พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด: ความบกพร่องของทนายจำเลยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์พร้อมอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว เหตุที่จำเลยยกขึ้นอ้างว่าเพราะเสมียนทนายจำเลยแจ้งต่อทนายจำเลยว่าศาลอนุญาตในการขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สาม ทำให้ทนายจำเลยเข้าใจว่าศาลอนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ตามขอ เป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ที่จะขยายเวลาให้จำเลยยื่นอุทธรณ์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ไต่สวน แต่สั่งยกคำร้องของจำเลยและสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งปรับผู้ประกัน การยื่นคำร้องซ้ำ และกรอบเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 วรรคแรกบัญญัติเพียงว่า เมื่อศาลสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ แต่ ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้ว่า เมื่อศาลสั่งปรับผู้ประกันแล้ว และผู้ประกันได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาลดค่าปรับ แต่ศาลชั้นต้น ยกคำร้องของผู้ประกัน ผู้ประกันนั้นจะยื่นคำร้องขอให้พิจารณา ลดค่าปรับซ้ำอีกไม่ได้ การที่ ผู้ประกันยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้พิจารณาลดค่าปรับ ให้แก่ผู้ประกันใหม่อีกนั้นก็ไม่มีเหตุส่อให้เห็นว่าเป็นการ ยื่นเกินความจำเป็น จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หรือขยายอายุอุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อผู้ประกันได้ยื่นคำร้อง ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2540 วันที่ 3 ตุลาคม 2540 และวันที่ 10 พฤศจิกายน 2540 ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาลดค่าปรับ แต่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งยกคำร้องทั้ง 3 ครั้งผู้ประกันย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ประกันครั้งสุดท้ายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคแรก เมื่อนับแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2540 ถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2540 ที่ผู้ประกันทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ จึงยังไม่เกิน 1 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องรับพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ประกันทั้งสี่ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีโดยวิธีปิดประกาศไม่ชอบ หากยังส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาได้
คดีอาญา ศาลชั้นต้นส่งประเด็นไปสืบพยานโจทก์ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตามที่โจทก์ขอ โจทก์ร่วมแถลงไม่ตาม ประเด็นไป ศาลอาญากรุงเทพใต้สืบพยานประเด็นโจทก์ แล้วส่งประเด็นคืน ศาลชั้นต้นนัดฟังประเด็นกลับตามวันเวลานัด ที่ผู้แทนโจทก์และจำเลยขอ และนัดสืบพยานจำเลยโดยโจทก์ร่วม ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยในวันนัดดังกล่าวและคดีเสร็จ การพิจารณา จึงนัดฟังคำพิพากษา ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นยังทำ คำพิพากษาไม่เสร็จจึงเลื่อนคดีไป ทั้งนี้ศาลชั้นต้นแจ้ง วันนัดสืบพยานจำเลยและวันนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวแต่ละครั้ง ให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาล เมื่อการส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นแทนการส่งหมายโดยวิธีธรรมดาให้แก่คู่ความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 15 ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึง 78 แล้ว ถ้ายัง สามารถส่งหมายนัดให้แก่คู่ความโดยวิธีธรรมดาได้ การส่งหมายนัด ให้แก่คู่ความโดยวิธีอื่นตามมาตรา 79 ย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยก็ดี วันนัดฟัง คำพิพากษาก็ดีให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาล โดยไม่ได้ดำเนินการส่งหมายนัดดังกล่าวให้โจทก์ร่วมทราบ โดยวิธีธรรมดาก่อน ทั้ง ๆ ที่โจทก์ร่วมและทนายโจทก์ร่วม มีภูมิลำเนาปรากฏอยู่ในสำนวนชัดแจ้ง แม้วันนัดสืบพยาน ประเด็นโจทก์นัดแรกที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตัวโจทก์ร่วม ไปศาลก็ตาม แต่ศาลอาญากรุงเทพใต้ก็เลื่อนคดีไปเนื่องจาก ไม่มีพยานโจทก์มาศาล หลังจากนั้นโจทก์ร่วมไม่ได้ไปศาลอีก กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมทราบวันนัดดังกล่าว กรณีมีเหตุอนุญาต ให้โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 15 วัน ตามคำร้องของโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดพิจารณาคดีโดยวิธีปิดประกาศที่ไม่ชอบตามกฎหมาย และผลกระทบต่อสิทธิในการพิจารณาคดีของโจทก์ร่วม
