พบผลลัพธ์ทั้งหมด 236 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: โจทก์จ้างจำเลยทำกินในที่ดินตนเอง แม้ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน โจทก์มีสิทธิเหนือกว่า
โจทก์บุกรุกเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วจ้างจำเลยที่ 1 ปลูกข้าวโพด มีจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นบริวารช่วยเหลือจำเลยที่ 1 การยึดถือที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการยึดถือแทนโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้ครอบครองมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดถือที่ดินแทนผู้อื่นและการมีสิทธิครอบครองดีกว่า
โจทก์บุกรุกเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วจ้าง จำเลยที่ 1 ปลูกข้าวโพด มีจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นบริวารช่วยเหลือจำเลยที่ 1 การยึดถือที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการยึดถือแทนโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้ครอบครองมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกาศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851-2852/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การเช่าทำนาไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครองเป็นเจ้าของ แม้ครอบครองนานเพียงใด
ส.เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วเข้าทำนาในที่ดินพิพาทร่วมกับโจทก์ เมื่อ ส.ตายโจทก์ได้เช่าที่ดินพิพาททำนาต่อมา จึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 แม้จะครอบครองอยู่นานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครองเป็นเจ้าของ ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทับที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไว้แล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามจำเลยที่ 2 มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นการครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของ และต้องไม่เป็นการครอบครองแทนเจ้าของเดิม
ผู้ร้องกับ พ. ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยตกลงกันว่าผู้ร้องจะชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 10 ปีแล้วจึงจะไปโอนที่พิพาทกัน เมื่อผู้ร้องไม่ได้ชำระเงินค่าที่พิพาทส่วนที่เหลือให้แก่ พ.แม้พ. จะได้มอบที่พิพาทให้ผู้ร้องเข้าครอบครองแล้วก็ถือไม่ได้ว่า พ. มีเจตนาสละการครอบครองที่พิพาท ดังนี้ ผู้ร้องครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของ พ. แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่พิพาทเกินกว่า 10 ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4427/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินจากสัญญาประนีประนอมยอมความและการโอนสิทธิโดยไม่ชอบ
ส. พี่สาวโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 1ในคดีก่อนแบ่งที่ดินส่วนของ ส. ออกเป็น 3 ส่วนเท่ากันโจทก์ทั้งสองได้คนละหนึ่งส่วน โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่นั้นมาและมีสิทธิติดตามเอาที่ดินพิพาทของตนคืนจากจำเลยที่ 1ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมาขณะยังเป็นผู้เยาว์ และอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอา ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1และครอบครองต่อมาย่อมได้สิทธิไปเพียงเท่าที่ผู้โอนมีอยู่คือเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์จะถือว่าแย่งการครอบครองไม่ได้แม้ยึดถือนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อมีการครอบครองร่วมกันและสิทธิทางมรดก การซื้อขายที่ดินโดยไม่ชอบ
เดิม ท. กับจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันถือได้ว่าต่างมีสิทธิครอบครองคนละครึ่ง เมื่อ ท. ตายสิทธิครอบครองในส่วนของ ท. ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ ว. ผู้เป็นบุตร แม้ ว. จะมิได้เข้าครอบครองก็ตามก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองแทน ว. ตลอดมา การที่ ส.ค. 1 มีชื่อ ท.ถือสิทธิครอบครองเพียงผู้เดียว ก็จะถือว่า ท. ตลอดทั้ง ว. ผู้สืบสิทธิทางมรดกมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวหาได้ไม่ เมื่อ ว. มีสิทธิครอบครองเพียงครึ่งหนึ่งแต่ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) สำหรับที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นของ ว. ผู้เดียว จึงไม่ชอบ การจดทะเบียนสิทธิใด ๆ ใน น.ส.3 ก. ที่ทำขึ้นย่อมไม่มีผลในกฎหมายแม้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมาจาก ว. โดยจดทะเบียนใน น.ส.3 ก. ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาทนั้นอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การซื้อขายที่ดินที่ไม่ชอบ และผลกระทบต่อสิทธิของผู้ซื้อ
