พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6020/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกายพลาดทำให้ถึงแก่ความตาย ความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายและฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ร่วมเดินทางไปกับพวกไปที่เกิดเหตุโดยทราบมาก่อนแล้วว่าพวกของจำเลยที่ 1 จะไปทำร้ายผู้เสียหาย และหลังเกิดเหตุก็หลบหนีไปด้วยกัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะร่วมทำร้ายผู้เสียหายกับพวกซึ่งมีการคิดไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาเพียงต้องการทำร้ายผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเท่านั้น แต่เมื่อผลการกระทำของพวกจำเลยที่ 1 ไม่ทำให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ แต่พลาดไปถูกผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผลแห่งการกระทำนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ป.อ. มาตรา 296 ประกอบมาตรา 80 และฐานทำร้ายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและไม่มีเจตนาฆ่า แต่เป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายโดยพลาด ตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคสอง ประกอบมาตรา 60 อันเป็นความผิดหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยพลาดตามที่โจทก์ฟ้อง และเป็นความผิดได้ในตัว ศาลฎีกาสามารถลงโทษในความผิดดังกล่าวตามที่ได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขู่เรียกทรัพย์โดยใช้กำลังทำร้ายร่างกายและขู่เข็ญต่อเนื่องหลายครั้ง เป็นความผิดอาญา
จำเลยที่ 1 ข่มขู่บังคับให้โจทก์ร่วมไปโอนขายสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุซึ่งมีชื่อของ ส. บุตรโจทก์ร่วมถือสิทธิ และโจทก์ร่วมยอมไปขอร้อง ส. ให้โอนขายสิทธิการเช่าดังกล่าวโดยอ้างว่าโจทก์ร่วมกำลังเดือดร้อน ส. ยอมโอนขายสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุให้ผู้อื่น เงินที่ขายได้เข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ร่วม จะเห็นได้ว่าการกระทำตามคำขู่บังคับของจำเลยที่ 1 ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินโดยตรงย่อมไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการข่มขืนใจโจทก์ร่วมให้ไปขอร้อง ส. ให้โอนขายสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุ โดยทำให้โจทก์ร่วมกลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่โจทก์ร่วมและคนในครอบครัว โจทก์ร่วมเกิดความกลัวยอมกระทำการตามที่จำเลยที่ 1 ข่มขู่บังคับ จึงเป็นความผิดต่อเสรีภาพตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งเป็นความผิดที่รวมอยู่ในความผิดฐานกรรโชกตามที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12888/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างและฉ้อโกง: การพิจารณาอายุความและอำนาจศาลในการลงโทษ
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลักทรัพย์เงินของโจทก์ร่วมไป จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมจึงมีความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) (11) วรรคสอง ส่วนจำเลยที่ 2 มิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมด้วย จำเลยที่ 2 ย่อมไม่อาจร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างได้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคแรก ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้และมีอายุความ 10 ปี
ความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องรวมการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างด้วย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดโทษจำเลยทั้งสองให้สูงกว่าโทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษามา เพราะจะเป็นการพิจารณาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง โดยที่โจทก์ร่วมมิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง
ความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องรวมการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างด้วย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดโทษจำเลยทั้งสองให้สูงกว่าโทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษามา เพราะจะเป็นการพิจารณาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง โดยที่โจทก์ร่วมมิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12079/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชิงทรัพย์โดยประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหาย แม้จะลักทรัพย์ชิ้นหนึ่งไปไม่ได้ ก็ยังเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยชิงทรัพย์โดยลักกุญแจรถจักรยานยนต์ 1 ดอก ของผู้เสียหายไป ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายเก็บกระเป๋าสะพายไว้ใต้เบาะรถจักรยานยนต์ จำเลยใช้มีดทำร้ายผู้เสียหาย ให้ผู้เสียหายเปิดเบาะรถ ผู้เสียหายจะดึงกุญแจรถจักรยานยนต์ออกจากตัวรถแต่จำเลยเงื้อมีดข่มขู่ ผู้เสียหายจึงวิ่งหลบหนี จากนั้นจำเลยใช้กุญแจรถดังกล่าวไขเบาะรถแต่ไม่สามารถเปิดได้ จำเลยจึงเอากุญแจรถดังกล่าวไป พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยประสงค์จะเอาทรัพย์ในกระเป๋าสะพายเป็นอันดับแรก เมื่อไม่สามารถเปิดเบาะรถจักรยานยนต์ได้จึงเอากุญแจรถจักรยานยนต์อันเป็นทรัพย์อีกชิ้นหนึ่งไป เมื่อจำเลยประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหาย แม้จะไม่สามารถเปิดเบาะรถจักรยานยนต์เพื่อเอาทรัพย์ในกระเป๋าสะพาย แต่การกระทำของจำเลยเพื่อเอาทรัพย์ยังไม่ขาดตอน การที่จำเลยเอากุญแจรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปย่อมเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการกระทำโดยทุจริต และเป็นการลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งโจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้ว มิใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10434/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ฟ้องในความผิดอื่น ศาลฎีกาลงโทษฐานครอบครองกระสุนได้
แม้ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง ได้ ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมีกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครอง เมื่อจำเลยไม่ได้ฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังยุติว่าจำเลยมีกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสอง ซึ่งความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ตามฟ้องรวมถึงความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตด้วย และความผิดดังกล่าวเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10065/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่า: พิจารณาจากพฤติการณ์, อาวุธ, และบาดแผลควบคู่กัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตาย ถูกบริเวณหน้าอกด้านซ้าย โดยเจตนาฆ่าและผู้ตายถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 288 นั้น ความผิดตามฟ้องของโจทก์ย่อมรวมถึงการทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290 ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าว ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
ในการพิจารณาว่า ผู้กระทำมีเจตนาทำร้ายร่างกายหรือเจตนาฆ่านั้น จะต้องพิจารณาจากความร้ายแรงของอาวุธ อวัยวะที่ถูกกระทำ ลักษณะบาดแผลที่ได้รับและพฤติการณ์แห่งการกระทำอื่น ๆ ประกอบกัน ซึ่งพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลย จะมีความสำคัญในการวินิจฉัยถึงเจตนาของจำเลยยิ่งกว่าหลักเกณฑ์อื่น ๆ มิใช่พิจารณาแต่เพียงอาวุธ ลักษณะอาการในการจ้วงแทง และบาดแผลที่ได้รับเท่านั้น
ในการพิจารณาว่า ผู้กระทำมีเจตนาทำร้ายร่างกายหรือเจตนาฆ่านั้น จะต้องพิจารณาจากความร้ายแรงของอาวุธ อวัยวะที่ถูกกระทำ ลักษณะบาดแผลที่ได้รับและพฤติการณ์แห่งการกระทำอื่น ๆ ประกอบกัน ซึ่งพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลย จะมีความสำคัญในการวินิจฉัยถึงเจตนาของจำเลยยิ่งกว่าหลักเกณฑ์อื่น ๆ มิใช่พิจารณาแต่เพียงอาวุธ ลักษณะอาการในการจ้วงแทง และบาดแผลที่ได้รับเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายยาเสพติด – ข้อเท็จจริงต่างจากฟ้อง – ลงโทษฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับ ว. ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ว. แล้ว ว. นำไปจำหน่ายต่อให้แก่สายลับ โดยจำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในสาระสำคัญ ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215, 225 ทั้งไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ว. ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับได้ด้วย แต่การที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ว. เป็นเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายยาเสพติด: ข้อเท็จจริงต่างจากฟ้อง ศาลลงโทษฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับ อ. ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแต่ข้อเท็จจริง ตามทางพิจารณาได้ความว่า อ. ซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลย หลังจากนั้น อ. จึงนำไปจำหน่ายให้แก่สายลับโดยจำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษจำเลยฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215, 225 แต่อย่างไรก็ดี การที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ อ. เป็นเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้เพื่อจำหน่ายก่อนที่จะส่งมอบ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15248-15249/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของโจทก์โดยเจ้าหน้าที่ แม้ฟ้องผิดฐาน แต่ศาลลงโทษได้ตามความผิดที่รับฟัง
จำเลยเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยของโจทก์ ซึ่งพนักงานมหาวิทยาลัยดังกล่าวคือ พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2547 พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดคำนิยามของ "พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา" ว่า หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งความหมายของ "พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา" ตามกฎหมายฉบับนี้แตกต่างจากความหมายของ "ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา" ตามกฎหมายฉบับเดียวกัน กล่าวคือ "ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา" หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการตาม พ.ร.บ.นี้ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนในสถาบันอุดมศึกษา หากเปรียบเทียบข้อแตกต่างสำคัญแล้ว จะเห็นได้ชัดว่า "ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา" เป็นบุคคลที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนในสถาบันอุดมศึกษา จึงมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ส่วน "พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา" เป็นบุคคลที่ได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้เป็นพนักงาน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้าราชการ อีกทั้งค่าจ้างหรือค่าตอบแทนพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาก็มิใช่เงินเดือนอันมีที่มาจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนในสถาบันอุดมศึกษา แม้ พ.ร.บ.ฉบับนี้จะระบุว่า พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาความหมายของพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนตามข้อ 4 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิแล้ว ล้วนได้ความตรงกันว่าพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งสองประเภทได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินอุดหนุนทั่วไปหรือเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย เมื่อจำเลยเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมิใช่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและไม่ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบกับไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับใดกำหนดให้พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. และศาลไม่อาจลงโทษจำเลยในฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147, 157 และ 161 ได้
จำเลยมีหน้าที่รับผิดชอบในงานเบิก - จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน ตรวจสอบเอกสารเงินยืม ติดตามเงินยืมและตัดยอดเงินยืม ดังนั้น แม้จำเลยจะจัดทำเอกสารเกี่ยวกับงานการเงินในหน้าที่รับผิดชอบของจำเลยไม่ตรงกับความเป็นจริงและใช้หรืออ้างเอกสารดังกล่าวเสนอต่อผู้บังคับบัญชา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264 ฐานปลอมเอกสาร มาตรา 268 ฐานใช้เอกสารปลอม และมาตรา 137 ฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน เพราะจำเลยเป็นผู้บันทึกข้อความลงในเอกสารต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยจำเลยมิได้เป็นผู้แจ้งข้อความดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานอื่นแต่อย่างใด
เงินตามเช็คเป็นเงินงบประมาณแผ่นดินของโจทก์ที่ ธ. ในฐานะเลขานุการโครงการต้นกล้าอาชีพทำหนังสือขอให้โจทก์อนุมัติเพื่อนำไปชำระเงินยืมที่โครงการยืมเงินกลางของโจทก์มาใช้จ่าย เงินจำนวนนี้จึงมิใช่เงินส่วนตัวของ ธ. ทั้ง ธ. ก็ไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ของโจทก์ซึ่งโจทก์จะต้องชำระหนี้ให้แก่ ธ. การที่ ธ. มีชื่อเป็นผู้รับเงินตามเช็ค จึงเป็นกรณีที่ ธ. ได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้มีหน้าที่รับเงินตามเช็คแล้วนำไปชำระเงินยืมให้แก่โจทก์ เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินของโจทก์ที่ถูกจำเลยเบียดบังไป โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ของโจทก์ตาม ป.อ. มาตรา 147 แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยเบียดบังทรัพย์ของโจทก์ไปในฐานะบุคคลธรรมดาซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องกล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 ไว้แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225
จำเลยมีหน้าที่รับผิดชอบในงานเบิก - จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน ตรวจสอบเอกสารเงินยืม ติดตามเงินยืมและตัดยอดเงินยืม ดังนั้น แม้จำเลยจะจัดทำเอกสารเกี่ยวกับงานการเงินในหน้าที่รับผิดชอบของจำเลยไม่ตรงกับความเป็นจริงและใช้หรืออ้างเอกสารดังกล่าวเสนอต่อผู้บังคับบัญชา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264 ฐานปลอมเอกสาร มาตรา 268 ฐานใช้เอกสารปลอม และมาตรา 137 ฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน เพราะจำเลยเป็นผู้บันทึกข้อความลงในเอกสารต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยจำเลยมิได้เป็นผู้แจ้งข้อความดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานอื่นแต่อย่างใด
เงินตามเช็คเป็นเงินงบประมาณแผ่นดินของโจทก์ที่ ธ. ในฐานะเลขานุการโครงการต้นกล้าอาชีพทำหนังสือขอให้โจทก์อนุมัติเพื่อนำไปชำระเงินยืมที่โครงการยืมเงินกลางของโจทก์มาใช้จ่าย เงินจำนวนนี้จึงมิใช่เงินส่วนตัวของ ธ. ทั้ง ธ. ก็ไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ของโจทก์ซึ่งโจทก์จะต้องชำระหนี้ให้แก่ ธ. การที่ ธ. มีชื่อเป็นผู้รับเงินตามเช็ค จึงเป็นกรณีที่ ธ. ได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้มีหน้าที่รับเงินตามเช็คแล้วนำไปชำระเงินยืมให้แก่โจทก์ เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินของโจทก์ที่ถูกจำเลยเบียดบังไป โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ของโจทก์ตาม ป.อ. มาตรา 147 แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยเบียดบังทรัพย์ของโจทก์ไปในฐานะบุคคลธรรมดาซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องกล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 ไว้แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13320/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายยาเสพติด: ศาลยกฟ้องข้อหาจำหน่ายต่อ แต่ลงโทษฐานมีไว้เพื่อจำหน่าย เนื่องจากมีหลักฐานการครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยร่วมกับ ท. มีเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 9 เม็ด ให้แก่สายลับ แต่ได้ความจากทางนำสืบโจทก์ว่า จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ให้แก่ ท. โดยไม่ปรากฏว่า จำเลยทราบว่า ท. จะนำเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไปจำหน่ายให้แก่สายลับ จึงเห็นได้ว่า การซื้อขายเมทแอมเฟตามีนระหว่าง ท. กับสายลับไม่เกี่ยวข้องกับจำเลย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับ ท. จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 9 เม็ด ให้แก่สายลับ และแม้ได้ความว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ให้แก่ ท. แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาดังกล่าวแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในสาระสำคัญ ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ท. ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง อย่างไรก็ดีการที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ท. แสดงว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลาง 10 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยร่วมกับพวกมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อได้ความว่าจำเลยกับ ท. ต่างคนต่างครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางในช่วงเวลาต่างกันซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ได้