คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1368

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 236 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสละการครอบครองที่ดิน: สัญญาซื้อขาย/ขายฝากโมฆะ แต่แสดงเจตนาของคู่สัญญาได้
จำเลยขายนาพิพาทให้โจทก์โดยทำหนังสือกันเอง. มิได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย. แม้สัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ แต่ก็ยังมีผลเป็นการแสดงถึงพฤติการณ์ของโจทก์จำเลยเกี่ยวกับนาพิพาทซึ่งไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน. ว่ามีเจตนาต่อกันอย่างไร. หนังสือสัญญานี้ในตอนต้นมีข้อความว่าจำเลยขายนาพิพาทให้โจทก์. และได้รับชำระราคาจากโจทก์เป็นการถูกต้องแล้ว. แต่ในตอนท้ายกล่าวว่า'ให้ผู้ขายตรึกตรองและตกลงปลงใจพิจารณาอยู่ภายใน 10วัน นับตั้งแต่วันทำหนังสือนี้เป็นต้นไป. ถ้าพ้นจากภายใน 10 วันแล้ว ที่ดินนาดังกล่าวแล้วให้นายบุ่งกลมเกลียว (โจทก์) ครอบครองต่อไป'. ฉะนั้น ถึงหากจำเลยได้มอบที่นาให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันทำสัญญานั้น. ก็ไม่พอฟังว่าจำเลยสละการครอบครองให้แก่โจทก์ไปในทันใดนั้นแล้ว. เพราะยังอยู่ในระหว่างที่จำเลยจะตัดสินใจต่อไป. นอกจากนี้ จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่าต่อจากวันขายฝาก 8 วัน. จำเลยได้นำเงินไปขอไถ่ แต่โจทก์ยังไม่รับเงิน. ให้จำเลยเอาไว้เป็นเงินยืมจากโจทก์.โดยโจทก์ขอทำนาพิพาทต่างดอกเบี้ยไปก่อน. เป็นการโต้เถียงว่าโจทก์เพียงแต่เป็นผู้ยึดถือครอบครองนาพิพาทแทนจำเลยอยู่ต่อมา. เพราะจำเลยได้จัดการไถ่ภายในกำหนด 10 วัน.และโจทก์จำเลยตกลงกันใหม่ เพื่อให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ยเท่านั้น. ซึ่งไม่ใช่เป็นการครอบครองเป็นของโจทก์เอง. ฉะนั้น คดีจะต้องให้คู่ความสืบพยานเพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินของคนต่างด้าว: สัญญาซื้อขายไม่โมฆะหากยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ และสัญญาจำนอง/เช่าไม่เป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย
แม้สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ข้อ 2 มีความว่า นับแต่วันทำหนังสือสัญญาเป็นต้นไป กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายย่อมโอนไปเป็นของผู้ซื้อ ฯลฯ แต่สัญญาข้อ 4 ก็มีความว่า โดยที่ผู้ซื้อเป็นนิติบุคคลสัญชาติต่างด้าวจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยเสียก่อน จึงเข้ารับการโอนกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดได้ และเมื่อผู้ซื้อได้รับอนุญาตจากทางราชการให้เข้าถือกรรมสิทธิ์ได้แล้ว ผู้ขายพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดให้เป็นของผู้ซื้อ ดังนี้ แสดงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทยังไม่โอนไปเป็นของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นนิติบุคคลสัญชาติต่างด้าว โดยคู่สัญญามีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อไป ถึงแม้ว่าผู้ซื้อจะได้ชำระราคาและเข้าครอบครองทรัพย์ด้วย ก็เป็นการครอบครองแทนผู้จะขาย เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ทั้งหมด สัญญานี้เป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 คนต่างด้าวซึ่งมีสนธิสัญญากับประเทศไทยอาจได้มาซึ่งที่ดินตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับอนุญาตแล้ว จึงไม่เป็นข้อห้ามโดยเด็ดขาดที่ไม่ให้คนต่างด้าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในประเทศไทย ฉะนั้น สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ซึ่งมีข้อความว่า