คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 112

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการไต่สวนละเมิดอำนาจศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานโดยชอบธรรม การสอบปากคำไม่เพียงพอ
การกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลโดยที่มิได้กระทำต่อหน้าศาลและผู้กล่าวหาให้การปฏิเสธ ศาลจำต้องไต่สวนพยานหลักฐานเพื่อหาข้อเท็จจริงก่อน การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สอบปากคำ ด. และผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่ปรากฏว่า ด. ได้สาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 112 ดังนี้ ถ้อยคำ ด. จึงรับฟังเป็นความจริงยังไม่ได้ ปัญหาว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ถูกกล่าวหามิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการละเมิดอำนาจศาลต้องไต่สวนพยานหลักฐานก่อนตัดสิน หากไม่มีการไต่สวน ถ้อยคำของพยานยังไม่เป็นที่รับฟัง
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลซึ่งมิได้กระทำต่อหน้าศาล และผู้ถูกกล่าวหาให้การปฏิเสธ ศาลต้องไต่สวนพยานหลักฐานหาข้อเท็จจริงเสียก่อนให้ได้ความว่ามีการกระทำดังกล่าวหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นเพียงสอบถามปากคำของ ด. และผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่ปรากฏว่า ด. ได้สาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 112 ถ้อยคำของ ด. จึงรับฟังเป็นความจริงยังไม่ได้ ปัญหาว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ถูกกล่าวหามิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275-1278/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีแรงงาน: เอกสารประกอบการแถลงรับข้อเท็จจริงและการสาบานตนพยาน
เอกสารที่จำเลยยื่นส่งต่อศาลแรงงานกลางเพื่อประกอบการแถลงรับข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวของคู่ความและศาลแรงงานกลางได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นมิใช่เอกสารที่จำเลยอ้างประกอบการสืบพยานของจำเลยแต่อย่างใดจึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31 ทั้งการแถลงรับข้อเท็จจริงของคู่ความดังกล่าวก็เป็นกรณีที่ทำให้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในเอกสารรับฟังเป็นยุติโดยไม่จำต้องนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงอีก เมื่อไม่มีการสืบพยานก็ย่อมไม่มีการสาบานตนของพยานตลอดถึงการซักถามพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31,45 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนและการพิสูจน์ความผิดทางอาญา จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานประกอบอื่นเพื่อยืนยันความผิด
โจทก์มีประจักษ์พยานเพียงปากเดียว คือ เด็กหญิง ด. ผู้เสียหาย แต่โจทก์ไม่สามารถนำผู้เสียหายมาเบิกความในชั้นพิจารณา คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นเพียงพยานบอกเล่า มิได้ทำต่อหน้าศาลและต่อหน้าจำเลย เป็นคำให้การที่พยานมิได้สาบานตนตามลัทธิศาสนาต่อหน้าศาล มิได้ผ่านการถามค้านเพื่อหาความจริงโดยละเอียดตามกระบวนการ คำให้การดังกล่าวจึงมีน้ำหนักน้อยที่จะรับฟังลงโทษจำเลย
โจทก์คงมีพยานในข้อว่าจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนดังพยานได้สอบสวนไว้เท่านั้น เมื่อในชั้นพิจารณาจำเลยให้การปฏิเสธ การรับฟังคำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยดังกล่าวเพื่อลงโทษจำเลย โจทก์ต้องมีพยานประกอบว่าจำเลยกระทำผิดจริง โดยพยานประกอบนั้นต้องมิใช่คำของเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวน คำรับสารภาพนั้นเอง ส่วนบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและภาพถ่ายประกอบการนำชี้ที่เกิดเหตุนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนเช่นเดียวกัน ไม่ใช่พยานหลักฐานที่จะนำมารับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนเพื่อให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสืบประกอบคำรับดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา และนำสืบปฏิเสธคำรับดังกล่าวว่าพนักงานสอบสวนได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยถูกขู่เข็ญบังคับไม่สมัครใจให้การรับสารภาพ พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักน้อย ไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยได้ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1760/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานในคดีแรงงานเมื่อข้อเท็จจริงเพียงพอต่อการวินิจฉัย
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลแรงงานกลางได้ไกล่เกลี่ยและสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นจากโจทก์จำเลยแล้ว ทนายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริง เมื่อศาลแรงงานกลางได้พิจารณาคำฟ้อง คำให้การและคำแถลงของโจทก์จำเลยประกอบกับเอกสารแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว จึงให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียดังนี้เมื่อไม่มีการสืบพยานก็ย่อมไม่มีการสาบานหรือปฏิญาณตนของพยานตลอดถึงการซักถามพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112 และมาตรา 117อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีวันที่ออก: ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค, ศาลรับฟังพยานหลักฐานฝ่ายจำเลย
การเป็นพยานในศาลจะต้องสาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณว่า จะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อนเบิกความ และในการเบิกความศาล มีอำนาจที่จะซักถามพยานและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชอบที่จะถาม ค้านพยานได้ แม้พยานจะพูดภาษาไทยไม่ได้ก็สามารถใช้ล่ามแปลได้ การที่ตัวโจทก์เป็นชาวจีนฮ่องกง ก็ไม่เป็นข้อขัดข้อง ที่จะมาเป็นพยาน ดังนั้นการที่ตัวโจทก์ไม่มาเป็นพยานในศาล จึงทำให้พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักน้อยและเป็นข้อพิรุธ จำเลยที่ 2 ออกเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย ย่อมถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด แม้ต่อมาจะมีการประทับตรายางวันที่ตามข้อตกลงอันมีต่อกันระหว่างคู่กรณี ก็ตาม ก็มีผลเพียงให้เช็คพิพาทนั้นสมบูรณ์ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ในทางแพ่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 แม้จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกา จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาด้วยก็ตาม แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความพยาน, เช็คไม่มีวันที่, และขอบเขตอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
การเป็นพยานในศาลจะต้องสาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อนเบิกความ และในการเบิกความศาลมีอำนาจที่จะซักถามพยานและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชอบที่จะถามค้านพยานได้ แม้พยานจะพูดภาษาไทยไม่ได้ก็สามารถใช้ล่ามแปลได้ การที่ตัวโจทก์เป็นชาวจีนฮ่องกงก็ไม่เป็นข้อขัดข้องที่จะมาเป็นพยาน ดังนั้นการที่ตัวโจทก์ไม่มาเป็นพยานในศาลจึงทำให้พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักน้อยและเป็นข้อพิรุธ
จำเลยที่ 2 ออกเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย ย่อมถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด แม้ต่อมาจะมีการประทับตรายางวันที่ตามข้อตกลงอันมีต่อกันระหว่างคู่กรณีก็ตาม ก็มีผลเพียงให้เช็คพิพาทนั้นสมบูรณ์ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 แม้จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกา จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาด้วยก็ตาม แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความพยานสำคัญต้องมีการสาบานตัวและใช้ล่ามตามกฎหมาย หากไม่ถูกต้อง ศาลต้องย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาใหม่
ตามแบบพิมพ์คำให้การของ จ.พยานโจทก์ว่า พยานได้สาบานตัวแล้ว จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านในขณะที่พยานเบิกความว่าพยานไม่ได้สาบานตัว เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา กรณี จึงต้องฟังว่าพยานได้สาบานตัวก่อนเข้าเบิกความแล้ว
ศาลชั้นต้นมิได้บันทึกไว้ในคำให้การพยานว่า ล่ามได้สาบานตนแล้วทั้งล่ามก็มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้นอันเป็น การขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 เมื่อพยานดังกล่าวเป็นพยานสำคัญที่สุดในคดีเพียงปากเดียว ศาลฎีกาจึงย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสาบานตัวพยานและคุณสมบัติของล่ามในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
ตามแบบพิมพ์คำให้การของ จ.พยานโจทก์ว่า พยานได้สาบานตัวแล้ว จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านในขณะที่พยานเบิกความว่า พยานไม่ได้สาบานตัวเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา กรณี จึงต้องฟังว่าพยานได้สาบานตัวก่อนเข้าเบิกความแล้ว
ศาลชั้นต้นมิได้บันทึกไว้ในคำให้การพยานว่า ล่ามได้สาบานตนแล้วทั้งล่ามก็มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้น อันเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 เมื่อพยานดังกล่าวเป็นพยานสำคัญที่สุดในคดีเพียงปากเดียว ศาลฎีกาจึงย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การปลอมลายมือชื่อผู้ขอประกันเพื่อยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว
ในคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวมีลายมือชื่อ ส. ในช่องผู้ขอประกันซึ่งน่าเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อปลอมและมีลายมือชื่อจำเลย พฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่า จำเลยรู้เห็นในการปลอมลายมือชื่อ ส. ในช่องผู้ขอประกันแล้วให้นำมายื่นต่อศาลชั้นต้นและแถลงเท็จต่อศาล การกระทำของจำเลยจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31และมาตรา 33
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เป็นความผิดต่อศาล ถ้าได้กระทำต่อหน้าศาล ข้อเท็จจริงอันเป็นความผิดก็จะปรากฏต่อศาลแล้ว ศาลย่อมลงโทษได้ทันที แต่ถ้ามิได้กระทำต่อหน้าศาลหรือศาลยังไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏต่อศาลนั้นจะเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ ศาลก็ชอบที่จะไต่สวนหาความจริงในภายหลังได้
บทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงได้โดยไม่จำต้องกระทำต่อหน้าจำเลยดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป การที่ศาลชั้นต้นบันทึกถ้อยคำของ ส. ไว้ในแบบพิมพ์คำให้การโดย ส. ได้ปฏิญาณหรือสาบานตนแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112 แม้จะมิได้กระทำต่อหน้าจำเลย ก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว
ศาลล่างมิได้อ้างบทกฎหมายที่เป็นบทลงโทษจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทเสียให้ถูกต้องได้
of 3