คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 216

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการคุมความประพฤติและการเปลี่ยนแปลงโทษ กรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วถือเป็นที่สุด
ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยไม่ใส่ใจในการปฏิบัติตามข้อกำหนด อันเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขการคุมความประพฤติ จึงให้ยกเลิกการคุมความประพฤติและเปลี่ยนโทษจากการรอการลงโทษจำคุกเป็นไม่รอการลงโทษ เมื่อจำเลยอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคสอง จำเลยจะฎีกาไม่ได้ ทั้งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ดังเช่นคดีอาญาทั่ว ๆ ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8254/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 เหตุจากจำเลยคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาใช้โดยมิได้คัดค้านข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดจริง พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์มีข้อพิรุธสงสัยโดยจำเลยมิได้กล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อใด ตอนใดไม่ถูกต้องอย่างไร คงคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาไว้ในฎีกาเท่านั้น ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8254/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 เนื่องจากเป็นการยกข้อกล่าวหาเดิมซ้ำ โดยไม่ได้โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดจริง พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์มีข้อพิรุธสงสัยโดยจำเลยมิได้กล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อใดตอนใดไม่ถูกต้องอย่างไร คงคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาไว้ในฎีกาเท่านั้น ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7616/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำคุกรอการลงโทษและการเพิกถอนการรอการลงโทษเมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขคุมประพฤติ คดีถึงที่สุดแล้ว
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 4 มีกำหนด 1 ปี แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และคุมความประพฤติโดยกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยที่ 4 ไว้ 1 ปี ต่อมาจำเลยที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ลงโทษจำคุกที่รอไว้แก่จำเลยที่ 4 และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงเป็นอันถึงที่สุด ตาม พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคสอง จำเลยที่ 4 จะฎีกาต่อมาไม่ได้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำสั่งศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยที่ 4 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็หาทำให้คดีของจำเลยที่ 4 ซึ่งถึงที่สุดแล้วเปลี่ยนแปลงเป็นไม่ถึงที่สุดไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4321/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: จำเลยโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น แทนที่จะคัดค้านศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยในส่วนเนื้อหาที่เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลนั้น ล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้น โดยการคัดข้อความมาจากคำอุทธรณ์ทั้งหมด แม้คำขอท้ายฎีกาจะเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ฎีกาของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาของศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไร โดยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาข้ามเวลาและการไม่อนุญาตรับฎีกาของผู้พิพากษาที่ไม่พิจารณาคดี
ในวันที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมฎีกา โดยระบุขอให้ ถ.แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นลงนามรับรองฎีกาของจำเลยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 นั้นยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้ แต่ ถ.ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเพราะไม่ได้เป็นผู้พิจารณาคดีนี้การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 อีกครั้งหนึ่งเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยมาโดยอ้างว่าผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาล่าช้า: การยื่นฎีกาหลังหมดกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในวันที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมฎีกา โดยระบุขอให้ ถ. แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นลงนามรับรองฎีกาของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221นั้นยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้ แต่ ถ. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเพราะไม่ได้เป็นผู้พิจารณาคดีนี้ การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 อีกครั้งหนึ่ง เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยมาโดยอ้างว่าผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3637/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 เนื่องจากไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยส่วนเนื้อหาที่เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาล ล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น โดยได้คัดลอกข้อความ มาจากคำอุทธรณ์ทั้งหมดแม้คำขอท้ายฎีกาจะเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพอจะถือได้ว่าเป็นการขอให้ ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แต่เนื้อความในฎีกาของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาของ ศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไร โดยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด เนื่องจาก เหตุผลในคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นต่างกับเหตุผลในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216: การคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องระบุเหตุผลชัดเจน
ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ฎีกาต้องมีข้อความคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่า การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงหรือไม่รับฟังข้อเท็จจริงข้อใดนั้นชอบหรือไม่ชอบเพราะเหตุใด ควรรับฟังข้อเท็จจริงอย่างไร
ฎีกาของโจทก์มิได้มีข้อความระบุเลยว่า ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคำเบิกความของพยานโจทก์เกี่ยวกับการพบเห็นชาย 4 คน ขัดกันในสาระสำคัญเป็นการไม่ชอบเพราะเหตุใด ควรถือว่าเป็นพลความคือไม่ใช่ข้อสาระสำคัญด้วยเหตุใดข้อที่เกี่ยวกับของกลางและรายละเอียดส่วนใหญ่ ศาลอุทธรณ์ควรต้องยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเหตุใด รายละเอียดส่วนใดยกขึ้นวินิจฉัยแล้วผลจะเป็นอย่างไร ข้อที่ว่าพยานโจทก์ต่างเบิกความตรงกันก็มิได้ระบุว่าพยานชื่อใดบ้าง เบิกความตรงกันในข้อใดควรรับฟังหรือไม่ ด้วยเหตุผลอย่างไร อีกทั้งข้อความตามฎีกาโจทก์ที่ว่า คดีมีพยานหลักฐานพอยื่นฎีกาได้ ก็คล้ายเป็นข้อความที่โจทก์เสนอความเห็นของตนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ ข้อความที่ว่า ศาลชั้นต้นอยู่ใกล้ชิดกับพยานที่เบิกความ โจทก์ก็ไม่ระบุชัดแจ้งว่าศาลชั้นต้นอยู่ใกล้ชิดกับพยานอย่างไร เพราะเหตุใดจึงจะรับฟังได้ว่า จำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบตามมาตรา 216 คพพ. เหตุไม่อ้างเหตุผลคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ฎีกาต้องมีข้อความคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่า การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงหรือไม่รับฟังข้อเท็จจริงข้อใดนั้นชอบหรือไม่ชอบเพราะเหตุใดควรรับฟังข้อเท็จจริงอย่างไร
ฎีกาของโจทก์มิได้มีข้อความระบุเลยว่า ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคำเบิกความของพยานโจทก์เกี่ยวกับการพบเห็นชาย 4 คน ขัดกันในสาระสำคัญเป็นการไม่ชอบเพราะเหตุใด ควรถือว่าเป็นพลความคือไม่ใช่ข้อสาระสำคัญด้วยเหตุใด ข้อที่เกี่ยวกับของกลางและรายละเอียดส่วนใหญ่ ศาลอุทธรณ์ควรต้องยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเหตุใด รายละเอียดส่วนใดยกขึ้นวินิจฉัยแล้วผลจะเป็นอย่างไร ข้อที่ว่าพยานโจทก์ต่างเบิกความตรงกันก็มิได้ระบุว่าพยานชื่อใดบ้าง เบิกความตรงกันในข้อใด ควรรับฟังหรือไม่ ด้วยเหตุผลอย่างไร อีกทั้งข้อความตามฎีกาโจทก์ที่ว่า คดีมีพยานหลักฐานพอยื่นฎีกาได้ก็คล้ายเป็นข้อความที่โจทก์เสนอความเห็นของตนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ข้อความที่ว่า ศาลชั้นต้นอยู่ใกล้ชิดกับพยานที่เบิกความ โจทก์ก็ไม่ระบุชัดแจ้งว่าศาลชั้นต้นอยู่ใกล้ชิดกับพยานอย่างไร เพราะเหตุใดจึงจะรับฟังได้ว่า จำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 216
of 45