คดีอาญา ศาลชั้นต้นส่งประเด็นไปสืบพยานโจทก์ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตามที่โจทก์ขอ โจทก์ร่วมแถลงไม่ตามประเด็นไป ศาลอาญากรุงเทพใต้สืบพยานประเด็นโจทก์แล้วส่งประเด็นคืน ศาลชั้นต้นนัดฟังประเด็นกลับตามวันเวลานัดที่ผู้แทนโจทก์และจำเลยขอ และนัดสืบพยานจำเลยโดยโจทก์ร่วมไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยในวันนัดดังกล่าวและคดีเสร็จการพิจารณา จึงนัดฟังคำพิพากษา ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นยังทำคำพิพากษาไม่เสร็จจึงเลื่อนคดีไป ทั้งนี้ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยและวันนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวแต่ละครั้งให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาล เมื่อการส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นแทนการส่งหมายโดยวิธีธรรมดาให้แก่คู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 15 ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึง 78 แล้ว ถ้ายังสามารถส่งหมายนัดให้แก่คู่ความโดยวิธีธรรมดาได้ การส่งหมายนัดให้แก่คู่ความโดยวิธีอื่นตามมาตรา 79 ย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยก็ดี วันนัดฟังคำพิพากษาก็ดีให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาลโดยไม่ได้ดำเนินการส่งหมายนัดดังกล่าวให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีธรรมดาก่อน ทั้ง ๆที่โจทก์ร่วมและทนายโจทก์ร่วมมีภูมิลำเนาปรากฏอยู่ในสำนวนชัดแจ้ง แม้วันนัดสืบพยานประเด็นโจทก์นัดแรกที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตัวโจทก์ร่วมไปศาลก็ตาม แต่ศาลอาญากรุงเทพใต้ก็เลื่อนคดีไปเนื่องจากไม่มีพยานโจทก์มาศาล หลังจากนั้นโจทก์ร่วมไม่ได้ไปศาลอีก กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมทราบวันนัดดังกล่าว กรณีมีเหตุอนุญาตให้โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 15 วัน ตามคำร้องของโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4125/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการอุทธรณ์โดยทนายความที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ และการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ถูกต้อง
อ. ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์ในฐานะทนายจำเลยโดยไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายความในสำนวนคำฟ้องอุทธรณ์ของ จำเลยจึงเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง อ.เป็นทนายจำเลยให้มีอำนาจอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยก่อนยื่นฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องสั่งแก้ไขและถือว่าจำเลยยื่นคำฟ้อง อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยเสียโดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ ที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และการแก้ไขอุทธรณ์ต้องยื่นภายในกำหนดเวลา การรับคำรับสารภาพ และรายงานการสืบเสาะพฤติการณ์
การยื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 ได้กำหนดให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง อันเป็นการกำหนดระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ไว้ซึ่งต่างกับการยื่นคำฟ้องในศาลชั้นต้นที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นฟ้องไว้ ดังนั้นหากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3จะขอแก้หรือเพิ่มเติมอุทธรณ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ก็จะต้องยื่นภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ด้วยเช่นกัน จะนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นคำร้องขอแก้และเพิ่มเติมอุทธรณ์ล่วงเลยกำหนดอายุอุทธรณ์แล้ว จึงรับไว้พิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์เดิมไม่ได้ คำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3มิใช่คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเพียงคำแถลงอย่างหนึ่งซึ่งทนายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ได้อ่านข้อความในคำแถลงประกอบคำรับสารภาพดังกล่าว และศาลชั้นต้นไม่ได้สอบจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 ก็ตาม คำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 นั้น ก็ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นเป็นผู้สั่งให้พนักงานคุมประพฤติไปทำการสืบเสาะประวัติความประพฤติ และพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แล้วให้พนักงานคุมประพฤติทำรายงานเสนอต่อศาล เพื่อศาลจะได้ใช้รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติดังกล่าวประกอบดุลพินิจในการลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เมื่อศาลชั้นต้นได้แจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ทราบแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่คัดค้าน และยืนยันให้การ รับสารภาพเช่นเดิมเช่นนี้ กระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้น กระทำต่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง: การอนุญาต/รับรองโดยผู้พิพากษา/อัยการสูงสุด & การฎีกาคำสั่งศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานหมิ่นประมาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมดังกล่าว กรณีจึงเป็นเรื่องที่มีเหตุพิเศษแตกต่างไปจากกรณีการรับหรือไม่ยอมรับอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 และ 198 ทวิดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างใดคดีก็ยังไม่เป็นที่สุดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 198 ทวิ วรรคท้าย คู่ความที่ไม่พอใจคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมฎีกาได้ ตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมนอกจากอ้างเหตุที่จะขอให้อัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วยังอ้างเหตุที่ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเอกสารในสำนวนซึ่งมีเป็นจำนวนมากเพื่อทำอุทธรณ์อีกด้วยจึงมิใช่ขอขยายระยะเวลาเพื่อให้อัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเพียงอย่างเดียว แม้โจทก์ร่วมใช้สิทธิขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว แต่อัยการสูงสุดไม่รับรองอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ร่วมที่จะขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเสียไป บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ตรี และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาหรืออัยการสูงสุดอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น มิได้บัญญัติจำกัดสิทธิของคู่ความหรือโจทก์ร่วมให้ต้องเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อขออนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไว้ภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้นั้นจึงชอบแล้ว กรณีไม่อาจถือว่าระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่โจทก์ร่วมได้รับอนุญาตให้ขยายได้สิ้นสุดลงนับแต่วันที่อัยการสูงสุดไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม และเมื่อคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงชอบแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์และเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไว้ก่อนจะมีคำสั่งเพิกถอน ต้องถือว่าคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ครั้นเมื่อโจทก์ร่วมยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งเดิมขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์เช่นนี้ถือได้ว่า มีคำร้องขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดโดยทำเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7127/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมตัวผู้อุทธรณ์หลังพ้นกำหนดอายุความอุทธรณ์ ศาลยกคำร้อง
ตามอุทธรณ์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ทนายจำเลยผู้อุทธรณ์ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไว้ด้วย แสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยผู้อุทธรณ์ประสงค์อุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 3 เท่านั้น เมื่อไม่ใช่เป็นกรณีที่พิมพ์ผิดพลาด การที่ทนายจำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อล่วงเลยเวลากำหนดอายุอุทธรณ์จากจำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ เป็นว่าจำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ จึงเป็นการเพิ่มเติมตัวผู้อุทธรณ์จากจำเลยที่ 1 และที่ 3 มาเป็นจำเลยทั้งห้า จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งยกคำร้องดังกล่าวเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7127/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมตัวผู้อุทธรณ์หลังพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์ ศาลมีสิทธิยกคำร้อง
ตามอุทธรณ์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ทนายจำเลยผู้อุทธรณ์ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไว้ด้วย แสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยผู้อุทธรณ์ประสงค์อุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 3 เท่านั้น เมื่อไม่ใช่เป็นกรณีที่พิมพ์ผิดพลาด การที่ทนายจำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อล่วงเลยเวลากำหนดอายุอุทธรณ์จากจำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ เป็นว่าจำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ จึงเป็นการเพิ่มเติมตัวผู้อุทธรณ์จากจำเลยที่ 1 และที่ 3 มาเป็นจำเลยทั้งห้า จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งยกคำร้องดังกล่าวเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7127/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์หลังหมดอายุความและการตีความเจตนาของผู้ฟ้องอุทธรณ์
ตามอุทธรณ์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ทนายจำเลยผู้อุทธรณ์ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3ไว้ด้วย แสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยผู้อุทธรณ์ประสงค์อุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 1และที่ 3 เท่านั้น เมื่อไม่ใช่เป็นกรณีที่พิมพ์ผิดพลาด การที่ทนายจำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อล่วงเลยเวลากำหนดอายุอุทธรณ์จากจำเลยที่ 1และที่ 3 อุทธรณ์ เป็นว่าจำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ จึงเป็นการเพิ่มเติมตัวผู้อุทธรณ์จากจำเลยที่ 1 และที่ 3 มาเป็นจำเลยทั้งห้า จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งยกคำร้องดังกล่าวเสีย