พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7894/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้อุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์ และยืนตามศาลล่างที่ไม่รอการลงโทษจำเลย
จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นเพียงผู้เดินโพยสลากกินรวบส่งให้แก่เจ้ามือ มิได้เป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ ซึ่งในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉับ จำเลยก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ได้วินิจฉัยนั้นไม่ชอบแต่อย่างไร การที่จำเลยยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นฎีกาซ้ำอีก ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาและไม่ได้เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7342/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้ศาลฎีกาลงโทษเบา ลดโทษ หรือรอการลงโทษ ต้องยื่นเป็นฎีกาคัดค้าน ไม่ใช่คำแก้ฎีกา
การขอให้ศาลฎีกาลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ เป็นการขอให้ศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยจะต้องทำเป็นคำฟ้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เข้ามา เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นฎีกาแต่ทำมาเป็นเพียงคำแก้ฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7342/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอรอการลงโทษ ต้องกระทำโดยการยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เท่านั้น
การขอให้ศาลฎีกาลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ เป็นการขอให้ศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยจะต้องทำเป็นคำฟ้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เข้ามา เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นฎีกาแต่ทำมาเป็นเพียงคำแก้ฎีกา จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นเจตนาทำร้ายร่างกาย เนื่องจากมิได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้อที่ว่า จำเลยไม่มีเจตนาทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหาย เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น จำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 และ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็มิได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวตามที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยข้อนี้เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ในข้อนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6770/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางอาญา: ศาลชั้นต้นวินิจฉัยขาดองค์ประกอบความผิดแล้ว โจทก์ฟ้องใหม่ไม่ได้ แม้ในระยะเวลาอุทธรณ์
จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ซึ่งหาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายห้ามมิให้จำเลยทั้งสองฎีกาไม่ จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนแล้วมีคำวินิจฉัยว่า คำฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอย่างใดอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดนั้น เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องคดีก่อนแล้วว่าไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ศาลจะลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้ซึ่งถือได้ว่าศาลชั้นต้นคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยโจทก์ชอบที่จะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161 วรรคท้าย และมาตรา 198 แต่โจทก์กลับมายื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ใหม่โดยบรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยเช่นเดียวกับที่ได้บรรยายฟ้องไว้ในคดีก่อนยืนยันว่า การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 อีก จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) แม้โจทก์จะยื่นฟ้องใหม่ภายในระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีนั้น ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะฟ้อง
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนแล้วมีคำวินิจฉัยว่า คำฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอย่างใดอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดนั้น เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องคดีก่อนแล้วว่าไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ศาลจะลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้ซึ่งถือได้ว่าศาลชั้นต้นคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยโจทก์ชอบที่จะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161 วรรคท้าย และมาตรา 198 แต่โจทก์กลับมายื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ใหม่โดยบรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยเช่นเดียวกับที่ได้บรรยายฟ้องไว้ในคดีก่อนยืนยันว่า การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 อีก จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) แม้โจทก์จะยื่นฟ้องใหม่ภายในระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีนั้น ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วม: กรณีผู้ตายมีส่วนผิดทางอาญา ภริยาไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยและ ส. (ผู้ตาย) ต่างขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทส. จึงมีส่วนในการกระทำผิดทางอาญาด้วย ดังนั้น ตามคำฟ้องของโจทก์ถือว่า ส. มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ป. โจทก์ร่วมซึ่งเป็นภริยาของ ส. จึงไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการแทน ส. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) และไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ป. เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ ป. ไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำเลยในคดีเสพยาเสพติด โดยคำนึงถึงกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และสิทธิในการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดฯ มาตรา 19 ผู้ติดยาเสพติดที่จะได้รับการพิจารณาเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจะต้องเป็นเพียงผู้ต้องหา มิใช่ถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแล้ว
ความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่กฎหมายเดิมมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท เห็นได้ว่า โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เบากว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิม โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงเป็นคุณมากกว่า ส่วนโทษปรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษปรับขั้นต่ำสูงกว่าขั้นต่ำตามกฎหมายเดิม ดังนั้น โทษปรับขั้นต่ำตามกฎหมายเดิมจึงเป็นคุณมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใด
ความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่กฎหมายเดิมมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท เห็นได้ว่า โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เบากว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิม โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงเป็นคุณมากกว่า ส่วนโทษปรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษปรับขั้นต่ำสูงกว่าขั้นต่ำตามกฎหมายเดิม ดังนั้น โทษปรับขั้นต่ำตามกฎหมายเดิมจึงเป็นคุณมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลต้องตรวจและแก้ไขก่อนรับพิจารณา หากไม่ทำเป็นการละเมิดสิทธิจำเลย
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดย ก. ทนายความลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนจำเลยแต่ในสำนวนไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง ก. เป็นทนายจำเลยไว้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ ซึ่งกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะตรวจอุทธรณ์ของจำเลยโดยละเอียด และมีคำสั่งให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องในการยื่นอุทธรณ์เสียให้ครบถ้วนและถูกต้องก่อนที่จะสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้ง ๆที่เป็นอุทธรณ์ไม่ชอบ จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในเนื้อหาแห่งอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง ก. เป็นทนายจำเลยโดยให้มีอำนาจอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยได้พร้อมกับยื่นฎีกาเข้ามาแล้วจึงไม่จำต้องสั่งให้แก้ไขและต้องถือว่าจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม: การอุทธรณ์ต้องจำกัดเฉพาะความเสียหายที่ตนเองได้รับ
แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานใด ก็ต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเฉพาะข้อหาความผิดฐานบุกรุก โจทก์ร่วมมิได้เป็นผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของจำเลย
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเฉพาะข้อหาความผิดฐานบุกรุก โจทก์ร่วมมิได้เป็นผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำแก้ฎีกาไม่ชอบ เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องจำเลยจะต้องทำเป็นคำฟ้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เข้ามาภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มิใช่ทำเป็นคำแก้ฎีกา เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นฎีกาแต่ทำมาเป็นเพียงคำแก้ฎีกา จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย