พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 และการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2539 ภายในกำหนด1 เดือน นับแต่วันอ่าน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ได้พิจารณาและพิพากษาคดีนี้อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง กับยื่นหนังสือขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2539 ด้วยดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยได้ยื่นฎีกาภายในกำหนดแล้ว ส่วนการที่อัยการสูงสุดจะมีคำสั่งเมื่อใดเป็นเรื่องที่อัยการสูงสุดจะพิจารณา เมื่ออัยการสูงสุดได้รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงได้แล้ว จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา158 (5) และ (6) หรือไม่ ตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมาว่า โจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองกระทำการอย่างไรที่บ่งชี้ว่ามีเจตนาดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และไม่บรรยายให้ชัดแจ้งว่าร่วมกันกระทำผิดอย่างไรหรือแบ่งหน้าที่กันดัดแปลงอาคารอย่างไร ทั้งไม่อ้าง ป.อ.มาตรา 83 และมาตรา 72 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองแต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ได้
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยทั้งสองครอบครองอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมดังกล่าว ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 21 ประกอบมาตรา 70 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยมาตรา 70 บัญญัติหมายความว่า กระทำการดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม มิใช่ดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรมโจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรม และที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดก็เข้าใจได้ในตัวเองแล้ว ไม่จำต้องบรรยายในรายละเอียดอีกว่าร่วมกันกระทำโดยตลอด หรือแบ่งหน้าที่กันทำอย่างไร และโจทก์ไม่จำต้องอ้างบทมาตรา 83 แห่ง ป.อ.หรือมาตรา 72 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เพราะมิใช่บทมาตราที่บัญญัติว่าการกระทำเช่นใดเป็นความผิด ดังนั้น ฟ้องโจทก์ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158(5) (6)แล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยซึ่งเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพ ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา158 (5) และ (6) หรือไม่ ตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมาว่า โจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองกระทำการอย่างไรที่บ่งชี้ว่ามีเจตนาดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และไม่บรรยายให้ชัดแจ้งว่าร่วมกันกระทำผิดอย่างไรหรือแบ่งหน้าที่กันดัดแปลงอาคารอย่างไร ทั้งไม่อ้าง ป.อ.มาตรา 83 และมาตรา 72 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองแต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ได้
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยทั้งสองครอบครองอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมดังกล่าว ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 21 ประกอบมาตรา 70 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยมาตรา 70 บัญญัติหมายความว่า กระทำการดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม มิใช่ดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรมโจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรม และที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดก็เข้าใจได้ในตัวเองแล้ว ไม่จำต้องบรรยายในรายละเอียดอีกว่าร่วมกันกระทำโดยตลอด หรือแบ่งหน้าที่กันทำอย่างไร และโจทก์ไม่จำต้องอ้างบทมาตรา 83 แห่ง ป.อ.หรือมาตรา 72 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เพราะมิใช่บทมาตราที่บัญญัติว่าการกระทำเช่นใดเป็นความผิด ดังนั้น ฟ้องโจทก์ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158(5) (6)แล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยซึ่งเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพ ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาฎีกา, การขยายเวลา, และการยื่นคำร้องอนุญาตฎีกาหลังหมดกำหนด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา216บัญญัติให้คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟังทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/5บัญญัติว่าถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นเดือนให้คำนวณตามปีปฏิทินถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งเดือนระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้นและคดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่27กันยายน2539หากจำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยจะต้องฎีกาภายในวันที่17ตุลาคม2539แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่16ตุลาคม2539ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก15วันซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตเมื่อนับระยะเวลาเป็นวันตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/3วรรคสองบัญญัติมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแล้วจึงเป็นผลให้ระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้นั้นยืนออกไปอีกโดยจำเลยสามารถยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่31ตุลาคม2539จำเลยยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นในวันที่29ตุลาคม2539ขอให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้จึงเป็นคำร้องที่ยื่นโดยชอบด้วยกฎหมายส่วนคำร้องของจำเลยพร้อมฎีกาที่ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ซึ่งยื่นเมื่อวันที่18พฤศจิกายน2539นั้นแม้จะเป็นการยื่นก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ตามแต่ก็เป็นการยื่นเพื่อปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วการยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาข้ามกำหนดระยะเวลา และการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายในการขออนุญาตฎีกา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 บัญญัติให้คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟัง ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/5บัญญัติว่า ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นเดือนให้คำนวณตามปีปฏิทินถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งเดือนระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น และคดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2539หากจำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยจะต้องฎีกาภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 16 ตุลาคม 2539 ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต เมื่อนับระยะเวลาเป็นวันตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา193/3 วรรคสอง บัญญัติมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นผลให้ระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้นั้นยืนออกไปอีกโดยจำเลยสามารถยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 จำเลยยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นในวันที่ 29 ตุลาคม 2539 ขอให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221ยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้จึงเป็นคำร้องที่ยื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนคำร้องของจำเลยพร้อมฎีกาที่ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2539 นั้นแม้จะเป็นการยื่นก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ก็เป็นการยื่นเพื่อปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วการยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาการยื่นฎีกาและการปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายที่ถูกต้อง
ป.วิ.อ.มาตรา 216 บัญญัติให้คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟัง ทั้ง ป.พ.พ.มาตรา 193/5 บัญญัติว่า ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นเดือนให้คำนวณตามปีปฏิทิน ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งเดือนระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น และคดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2539 หากจำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยจะต้องฎีกาภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่16 ตุลาคม 2539 ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต เมื่อนับระยะเวลาเป็นวันตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 193/3 วรรคสอง บัญญัติมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นผลให้ระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้นั้นยืดออกไปอีกโดยจำเลยสามารถยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 จำเลยยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นในวันที่ 29 ตุลาคม 2539 ขอให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้จึงเป็นคำร้องที่ยื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนคำร้องของจำเลยพร้อมฎีกาที่ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2539 นั้น แม้จะเป็นการยื่นก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ก็เป็นการยื่นเพื่อปฏิบัติตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วการยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4463/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจกยาเสพติดถือเป็นการ 'ขาย' ตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ แม้ไม่ใช่การซื้อขายโดยตรง
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา4ได้ให้คำนิยามของคำว่า"ขาย"ให้หมายความรวมถึงจำหน่ายจ่ายแจกแลกเปลี่ยนส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขายเห็นได้ว่าการขายเมทแอมเฟตามีนตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้มีความหมายเฉพาะการขายกันโดยตรงเท่านั้นไม่การจ่ายแจกแลกเปลี่ยนส่งมอบแก่กันไม่ว่าจะกระทำในลักษณะอย่างไรและโดยจุดประสงค์ใดจะเป็นเพื่อการค้าหรือไม่ก็อยู่ในความหมายของคำว่า"ขาย"ตามมาตรา4นี้ทั้งสิ้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อแจกแก่ลูกน้องการ"แจก"หรือการ"ขาย"การมีไว้เพื่อ"แจก"ก็คือการมีไว้เพื่อ"ขาย"หรือเพื่อจำหน่ายจำเลยจึงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อขาย จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพียง3เม็ดไม่น่าจะมีปริมาณเกิน0.500กรัมตามที่รัฐมนตรีกำหนดนั้นศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาแก้พิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา13ทวิวรรคหนึ่ง,89เพียงกรรมเดียวบทเดียวไม่ได้พิพากษาลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินประมาณที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา62วรรคหนึ่ง,106ทวิด้วยแต่ประการใดจึงมิใช่เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3ในความผิดดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4463/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจกยาเสพติดถือเป็นการ 'ขาย' ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แม้ไม่ได้มีเจตนาค้าขาย