ให้จำเลยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงจะทำการซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กัน จึงไม่เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหาเป็นโมฆะไม่ การที่ผู้จะขายกับผู้จะซื้อทำสัญญาจำนองและสัญญาเช่าทรัพย์พิพาทกันอีกชั้นหนึ่งนั้น เมื่อไม่มีผลทำให้กรรมสิทธิ์โอนไปจากผู้จะขาย ก็ถือไม่ได้ว่าผู้จะขายกับผู้จะซื้อมีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย ไม่ต้องให้ผู้จะซื้อขออนุญาต เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน
ผู้จะขายตกลงจำนองทรัพย์ที่จะขายไว้กับผู้จะซื้อ และในสัญญาจำนองตกลงกันให้ถือเอาเงินที่ชำระราคาตามสัญญาจะซื้อขายเป็นเงินจำนอง เมื่อมีข้อสัญญาว่าให้การจำนองนี้เป็นประกันเงินที่ผู้จะขายอาจต้องคืนผู้จะซื้อเมื่อมีการเลิกสัญญาจะซื้อขายกัน ย่อมเป็นสัญญาที่มีมูลหนี้สมบูรณ์ใช้บังคับได้ และในกรณีที่ผู้จะซื้อตกลงเช่าทรัพย์พิพาทที่จะซื้อจากผู้จะขายสัญญาเช่าก็ย่อมปฏิบัติต่อกันได้ ซึ่งผู้จะซื้อซึ่งเป็นผู้เช่าย่อมใช้สิทธิตามสัญญานี้เข้าครอบครองใช้ทรัพย์พิพาท ฉะนั้น สัญญาจำนอง สัญญาเช่าดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ และไม่เป็นการอำพรางนิติกรรมสัญญาจะซื้อขาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายกับคนต่างด้าว: สัญญาจะซื้อขาย vs. สัญญาซื้อขาย, การครอบครอง, และความสมบูรณ์ของสัญญาจำนอง/เช่า
แม้สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล.1 ข้อ 2 มีความว่านับแต่วันทำหนังสือสัญญาเป็นต้นไป. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายย่อมโอนไปเป็นของผู้ซื้อ ฯลฯ แต่สัญญาข้อ 4 ก็มีความว่า โดยที่ผู้ซื้อเป็นนิติบุคคลสัญชาติต่างด้าวจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยเสียก่อนจึงเข้ารับโอนกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดได้ และเมื่อผู้ซื้อได้รับอนุญาตจากทางราชการให้เข้าถือกรรมสิทธิ์ได้แล้ว.ผู้ขายพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดให้เป็นของผู้ซื้อ. ดังนี้ แสดงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทยังไม่โอนไปเป็นของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นนิติบุคคลสัญชาติต่างด้าว. โดยคู่สัญญามีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อไป. ถึงแม้ว่าผู้จะซื้อได้ชำระราคาและเข้าครอบครองทรัพย์ด้วย ก็เป็นการครอบครองแทนผู้จะขาย. เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ทั้งหมด สัญญานี้เป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น.
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 คนต่างด้าวซึ่งมีสนธิสัญญากับประเทศไทยอาจได้มาซึ่งที่ดินตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อนุญาตแล้ว. จึงไม่เป็นข้อห้ามโดยเด็ดขาดที่ไม่ให้คนต่างด้าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในประเทศไทย. ฉะนั้น สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ซึ่งมีข้อความว่าให้จำเลยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงจะทำการซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กัน. จึงไม่เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหาเป็นโมฆะไม่. การที่ผู้จะขายกับผู้จะซื้อทำสัญญาจำนองและสัญญาเช่าทรัพย์พิพาทกันอีกชั้นหนึ่งนั้นเมื่อไม่มีผลทำให้กรรมสิทธิ์โอนไปจากผู้จะขาย ก็ถือไม่ได้ว่าผู้จะขายกับผู้จะซื้อมีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย ไม่ต้องให้ผู้จะซื้อขออนุญาต เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน.
ผู้จะขายตกลงจำนองทรัพย์ที่จะขายไว้กับผู้จะซื้อ และในสัญญาจำนองตกลงกันให้ถือเอาเงินที่ชำระราคาตามสัญญาจะซื้อขายเป็นเงินจำนอง เมื่อมีข้อสัญญาว่าให้การจำนองนี้เป็นประกันเงินที่ผู้จะขายอาจต้องคืนผู้จะซื้อเมื่อมีการเลิกสัญญาจะซื้อขายกัน ย่อมเป็นสัญญาที่มีมูลหนี้สมบูรณ์ใช้บังคับได้ และในกรณีที่ผู้จะซื้อตกลงเช่าทรัพย์พิพาทที่จะซื้อจากผู้จะขายสัญญาเช่าก็ย่อมปฏิบัติต่อกันได้ ซึ่งผู้จะซื้อซึ่งเป็นผู้เช่าย่อมใช้สิทธิตามสัญญานี้เข้าครอบครองใช้ทรัพย์พิพาท. ฉะนั้น สัญญาจำนองสัญญาเช่าดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ และไม่เป็นการอำพรางนิติกรรมสัญญาจะซื้อขาย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายกับคนต่างด้าว: สัญญาจะซื้อขาย, การขออนุญาต, และผลของสัญญาจำนอง/เช่า
แม้สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล.1 ข้อ 2 มีความว่านับแต่วันทำหนังสือสัญญาเป็นต้นไป กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายย่อมโอนไปเป็นของผู้ซื้อ ฯลฯ แต่สัญญาข้อ 4 ก็มีความว่า โดยที่ผู้ซื้อเป็นนิติบุคคลสัญชาติต่างด้าวจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยเสียก่อนจึงเข้ารับโอนกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดได้ และเมื่อผู้ซื้อได้รับอนุญาตจากทางราชการให้เข้าถือกรรมสิทธิ์ได้แล้วผู้ขายพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดให้เป็นของผู้ซื้อดังนี้ แสดงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทยังไม่โอนไปเป็นของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นนิติบุคคลสัญชาติต่างด้าว โดยคู่สัญญามีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อไป ถึงแม้ว่าผู้จะซื้อได้ชำระราคาและเข้าครอบครองทรัพย์ด้วย ก็เป็นการครอบครองแทนผู้จะขาย เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ทั้งหมด สัญญานี้เป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 คนต่างด้าวซึ่งมีสนธิสัญญากับประเทศไทยอาจได้มาซึ่งที่ดินตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อนุญาตแล้วจึงไม่เป็นข้อห้ามโดยเด็ดขาดที่ไม่ให้คนต่างด้าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในประเทศไทยฉะนั้น สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ซึ่งมีข้อความว่าให้จำเลยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงจะทำการซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กัน จึงไม่เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหาเป็นโมฆะไม่ การที่ผู้จะขายกับผู้จะซื้อทำสัญญาจำนองและสัญญาเช่าทรัพย์พิพาทกันอีกชั้นหนึ่งนั้นเมื่อไม่มีผลทำให้กรรมสิทธิ์โอนไปจากผู้จะขาย ก็ถือไม่ได้ว่าผู้จะขายกับผู้จะซื้อมีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย ไม่ต้องให้ผู้จะซื้อขออนุญาต เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน
ผู้จะขายตกลงจำนองทรัพย์ที่จะขายไว้กับผู้จะซื้อ และในสัญญาจำนองตกลงกันให้ถือเอาเงินที่ชำระราคาตามสัญญาจะซื้อขายเป็นเงินจำนอง เมื่อมีข้อสัญญาว่าให้การจำนองนี้เป็นประกันเงินที่ผู้จะขายอาจต้องคืนผู้จะซื้อเมื่อมีการเลิกสัญญาจะซื้อขายกัน ย่อมเป็นสัญญาที่มีมูลหนี้สมบูรณ์ใช้บังคับได้ และในกรณีที่ผู้จะซื้อตกลงเช่าทรัพย์พิพาทที่จะซื้อจากผู้จะขายสัญญาเช่าก็ย่อมปฏิบัติต่อกันได้ ซึ่งผู้จะซื้อซึ่งเป็นผู้เช่าย่อมใช้สิทธิตามสัญญานี้เข้าครอบครองใช้ทรัพย์พิพาท ฉะนั้น สัญญาจำนองสัญญาเช่าดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ และไม่เป็นการอำพรางนิติกรรมสัญญาจะซื้อขาย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิม สิทธิครอบครองไม่ขาดอายุ แม้ไม่ได้จดทะเบียน
บุตรรับโอนที่ดินมาจากบิดามารดา ในระหว่างที่บิดามารดาครอบครอง ได้แลกทำนาที่นาโอนนั้นกับที่นาของบุคคลภายนอก โดยไม่ใช่เป็นการแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ ดังนี้ ถือว่าบุคคลภายนอกทำนาที่นาที่โอนนั้นโดยอาศัยสิทธิของบิดามารดา เท่ากับบิดามารดาเป็นผู้ครอบครอง ย่อมนับเวลานั้นเข้ากับเวลาครอบครองของบุตรผู้รับโอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1385
แม้จะไม่ได้แจ้งการครอบครองหรือเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ดินที่ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่ทำให้สิทธิครอบครองของผู้ครอบครองปรปักษ์เสียไป
ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ถูกแย่งการครอบครองเกินกว่า 10 ปี จะยกเหตุที่ผู้ครอบครองปกปักษ์ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิขึ้นกล่าวอ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต่อเนื่องและการโอนสิทธิโดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองยังคงต่อเนื่อง
บุตรรับโอนที่ดินนาจากบิดามารดา ในระหว่างที่บิดามารดาครอบครองได้แลกทำนาที่นาที่โอนนั้นกับที่นาของบุคคลภายนอก โดยไม่ใช่เป็น การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ ดังนี้ถือว่าบุคคลภายนอกทำนาที่นาที่โอนนั้นโดยอาศัยสิทธิของบิดามารดา เท่ากับบิดามารดาเป็นผู้ครอบครอง ย่อมนับเวลา นั้นเข้ากับเวลาครอบครองของบุตรผู้รับโอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1385
แม้จะไม่ได้แจ้งการครอบครองหรือเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ดิน ที่ครอบครองปรปักษ์ ก็ไม่ทำให้สิทธิครอบครองของผู้ครอบครองปรปักษ์เสียไป
ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตถูกแย่งการครอบครองเกินกว่า 10 ปี จะยกเหตุที่ผู้ครอบครองปรปักษ์ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิขึ้นกล่าวอ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินชำระหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่เกิดผลทางนิติกรรมจากการรับโอนการครอบครอง
การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินที่ไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน มีแต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ แบบ น.ส.3 ต้องจดทะเบียนที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ข้อ 5 และการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ไม่เข้ากรณีที่ไม่ต้องประกาศตามกฎกระทรวงดังกล่าว ข้อ 6 แม้ว่าจำเลยจะได้ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้และได้ทำบันทึกข้อตกลงกันไว้แล้วก็ดี นิติกรรมนั้นยังจดทะเบียนไม่ได้จนกว่าจะได้ประกาศตามความในกฎกระทรวงข้อ 5 เสียก่อน เมื่อไม่กระทำตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ย่อมไม่สมบูรณ์ หาทำให้โจทก์ได้ที่ดินพิพาทโดยทางนิติกรรมไม่
จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของที่นาพิพาทร่วมกันได้โอนที่นาชำระหนี้จำนองแล้ว จำเลยที่ 1 เช่านาพิพาทจากโจทก์ดังนี้ แม้การโอนโดยนิติกรรมไม่สมบูรณ์ แต่การที่จำเลยตกลงโอนที่นาชำระหนี้ เป็นการแสดงเจตนาโอนการครอบครองให้โจทก์แล้วการโอนการครอบครอง แม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินไว้แทนผู้โอน การโอนนั้นก็มีผลตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1380 บัญญัติไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์ แสดงว่าการทำนาต่อไปโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์ เป็นการยึดถือที่นาพิพาทไว้แทนโจทก์ โจทก์จึงเป็นเจ้าของนาพิพาทนี้ โดยการรับโอนการครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์เต็ม ทั้งแปลง จำเลยที่ 1 ก็เป็นผู้ยึดถือทั้งแปลงแทนโจทก์ ทำให้โจทก์ได้ ที่นาโดยรับโอนการครอบครองจากจำเลยที่ 2 ด้วยเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 จะให้ผู้ใดทำนา ก็เป็นบริวารของจำเลยที่ 1 เท่านั้นนาพิพาทจึงเป็นของโจทก์เต็มทั้งแปลง
