พบผลลัพธ์ทั้งหมด 907 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วม vs. หุ้นส่วน: ความแตกต่างและการฟ้องแบ่งทรัพย์สิน
'เจ้าของร่วม' กับ 'หุ้นส่วน'ต่างกันในข้อสำคัญที่ว่าการเข้าร่วมกันเพื่อกระทำกิจการด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้นหรือไม่ถ้าไม่ประสงค์เช่นนั้นก็ไม่ใช่หุ้นส่วน เป็นแต่เจ้าของร่วมแต่ถ้าประสงค์จะแบ่งปันกำไรเช่นว่านั้น ก็เป็นหุ้นส่วนและเป็นเจ้าของร่วมด้วยในตัว
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินและกิจการของ'แม่น้ำมอเตอร์โบ๊ต'โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของร่วมกันกับจำเลย แต่บรรยายฟ้องมาในรูปว่า โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนร่วมกัน จึงเท่ากับเป็นการฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินในหุ้นส่วนซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อเลิกหุ้นส่วนเสียก่อนโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เลิกหุ้นส่วนศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินและกิจการของ'แม่น้ำมอเตอร์โบ๊ต'โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของร่วมกันกับจำเลย แต่บรรยายฟ้องมาในรูปว่า โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนร่วมกัน จึงเท่ากับเป็นการฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินในหุ้นส่วนซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อเลิกหุ้นส่วนเสียก่อนโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เลิกหุ้นส่วนศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างระหว่างเจ้าของร่วมกับหุ้นส่วน และผลกระทบต่อการฟ้องแบ่งทรัพย์สิน
"เจ้าของร่วม" กับ "หุ้นส่วน" ต่างกันในข้อสำคัญที่ว่าการเข้าร่วมกันเพื่อกระทำกิจการด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้นหรือไม่ ถ้าไม่ประสงค์เช่นนั้นก็ไม่ใช้หุ้นส่วน เป็นแต่เจ้าของร่วมแต่ถ้าประสงค์จะแบ่งปันกำไรเช่นว่านั้น ก็เป็นหุ้นส่วนและเป็นเจ้าของร่วมด้วยในตัว
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินและกิจการของ "แม่น้ำมอเตอร์โบ๊ต" โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของร่วมกันกับจำเลย แต่บรรยายฟ้องมาในในรูปว่า โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนร่วมกัน จึงเท่ากับเป็นการฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินในหุ้นส่วน ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อเลิกหุ้นส่วนเสียก่อนโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เลิกหุ้นส่วนศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินและกิจการของ "แม่น้ำมอเตอร์โบ๊ต" โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของร่วมกันกับจำเลย แต่บรรยายฟ้องมาในในรูปว่า โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนร่วมกัน จึงเท่ากับเป็นการฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินในหุ้นส่วน ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อเลิกหุ้นส่วนเสียก่อนโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เลิกหุ้นส่วนศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของข้าราชการฐานรับฝากเงินและละเมิดสัญญา การแบ่งแยกความรับผิดระหว่างตัวการและตัวแทน
ฟ้องโจทก์กล่าวไว้ชัดว่าจำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกการเงิน จำเลยที่ 2 ได้รับฝากเงินของโจทก์ไว้ในหน้าที่ราชการ แล้วไม่คืนให้โจทก์ จึงขอให้จำเลยทั้ง2ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวนนี้ ดังนี้ เป็นการหาเรื่องผิดสัญญา ไม่ใช่ละเมิดและเป็นการฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นตัวการ จำเลยที่ 2 ในฐานเป็นตัวแทนจำเลยที่1 จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 มาใช้บังคับ คือจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยถือว่าเป็นเรื่องละเมิด ซึ่งไม่ตรงกับท้องเรื่องจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าพอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ผู้เดียวศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง เลยไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ เป็นการขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 เพราะการชำระหนี้เช่นนี้ไม่ใช่ว่าไม่อาจแบ่งแยกได้อันจะเป็นกรณีเข้าอนุมาตรา 1 แห่งมาตรา245
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยถือว่าเป็นเรื่องละเมิด ซึ่งไม่ตรงกับท้องเรื่องจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าพอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ผู้เดียวศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง เลยไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ เป็นการขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 เพราะการชำระหนี้เช่นนี้ไม่ใช่ว่าไม่อาจแบ่งแยกได้อันจะเป็นกรณีเข้าอนุมาตรา 1 แห่งมาตรา245
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากสัญญาฝากทรัพย์ ตัวการตัวแทน ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินเลยถึงตัวการที่ไม่เคยอุทธรณ์
ฟ้องโจทก์กล่าวไว้ชัดว่าจำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในกรมสรรพสามิตต์ จำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกการเงิน จำเลยที่ 2 ได้รับฝากเงินของโจทก์ไว้ในหน้าที่ราชการ แล้วไม่คืนให้โจทก์ จึงขอให้จำเลยทั้ง 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวนนี้ ดังนี้ เป็นการหาเรื่องผิดสัญญา ไม่ใช่ละเมิด และเป็นการฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นตัวการ จำเลยที่ 2 ในฐานเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 จึงต้องนำ ป.ม.แพ่งฯมาตรา 820 มาใช้บังคับ คือจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยถือว่าเป็นเรื่องละเมิด ซึ่งไม่ตรงกับท้องเรื่องจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าพอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ผู้เดียวศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง เลยไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ เป็นการขัดกับ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 245 เพราะการชำระหนี้เช่นนี้ไม่ใช่ว่าไม่อาจแบ่งแยกได้อันจะเป็นกรณีเข้าอนุมาตรา 1 แห่งมาตรา 245
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยถือว่าเป็นเรื่องละเมิด ซึ่งไม่ตรงกับท้องเรื่องจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าพอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ผู้เดียวศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง เลยไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ เป็นการขัดกับ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 245 เพราะการชำระหนี้เช่นนี้ไม่ใช่ว่าไม่อาจแบ่งแยกได้อันจะเป็นกรณีเข้าอนุมาตรา 1 แห่งมาตรา 245
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: โอนจากสภาฯสู่เทศบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดไม่มีอำนาจ
ที่ดินซึ่งอยู่ในความครอบครองจัดการของสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลตวันตก ซึ่งต่อมาได้มีกฎหมายโอนกิจการอำนาจและหน้าที่ของสภานี้ให้แก่เทศบาลนั้น การฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินแปบงนี้ เช่นฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยอยู่ในแปลงนี้ ย่อมตกเป็นอำนาจและหน้าที่ของเทศบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดหามีอำนาจฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่ดินเมื่อมีการโอนอำนาจจากสภาฯ ไปยังเทศบาล
ที่ดินซึ่งอยู่ในความครอบครองจัดการของสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลตะวันตก ซึ่งต่อมาได้มีกฎหมายโอนกิจการอำนาจและหน้าที่ของสภานี้ให้แก่เทศบาล นั้นการฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ เช่นฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่แปลงนี้ ย่อมตกเป็นอำนาจและหน้าที่ของเทศบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดหามีอำนาจฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของพระภิกษุในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ และขอบเขตของระเบียบวิธีพิจารณาอธิกรณ์
ประมวลระเบียบวิธีพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์ พ.ศ.2486 นั้น เป็นเพียงระเบียบการทางพระวินัย ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.สงฆ์ 2484 มาตรา 51 มิได้ บัญญัติให้ถือว่าระเบียบวิธีพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์ที่ออกตาม พ.ร.บ.เป็นกฎหมาย จึงย่อมถือได้เพียงว่า เป็นระเบียบการที่ออกตาม พ.ร.บ.เท่านั้น ฉะนั้นพระภิกษุในฐานะเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์ ย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษผู้ที่ทำร้ายบุตรของตนในทางอาญาได้ตาม ป.วิ.อาญา ม.5(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของพระภิกษุในฐานะบิดาผู้แทนโดยชอบธรรม
ประมวลระเบียบวิธีพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์ พ.ศ.2486 นั้นเป็นเพียงระเบียบการทางพระวินัย ซึ่งออกตาม พระราชบัญญัติสงฆ์2484 มาตรา 51มิได้บัญญัติให้ถือว่าระเบียบวิธีพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์ที่ออกตามพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายจึงย่อมถือได้เพียงว่า เป็นระเบียบการที่ออกตาม พระราชบัญญัติเท่านั้นฉะนั้นพระภิกษุในฐานะเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์ย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษผู้ที่ทำร้ายบุตรของตนในทางอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้าของคนกลาง: การซื้อมาแล้วขายต่อ แม้มีข้อจำกัดในการซื้อขาย ก็ยังคงเป็นการค้าของคนกลาง
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้ พ.ศ. 2482 กำหนดอาชีพการค้าขายของคนกลางให้ตกอยู่ในมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร คำว่า "การค้าขายของคนกลาง" นี้หมายความว่า การค้าของคนซึ่งอยู่ในระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคคือซื้อของที่ตนเองมิได้เป็นผู้ผลิตมาแล้วขายต่อไป
ทำสัญญากับโรงงานสุราเป็นผู้ขายส่งสุราประจำอำเภอหนึ่ง แม้ตายสัญญาจะถูกจำกัดในการซื้อในการขายตลอดจนเรื่องราคาที่จะขายก็ดีก็เป็นเรื่องที่ซื้อมาแล้วขายต่อไปอัน เป็นการค้าของคนกลางนั้นเอง
ทำสัญญากับโรงงานสุราเป็นผู้ขายส่งสุราประจำอำเภอหนึ่ง แม้ตายสัญญาจะถูกจำกัดในการซื้อในการขายตลอดจนเรื่องราคาที่จะขายก็ดีก็เป็นเรื่องที่ซื้อมาแล้วขายต่อไปอัน เป็นการค้าของคนกลางนั้นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้าสุราของผู้ขายส่ง: การประเมินภาษีเงินได้ประเภทคนกลางตามประมวลรัษฎากร
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้พ.ศ.2482 กำหนดอาชีพการค้าขายของคนกลางให้ตกอยู่ในมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร คำว่า"การค้าขายของคนกลาง" นี้หมายความว่าการค้าของคนซึ่งอยู่ในระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค คือซื้อของที่ตนเองมิได้เป็นผู้ผลิตมาแล้วขายต่อไป
ทำสัญญากับโรงงานสุราเป็นผู้ขายส่งสุราประจำอำเภอหนึ่งแม้ตามสัญญาจะถูกจำกัดในการซื้อในการขายตลอดจนเรื่องราคาที่จะขายก็ดี ก็เป็นเรื่องที่ซื้อมาแล้วขายต่อไปอันเป็นการค้าของคนกลางนั้นเอง
ทำสัญญากับโรงงานสุราเป็นผู้ขายส่งสุราประจำอำเภอหนึ่งแม้ตามสัญญาจะถูกจำกัดในการซื้อในการขายตลอดจนเรื่องราคาที่จะขายก็ดี ก็เป็นเรื่องที่ซื้อมาแล้วขายต่อไปอันเป็นการค้าของคนกลางนั้นเอง