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518มาตรา 4 ได้ให้คำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขาย เห็นได้ว่าการขายเมทแอมเฟตามีนตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้มีความหมายเฉพาะการขายกันโดยตรงเท่านั้นไม่ การจ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบแก่กันไม่ว่าจะกระทำในลักษณะอย่างไรและโดยจุดประสงค์ใดจะเป็นเพื่อการค้าหรือไม่ ก็อยู่ในความหมายของคำว่า"ขาย" ตามมาตรา 4 นี้ทั้งสิ้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อแจกแก่ลูกน้อง การ "แจก" หรือ การ "ขาย" การมีไว้เพื่อ "แจก" ก็คือการมีไว้เพื่อ "ขาย" หรือเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อขาย จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพียง 3 เม็ด ไม่น่าจะมีปริมาณเกิน 0.500 กรัมตามที่รัฐมนตรีกำหนดนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้พิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา13 ทวิวรรคหนึ่ง,89 เพียงกรรมเดียวบทเดียว ไม่ได้พิพากษาลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินประมาณที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง,106ทวิ ด้วยแต่ประการใดจึงมิใช่เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในความผิดดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4463/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติด: “ขาย” ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ฯ ครอบคลุมการแจก จ่าย แลกเปลี่ยน หรือส่งมอบ
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 4 ได้ให้คำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึง จำหน่ายจ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย เห็นได้ว่าการขายเมทแอมเฟตามีนตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้มีความหมายเฉพาะการขายกันโดยตรงเท่านั้นไม่การจ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบแก่กัน ไม่ว่าจะกระทำในลักษณะอย่างไรและโดยจุดประสงค์ใด จะเป็นเพื่อการค้าหรือไม่ ก็อยู่ในความหมายของคำว่า "ขาย"ตามมาตรา 4 นี้ทั้งสิ้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อแจกแก่ลูกน้อง การ "แจก" คือ การ "ขาย" การมีไว้เพื่อ "แจก" ก็คือการมีไว้เพื่อ "ขาย" หรือเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อขาย
จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพียง 3 เม็ด ไม่น่าจะมีปริมาณเกิน 0.500 กรัม ตามที่รัฐมนตรีกำหนดนั้นศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าจำเลยมีความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,89 เพียงกรรมเดียวบทเดียว ไม่ได้พิพากษาลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินประมาณที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิด้วยแต่ประการใด จึงมิใช่เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3ในความผิดดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพียง 3 เม็ด ไม่น่าจะมีปริมาณเกิน 0.500 กรัม ตามที่รัฐมนตรีกำหนดนั้นศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าจำเลยมีความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,89 เพียงกรรมเดียวบทเดียว ไม่ได้พิพากษาลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินประมาณที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิด้วยแต่ประการใด จึงมิใช่เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3ในความผิดดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ยื่นหลังหมดระยะเวลา แต่มีคำสั่งอนุญาตถูกต้อง และการลดโทษรอการลงโทษ
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงการที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงพร้อมกับฎีกาภายในกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้วถึงแม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องเมื่อล่วงเลยระยะเวลาฎีกาไปแล้วก็เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6195/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: ไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยตรง แต่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นซ้ำ
ฎีกาจำเลยกล่าวถึงคำฟ้องของโจทก์ คำให้การจำเลยคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วย่อหน้าใหม่ว่า"ด้วยความเคารพต่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังเหตุผลและข้อเท็จจริงที่จำเลยจะได้ประทานกราบเรียนต่อศาลดังนี้" และลงท้ายว่า "ดังเหตุผลที่จำเลยได้ประทานกราบเรียนต่อศาลมาแล้วข้างต้นขอศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง แล้วมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย" ส่วนเนื้อหาที่เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้นแม้คำขอท้ายฎีกาก็ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นฎีกาจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไรไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6195/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: โต้แย้งเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาจำเลยกล่าวถึงคำฟ้องของโจทก์คำให้การจำเลยคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วย่อหน้าใหม่ว่า"ด้วยความเคารพต่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังเหตุผลและข้อเท็จจริงที่จำเลยจะได้ประทานกราบเรียนต่อศาลดังนี้"และลงท้ายว่า"ดังเหตุผลที่จำเลยได้ประทานกราบเรียนต่อศาลมาแล้วข้างต้นขอศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งแล้วมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย"ส่วนเนื้อหาที่เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้นแม้คำขอท้ายฎีกาก็ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นฎีกาจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไรไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใดจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา216