คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรูญเนติศาสตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 907 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม: การวินิจฉัยความผิดพลาดเกี่ยวกับวัตถุแห่งสัญญา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าแม้จำเลยจะทำสัญญาลงไปโดยความสำคัญผิด แต่ก็ไม่ใช่สาระสำคัญอันจะทำให้ตกเป็นโมฆะ แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญโดยเข้าใจผิดในตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม ตกเป็นโมฆะ ดังนี้เมื่อโจทก์ฎีกาต่อสู้ในทางข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้มีความสำคัญผิด แต่หาได้ยกข้อกฎหมายที่ว่าแม้จะสำคัญผิด ก็หาใช่เป็นข้อสำคัญอันจะทำให้เป็นโมฆะไม่แล้ว เมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยสำคัญผิดแล้ว ฎีกาโจทก์ก็ฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม: ผลกระทบต่อโมฆะของสัญญา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าแม้จำเลยจะทำสัญญาลงไปโดยความสำคัญผิด แต่ก็ไม่ใช่สาระสำคัญอันจะทำให้ตกเป็นโมฆะ แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญโดยเข้าใจผิดในตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม ตกเป็นโมฆะ ดังนี้เมื่อโจทก์ฎีกาต่อสู้ในทางข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้มีความสำคัญผิด แต่หาได้ยกข้อ ก.ม.ที่ว่า แม้จะสำคัญผิด ก็หาใช่เป็นข้อสำคัญอันจะทำให้เป็นโมฆะไม่ แล้วเมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยสำคัญผิดแล้ว ฎีกาโจทก์ก็ฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการบริษัทในการลงนามสัญญา แม้มีข้อจำกัดอำนาจกรรมการ และค่าเสียหายที่แท้จริง
แม้ข้อบังคับของบริษัทจะมีระบุไว้ว่ากรรมการผู้มีชื่อคนหนึ่งแต่ผู้เดียวมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราผูกพันบริษัทได้ก็ตาม ก็เป็นข้อบังคับในเรื่องอำนาจของกรรมการ ถ้าไม่มีข้อห้ามไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว ผู้จัดการของบริษัทก็อาจที่จะลงนามในสัญญาผูกมัดบริษัทได้ ดังตัวอย่างฎีกาที่ 645/2486 และ 892/2486

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการ-ผู้จัดการ: แม้มีข้อบังคับจำกัดอำนาจกรรมการ ผู้จัดการก็ยังผูกพันบริษัทได้
แม้ข้อบังคับของบริษัทจะมีระบุไว้ว่ากรรมการผู้มีชื่อคนหนึ่งแต่ผู้เดียวมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราผูกพันบริษัทได้ก็ตาม ก็เป็นข้อบังคับในเรื่องอำนาจของกรรมการ ถ้าไม่มีข้อห้ามไว้เป็นอย่างอื่นแล้วผู้จัดการของบริษัทก็อาจที่จะลงนามในสัญญาผูกมัดบริษัทได้ ดังตัวอย่างฎีกาที่ 645/2486 และ 892/2486)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงซื้อขายของปลอม - การระบุรายละเอียดการหลอกลวงในฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยเอาสร้อยคอ ซึ่งเป็นของปลอมไปขาย โดยจำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้เขาเชื่อในสภาพแห่งสร้อยอันเป็นความเท็จ อันเป็นเหตุให้เขาหลงเชื่อและได้ตกลงซื้อสร้อย ดังนี้ ยังไม่เป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 310 เพราะโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยหลอกลวงประการใด จะด้วยกิริยาด้วยวาจาหรือด้วยประการใด และหลอกลวงอย่างไรมิได้กล่าวในฟ้อง จึงต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงขายของปลอมต้องแสดงกิริยาหรือวาจาหลอกลวงชัดเจน แม้มีเจตนาทุจริตแต่ไม่มีการหลอกลวงจึงไม่เป็นความผิด
ฟ้องว่าจำเลยเอาสร้อยคอ ซึ่งเป็นของปลอมไปขายโดยจำเลยมีเจตนทุจริตหลอกลวงให้เขาเชื่อในสภาพแห่งสร้อยอันเป็นความเท็จ อันเป็นเหตุให้เขาหลงเชื่อและได้ตกลงซื้อสร้อย ดังนี้ ยังไม่เป็นความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 310 เพราะโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยหลอกลวงประการใดจะด้วยกิริยา ด้วยวาจา หรือด้วยประการใด และหลอกลวงอย่างไรมิได้กล่าวในฟ้อง จึงต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมเสื่อมประโยชน์ – การกั้นทางทำให้ใช้สิทธิไม่ได้ – การฟ้องคดีซ้ำ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินคดีเรื่องเดิมนั้นต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางข้อซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ส่วน มาตรา 148 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเรื่องใด ศาลตัดสินครั้งหนึ่งแล้ว มาฟ้องใหม่ซ้ำอีกไม่ได้
กรณีที่โจทก์ฟ้องแล้วครั้งหนึ่ง ศาลตัดสินแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้อีก ไม่ใช่เรื่องศาลดำเนินคดีเดิม กรณีไม่เข้า มาตรา 144 คงเป็นปัญหาตาม มาตรา 148 เท่านั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 แล้ว ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยอ้างว่าภาระจำยอมที่โจทก์อ้างปราศจากรากฐานตามกฎหมายบังคับจำเลยไม่ได้ ศาลอุทธรณ์ยืนในข้อที่ยกฟ้องโดยเหตุว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ไม่ได้เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นภารยะทรัพย์ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นที่ว่าจำเลยกั้นทางรายนี้ให้แคบลงได้หรือไม่ ดังนี้ ต้องถือตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นคำพิพากษาอันถึงที่สุด โจทก์ฟ้องคดีใหม่นี้โดยฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินด้วยได้ ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 148
โจทก์ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม 1401 อันอาจใช้ล้อหรือเกวียนและรถยนต์เข้าออกตามทางผ่านที่ดินของจำเลยแล้ว จำเลยกั้นทางให้แคบลงจนใช้ล้อหรือเกวียนและรถยนต์ไม่ได้ ย่อมเป็นการทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมเสื่อมไปขัดต่อ มาตรา 1390 แม้โจทก์จะยังใช้รถจักรยาน 3 ล้อเข้าออกได้หรือโจทก์ไม่ได้เอาเกวียนเข้าเก็บในที่ดินของโจทก์ก็ไม่เป็นข้อแก้ตัว
โจทก์มีทางเอาเกวียนและรถเข้าออกทางอื่นได้ แต่ทางนั้นไม่ใช่ทางสาธารณะและโจทก์ยังไม่มีสิทธิเหนือทางนั้นอาจถูกสั่งปิดเสียเมื่อใดก็ได้ ไม่เรียกว่าทางพิพาทหมดประโยชน์แก่โจทก์อันจะทำให้ภาระจำยอมหมดไปตาม มาตรา 1400

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมทางอายุความและการลดทอนประโยชน์ของภาระจำยอม การฟ้องคดีซ้ำตาม ป.วิ.แพ่ง ม.144, 148
ป.วิ.แพ่ง ม.144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินคดีเรื่องเดิมนั้นต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางข้อ ซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ส่วน ม.148 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเรื่องใด ศาลตัดสินครั้งหนึ่แล้ว มาฟ้องใหม่ซ้ำอีกไม่ได้
กรณีที่โจทก์ฟ้องแล้วครั้งหนึ่ง ศาล 144,148 ตัดสินแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้อีก ไม่ใช่เรื่องศาลดำเนินคดีเดิม กรณีไม่เข้า ม.144 คงเป็นปัญหาตาม ม.148 เท่านั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 แล้ว ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยอ้างว่าภาระจำยอมที่โจทก์อ้างปราศจากรากฐานตาม ก.ม.บังคับจำเลยไม่ได้ ศาลอุทธรณ์ยืนในข้อที่ยกฟ้องโดยเหตุว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นภาระ+ทรัพย์ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นที่ว่าจำเลยกั้นทางรายนี้ให้แคบลงได้หรือไม่ ดังนี้ ต้องถือตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นคำพิพากษาอันถึงที่สุด โจทก์ฟ้องคดีใหม่นี้โดยฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินด้วยได้ ไม่ต้องห้ามตาม ม.148
โจทก์ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ.ม.1401 อันอาจใช้ล้อหรือเกวียนและรถยนต์เข้าออกตามทางผ่านที่ดินของจำเลยแล้ว จำเลยกั้นทางให้แคบลงจนใช้ล้อหรือเกวียนและรถยนต์ไม่ได้ย่อมเป็นการทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมเสื่อมไป ขัดต่อ ม.1390 แม้โจทก์จะยังใช้รถจักรยาน 3 ล้อเข้าออกได้หรือโจทก์ไม่ได้เอาเกวียนเข้าเก็บในที่ดินของโจทก์ก็ไม่เป็นข้อแก้ตัว
โจทก์มีทางเอาเกวียนและรถเจ้าออกทางอื่นได้ แต่ทางนั้นไม่ใช่ทางสาธารณะและโจทก์ยังไม่มีสิทธิเหนือทางนั้น อาจถูกสั่งปิดเสียเมื่อใดก็ได้ ไม่เรียกว่าทางพิพาทหมดประโยชน์แก่โจทก์อันจะทำให้ภาระจำยอมหมดไปตาม ม.1400

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งห้องเช่าและการกระทำเพื่อป้องกันการบุกรุก: การกระทำไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
ฝ่ายโจทก์และจำเลยต่างแย่งเพื่อเข้าอยู่ห้องรายพิพาทโดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่า ได้ทำสัญญามาจากผู้มีอำนาจให้เช่าจนคดีถึงฟ้องร้องกันในศาล ยังไม่ทราบว่าใครจะมีสิทธิดีกว่ากัน ตามรูปคดีมีเหตุผลทำให้จำเลยเข้าใจว่าฝ่ายจำเลยมีสิทธิในห้องพิพาทที่จะเอาคืนจาก โจทก์ จำเลยจึงปิดประตูหน้าห้องหลังห้องพิพาท เพื่อไม่ให้โจทก์เข้าอยู่ ดังนี้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการบังอาจ อันจะเป็นความผิดทางอาญาฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าใจสิทธิโดยชอบธรรม: เหตุยกเว้นความผิดฐานบุกรุก
ฝ่ายโจทก์และจำเลยต่างแย่งเพื่อเข้าอยู่ห้องรายพิพาทโดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่า ได้ทำสัญญามาจากผู้มีอำนาจให้เช่าจนคดีถึงฟ้องร้องกันในศาล ยังไม่ทราบว่าใครจะมีสิทธิดีกว่ากัน ตามรูปคดีมีเหตุผลทำให้จำเลยเข้าใจว่าฝ่ายจำเลยมีสิทธิในห้องพิพาทที่จะเอาคืนจากโจทก์ จำเลยจึงปิดประตูหน้าห้องหลังห้องพิพาท เพื่อไม่ให้โจทก์เข้าอยู่ ดังนี้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการบังอาจอันจะเป็นความผิดทางอาญาฐานบุกรุก
of 91