คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 192 วรรคท้าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ เตรียมการก่อนหลบหนี แม้ไม่ฉกฉวยเฉพาะหน้า ศาลลงโทษฐานลักทรัพย์ได้
การที่จำเลยขออนุญาตเอาพระพุทธรูปบูชาของผู้เสียหายลงไปดูกลางแสงแดดที่พื้นดินหน้าบ้าน แล้วอุ้มพระพุทธรูปวิ่งหนีไปขึ้นรถยนต์ปิกอัพซึ่งพวกของจำเลยจอดรออยู่ โดยมีการวางแผนเตรียมการมาก่อนแล้วหลบหนีไปกับรถยนต์คันดังกล่าว ไม่เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ เพราะไม่ได้ฉกฉวยเอาซึ่งหน้า คงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) วรรคแรก ประกอบด้วย มาตรา 336 ทวิความผิดฐานลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย จำเลยซึ่งเป็นทหารร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นศาลพลเรือนตามมาตรา 14(1) และมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2484

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะหลบหนี ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการลักทรัพย์ ไม่ใช่วิ่งราวทรัพย์
การที่จำเลยขออนุญาตเอาพระพุทธรูปบูชาของผู้เสียหายลงไปดูกลางแสงแดดที่พื้นดินหน้าบ้าน แล้วอุ้มพระพุทธรูปวิ่งหนีไปขึ้นรถยนต์ปิกอัพซึ่งพวกของจำเลยจอดรออยู่โดยมีการวางแผนเตรียมการมาก่อนแล้วหลบหนีไปกับรถยนต์ดังกล่าวไม่เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ เพราะไม่ได้ฉกฉวยเอาซึ่งหน้า คงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 336 ทวิ ความผิดฐานลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคท้าย
จำเลยซึ่งเป็นทหารร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนตามมาตรา 14(1) และมาตรา 15 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อหลบหนี ศาลฎีกาชี้ขาดความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่วิ่งราวทรัพย์
การที่จำเลยขออนุญาตเอาพระพุทธรูปบูชาของผู้เสียหายลงไปดูกลางแสงแดดที่พื้นดินหน้าบ้านแล้วอุ้มพระพุทธรูปวิ่งหนีไปขึ้นรถยนต์ปิกอัพซึ่งพวกของจำเลยจอดรออยู่โดยมีการวางแผนเตรียมการมาก่อนแล้วหลบหนีไปกับรถยนต์คันดังกล่าวไม่เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์เพราะไม่ได้ฉกฉวยเอาซึ่งหน้าคงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา335(7)วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา336ทวิความผิดฐานลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคท้าย จำเลยซึ่งเป็นทหารร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนตามมาตรา14(1)และมาตรา15วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหารพ.ศ.2484

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6045/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานข่มขืนใจและชิงทรัพย์: การพิจารณาเจตนาและพฤติการณ์แห่งคดี
ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ไม่นาน จำเลยเคยถูกนักเรียนโรงเรียนเดียวกับผู้เสียหายขู่บังคับเอาเข็มขัดไป การที่จำเลยขู่บังคับให้ผู้เสียหายถอดเข็มขัดให้จึงเป็นเพราะความโกรธแค้นไม่มีเจตนาเป็นอย่างอื่น จำเลยมิได้ขู่บังคับให้ผู้เสียหายส่งนาฬิกาข้อมือและแหวนนากที่ผู้เสียหายสวมใส่ในขณะเกิดเหตุให้ด้วย เข็มขัดที่จำเลยเอาไปมีราคาเพียง 50 บาท ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาลักเข็มขัดของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
การที่จำเลยขู่บังคับให้ผู้เสียหายส่งเข็มขัดแก่จำเลยนั้น เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้กระทำตามความประสงค์ของจำเลยโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้ เสียหายอันเป็นความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคแรก ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าตำรวจเรียกผู้เสียหายไปสอบปากคำ 2 ครั้ง ครั้งหลังตำรวจได้ไกล่เกลี่ยไม่ให้เอาเรื่อง ผู้เสียหายจึงบอกตำรวจว่าไม่ติดใจเอาเรื่องดังนี้ยังฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหาย ได้ถอนคำร้องทุกข์หรือเป็นการยอมความกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5054/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความรุนแรงข่มขู่เพื่อกลั่นแกล้ง ไม่ถือเป็นความผิดชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ
จำเลยที่ 1 ใช้แขนรัดคอและใช้มีดคัทเตอร์จี้ผู้เสียหายขู่บังคับให้ผู้เสียหายส่งไม้ทีสไลด์ให้โดยมีจำเลยที่ 2 ยืนอยู่ด้วย แล้วจำเลยที่ 2 ยื้อแย่งเอาย่ามใส่หนังสือจากผู้เสียหายเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ไม้ทีสไลด์จากผู้เสียหายแล้วแทนที่จะหลบหนีไปจำเลยทั้งสองกลับบังคับให้ผู้เสียหายเดินไปกับจำเลยทั้งสองเมื่อพบเจ้าหน้าที่ตำรวจจำเลยทั้งสองก็มิได้หลบหนี ทั้งได้คืนไม้ทีสไลด์ให้ผู้เสียหายแต่โดยดี โดยบอกว่าล้อผู้เสียหายเล่นซึ่งเป็นการผิดวิสัยของคนร้ายที่กระทำการชิงทรัพย์โดยทั่วไปที่จำเลยทั้งสองกระทำต่อผู้เสียหายก็เนื่องจากความคึกคะนองประกอบกับความมึนเมาสุราด้วยเจตนาจะกลั่นแกล้งข่มเหงน้ำใจผู้เสียหายซึ่งแต่งเครื่องแบบนักศึกษาของวิทยาลับที่จำเลยทั้งสองไม่ชอบมาก่อนหาได้มีเจตนาลักทรัพย์ไม่การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมีอาวุธข่มขืนใจผู้เสียหายให้กระทำการตามความประสงค์ของจำเลยทั้งสองทำให้ผู้เสียหายกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายเสรีภาพ หรือทรัพย์สิน การกระทำอันขู่เข็ญนี้เป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์และโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้งสองมาในฟ้องแล้วศาลฎีกาย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5054/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์และทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ: การกระทำด้วยความคึกคะนองและมึนเมาสุรา ไม่ถือเป็นเจตนาลักทรัพย์
จำเลยที่ 1 ใช้แขนรัดคอและใช้มีดคัทเตอร์จี้ผู้เสียหายขู่บังคับให้ผู้เสียหายส่งไม้ทีสไลด์ให้โดยมีจำเลยที่ 2 ยืนอยู่ด้วย แล้วจำเลยที่ 2 ยื้อแย่งเอาย่ามใส่หนังสือจากผู้เสียหาย เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ไม้ทีสไลด์จากผู้เสียหายแล้วแทนที่จะหลบหนีไป จำเลยทั้งสองกลับบังคับให้ผู้เสียหายเดินไปกับจำเลยทั้งสองเมื่อพบเจ้าหน้าที่ตำรวจจำเลยทั้งสองก็มิได้หลบหนี ทั้งได้คืนไม้ทีสไลด์ให้ผู้เสียหายแต่โดยดี โดยบอกว่าล้อผู้เสียหายเล่นซึ่งเป็นการผิดวิสัยของคนร้ายที่กระทำการชิงทรัพย์โดยทั่วไป ที่จำเลยทั้งสองกระทำต่อผู้เสียหายก็เนื่องจากความคึกคะนองประกอบกับความมึนเมาสุราด้วยเจตนาจะกลั่นแกล้งข่มเหงน้ำใจผู้เสียหายซึ่งแต่งเครื่องแบบนักศึกษาของวิทยาลับที่จำเลยทั้งสองไม่ชอบมาก่อนหาได้มีเจตนาลักทรัพย์ไม่การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมีอาวุธข่มขืนใจผู้เสียหายให้กระทำการตามความประสงค์ของจำเลยทั้งสองทำให้ผู้เสียหายกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน การกระทำอันขู่เข็ญนี้เป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์และโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้งสองมาในฟ้องแล้วศาลฎีกาย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์และการมีอาวุธปืน ศาลฎีกายืนยกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอและฟ้องไม่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 และ 340 ตรี มิได้บรรยายและขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 ทั้งการกระทำความผิดตามมาตรา 392 ไม่ใช่การกระทำอันรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 392 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตและจำหน่ายซีอิ๊วปลอมติดฉลากเครื่องหมายการค้าผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1)
ซีอิ๊วของกลางส่วนหนึ่งที่ขวดปิดฉลากเครื่องหมายการค้าปลอมระบุว่าผลิตที่แห่งหนึ่ง แต่ความจริงผลิตที่อีกแห่งหนึ่ง เช่นนี้เป็นการหลอกลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดในเรื่องสถานที่ที่ผลิต ซีอิ๊วของกลางจึงเป็นอาหารปลอม ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 27 (4)
โจทก์มีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยว่า จำเลยซื้อเครื่องหมายการค้าปลอมจากผู้อื่นแล้วให้ลูกจ้างปิดฉลากเครื่องหมายการค้านั้นที่ขวดซีอิ๊ว โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำปลอมขึ้น พฤติการณ์เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273 แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์และข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272 (1) ซึ่งโจทก์มิได้ระบุขอให้ลงโทษ แต่ตามคำบรรยายฟ้องพอถือได้ว่าบรรยายฟ้องรวมการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 272 (1) ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 272 (1) ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 273 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย และการกระทำผิดดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตอาหารปลอมและใช้เครื่องหมายการค้าผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามกฎหมายอาญา
ซีอิ๊วของกลางส่วนหนึ่งที่ขวดปิดฉลากเครื่องหมายการค้าปลอมระบุว่าผลิตที่แห่งหนึ่ง แต่ความจริงผลิตที่อีกแห่งหนึ่งเช่นนี้เป็นการหลอกลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดในเรื่องสถานที่ที่ผลิต ซีอิ๊วของกลางจึงเป็นอาหารปลอม ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 27(4)
โจทก์มีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยว่า จำเลยซื้อเครื่องหมายการค้าปลอมจากผู้อื่นแล้วให้ลูกจ้างปิดฉลากเครื่องหมายการค้านั้นที่ขวดซีอิ๊ว โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำปลอมขึ้น พฤติการณ์เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273 แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการเอาชื่อรูป รอยประดิษฐ์และข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272(1) ซึ่งโจทก์มิได้ระบุขอให้ลงโทษ แต่ตามคำบรรยายฟ้องพอถือได้ว่าบรรยายฟ้องรวมการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 272(1) ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 272(1) ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 273 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย และการกระทำผิดดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลงโทษฐานทำร้ายร่างกาย แม้ฟ้องฐานชิงทรัพย์-พยายามฆ่า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์และพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339,288,80 โดยบรรยายฟ้องมาด้วยว่าจำเลยใช้กำลังกายชกต่อยผู้เสียหายหลายครั้งจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายถึงบาดเจ็บความผิดฐานชิงทรัพย์ นั้นมีการกระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายรวมอยู่ด้วย แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดฐานชิงทรัพย์คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยได้ร่วมทำร้ายผู้เสียหาย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
of 19