พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญากู้ยืมเงินกรณีคณะกรรมการไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และการคิดดอกเบี้ยเมื่อไม่ได้กำหนดเวลาชำระ
หนังสือ สัญญากู้ยืม เงิน ระบุ คณะกรรมการ กองทุน ผู้บริหาร สำนักงาน การ ประถม ศึกษา อำเภอ เป็น ผู้กู้ โดย มี จำเลย เป็น ผู้ลงนาม ใน ฐานะ ประธาน คณะกรรมการ แต่เมื่อ คณะกรรมการ ไม่มี ฐานะ เป็น นิติบุคคล ที่ จะ สามารถ รับผิด ต่อ โจทก์ ใน ฐานะ บุคคลภายนอก สำหรับ กิจการ ที่ จำเลย กระทำ ไป ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 จึง ถือไม่ได้ว่า จำเลย เข้า ทำ สัญญา แทน ตัวการ ที่ มี ตัว อยู่ จริง ดังนั้น จำเลย จึง ต้อง รับผิด ตาม สัญญากู้ยืม เงิน ตาม ลำพัง สัญญากู้ยืม เงิน ไม่ได้ กำหนด อัตรา ดอกเบี้ย ไว้ เพียงแต่ กำหนด ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ทุกวัน สิ้นเดือน โจทก์ จึง มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย ใน ระหว่าง ผิดนัด อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 แม้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ อัตรา ร้อยละ 2 บาท ต่อ เดือน ก็ เป็น การ ชำระ ดอกเบี้ย ตาม อำเภอ ใจ โดย รู้ อยู่ ว่า ตน ไม่มี ความผูกพัน ที่ จะ ต้อง ชำระ จำเลย หา มีสิทธิ จะ ได้รับ ดอกเบี้ย ที่ ชำระ ไป แล้ว คืน ไม่ อย่างไร ก็ ตาม เนื่องจาก สัญญากู้ยืม เงิน มิได้ กำหนด เวลา ให้ จำเลย ใช้ คืนเงิน ที่ กู้ยืม และ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ ได้ บอกกล่าว แก่ จำเลย ให้ คืนเงิน ดังกล่าว ภายใน เวลา อันควร ตาม มาตรา 652 จึง ไม่อาจ ถือว่า วันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่ง เป็น วัน หลังจาก วันที่ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย สำหรับ เดือน สุดท้าย ให้ แก่ โจทก์ เป็น วันที่ จำเลย ผิดนัด ต้อง ถือว่า จำเลย ผิดนัด และ ต้อง เสีย ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1759/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่ไม่มีฐานะนิติบุคคลผู้กู้ และการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบันนังสตาซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ในนามคณะกรรมการกองทุนดังกล่าว แม้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจะระบุคณะกรรมการกองทุนผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบันนังสตาเป็นผู้กู้โดยมีจำเลยเป็นผู้ลงนามในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุน แต่เมื่อคณะกรรมการกองทุนดังกล่าวไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่จะสามารถรับผิดต่อโจทก์ในฐานะบุคคลภายนอกสำหรับกิจการที่จำเลยกระทำไปตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 820 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าทำสัญญาแทนตัวการที่มีตัวอยู่จริง จำเลยจึงต้องรับผิดตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินตามลำพัง
การที่สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงแต่กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินแก่โจทก์จนครบถ้วน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 แม้ว่าหลังจากทำสัญญากู้ยืมเงินกันแล้วจำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ก็เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืนไปไม่ แต่เมื่อสัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยใช้คืนเงินที่กู้ยืมและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้คืนเงินดังกล่าวภายในเวลาอันควรที่กำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 652 จึงไม่อาจถือว่าวันหลังจากที่จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนสุดท้ายให้แก่โจทก์เป็นวันที่จำเลยผิดนัด แต่ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
การที่สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงแต่กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินแก่โจทก์จนครบถ้วน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 แม้ว่าหลังจากทำสัญญากู้ยืมเงินกันแล้วจำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ก็เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืนไปไม่ แต่เมื่อสัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยใช้คืนเงินที่กู้ยืมและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้คืนเงินดังกล่าวภายในเวลาอันควรที่กำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 652 จึงไม่อาจถือว่าวันหลังจากที่จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนสุดท้ายให้แก่โจทก์เป็นวันที่จำเลยผิดนัด แต่ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1759/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญากู้ยืมเงินเมื่อผู้ลงนามไม่ใช่ตัวการ และการคิดดอกเบี้ยเมื่อไม่ได้กำหนดเวลาชำระ
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินระบุคณะกรรมการกองทุนผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเป็นผู้กู้โดยมีจำเลยเป็นผู้ลงนามในฐานะประธานคณะกรรมการ แต่เมื่อคณะกรรมการไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่จะสามารถรับผิดต่อโจทก์ในฐานะบุคคลภายนอกสำหรับกิจการที่จำเลยกระทำไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 820 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าทำสัญญาแทนตัวการที่มีตัวอยู่จริง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินตามลำพัง
สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงแต่กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 แม้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 2 บาทต่อเดือน ก็เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืนไม่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากสัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยใช้คืนเงินที่กู้ยืมและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้คืนเงินดังกล่าวภายในเวลาอันควรตามมาตรา 652จึงไม่อาจถือว่าวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนสุดท้ายให้แก่โจทก์ เป็นวันที่จำเลยผิดนัด ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงแต่กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 แม้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 2 บาทต่อเดือน ก็เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืนไม่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากสัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยใช้คืนเงินที่กู้ยืมและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้คืนเงินดังกล่าวภายในเวลาอันควรตามมาตรา 652จึงไม่อาจถือว่าวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนสุดท้ายให้แก่โจทก์ เป็นวันที่จำเลยผิดนัด ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5760/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้: การผิดนัดชำระหนี้รายเดือนไม่ตัดสิทธิผู้ให้กู้ในการเรียกร้องหนี้ทั้งหมดก่อนกำหนด
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือนแต่ถึงอย่างไรก็ดีจำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2541 และในตอนท้ายของสัญญายังระบุว่าไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนดที่กล่าวมาก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร โดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ กับมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอีกว่า ถ้าผู้กู้ผิดไม่ชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยตามข้อตกลงแห่งสัญญากู้เงินฉบับพิพาทให้ถือว่าผู้กู้ผิดนัดทั้งหมดยินยอมให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี หรือเท่ากับอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่ธนาคารพาณิชย์ จะสามารถเรียกเก็บจากผู้กู้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นตามการแก่กรณี ทั้งนี้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้เสร็จสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงไว้ในข้อตกลง ต่อท้ายสัญญากู้เงินจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ ส่วนการที่จำเลยทั้งสองชำระหนี้บางส่วนหลังจากที่ตกเป็นฝ่าย ผิดสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะรับชำระหนี้ได้ กรณีมิใช่การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5760/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงในสัญญากู้เงินและการบังคับชำระหนี้: การผิดนัดและดอกเบี้ย
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือน แต่ถึงอย่างไรก็ดีจำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2541 และในตอนท้ายของสัญญายังระบุว่า ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนดที่กล่าวมาก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร โดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ กับมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอีกว่า ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยตามข้อตกลงแห่งสัญญากู้เงินฉบับพิพาทให้ถือว่าผู้กู้ผิดนัดทั้งหมด ยินยอมให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี หรือเท่ากับอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่ธนาคารพาณิชย์จะสามารถเรียกเก็บจากผู้กู้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นตามการแก่กรณี ทั้งนี้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้เสร็จสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงไว้ในข้อตกลงต่อท้ายสัญญากู้เงินจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้
