอีก 1 คน ที่ไม่ได้นั่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาด้วยแต่เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านตั้งแต่ขณะที่ศาลชั้นต้นกำลังดำเนินกระบวนพิจารณาอยู่ต่อหน้าจำเลย เป็นการละเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในเวลาอันสมควร ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละสิทธินั้นแล้ว จำเลยจะยกขึ้นโต้แย้งเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาแล้วไม่ได้
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 กำหนดระดับการลงโทษไว้โดยโทษจำคุกอยู่ใน (2) ส่วนโทษปรับอยู่ใน (4) ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 8 เดือน จำเลยอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นปรับอีกสถานหนึ่งแต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้จึงไม่เป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7757/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดทางอาญา, คำฟ้องเคลือบคลุม, การนั่งพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะ, และการแก้ไขโทษของศาลอุทธรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 241และมาตรา 242 ไม่มีผลเป็นการบังคับว่าในการพิสูจน์ความผิดของจำเลย โจทก์จะต้องพิสูจน์ด้วยการนำพยานวัตถุมาศาลโจทก์อาจพิสูจน์ความผิดของจำเลยด้วยพยานหลักฐานอื่นที่ไม่ใช่พยานวัตถุได้
โจทก์พิสูจน์ความผิดของจำเลยว่า ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1โดยอ้างบัญชีของกลางคดีอาญา ซึ่งระบุว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในกระเป๋ากางเกงด้านขวามือของจำเลย และจำเลยลงชื่อรับว่าถูกต้องและเป็นจริงประกอบกับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของกลางว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ชนิดเมทแอมเฟตามีนโจทก์จึงไม่จำต้องนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาศาลอีก
คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดจากการกระทำนั้น อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนคำร้องขอฝากขังซึ่งระบุรายละเอียดแตกต่างจากคำฟ้อง พนักงานสอบสวนเบิกความว่า เป็นการพิมพ์ผิดพลาด อีกทั้งคำฟ้องจะเคลือบคลุมหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกับรายละเอียดในคำร้องขอฝากขังแต่ประการใดคำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาว่า การนั่งพิจารณาคดีโดยไม่ครบองค์คณะมีผู้พิพากษาเพียงนายเดียวนั่งพิจารณาจนกระทั่งมีคำพิพากษาจึงให้ผู้พิพากษาอีก 1 คน ที่ไม่ได้นั่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาด้วยชอบหรือไม่ปรากฏว่าทุกครั้งที่มีการพิจารณาคดี จำเลยทนายจำเลยทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวดีอยู่แล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านตั้งแต่ขณะที่ศาลชั้นต้นกำลังดำเนินกระบวนพิจารณาอยู่ต่อหน้าจำเลย เป็นการละเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในเวลาอันสมควรย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละสิทธินั้นแล้ว จำเลยจะยกขึ้นโต้แย้งเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาแล้วไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 8 เดือน จำเลยอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นปรับอีกสถานหนึ่งโดยปรับจำเลย8,000 บาท แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ ไม่เป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7757/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานในคดีอาญา, การพิสูจน์ความผิด, การไม่โต้แย้งกระบวนการพิจารณา, การปรับแก้โทษ
ป.วิ.อ. มาตรา 241 และมาตรา 242 ไม่มีผลเป็นการบังคับว่าในการพิสูจน์ความผิดของจำเลย โจทก์จะต้องพิสูจน์ด้วยการนำพยานวัตถุมาศาลโจทก์อาจพิสูจน์ความผิดของจำเลยด้วยพยานหลักฐานอื่นที่ไม่ใช่พยานวัตถุได้
โจทก์พิสูจน์ความผิดของจำเลยว่า ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยอ้างบัญชีของกลางคดีอาญา ซึ่งระบุว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในกระเป๋ากางเกงด้านขวามือของจำเลย และจำเลยลงชื่อรับว่าถูกต้องและเป็นจริงประกอบกับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของกลางว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ชนิดเมทแอมเฟตามีน โจทก์จึงไม่จำต้องนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาศาลอีก
คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดจากการกระทำนั้น อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนคำร้องขอฝากขังซึ่งระบุรายละเอียดแตกต่างจากคำฟ้อง พนักงานสอบสวนเบิกความว่า เป็นการพิมพ์ผิดพลาด อีกทั้งคำฟ้องจะเคลือบคลุมหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกับรายละเอียดในคำร้องขอฝากขังแต่ประการใด คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาว่า การนั่งพิจารณาคดีโดยไม่ครบองค์คณะมีผู้พิพากษาเพียงนายเดียวนั่งพิจารณาจนกระทั่งมีคำพิพากษาจึงให้ผู้พิพากษาอีก 1 คน ที่ไม่ได้นั่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาด้วยชอบหรือไม่ ปรากฎว่าทุกครั้งที่มีการพิจารณาคดี จำเลยทนายจำเลยทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวดีอยู่แล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านตั้งแต่ขณะที่ศาลชั้นต้นกำลังดำเนินกระบวนพิจารณาอยู่ต่อหน้าจำเลย เป็นการละเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในเวลาอันสมควร ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละสิทธินั้นแล้ว จำเลยจะยกขึ้นโต้แย้งเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาแล้วไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 8 เดือน จำเลยอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นปรับอีกสถานหนึ่งโดยปรับจำเลย 8,000 บาท แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ ไม่เป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7616/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำคุกรอการลงโทษและการเพิกถอนการรอการลงโทษเมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขคุมประพฤติ คดีถึงที่สุดแล้ว
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 4 มีกำหนด 1 ปี แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และคุมความประพฤติโดยกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยที่ 4 ไว้ 1 ปี ต่อมาจำเลยที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ลงโทษจำคุกที่รอไว้แก่จำเลยที่ 4 และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงเป็นอันถึงที่สุด ตาม พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคสอง จำเลยที่ 4 จะฎีกาต่อมาไม่ได้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำสั่งศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยที่ 4 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็หาทำให้คดีของจำเลยที่ 4 ซึ่งถึงที่สุดแล้วเปลี่ยนแปลงเป็นไม่ถึงที่สุดไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4639/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพลาดของเสมียนทนายไม่ใช่เหตุสุดวิสัยในการขยายเวลาอุทธรณ์ แม้จะได้รับอนุญาตขยายเวลาไปแล้ว
เสมียนทนายจำเลยจดและจำวันครบกำหนดอุทธรณ์ที่ได้รับอนุญาตให้ขยายเวลาผิดพลาดไป เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากความไม่รอบคอบเป็นการประมาทเลินเล่อ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์ได้เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งแรกออกไป จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 2 ภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตขยายให้สิ้นไปแล้ว โดยไม่ปรากฏมีพฤติการณ์พิเศษ กรณีไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้
of 15