พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องเช็คและการออกเช็คล่วงหน้าเพื่อค้ำประกัน
จำเลยฎีกาว่า จำเลยออกเช็คให้โจทก์ 13 ฉบับ ลงวันที่ 30ของทุกเดือนเช็คฉบับลงวันที่ 30 เมษายน 2538 โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินไม่ได้เนื่องจากธนาคารปิดบัญชีแล้ว โจทก์ย่อมทราบดีว่าเช็คฉบับต่อ ๆ ไปจะไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ เท่ากับโจทก์รู้เรื่องความผิดแล้วตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2538เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 20 กันยายน 2538 เกิน 3 เดือน คดีโจทก์ขาดอายุความแล้วนั้น เป็นการโต้เถียงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดตั้งแต่เมื่อใด อันเป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยออกเช็คมอบให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2537 แต่จำนวนเงินตามเช็คจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระในวันที่ 30 มิถุนายน 2538 เป็นการออกเช็คล่วงหน้า มีลักษณะเป็นการค้ำประกันหนี้ในอนาคต มิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายนั้น ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยออกเช็คล่วงหน้าเพื่อเป็นการค้ำประกันหนี้ในอนาคตหรือไม่ เป็นการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5179/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์-ฎีกาในคดีอาญา และการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือ
ในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงที่กำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 1,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ(4)จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้และพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้ จึงเป็นการไม่ชอบและถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาโดยชอบแล้วในศาลอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในความผิดฐานนี้ และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4241/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: จำเลยโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เนื้อหาของฎีกาจำเลยล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัย ของศาลชั้นต้นทั้งสิ้น โดยจำเลยคัดข้อความมาจาก คำอุทธรณ์ทั้งหมด แม้คำขอท้ายฎีกาจะเป็นการขอให้ศาลฎีกา พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ฎีกาของจำเลย มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไร จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4241/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 เนื่องจากไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยกล่าวถึงคำฟ้องโจทก์ คำให้การจำเลย คำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วย่อหน้าใหม่ว่า "ด้วยความเคารพต่อคำพิพากษาดังกล่าวจำเลยยังไม่อาจเห็นพ้องด้วยจึงขอฎีกาคัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวต่อศาลฎีกา มีข้อความดังที่จะกล่าวต่อไปนี้" และลงท้ายว่า "อาศัยเหตุดังที่จำเลยได้กราบเรียนต่อศาลฎีกามานี้ขอศาลฎีกาได้โปรดหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลย โดยมีคำพิพากษาให้กลับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ และพิพากษายกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยพ้นข้อหาไปด้วย" ส่วนเนื้อหาที่เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้นโดยคำฎีกาในส่วนนี้คัดข้อความมาจากคำอุทธรณ์ทั้งหมด แม้คำขอท้ายฎีกาจะเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาของศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไรไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4241/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ไม่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: การจำเลยคัดลอกข้อความจากคำอุทธรณ์โดยไม่โต้แย้งเหตุผล
เนื้อหาของฎีกาจำเลยล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้น โดยจำเลยคัดข้อความมาจากคำอุทธรณ์ทั้งหมด แม้คำขอท้ายฎีกาจะเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ฎีกาของจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไร จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็คส่วนบุคคล: ผู้เสียหายฟ้องเอง พนักงานอัยการไม่มีอำนาจ
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องและจำเลยขอคืนค่าปรับศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนค่าปรับแก่จำเลย กรณีจึงเป็นเรื่องผู้เสียหายใช้อำนาจฟ้องคดีต่อศาล ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 28 โดยพนักงานอัยการมิได้เป็นคู่ความในคดีด้วย ทั้งกรณีไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.พนักงานอัยการพ.ศ.2498 มาตรา 11 ที่จะให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ดังนั้น พนักงานอัยการจึงไม่สามารถเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ และไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายและการฎีกาที่ไม่ชอบ
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่ากระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องและจำเลยขอคืนค่าปรับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนค่าปรับแก่จำเลย กรณีจึงเป็นเรื่องผู้เสียหายใช้อำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 โดยพนักงานอัยการมิได้เป็นคู่ความในคดีด้วย ทั้งกรณีไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติพนักงานอัยการพ.ศ. 2498 มาตรา 11 ที่จะให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีนี้ได้พนักงานอัยการจึงไม่สามารถเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ และไม่มีสิทธิฎีกาปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายและการไม่มีอำนาจฎีกาของพนักงานอัยการในคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องและจำเลยขอคืนค่าปรับศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนค่าปรับแก่จำเลย กรณีจึงเป็นเรื่องผู้เสียหายใช้อำนาจฟ้องคดีต่อศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 โดยพนักงานอัยการมิได้เป็นคู่ความในคดีด้วย ทั้งกรณีไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 ที่จะให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ดังนั้น พนักงานอัยการจึงไม่สามารถเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ และไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8125/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ส่งสำเนาฎีกา: ศาลต้องส่งให้จำเลยโดยตรง โจทก์ไม่ต้องส่ง
ในคดีอาญา ศาลชั้นต้นต้องมีหน้าที่ส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยโดยตรงจะให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหาชอบไม่ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200 ประกอบมาตรา216 และจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสองประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 มาใช้บังคับให้โจทก์เป็นผู้นำส่งสำเนาฎีกาหาได้ไม่เพราะได้มีบทบัญญัติเรื่องการส่งสำเนาฎีกาไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยชัดแจ้งแล้ว เมื่อมีคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกาในคดีอาญาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แม้โจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8125/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาฎีกาในคดีอาญา: หน้าที่ศาลและผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ในคดีอาญา ศาลชั้นต้นต้องมีหน้าที่ส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยโดยตรงจะให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหาชอบไม่ ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 200 ประกอบมาตรา216 และจะนำ ป.วิ.พ.มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15มาใช้บังคับให้โจทก์เป็นผู้นำส่งสำเนาฎีกาหาได้ไม่ เพราะได้มีบทบัญญัติเรื่องการส่งสำเนาฎีกาไว้ตาม ป.วิ.อ.โดยชัดแจ้งแล้ว
เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกาในคดีอาญาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แม้โจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฎีกา
เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกาในคดีอาญาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แม้โจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฎีกา