พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเหตุรอการลงโทษในคดีลักทรัพย์ การกระทำที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมไม่อาจรอการลงโทษได้
แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในฎีกาของจำเลยที่ 1 เพียงว่า "รอไว้สั่งเมื่อผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาคำร้อง ขอให้รับรองฎีกาเสร็จแล้ว" แต่เมื่อผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อ ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับฎีกา ของจำเลยที่ 1 อีก คงมีแต่รายการระบุว่าโจทก์ได้รับสำเนาฎีกาของจำเลยที่ 1 และเจ้าหน้าที่รายงานว่าโจทก์รับสำเนาฎีกาครบกำหนดแล้วไม่ยื่นคำแก้ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานของเจ้าหน้าที่ว่า ส่งสำนวนไปศาลฎีกา พฤติกรรมดังกล่าวถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และปฏิบัติการให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 216 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 200 และ 201 แล้วศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 1 ได้ การลักทรัพย์โดยการถอดชิ้นส่วนรถยนต์ที่จอดไว้เป็นพฤติการณ์ที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม แม้ทรัพย์ที่ลักไปจะมีราคาน้อยก็ตาม และที่ผู้เสียหายได้รับทรัพย์คืนไปก็เนื่องจากเจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 ได้พร้อมกับทรัพย์ที่ถูกลัก การที่ผู้เสียหายได้ทรัพย์คืนมา จึงไม่ใช่การบรรเทาผลร้ายของจำเลยที่ 1 พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุรอการลงโทษให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และไม่ได้อ้างอิงข้อกฎหมายชัดเจน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นับโทษจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ต่อจาก โทษในคดีอาญาอื่นอีก 3 คดี รวมแล้วมีโทษจำคุก 70 ปี 22 เดือน จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกรวมโทษ ทั้ง 4 คดีแล้วไม่เกิน 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลยที่ 3 ฎีกาโดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ทั้งไม่ได้อ้างอิง ข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้ง ฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงเป็นฎีกา ที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง, 195 ประกอบด้วยมาตรา 225 และมาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากอุทธรณ์และฎีกาไม่ชัดเจน ไม่โต้แย้งคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์มิได้อ้างว่าฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็นกันหรือไม่ อย่างไรทั้งมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้เห็น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่แจ้งชัด ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 วรรคสองศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ ของโจทก์ การที่โจทก์ฎีกาเพียงว่าคดียังไม่มีคำพิพากษา ลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) และคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ โดยโจทก์ไม่ได้ โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือ ไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3699-3739/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวชที่ไม่ชอบตามกฎหมายเถรสมาคมและการละเมิดเสรีภาพในการนับถือศาสนา
เมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าเสรีภาพในการนับถือศาสนาต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2534 มาตรา 27 และไม่เป็นไปตามมาตรา 5ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับดังกล่าวเท่านั้นจึงไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นไปเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยและศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวที่จำเลยอุทธรณ์ได้ จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 เพราะการกระทำ ของ จำเลยเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 38 ที่ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพ บริบูรณ์ในการนับถือศาสนาและในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาและก่อนจำเลยจะมีพรรษา ครบ 10 พรรษา จำเลยได้ทำหน้าที่ดังเช่นอุปัชฌาย์โดยจำเลย บวชให้แก่ผู้อื่น ทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่ เป็นพระผู้ใหญ่ ในการบวช รวมทั้งเป็นผู้มอบเครื่องแต่งกายและอัฐบริขารโดยจำเลยไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปชฌาย์ตาม กฎมหาเถรสมาคมซึ่งขัดต่อ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 23 ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุที่บัญญัติว่าการแต่งตั้ง ถอดถอนพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาสผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองสงฆ์ตำแหน่งอื่น ๆ และไวยาวัจกร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม และกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 7(พ.ศ. 2506) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 23 แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 ข้อ 4 บัญญัติว่า พระอุปัชฌาย์หมายความว่า พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เป็นประธาน และรับผิดชอบในการให้บรรพชาอุปสมบทตามบทบัญญัติ แห่งกฎมหาเถรสมาคม และข้อ 12 บัญญัติให้พระอุปัชฌาย์ มีหน้าที่บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรได้เฉพาะตนและ เฉพาะภายในเขตตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ตาม กฎมหาเถรสมาคมฉบับดังกล่าว การบวชของผู้ที่จำเลย บวชให้ จึงเป็นการบวชที่ไม่ชอบ และผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิ แต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุสามเณร ในพระพุทธศาสนา ผู้ที่จำเลยบวชให้จึงต้องมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้บวชและทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่เป็นผู้มอบเครื่องแต่งกายและอัฐบริขารให้แก่จำเลยอื่น จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้อื่นในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ประกอบด้วย มาตรา 86 พระธรรมวินัยมีถ้อยคำและความหมายอย่างไรเป็นปัญหาข้อเท็จจริง กฎมหาเถรสมาคมซึ่งออกมาเพื่อประดิษฐานพระธรรมวินัยให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและจำนวนพุทธศาสนิกชนที่เพิ่มขึ้นและมิได้ขัดต่อพระธรรมวินัยเมื่อกฎมหาเถรสมาคมดังกล่าวออกโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 มาตรา 23 จึงใช้บังคับได้ บุคคลทุกคนจำเป็นต้องอนุวัตปฏิบัติตาม จะโต้เถียงว่าขัดหรือแย้งกับพระธรรมวินัยและไม่ยอมปฏิบัติตามไม่ได้ แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540มาตรา 38 จะบัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา มีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนาบัญญัติ แต่ก็ได้บัญญัติแสดงความมุ่งหมายไว้ด้วยว่าการใช้เสรีภาพดังกล่าวจะต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 บัญญัติขึ้นโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ป้องกันมิให้บุคคลผู้มีเจตนาไม่สุจริตอาศัยร่มเงาพระพุทธศาสนาหาประโยชน์ใส่ตน อันเป็นต้นเหตุให้เสื่อมศรัทธาแก่ผู้ที่มี ศรัทธาอยู่แล้ว และไม่ก่อเกิดศรัทธาแก่ผู้ที่ไม่มีศรัทธามาก่อนบุคคลทุกคนจึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายให้ต้องตามเจตนารมณ์ จำเลยบวชเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุตนิกายเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2513 และในปี 2516 ได้สวดญัตติเข้าเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหานิกายซึ่งแสดงว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคมมาก่อน และในช่วง เวลาดังกล่าวจำเลยก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ไม่ปรากฏว่า จำเลยถูกกลั่นแกล้งจากใครอย่างไรและถึงขนาดไม่อาจ ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยได้ เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505มาตรา 18 บัญญัติให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและไม่ปรากฏบทบัญญัติมาตราใดให้สิทธิพระภิกษุสงฆ์ไทยประกาศแยกตนให้มีผลประดุจสังฆเภทไม่ยอมอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้การที่จำเลยขอลาออกจากการปกครองของมหาเถรสมาคม และแยกตัวมาตั้งพุทธสถานสันติอโศก แล้วดำเนินการบวชบุคคลอื่นเป็นพระภิกษุโดยวางกฎระเบียบต่าง ๆ และพยายามปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย แม้จะเป็นเวลานานเท่าใด การประกาศของจำเลยก็ไม่ทำให้จำเลยกับพวกพ้นจากการปกครองของมหาเถรสมาคมและไม่ต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันคุมขังก่อนศาลพิพากษาเป็นเรื่องต้องดำเนินการตามลำดับชั้นศาล การฎีกาในประเด็นนี้จึงไม่ชอบ
ปัญหาที่จำเลยฎีกาขึ้นมาว่า ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกระหว่างอุทธรณ์ฎีกาโดยคิดหักวันที่จำเลยถูกคุมขังมาแล้วให้ไม่ถูกต้องนั้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี เมื่อมิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ว่าไม่ถูกต้องแต่ประการใดจึงเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นหักวันที่ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาออกจากโทษจำคุกตามคำพิพากษาไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 แล้วก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้วจำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันคุมขังก่อนศาลพิพากษา: ต้องยื่นคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนฎีกา
ปัญหาที่จำเลยฎีกาขึ้นมาว่า ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกระหว่างอุทธรณ์ฎีกาโดยคิดหักวันที่จำเลยถูกคุมขังมาแล้วให้ไม่ถูกต้องนั้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี เมื่อมิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ว่าไม่ถูกต้องแต่ประการใดจึงเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นหักวันที่ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาออกจากโทษจำคุกตามคำพิพากษาไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตาม ป.อ.มาตรา 22 แล้ว ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อฎีกาไม่ชัดเจนและไม่ระบุเหตุผลคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโจทก์ฎีกาว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ น. ซึ่งจากข้อวินิจฉัยดังกล่าวโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ หาได้หยิบยกเอาปัญหาที่โจทก์ได้อุทธรณ์ไว้ขึ้นมาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์ได้เสียของโจทก์เกี่ยวกับสิทธิในการที่จะดำเนินคดีส่วนแพ่งกับจำเลยอีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย กรณีย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ฉะนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการวินิจฉัยให้เป็นการกระจ่างสิ้นสงสัย โจทก์จึงกราบขอประทานความกรุณาต่อศาลฎีกา ขอได้โปรดวินิจฉัยให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ตามสมควรต่อไปด้วยฎีกาโจทก์เช่นนี้ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ประสงค์จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาคัดค้านว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบหรือไม่ชอบด้วยเหตุใดจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 216, 225 ประกอบด้วยมาตรา 193 วรรคสองแม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เนื่องจากมิได้ระบุข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมายที่ต้องการอ้างอิงในการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโจทก์ฎีกาว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ น. ซึ่งจากข้อวินิจฉัยดังกล่าวโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ หาได้หยิบยกเอาปัญหาที่โจทก์ได้อุทธรณ์ไว้ขึ้นมาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์ได้เสียของโจทก์เกี่ยวกับสิทธิในการที่จะดำเนินคดีส่วนแพ่งกับจำเลยอีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย กรณีย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายฉะนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการวินิจฉัยให้เป็นการกระจ่างสิ้นสงสัย โจทก์จึงกราบขอประทานความกรุณาต่อศาลฎีกาขอได้โปรดวินิจฉัยให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ตามสมควรต่อไปด้วยฎีกาโจทก์เช่นนี้ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ประสงค์จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาคัดค้านว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบหรือไม่ชอบด้วยเหตุใดจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 216,225 ประกอบด้วยมาตรา 193 วรรคสอง แม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นฎีกาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง: การอนุญาต/รับรองโดยผู้พิพากษา/อัยการสูงสุด & การฎีกาคำสั่งศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานหมิ่นประมาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมดังกล่าว กรณีจึงเป็นเรื่องที่มีเหตุพิเศษแตกต่างไปจากกรณีการรับหรือไม่ยอมรับอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 และ 198 ทวิดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างใดคดีก็ยังไม่เป็นที่สุดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 198 ทวิ วรรคท้าย คู่ความที่ไม่พอใจคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมฎีกาได้ ตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมนอกจากอ้างเหตุที่จะขอให้อัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วยังอ้างเหตุที่ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเอกสารในสำนวนซึ่งมีเป็นจำนวนมากเพื่อทำอุทธรณ์อีกด้วยจึงมิใช่ขอขยายระยะเวลาเพื่อให้อัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเพียงอย่างเดียว แม้โจทก์ร่วมใช้สิทธิขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว แต่อัยการสูงสุดไม่รับรองอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ร่วมที่จะขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเสียไป บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ตรี และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาหรืออัยการสูงสุดอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น มิได้บัญญัติจำกัดสิทธิของคู่ความหรือโจทก์ร่วมให้ต้องเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อขออนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไว้ภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้นั้นจึงชอบแล้ว กรณีไม่อาจถือว่าระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่โจทก์ร่วมได้รับอนุญาตให้ขยายได้สิ้นสุดลงนับแต่วันที่อัยการสูงสุดไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม และเมื่อคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงชอบแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์และเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไว้ก่อนจะมีคำสั่งเพิกถอน ต้องถือว่าคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ครั้นเมื่อโจทก์ร่วมยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งเดิมขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์เช่นนี้ถือได้ว่า มีคำร้องขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดโดยทำเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5664/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและการประเมินเจตนาในการฆ่า: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
ก่อนเกิดเหตุผู้ตายเข้ามาต่อว่าและตบหน้าจำเลยจำเลยโมโหจึงชักปืนยิงผู้ตาย 3 นัด ซึ่งในขณะเกิดเหตุมีผู้อยู่ในเหตุการณ์เพียง 3 คน คือ อ. พยานโจทก์จำเลย และผู้ตาย อ. ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยหรือผู้ตายมาก่อน จึงเป็นพยานคนกลาง พยานปากนี้จึงมีน้ำหนักมาก ยิ่งกว่านั้นเมื่อพิจารณาคำเบิกความของจำเลยแล้ว จำเลยเพียงแต่เกรงว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิงทั้งที่ยังไม่พฤติการณ์ที่จะส่อว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิงทำร้ายจำเลยและไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีอาวุธปืนจึงถือว่ายังไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องป้องกันแต่อย่างใดการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 72โจทก์ร่วมขอขยายเวลาอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2ไม่อนุญาต จึงถือว่าโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวต้องถือว่าปัญหาดังกล่าวสำหรับโจทก์ร่วมได้ยุติแล้ว โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาโจทก์ร่วมมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้