พบผลลัพธ์ทั้งหมด 907 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจสั่งรื้อเคหะโดยพลการ ต้องร้องขอต่อศาลตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข
เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจโดยพละการตนเองที่จะสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหะคนใด รื้อเคหะหรืออาคารนอกจากจะร้องขอต่อศาลตามความใน พ.ร.บ.สาธารณะสุข พ.ศ.2484 มาตรา 89
ฉะนั้นถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ผู้ครอบครองเคหะรื้อเคหะนั้นโดยพละการตนเองคำสั่งนั้นก็เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่จำต้องปฏิบัติตาม
ฉะนั้นถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ผู้ครอบครองเคหะรื้อเคหะนั้นโดยพละการตนเองคำสั่งนั้นก็เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่จำต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งรื้อเคหะ: ต้องผ่านศาล
เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจโดยพลการตนเองที่จะสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหะคนใด รื้อเคหะหรืออาคาร นอกจากจะร้องขอต่อศาลตามความในพระราชบัญญัติสาธารณะสุข พ.ศ.2484 มาตรา 29
ฉะนั้นถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ผู้ครอบครองเคหะรื้อเคหะนั้นโดยพลการตนเอง คำสั่งนั้นก็เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่จำต้องปฏิบัติตาม
ฉะนั้นถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ผู้ครอบครองเคหะรื้อเคหะนั้นโดยพลการตนเอง คำสั่งนั้นก็เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่จำต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินที่เกินเลยเจตนาเดิมของผู้มอบอำนาจเป็นโมฆะ ผู้มอบอำนาจมีสิทธิขอเพิกถอนได้
บุตรคนหนึ่งเอาแบบพิมพ์มาให้มารดาพิมพ์ลายนิ้วมือโดยแจ้งว่าจะเอาไปจัดการใส่ชื่อบุตรคนนั้นลงในโฉนดที่ดินของมารดาด้วย มารดาก็ยอมและกดพิมพ์ลายนิ้วมือให้ไป แต่บุตรกลับไปเพิ่มเติมข้อความในใบมอบฉันทะนั้นเป็นว่ามารดามอบอำนาจให้บุตร ขายที่ดินโฉนดนั้นแก่บุตร 3 คน ดังนี้ เป็นการผิดความประสงค์การโอนขายย่อมเป็นโมฆะมารดาย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมโอนขายนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินโดยบุตรเพิ่มเติมข้อความในใบมอบฉันทะเกินความประสงค์เดิมของมารดา ย่อมเป็นโมฆะ
บุตรคนหนึ่งเอาแบบพิมพ์มาให้มารดาพิมพ์ลายนิ้วมือโดยแจ้งว่าจะเอาไปจัดการใส่ชื่อบุตรคนนั้นลงในโฉนดที่ดินของมารดาด้วย มารดาก็ยอมและกดพิมพ์ลายนิ้วมือให้ไป แต่บุตรกลับไปเพิ่มเติมข้อความในใบมอบฉันทะนั้นเป็นว่ามารดามอบอำนาจให้บุตร ขายที่ดินโฉนดนั้นแก่บุตร 3 คน ดังนี้ เป็นการผิดความประสงค์การโอนขายย่อมเป็นโมฆะ มารดาย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมโอนขายนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงบัญชีข้าวโรงสี: การลงรายการผิดพลาดไม่ถือว่าไม่แสดงรายการ
ผู้ทำการโรงสีซึ่งมีหน้าที่ต้องทำบัญชีแสดงรายการปริมาณข้าวซึ่งมีอยู่ ได้มาและขายไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา 201 นั้น ถ้าไม่แสดงรายการปริมาณข้าวดังกล่าวแล้วย่อมเข้ามาตรา 202 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มอีก 10 เท่า แต่ถ้าได้แสดงรายการปริมาณข้าวแล้วแต่ลงจำนวนข้าวผิดไปเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องไม่แสดงรายการตามมาตรา 202 ฉะนั้นจึงจะเรียกเงินเพิ่ม 10 เท่าจากผู้ทำการโรงสีไม่ได้ ถ้าเรียกเพิ่มไว้แล้วผู้ทำการโรงสีฟ้องเรียกคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงรายการปริมาณข้าวผิดพลาดตามประมวลรัษฎากร ไม่ถือว่าไม่แสดงรายการ จึงไม่เสียเงินเพิ่ม 10 เท่า
ผู้ทำการโรงสี ซึ่งมีหน้าที่ต้องทำบัญชีแสดงรายการปริมาณข้าวซึ่งมีอยู่ ได้มาและขายไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา 201 นั้นถ้าไม่แสดงรายการปริมาณข้าวดังกล่าวแล้ว ย่อมเข้ามาตรา 202 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มอีก 10 เท่า แต่ถ้าได้แสดงรายการปริมาณข้าวแล้วแต่ลงจำนวนข้าวผิดไปเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องไม่แสดงรายการตามมาตรา 202 ฉะนั้นจึงจะเรียกเงินเพิ่ม 10 เท่าจากผู้ทำการโรงสีไม่ได้ถ้าเรียกเพิ่มไว้แล้ว ผู้ทำการโรงสีฟ้องเรียกคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินเมื่อผู้เช่ายึดครองโรงเรือนหลังเจ้าของโรงเรือนผิดสัญญา
ข้อฎีกาที่ว่าศาลล่างไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่ควรจะฟังนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ส่วนฎีกาที่ว่าศาลล่างฟังข้อเท็จจริงโดยไม่มีถ้อยคำสำนวนสนับสนุนนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
เจ้าของที่ดินฟ้องเจ้าของโรงเรือนซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินนั้นให้รื้อถอนโรงเรือนไปจนยอมความกันจะรื้อถอนโรงเรือนไปแล้ว แต่ไม่สามารถรื้อได้เพราะมีผู้เช่าโรงเรือนนั้นอยู่ไม่ยอมออกไป ดังนี้ ถือได้ว่าการที่ผู้เช่าโรงเรือนไม่ยอมออกไปเป็นเหตุให้เจ้าของโรงเรือนรื้อไม่ได้ตามที่ตกลงไว้กับเจ้าของที่ดินย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจึงฟ้องขับไล่ผู้เช่าโรงเรือนให้ออกไปจากโรงเรือนได้ ผู้เช่าจะอ้างว่าได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ ก็ไม่ได้ เพราะผู้เช่าอยู่ในโรงเรือนโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของโรงเรือน เมื่อเจ้าของโรงเรือนเองก็หมดอำนาจไปแล้วสิทธิของผู้เช่าอยู่ก็หมดไปด้วย
เจ้าของที่ดินฟ้องเจ้าของโรงเรือนซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินนั้นให้รื้อถอนโรงเรือนไปจนยอมความกันจะรื้อถอนโรงเรือนไปแล้ว แต่ไม่สามารถรื้อได้เพราะมีผู้เช่าโรงเรือนนั้นอยู่ไม่ยอมออกไป ดังนี้ ถือได้ว่าการที่ผู้เช่าโรงเรือนไม่ยอมออกไปเป็นเหตุให้เจ้าของโรงเรือนรื้อไม่ได้ตามที่ตกลงไว้กับเจ้าของที่ดินย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจึงฟ้องขับไล่ผู้เช่าโรงเรือนให้ออกไปจากโรงเรือนได้ ผู้เช่าจะอ้างว่าได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ ก็ไม่ได้ เพราะผู้เช่าอยู่ในโรงเรือนโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของโรงเรือน เมื่อเจ้าของโรงเรือนเองก็หมดอำนาจไปแล้วสิทธิของผู้เช่าอยู่ก็หมดไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นสิ้นสุดตามสิทธิเจ้าของโรงเรือน ละเมิดสิทธิเจ้าของที่ดิน
ข้อฎีกาที่ว่าศาลล่างไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่ควรจะฟังนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงส่วนฎีกาที่ว่าศาลล่างฟังข้อเท็จจริงโดยไม่มีถ้อยคำสำนวนสนับสนุนนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
เจ้าของที่ดินฟ้องเจ้าของโรงเรือน ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินนั้นให้รื้อถอนโรงเรือนไปจนยอมความกันจะรื้อถอนโรงเรือนไปแล้ว แต่ไม่สามารถรื้อได้เพราะมีผู้เช่าโรงเรือนนั้นอยู่ ไม่ยอมออกไป ดังนี้ ถือได้ว่าการที่ผู้เช่าโรงเรือนไม่ยอมออกไปเป็นเหตุให้เจ้าของโรงเรือนรื้อไม่ได้ตามที่ตกลงไว้กับเจ้าของที่ดินย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของเจ้าของที่ดิน ๆ จึงฟ้องขับไล่ผู้เช่าโรงเรือนให้ออกไปจากโรงเรือนได้ ผู้เช่าจะอ้างว่าได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ ก็ไม่ได้ เพราะผู้เช่าอยู่ในโรงเรือนโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของโรงเรือนเมื่อเจ้าของโรงเรือนเองก็หมดอำนาจไปแล้ว สิทธิของผู้เช่าอยู่ก็หมดไปด้วย
เจ้าของที่ดินฟ้องเจ้าของโรงเรือน ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินนั้นให้รื้อถอนโรงเรือนไปจนยอมความกันจะรื้อถอนโรงเรือนไปแล้ว แต่ไม่สามารถรื้อได้เพราะมีผู้เช่าโรงเรือนนั้นอยู่ ไม่ยอมออกไป ดังนี้ ถือได้ว่าการที่ผู้เช่าโรงเรือนไม่ยอมออกไปเป็นเหตุให้เจ้าของโรงเรือนรื้อไม่ได้ตามที่ตกลงไว้กับเจ้าของที่ดินย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของเจ้าของที่ดิน ๆ จึงฟ้องขับไล่ผู้เช่าโรงเรือนให้ออกไปจากโรงเรือนได้ ผู้เช่าจะอ้างว่าได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ ก็ไม่ได้ เพราะผู้เช่าอยู่ในโรงเรือนโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของโรงเรือนเมื่อเจ้าของโรงเรือนเองก็หมดอำนาจไปแล้ว สิทธิของผู้เช่าอยู่ก็หมดไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผ่อนผันหนี้และการค้ำประกันตามอำนาจผู้ให้กู้
ทำสัญญากู้เงินมีความว่า "จำนวนเงินที่ข้าพเจ้ากู้ไปนี้ ข้าพเจ้าสัญญาจะชำระให้เสร็จภายใน 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป เว้นแต่ผู้ให้กู้จะได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น" และผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า"ถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินที่ได้กู้ไปตามคำสั่งของผู้ให้กู้ ข้าพเจ้ายอมรับใช้ให้ทั้งสิ้น" ดังนี้กำหนด 6 เดือนที่ว่าไว้นั้นไม่ใช่เด็ดขาด แต่ผู้ให้กู้อาจสั่งเป็นอย่างอื่นได้ และการค้ำประกันก็เป็นไปในทางยอมค้ำประกันตามอำนาจของผู้ให้กู้ด้วย ฉะนั้นหากผู้กู้ขอผัดผ่อนการชำระหนี้ต่อไป และผู้ให้กู้ยอม ก็ตามผู้ค้ำประกันก็ยังไม่หลุดพ้นจากการค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผัดผ่อนหนี้และการค้ำประกัน: การขยายเวลาชำระหนี้ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้น
ทำสัญญากู้เงินมีความว่า " จำนวนเงินที่ข้าพเจ้ากู้ไปนี้ ข้าพเจ้าสัญญาจะชำระให้เสร็จภายใน 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป เว้นแต่ผู้ให้กู้จะได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น " และผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า " ถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินที่ได้กู้ไปตามคำสั่งของผู้ให้กู้ ข้าพเจ้ายอมรับใช้ให้ทั้งสิ้น " ดังนี้กำหนด 6 เดือนที่ว่าไว้นั้นไม่ใช่เด็ดขาด แต่ผู้ให้กู้อาจสั่งเป็นอย่างอื่นได้ และการค้ำประกันก็เป็นไปทางยอมค้ำประกันตามอำนาจของผู้กู้ขอผัดผ่อนการชำระหนี้ต่อไป และผู้ให้กู้ยอม ก็ตามผู้ค้ำประกันก็ยังไม่หลุดพ้นจากการค้ำประกัน