พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4639/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพลาดในการจดวันครบกำหนดอุทธรณ์ของเสมียนทนาย ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ขยายเวลาอุทธรณ์ไม่ได้
เสมียนทนายจำเลยจดและจำวันครบกำหนดอุทธรณ์ที่ได้รับอนุญาตให้ขยายเวลาผิดพลาดไป เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากความไม่รอบคอบ เป็นการประมาทเลินเล่อ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์ได้เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งแรกออกไปจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 2 ภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตขยายให้สิ้นไปแล้ว โดยไม่ปรากฏมีพฤติการณ์พิเศษ กรณีไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งแรกออกไปจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 2 ภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตขยายให้สิ้นไปแล้ว โดยไม่ปรากฏมีพฤติการณ์พิเศษ กรณีไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องยื่นก่อนครบกำหนด หากเลยกำหนดศาลไม่มีอำนาจรับอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงแล้วโดยกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัยศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปให้ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1อุทธรณ์ขึ้นมา
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1อุทธรณ์ขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่เกินกำหนดระยะเวลา และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีของจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น และหากเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 213มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์และการพิจารณาคดีเมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลมีอำนาจตามมาตรา 213 ป.วิ.อ.
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงแล้วโดยกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปให้ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้นหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้นหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งปรับผู้ประกันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกัน การนับระยะเวลาอุทธรณ์ และการลดค่าปรับ
ผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตั้งแต่วันที่ 31กรกฎาคม 2541 และศาลชั้นต้นได้สั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันไปแล้ว แต่ในวันนัดพร้อมผู้ประกันแถลงขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยเนื่องจากจำเลยหลบหนี ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ประกันติดตามจำเลยอีก 1 เดือน ย่อมมีความหมายว่าในช่วงเวลาที่ศาลอนุญาตให้ผู้ประกันติดตามจำเลย ศาลจะยังไม่บังคับผู้ประกันให้ชำระค่าปรับตามสัญญาประกัน และเป็นที่เข้าใจว่าหากผู้ประกันสามารถติดตามจำเลยมาส่งศาลได้ศาลชั้นต้นย่อมสั่งลดค่าปรับให้แก่ผู้ประกัน แม้ในวันนัดพร้อมนัดต่อมา ผู้ประกันยังไม่สามารถติดตามจำเลยได้ และขอเลื่อนการส่งตัวอีกครั้งหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและสั่งว่าถือว่าผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ให้บังคับตามสัญญาประกันโดยให้ชำระค่าปรับภายใน 1 เดือน แต่ในวันนัดพร้อมวันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นนัดสุดท้ายนั้นผู้ประกันก็มาศาลแถลงขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยอีก ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งว่าไม่อนุญาตให้เลื่อนการส่งตัวจำเลย ให้ผู้ประกันชำระค่าปรับภายใน 30 วัน และให้จำหน่ายคดีชั่วคราว เห็นได้ว่า คำสั่งศาลชั้นต้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2541 มีความหมายว่าให้ผู้ประกันชำระค่าปรับตามสัญญาประกันจำนวน 1,000,000 บาท ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่ง การที่ผู้ประกันอุทธรณ์ว่าหลังจากศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2541แล้วผู้ประกันได้ประสานงานกับเจ้าพนักงานตำรวจให้จับกุมจำเลยในทันทีที่จำเลยเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย ขอให้แก้ไขคำสั่งศาลชั้นต้นลดค่าปรับลงด้วยถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2541ที่ได้สั่งบังคับตามสัญญาประกัน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 119 ทั้งการขอลดค่าปรับไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ขอลดค่าปรับจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นก่อน เมื่อผู้ประกันได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม2541 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ประกันจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์และการนับวันสุดท้ายของกำหนดเวลาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 บัญญัติว่า"ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา" หมายถึงว่า หากไม่มีการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ตรงกับวันหยุดราชการจำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์ในวันอันเป็นวันแรกของการเปิดทำการปรกติได้เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ครบกำหนด วันที่ครบกำหนดดังกล่าวจึงมิใช่วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์อีกต่อไป จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8มาปรับใช้มิได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป 10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์2542 ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป 10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์2542 ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายเวลาอุทธรณ์และการนับระยะเวลา - วันหยุดราชการ
ป.พ.พ.มาตรา 193/8 บัญญัติว่า "ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา" หมายถึงว่า หากไม่มีการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ตรงกับวันหยุดราชการ จำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์ในวันอันเป็นวันแรกของการเปิดทำการปรกติได้เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ครบกำหนดวันที่ครบกำหนดดังกล่าวจึงมิใช่วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์อีกต่อไป จึงนำ ป.พ.พ.มาตรา 193/8 มาปรับใช้มิได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจฟ้องอุทธรณ์และการปฏิบัติตามกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ถูกต้อง
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ว. ทนายความเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียง/พิมพ์ โดย ว. มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน ทั้งที่เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องตรวจอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225 โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อนแล้วส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามกระบวนพิจารณาเรื่องการแต่งทนายความ และอำนาจศาลฎีกาในการแก้ไข
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ว.ทนายความเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียง/พิมพ์ โดย ว.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ และป.วิ.อ.มาตรา158(7) บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน ทั้งที่เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องตรวจอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อนแล้วส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด: ความบกพร่องของทนายจำเลยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์พร้อมอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว เหตุที่จำเลยยกขึ้นอ้างว่าเพราะเสมียนทนายจำเลยแจ้งต่อทนายจำเลยว่าศาลอนุญาตในการขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สาม ทำให้ทนายจำเลยเข้าใจว่าศาลอนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ตามขอ เป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ที่จะขยายเวลาให้จำเลยยื่นอุทธรณ์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ไต่สวน แต่สั่งยกคำร้องของจำเลยและสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นชอบแล้ว