คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 216

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องยื่นภายในกำหนด หากพ้นกำหนดแม้ศาลรับคำร้อง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านเมื่อวันครบกำหนดหนึ่งเดือนที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้ตรงกับวันศุกร์และมิใช่วันหยุดราชการจำเลยซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำก็ต้องยื่นฎีกาต่อพัสดีภายในระยะเวลาดังกล่าวเช่นกันการที่จำเลยยื่นฎีกาต่อพัสดีเมื่อพ้นระยะเวลาหนึ่งเดือนแล้วแม้ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้ศาลฎีกาก็วินิจฉัยให้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลายื่นฎีกาสำหรับผู้ถูกคุมขัง: การยื่นฎีกาหลังกำหนดระยะเวลา แม้ศาลชั้นต้นรับคำร้อง ก็เป็นเหตุให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่าน เมื่อวันครบกำหนดหนึ่งเดือนที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้ตรงกับวันศุกร์และมิใช่วันหยุดราชการ จำเลยซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำก็ต้องยื่นฎีกาต่อพัสดีภายในระยะเวลาดังกล่าวเช่นกัน การที่จำเลยยื่นฎีกาต่อพัสดีเมื่อพ้นระยะเวลาหนึ่งเดือนแล้วแม้ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้ศาลฎีกาก็วินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีหมิ่นประมาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาที่อ้างพยานหลักฐานไม่ครบถ้วนและประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่ว่าในการวินิจฉัยคดีนั้นศาลล่างทั้งสองหยิบยกพยานหลักฐานของจำเลยขึ้นมาพิจารณาแต่เพียงบางส่วนจึงเห็นว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมถ้าพิจารณาให้ครบถ้วนแล้วจะเห็นได้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดการวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา227นั้นเป็นฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลโดยการโต้เถียงข้อเท็จจริงจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นมากล่าวอ้างนั้นเป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องและที่จำเลยให้การรับซึ่งฟังเป็นยุติแล้วศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้. เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้อความที่จำเลยลงโฆษณานั้นเป็นข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์ร่วมแล้วจึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิที่จะนำข้อความหมิ่นประมาทนั้นไปลงประกาศในหนังสือพิมพ์หรือไม่เพราะจำเลยไม่มีสิทธิที่จะกระทำการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายได้ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าจำเลยมีสิทธิลงประกาศในหนังสือพิมพ์หรือไม่ไม่ได้ทำให้การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีหมิ่นประมาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาที่ขัดแย้งข้อเท็จจริงที่ฟังยุติแล้ว
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ในการวินิจฉัยคดีนั้น ศาลล่างทั้งสองหยิบยกพยานหลักฐานของจำเลยขึ้นมาพิจารณาแต่เพียงบางส่วน จึงเห็นว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม ถ้าพิจารณาให้ครบถ้วนแล้ว จะเห็นได้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด การวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 นั้น เป็นฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลโดยการโต้เถียงข้อเท็จจริง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นมากล่าวอ้างนั้น เป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องและที่จำเลยให้การรับซึ่งฟังเป็นยุติแล้ว ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้
เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้อความที่จำเลยลงโฆษณานั้นเป็นข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์ร่วมแล้ว จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิที่จะนำข้อความหมิ่นประมาทนั้นไปลงประกาศในหนังสือพิมพ์หรือไม่เพราะจำเลยไม่มีสิทธิที่จะกระทำการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายได้ ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยมีสิทธิลงประกาศในหนังสือพิมพ์หรือไม่ไม่ได้ทำให้การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681-4682/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฎีกาล่วงกำหนดอายุความ และการไต่สวนละเมิดอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อความตามที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ที่ 3 ขอแก้ไขเพิ่มเติมฎีกาเป็นเรื่องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายและวิธีพิจารณาความรวมหลายประการ จึงเป็นการเพิ่มประเด็นจากที่ฎีกาไว้เดิม การขอแก้ไขเพิ่มเติมฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ที่ 3 จึงต้องอยู่ในบังคับอายุฎีกาหนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ดังนั้นการที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ที่ 3 ขอแก้ไขเพิ่มเติมฎีกาเมื่อล่วงเลยกำหนดอายุฎีกาแล้ว จึงรับไว้เป็นส่วนหนึ่งของฎีกาเดิมไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนต่อมาภายหลังจากที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว เป็นการไต่สวนเพื่อหาความจริงเรื่องละเมิดอำนาจศาลตามอำนาจของศาลชั้นต้น จึงไม่ใช่เป็นการสืบพยานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นการสืบพยานแทนจำเลยเพื่อหักล้างคำฟ้องของโจทก์ดังที่โจทก์ฎีกา การรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ใช่ผู้กระทำผิดเป็นเรื่องของผลซึ่งเกิดขึ้นจากการไต่สวนดังกล่าวแล้วนั้นเอง เมื่อข้อเท็จจริงจากการไต่สวนรับฟังได้ว่าจำเลยเข้ามารับสมอ้างว่าเป็นผู้กระทำผิด ย่อมเป็นเหตุให้ผู้กระทำผิดที่แท้จริงไม่ต้องถูกลงโทษทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินไปตามความเที่ยงธรรมได้ การกระทำของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นการละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อหาเดิมที่ยุติแล้ว: เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษในข้อหาหนึ่งแล้ว ข้อหาอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์ย่อมยุติ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานลักทรัพย์จึงมีผลเป็นว่าศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องในข้อหารับของโจรแล้ว ซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงต้องถือว่าข้อหารับของโจรเฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โจทก์ย่อมฎีกาได้เฉพาะข้อหาลักทรัพย์เท่านั้น จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2ในข้อหารับของโจรซึ่งได้ยุติไปแล้วนั้นอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2528 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิการฎีกาในข้อหาเดิม เมื่อศาลชั้นต้นยุติการพิจารณาคดีในข้อหานั้นแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานลักทรัพย์ จึงมีผลเป็นว่าศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องในข้อหารับของโจรแล้ว ซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงต้องถือว่าข้อหารับของโจรเฉพาะจำเลยที่ 1 และที่2 ยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โจทก์ย่อมฎีกาได้เฉพาะข้อหาลักทรัพย์เท่านั้น จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหารับของโจรซึ่งได้ยุติไปแล้วนั้นอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีการฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจอนุญาตได้
ในคดีอาญาแม้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ก็มิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย และอาจมีการอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้คดีจึงถึงที่สุดเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสองประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมิต้องคำนึงว่ามีการยื่นฎีกาแล้วหรือไม่
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาในกำหนดระยะเวลาฎีกาและการระงับสิทธิเรียกร้อง
ในคดีอาญาแม้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ก็มิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย และอาจมีการอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้ คดีจึงถึงที่สุดเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมิต้องคำนึงว่ามีการยื่นฎีกาแล้วหรือไม่
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้วเมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนข้อหา – ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาเฉพาะข้อหาเดิมที่จำเลยอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ ย่อมถือได้ว่าศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในข้อหารับของโจร เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ กรณีต้องถือว่าข้อหาฐานรับของโจรได้ยุติไปแล้ว และเมื่อจำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ปัญหาวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์คงมีเพียงว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา อย่างไรก็ตามย่อมถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ได้ แต่ที่จำเลยฎีกาขอให้แก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยยกฟ้องโจทก์นั้น ย่อมมีความหมายว่าขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหารับของโจร ซึ่งข้อหานี้ยุติไปแล้วศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
of 45