คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 576

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311-1312/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการใช้รถร่วมเดินรถ และความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างในการเดินรถ
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานเดินรถประจำทางในเส้นทางสายอำเภอเมืองภูเก็ตกับท่าฉัตรไชย ยินยอมให้จำเลยที่ 4 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นคนขับเข้ามาเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มีและใช้รถคันดังกล่าวนั้นในกิจการของจำเลยที่ 3 แล้วแม้ตรงที่จำเลยที่ 5 ขับรถไปเกิดเหตุจะเป็นเส้นทางนอกสัมปทานของจำเลยที่ 3 แต่ก็ปรากฏว่าเป็นเส้นทางที่จำเลยที่ 3 ยินยอมให้รถคันดังกล่าววิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ตลอดมาจำเลยที่ 3 จะอ้างว่ารถนั้นมิได้ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 หาได้ไม่
จำเลยที่ 5 เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถของจำเลยที่ 4 เข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 รับขนส่งคนโดยสารเก็บเงินค่าโดยสารตลอดมา อันเป็นการกระทำกิจการในทางหาประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ใช้ให้กระทำ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว ไม่มีเหตุจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 5 ขับรถของจำเลยที่ 4 ออกรับจ้างด้วยกระทำให้เปล่า ย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4การที่จำเลยที่ 4 นำรถเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับประโยชน์ในการนี้จากจำเลยที่ 4 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1653/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311-1312/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและลูกจ้าง กรณีรถร่วมเดินรถ และการมีส่วนร่วมในกิจการเดินรถ
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานเดินรถประจำทางในเส้นทางสายอำเภอเมืองภูเก็ตกับท่าฉัตรไชย ยินยอมให้จำเลยที่ 4 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นคนขับเข้ามาเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มีและใช้รถคันดังกล่าวนั้นในกิจการของจำเลยที่ 3 แล้ว แม้ตรงที่จำเลยที่ 5 ขับรถไปเกิดเหตุจะเป็นเส้นทางนอกสัมปทานของจำเลยที่ 3 แต่ก็ปรากฏว่าเป็นเส้นทางที่จำเลยที่ 3 ยินยอมให้รถคันดังกล่าววิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ตลอดมาจำเลยที่ 3 จะอ้างว่ารถนั้นมิได้ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 หาได้ไม่
จำเลยที่ 5 เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถของจำเลยที่ 4 เข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 รับขนส่งคนโดยสารเก็บเงินค่าโดยสารตลอดมา อันเป็นการกระทำกิจการในทางหาประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ใช้ให้กระทำ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว ไม่มีเหตุจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 5 ขับรถของจำเลยที่ 4 ออกรับจ้างด้วยกระทำให้เปล่า ย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4 นำรถเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับประโยชน์ในการนี้จากจำเลยที่ 4 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1653/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายที่แบ่งส่วนจากทรัพย์พิพาท หรือผูกพันผลค่าทนายกับผลคดี เป็นโมฆะ
สัญญาจ้างว่าความตกลงกันว่าเมื่อเรียกร้องเงินแสนบาท จะให้ค่าจ้างสองหมื่นถือเป็นหลักคำนวณตามมากน้อยตามส่วนที่จะได้ ดังนี้ถือว่าเป็นข้อสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์ที่พิพาทขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ มาตรา 12(2) ย่อมเป็นโมฆะและจะฟ้องเรียกค่าจ้างตามสมควรไม่ได้ด้วย พ.ร.บ.ทนายความมาตรา 12(2) นั้นแยกได้เป็น 2 กรณีคือปลูกความโดยหามูลมิได้อย่างหนึ่งและแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์พิพาทอีกอย่างหนึ่งและทั้งสองอย่างนี้เป็นเรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาจ้างว่าความตกลงกันว่าค่าทนายที่ศาลตัดสินให้ ยอมให้เป็นของทนายในกรณีถอนฟ้องฯลฯ ดังนี้ถ้าไม่ได้ถอนฟ้องทนายจะฟ้องเรียกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ ม.12(2) (แบ่งส่วนจากทรัพย์พิพาท) เป็นโมฆะ และไม่สามารถเรียกร้องค่าจ้างได้
สัญญาจ้างว่าตามตกลงกันว่าเมื่อเรียกร้องเงินแสนบาท จะไห้ค่าจ้างสองหมื่นถือเปนหลักคำนวนตามมากน้อยตามส่วนที่จะได้ดังนี้ถือว่าเปนข้อสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์ที่พิพาทขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ ม. 12(2) ย่อมเปนโมคะ และจะฟ้องเรียกค่าจ้างตามสมควนไม่ได้ด้วย
พ.ร.บ. ทนายความ ม. 12(2) นั้นแยกได้เปน 2 กรนี คือปลูกความโดยหามูลมิได้หย่าง 1 และแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์พิพาทอีกหย่างหนึ่งและทั้งสองหย่างนี้เปนเรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
สัญญาจ้างว่าความตกลงกันว่าค่าทนายที่สาลตัดสินไห้ ยอมไห้เปนของทนายไนกรนีถอนฟ้องฯลฯ ดังนี้ ถ้าไม่ได้ถอนฟ้องทนายจะฟ้องไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นจะให้สินจ้างและการคิดลดค่าจ้างตามสภาพงาน
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างคิดค่าจ้างให้เป็นรายปี โจทก์ทำงานให้จำเลยแล้วป่วยเสีย เมื่อหายป่วยคงทำงานให้จำเลยอยู่อีกรวมโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยมาได้ 4 ปี เช่นนี้ต้องถือว่าเป็นกรณีที่มีคำมั่นจะให้สินจ้าง การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างเต็มจำนวนตามสัญญา แต่ศาลวินิจฉัยว่า โจทก์ทำงานไม่ได้เต็มที่จ้างจึงได้คิดลดค่าจ้างตามสัญญาเดิมลงเช่นนี้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดค่าจ้างเมื่อลูกจ้างทำงานไม่ได้เต็มที่ตามสัญญาจ้าง
จำเลยจ้างโจทเปนลูกจ้างคิดค่าจ้งไห้เปนรายปี โจททำงานไห้จำเลยแล้วป่วยเสียเมื่อหายป่วยคงทำงานไห้จำเลยหยู่อีกรวมโจทเปนลูกจ้างจำเลยมาได้ 4 ปี เช่นนี้ ต้องถือว่าเปนกรนีที่มีคำมั่นจะไห้สินจ้าง
การที่โจทฟ้องเรียกค่าจ้างเต็มจำนวนตามสัญญา แต่สาลวินิฉัยว่า โจททำงานไม่ได้เต็มที่จ้างจึงได้คิดลดค่าจ้างตามสัญญาเดิมลงเช่นนี้ ไม่เปนการนอกฟ้องนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการและผู้ชี้ขาด: สิทธิเรียกร้องและการคำนวณตามกฎหมาย
ในกรณีที่เจ้าของที่ดินที่ถูกตัดถนนกับเจ้าพนักงานกำหนดราคาที่ดินไม่ตกลงกันนั้น ฝ่ายใดกำหนดราคาไกลจากคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ+นั้นต้องเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการ +ผู้ชี้ขาด และในกรณีเช่นนี้ถ้าหากผู้ชี้ขาดไม่ได้กำหนดค่าธรรมเนียมไว้ ศาลย่อมมีอำนาจให้ตามพอสมควรได้ อำนาจฟ้อง +เรื่องตั้งอนุญาโตตุลาการ +ผู้ชี้ขาดกำหนดราคาที่ดินเมื่อฝ่ายเจ้าพนักงานต้องเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมเจ้าของดินย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมสำหรับอนุญาโตตุลาการแลผู้ชี้ขาดได้ ป.พ.พ.ม.576 จ้างแรงงาน +นอกสัญญาผู้ที่ไม่ใช่คู่สัญญาย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดี อ้างฎีกาที่ 912/2471 ที่ 1150/2468 ที่ 605/123