ส่วนการที่จำเลยทั้งสองชำระหนี้บางส่วนหลังจากที่ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะรับชำระหนี้ได้ กรณีมิใช่การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ป.พ.พ.มาตรา 192
ส่วนการที่จำเลยทั้งสองชำระหนี้บางส่วนหลังจากที่ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะรับชำระหนี้ได้ กรณีมิใช่การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ป.พ.พ.มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีข้อยุ่งยาก, สัญญาเงินกู้, การบอกกล่าวหนี้, การชำระหนี้, มาตรา 203
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าคดีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากให้ดำเนินคดีอย่างคดีมโนสาเร่ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จำเลยจึงไม่อาจอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้ การเรียกให้ชำระหนี้เงินยืมซึ่งมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ไว้ ต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคแรก มิใช่เป็นการเรียกให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไปตามมาตรา 652 เมื่อสัญญากู้ยืมมิได้กำหนดวันชำระคืนโจทก์ผู้ให้กู้ย่อมจะเรียกให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้โดยพลันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5329/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละอายุความด้วยการผ่อนผันหนี้และแปลงหนี้เป็นหนี้เงินกู้ ทำให้เกิดผลผูกพันตามสัญญาใหม่
หลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความแล้วจำเลยทำหนังสือขอผ่อนผันการชำระหนี้ถึงโจทก์แจ้งว่าตามที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยยินยอมชำระหนี้ให้โจทก์โดยการผ่อนชำระและจำเลยยอมสละประโยชน์แห่งอายุความของสิทธิเรียกร้องดังกล่าวข้างต้นย่อมถือได้ว่าจำเลยได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 แม้หนังสือดังกล่าวจะมีข้อความว่าจำเลยขอแปลงหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหนี้เงินกู้โดยขอให้งดคิดดอกเบี้ยหนี้เงินกู้ใหม่ไว้1ปีด้วยก็ตามแต่ก็มิได้มีข้อกำหนดว่าหากโจทก์ไม่ตกลงตามข้อเสนอดังกล่าวแล้วจะมีผลอย่างไรการที่โจทก์ไม่ตกลงด้วยในการงดคิดดอกเบี้ยจึงไม่มีผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของการแสดงเจตนาสละประโยชน์แห่งอายุความของจำเลย จำเลยทำหนังสือสัญญาแปลงหนี้จากหนี้เดิมตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหนี้เงินกู้แม้หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจะขาดอายุความแล้วแต่เมื่อโจทก์จำเลยยังมีหนี้เดิมต่อกันตามตั๋วสัญญาใช้เงินสัญญากู้ที่แปลงหนี้มาก็ย่อมมีมูลหนี้โจทก์จำเลยจึงต้องผูกพันกันตามหนังสือสัญญาแปลงหนี้ดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิยกอายุความตามตั๋วสัญญาใช้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ หนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยตกลงกับโจทก์แปลงมาจากหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามหนังสือแปลงหนี้มีข้อตกลงว่าจำเลยจะชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์เสร็จสิ้นเมื่อโจทก์เรียกร้องจึงเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2938/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้ฟ้องบังคับชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญา
สัญญากู้เงินมีข้อความว่า เมื่อครบกำหนดตามสัญญาแล้ว ถ้าผู้กู้ไม่นำต้นเงินมาชำระคืน ผู้ให้กู้อนุโลมให้ต่อสัญญาได้อีก เมื่อครบกำหนดตามสัญญากู้เงินผู้กู้ไม่ชำระเงินคืน ย่อมถือได้ว่าผู้ให้กู้และผู้กู้ได้ทำสัญญากู้เงินกันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา
สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1ไม่ชำระหนี้ภายในเวลาตามที่โจทก์กำหนด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 652 โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญากู้เงินก่อน ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1ไม่ชำระหนี้ภายในเวลาตามที่โจทก์กำหนด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 652 โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญากู้เงินก่อน ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7216/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องหนี้และการบังคับชำระหนี้, การค้ำประกัน, อัตราดอกเบี้ย, และข้อจำกัดการฎีกา
จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์อาศัยสิทธิใดในการเรียกดอกเบี้ยและโจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยกับต้นเงินจากจำเลยที่ 1 แล้วจำนวนเท่าใดแต่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะบรรยายแต่เพียงลอย ๆระบุยอดหนี้รวมมา ไม่แยกแยะให้เห็นว่ามีการชำระหนี้เงินต้นเมื่อไรอย่างไร ชำระดอกเบี้ยกันอย่างไร กี่ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อไรข้อฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง สัญญากู้ยืมเงินมีกำหนดเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นใน 20 เดือน แต่มีข้อตกลงให้ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนถึงกำหนดได้โดยผู้ให้กู้ไม่จำต้องชี้แจงแสดงเหตุ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิฟ้องบังคับผู้กู้ให้ชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อนแม้หนี้จะยังไม่ถึงกำหนดและผู้กู้ไม่ได้ผิดนัดและการที่หนี้ระหว่างผู้ให้กู้และผู้กู้เปลี่ยนเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ก็หาทำให้สิทธิของผู้ให้กู้ตามข้อตกลงดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่ แม้สัญญาค้ำประกันจะไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดไว้ แต่ก็ได้เท้าความถึงสัญญากู้ยืมเงินที่ผู้ค้ำประกันตกลงค้ำประกันหนี้ไว้ชัดแจ้งและมีข้อความอีกว่า ถ้าลูกหนี้ผิดนัดการชำระหนี้ผู้ค้ำประกันตกลงชำระหนี้นั้นแก่ผู้ให้กู้ทันทีพร้อมดอกเบี้ย กรณีจึงถือได้ว่าผู้ค้ำประกันตกลงค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7216/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกหนี้ก่อนกำหนด & ข้อตกลงค้ำประกัน: ประเด็นฟ้องไม่ชัดเจน & สิทธิผู้ให้กู้
จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์อาศัยสิทธิใดในการเรียกดอกเบี้ย และโจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยกับต้นเงินจากจำเลยที่ 1 แล้วจำนวนเท่าใด แต่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะบรรยายแต่เพียงลอย ๆ ระบุยอดหนี้รวมมา ไม่แยกแยะให้เห็นว่ามีการชำระหนี้เงินต้นเมื่อไร อย่างไร ชำระดอกเบี้ยกันอย่างไร กี่ครั้งครั้งสุดท้ายเมื่อไร ข้อฏีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 วรรคหนึ่ง
สัญญากู้ยืมเงินมีกำหนดเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นใน 20 เดือน แต่มีข้อตกลงให้ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนถึงกำหนดได้โดยผู้ให้กู้ไม่จำต้องชี้แจงแสดงเหตุ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิฟ้องบังคับผู้กู้ให้ชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อนแม้หนี้จะยังไม่ถึงกำหนดและผู้กู้ไม่ได้ผิดนัด และการที่หนี้ระหว่างผู้ให้กู้และผู้กู้เปลี่ยนเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ก็หาทำให้สิทธิของผู้ให้กู้ตามข้อตกลงดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่
แม้สัญญาค้ำประกันจะไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดไว้ แต่ก็ได้เท้าความถึงสัญญากู้ยืมเงินที่ผู้ค้ำประกันตกลงค้ำประกันหนี้ไว้ชัดแจ้งและมีข้อความอีกว่า ถ้าลูกหนี้ผิดนัดการชำระหนี้ผู้ค้ำประกันตกลงชำระหนี้นั้นแก่ผู้ให้กู้ทันทีพร้อมดอกเบี้ย กรณีจึงถือได้ว่าผู้ค้ำประกันตกลงค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ทั้งต้นเงิน
สัญญากู้ยืมเงินมีกำหนดเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นใน 20 เดือน แต่มีข้อตกลงให้ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนถึงกำหนดได้โดยผู้ให้กู้ไม่จำต้องชี้แจงแสดงเหตุ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิฟ้องบังคับผู้กู้ให้ชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อนแม้หนี้จะยังไม่ถึงกำหนดและผู้กู้ไม่ได้ผิดนัด และการที่หนี้ระหว่างผู้ให้กู้และผู้กู้เปลี่ยนเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ก็หาทำให้สิทธิของผู้ให้กู้ตามข้อตกลงดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่
แม้สัญญาค้ำประกันจะไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดไว้ แต่ก็ได้เท้าความถึงสัญญากู้ยืมเงินที่ผู้ค้ำประกันตกลงค้ำประกันหนี้ไว้ชัดแจ้งและมีข้อความอีกว่า ถ้าลูกหนี้ผิดนัดการชำระหนี้ผู้ค้ำประกันตกลงชำระหนี้นั้นแก่ผู้ให้กู้ทันทีพร้อมดอกเบี้ย กรณีจึงถือได้ว่าผู้ค้ำประกันตกลงค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ทั้งต้นเงิน