เดิม ท. กับจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันถือได้ว่าต่างมีสิทธิครอบครองคนละครึ่ง เมื่อ ท. ตายสิทธิครอบครองในส่วนของ ท.ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ว. ผู้เป็นบุตร แม้ ว. จะมิได้เข้าครอบครองก็ตามก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองแทน ว.ตลอดมาการที่ส.ค.1มีชื่อท.ถือสิทธิครอบครองเพียงผู้เดียว ก็จะถือว่า ท. ตลอดทั้งว. ผู้สืบสิทธิทางมรดกมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวหาได้ไม่ เมื่อ ว. มีสิทธิครอบครองเพียงครึ่งหนึ่งแต่ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) สำหรับที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นของ ว. ผู้เดียว จึงไม่ชอบ การจดทะเบียนสิทธิใด ๆ ใน น.ส.3 ก. ที่ทำขึ้นย่อมไม่มีผลในกฎหมายแม้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมาจาก ว. โดยจดทะเบียนใน น.ส.3 ก. ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาทนั้นอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินร่วม สิทธิครอบครองจากมรดก การออก น.ส.3ก. ที่ไม่ชอบ และผลของการซื้อขายที่ดิน
เดิม ท.กับจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกัน ถือได้ว่าต่างมีสิทธิครอบครองคนละครึ่ง เมื่อ ท.ตายสิทธิครอบครองในส่วนของ ท.ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ว.ผู้เป็นบุตรแม้ว.จะมิได้เข้าครอบครองก็ตามก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองแทนว.ตลอดมาการที่ส.ค.1มีชื่อท.ถือสิทธิครอบครองเพียงผู้เดียว ก็จะถือว่า ท.ตลอดทั้งว. ผู้สืบสิทธิทางมรดกมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวหาได้ไม่ เมื่อ ว. มีสิทธิครอบครองเพียงครึ่งหนึ่งแต่ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.) สำหรับที่ดินพิพาท ทั้งแปลงเป็นของ ว. ผู้เดียวจึงไม่ชอบ การจดทะเบียนสิทธิใด ๆ ใน น.ส.3ก. ที่ทำขึ้นย่อมไม่มีผลในกฎหมาย แม้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมาจาก ว. โดยจดทะเบียนใน น.ส.3ก. ก็ตามก็ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาทนั้นอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4393/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน การครอบครองร่วมกันเป็นเจ้าของร่วม
การที่ทายาทจะขอรับมรดกของเจ้ามรดกนั้น จะต้องมีคำยินยอมของทายาททุกคนมาแสดง โจทก์กระทำฝ่าฝืนระเบียบแบบแผนของทางราชการจนเป็นเหตุให้มีชื่อ โจทก์ ในโฉนด แต่ผู้เดียว จึงเป็นเรื่องที่โจทก์มีชื่อ ในทะเบียนสิทธิโดยไม่ชอบ ต้องถือว่าที่ดินตามโฉนด ดังกล่าวยังเป็นมรดกของ ล. ผู้ตายอยู่ โดยโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองร่วมกันมา จำเลยจึงมีสิทธิในฐานะเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินด้วย ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ว่า โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกจากที่ดินภายในกำหนดที่ตกลงกันโดยโจทก์จะยินยอมจ่ายเงินค่ารื้อถอนให้ 12,000 บาท ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอของโจทก์ ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมระงับข้อพิพาทใด ๆ ระหว่างโจทก์จำเลย ทั้งยังไม่เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยว่า จำเลยไม่ได้มีเจตนาจะครอบครองที่ดินมรดกอย่างเป็นเจ้าของ ดังนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านและยุ้งข้าวออกไปจากที่พิพาทได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทร่วมและการระงับอายุความในคดีแบ่งมรดก
หลังจากเจ้ามรดกตายโจทก์และมารดาจำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ร่วมกันครอบครองที่มรดกระยะหนึ่ง แม้โจทก์จะออกจากที่พิพาทไปนานเท่าใดก็ถือว่ามารดาจำเลยครอบครองแทนโจทก์ การที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงอยู่ในฐานะเดียวกับมารดา ถือว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทร่วมกันและเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกดังกล่าว โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ซึ่งตนเป็นเจ้าของรวมได้จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้.