จำเลยที่ 1 เช่านาโจทก์ทำปีเดียว เมื่อครบกำหนดแล้ว ไม่ส่งคืนนาให้โจทก์ และไม่ออกไปจากนาพิพาทโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขับไล่เรียกค่าเช่าที่ไม่ชำระและค่าเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองขัดขวางและขืนทำนาของโจทก์ต่อไปโดยละเมิดได้
สัญญาเช่าได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้แล้ว หาจำต้องบอกเลิกสัญญาอีกไม่
จำเลยที่ 2 มิได้นำหลักฐานเป็นหนังสือเช่านาโจทก์จะบังคับ ให้เสียค่าเช่าด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินชำระหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ แต่การครอบครองย้ายไปแล้ว ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครอง
การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน มีแต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ แบบ น.ส. 3 ต้องจดทะเบียนที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 7 ( พ.ศ. 2497) ข้อ 5 และการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ไม่เข้ากรณีที่ไม่ต้องประกาศตามกฎกระทรวงดังกล่าว ข้อ 6 แม้ว่าจำเลยจะได้ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ และได้ทำบันทึกข้อตกลงกันไว้แล้วก็ดี นิติกรรมนั้นยังจดทะเบียนไม่ได้ จนกว่าจะได้ประกาศตามความในกฎกระทรวงข้อ 5 เสียก่อน เมื่อไม่กระทำตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมย่อมไม่สมบูรณ์ หาทำให้โจทก์ได้ที่ดินพิพาทโดยทางนิติกรรมไม่
จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของที่นาพิพาทร่วมกันได้โอนที่นาชำระหนี้จำนองแล้ว จำเลยที่ 1 เช่านาพิพาทจากโจทก์ ดังนี้ แม้การโอนนิติกรรมไม่สมบูรณ์ แต่การที่จำเลยตกลงโอนที่นาชำระหนี้ เป็นการแสดงเจตนาโอนการครอบครองให้โจทก์แล้ว การโอนการครอบครอง แม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์อยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินไว้แทนผู้โอน การโอนนั้นก็มีผลตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1380 บัญญัติไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์ แสดงว่าการทำนาต่อไปโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์ เป็นการยึดถือที่นาพิพาทไว้แทนโจทก์ โจทก์จึงเป็นเจ้าของนาพิพาทนี้ โดยการรับโอนการครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์เต็มทั้งแปลง จำเลยที่ 1 ก็เป็นผู้ยึดถือทั้งแปลงแทนโจทก์ ทำให้โจทก์ได้ที่นาโดยรับโอนการครอบครองจากจำเลยที่ 2 ด้วยเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะให้ผู้ใดทำนา ก็เป็นบริวารของจำเลยที่ 1 เท่านั้น นาพิพาทจึงเป็นของโจทก์เต็มทั้งแปลง
จำเลยที่ 1 เช่านาโจทก์ทำปีเดียว เมื่อครบกำหนดแล้ว ไม่ส่งคืนนาให้โจทก์และไม่ออกไปจากนาพิพาท โจทก์ก็มีสทิธิฟ้องขับไล่เรียกค่าเช่าที่ไม่ชำระและค่าเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองขัดขวางและขืนทำนาของโจทก์ต่อไปโดยละเมิดได้
สัญญาเช่าได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้แล้ว หาจำต้องบอกเลิกสัญญาอีกไม่
จำเลยที่ 2 มิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือเช่านาโจทก์ จะบังคับให้เสียค่าเช่าด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังการขายและการเช่า การบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา และการเรียกร้องค่าเสียหาย
ที่พิพาทเป็นที่นาซึ่งไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน เมื่อเจ้าของขายและมอบการครอบครองให้โจทก์แล้ว โจทก์ก็ได้สิทธิครอบครองในที่นั้น ไม่ใช่โจทก์ได้สิทธิครอบครองโดยการแจ้งการครอบครอง
จำเลยทำหนังสือสัญญาเช่ากับโจทก์ตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2503 แต่เมื่อที่พิพาทที่จำเลยเช่ามีเนื้อที่เพียง 40 ไร่ และอยู่ตำบลบางเพรียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นท้องที่ที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 และพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 9(2) กำหนดให้สัญญาเช่ามีอายุต่อไปอีก 5 ปีในเมื่อจำเลยประสงค์จะเช่าต่อไป เมื่อจำเลยยังคงยึดถือครอบครองนาพิพาทต่อมา ก็ต้องถือว่าจำเลยประสงค์จะเช่าต่อไป สัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีอายุต่อไป 5 ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2507 เมื่อถือว่าจำเลยเช่านาจากโจทก์ตลอดมา กรณีเป็นเรื่องจำเลยยึดถือครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ในฐานะผู้เช่า จำเลยไม่มีสิทธิครอบครองในที่พิพาท คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2503 และสัญญาเช่ามีอายุต่อไปจนถึง พ.ศ. 2507 ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 มาตรา (2) แม้สัญญาเช่าจะมิได้ทำเป็นหนังสือ จำเลยก็ต้องชำระค่าเช่านาในปีการเช่าดังกล่าวให้โจทก์ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 มาตรา 12
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยมีอายุเพียงสิ้น พ.ศ. 2507 การที่จำเลยยังคงทำนาพิพาทตลอดมา ต้องถือว่าจำเลยเข้าทำโดยละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะขอให้จำเลยชำระค่าเช่าจนกว่าจำเลยจะเลิกทำนา ก็เป็นที่เห็นได้ว่า ค่าเช่าที่โจทก์ฟ้องเรียกตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยไม่มีสัญญาเช่าผูกพันต่อกันนั้นก็คือค่าเสียหายนั่นเอง ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ได้ (อ้างฎีกา 857-859/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่านาและการครอบครองที่ดินหลังสัญญาหมดอายุ: การชำระค่าเช่าและค่าเสียหาย
ที่พิพาทเป็นที่นาซึ่งไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเมื่อเจ้าของขายและมอบการครอบครองให้โจทก์แล้ว โจทก์ก็ได้สิทธิครอบครองในที่นั้นไม่ใช่โจทก์ได้สิทธิครอบครองโดยการแจ้งการครอบครอง
จำเลยทำหนังสือสัญญาเช่ากับโจทก์ตลอดมาจนถึง พ.ศ.2503แต่เมื่อที่พิพาทที่จำเลยเช่ามีเนื้อที่เพียง 40 ไร่ และอยู่ตำบลบางเพรียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นท้องที่ที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2493และพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 9(2) กำหนดให้สัญญาเช่ามีอายุต่อไปอีก 5 ปี ในเมื่อจำเลยประสงค์จะเช่าต่อไป เมื่อจำเลยยังคงยึดถือครอบครองนาพิพาทต่อมา ก็ต้องถือว่าจำเลยประสงค์จะเช่าต่อไปสัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีอายุต่อไป 5 ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ.2503 ถึง พ.ศ.2507เมื่อถือว่าจำเลยเช่านาจากโจทก์ตลอดมากรณีเป็นเรื่องจำเลยยึดถือครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ในฐานะผู้เช่าจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองในที่พิพาท คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความเมื่อจำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ตลอดมาจนถึง พ.ศ.2503 และสัญญาเช่ามีอายุต่อไปจนถึง พ.ศ.2507 ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2493 มาตรา 9(2)แม้สัญญาเช่าจะมิได้ทำเป็นหนังสือจำเลยก็ต้องชำระค่าเช่านาในปีการเช่าดังกล่าวให้โจทก์ตามพระราชบัญญัตควบคุมการเช่านา พ.ศ.2493 มาตรา 12
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยมีอายุเพียงสิ้น พ.ศ. 2507การที่จำเลยยังคงทำนาพิพาทตลอดมา ต้องถือว่าจำเลยเข้าทำโดยละเมิดต่อโจทก์แม้โจทก์จะขอให้จำเลยชำระค่าเช่าจนกว่าจำเลยจะเลิกทำนา ก็เป็นที่เห็นได้ว่า ค่าเช่าที่โจทก์ฟ้องเรียกตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยไม่มีสัญญาเช่าผูกพันต่อกันนั้นก็คือค่าเสียหายนั่นเอง ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ได้ (อ้างฎีกาที่ 857-858-859/2503)
of 24