คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรูญเนติศาสตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 907 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความจำเป็นในการสร้างทางผ่านตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1349 วรรค 3
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรค 3 ที่บัญญัติว่าที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ ให้เสียหายน้อยที่สุดที่จะเป็นได้ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้นั้นความพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน จะมีแค่ไหนเพียงไร เป็นข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนได้เสียในการร้องสอดคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ต้องเป็นส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) นั้น ผู้ร้องสอดขอเข้ามาในคดีได้ต่อเมื่อตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ในผลแห่งคดี ซึ่งหมายความว่า ผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตนด้วยจึงจะร้องสอดได้มิใช่ว่าเข้าไปเซ็นสัญญากับคนในคดีได้ตามใจชอบแล้วอ้างว่ามีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี
(ประชุมใหญ่ ครั้ง 41/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดี: ส่วนได้เสียตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2)นั้นผู้ร้องสอดขอเข้ามาในคดีได้ต่อเมื่อตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ซึ่งหมายความว่า ผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตนด้วยจึงจะร้องสอดได้ มิใช่ว่าเข้าไปเซ็นสัญญากับคนในคดีได้ตามใจชอบแล้ว อ้างว่ามีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มาตรา 90 ป.วิ.อ. คุ้มครองสิทธิบุคคลจากการถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย ไม่จำกัดเฉพาะเจ้าพนักงาน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล หาใช่บทบัญญัติลงโทษการกระทำผิดไม่ ฉะนั้น เมื่อคำร้องของผู้ร้องบรรยายข้อความเข้าดังบัญญัติไว้ในมาตรา 90 แล้ว ศาลก็ชอบที่จะยกมาตรานี้ขึ้นพิจารณาและปรับกับกรณีได้
คำว่า "ควบคุม" หรือ "ขัง" ในมาตรา 90 นี้ เป็นถ้อยคำที่ใช้ตามความหมายธรรมดา หาใช่จำกัดดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(21) และ (22) อธิบายไว้ไม่ ฉะนั้น มาตรา 90 จึงเป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่บุคคลต้องถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมหรือขังโดยเจ้าพนักงานหรือคนธรรมดาก็ตาม
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มาตรา 90 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความอาญา: การคุ้มครองสิทธิบุคคลที่ถูกควบคุมหรือขังโดยมิชอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล หาใช่บทบัญญัติลงโทษการกระทำผิดไม่ ฉะนั้น เมื่อคำร้องของผู้ร้องบรรยายข้อความมา เข้าดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 90 แล้ว ศาลก็ชอบที่จะยกมาตรานี้ขึ้นพิจารณาและปรับกับกรณีได้
คำว่า "ควบคุม" หรือ "ขัง" ในมาตรา 90 นี้ เป็นถ้อยคำที่ใช้ตามความหมายธรรมดา หาใช่จำกัดดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(21)(22) อธิบายไว้ไม่ฉะนั้นมาตรา 90 จึงเป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่บุคคลต้องถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมหรือขังโดยเจ้าพนักงานหรือคนธรรมดาก็ตาม
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลว่า ภรรยาผู้ร้องถูกคนร้ายสมคบกันฉุดคร่าไปเพื่อการอนาจารและข่มขืนชำเราต่อมาผู้ร้องสืบทราบว่าคนร้ายได้นำภรรยาผู้ร้องไปหน่วงเหนี่ยวกักขังอยู่ที่บ้านผู้มีชื่อ จึงขอให้ศาลออกหมายค้นบ้านผู้มีชื่อนั้นเพื่อพบและช่วยภรรยาผู้ร้องซึ่งถูกกักขังไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา58(3),69(3) นั้น ถือได้ว่าผู้ร้องได้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชี้เขตเพื่อบังคับคดี ไม่ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินวัด
ในการบังคับคดีที่ศาลพิพากษาให้ทำลายโฉนดเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ของวัดตามแผนที่วิวาทนั้น เมื่อเขตด้านหนึ่งในแผนที่ไม่แสดงระยะที่แน่นอนไว้ คู่ความจึงตกลงกันชี้เขตของด้านนั้นให้รังวัดไปตามที่ตกลงชี้เขตกัน ย่อมเป็นความตกลงเพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปตามคำพิพากษานั่นเอง ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงโอนกรรมสิทธิ์ที่วัดอันจะขัดต่อ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484มาตรา 41 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277-278/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบฉันทะในการรับทราบการเลื่อนวันอ่านคำพิพากษา และผลต่ออายุของใบมอบฉันทะ
ทนายทำใบมอบฉันทะให้ผู้อื่นฟังคำพิพากษาแทน โดยไม่ได้กำหนดว่าให้ฟังคำพิพากษาเฉพาะวันใด ย่อมมีความหมายว่ามอบให้ฟังคำพิพากษาสุดแต่ศาลจะอ่านในวันเวลาใด เมื่อศาลเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป ผู้รับมอบฉันทะย่อมมีอำนาจรับรู้การเลื่อนแทนผู้มอบฉันทะได้ จะอ้างเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 ว่า ต้องทำใบมอบฉันทะทุกครั้งไม่ได้เพราะเมื่อผู้รับมอบฉันทะยังไม่ได้ฟังคำพิพากษาก็เท่ากับยังไม่ได้ทำการตามที่รับมอบมา ใบมอบฉันทะนั้นจึงไม่ขาดอายุ
ประชุมใหญ่ ครั้ง 11/2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277-278/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรับฟังคำพิพากษาแทนตามใบมอบฉันทะยังคงมีผลแม้มีการเลื่อนอ่านคำพิพากษา
ทนายทำใบมอบฉันทะให้ผู้อื่นฟังคำพิพากษาแทน โดยไม่ได้กำหนดว่าให้ฟังคำพิพากษาเฉพาะวันใด ย่อมมีความหมายว่ามอบให้ฟังคำพิพากษาสุดแต่ศาลจะอ่านในวันเวลาใดเมื่อศาลเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป ผู้รับมอบฉันทะย่อมมีอำนาจรับรู้การเลื่อนแทนผู้มอบฉันทะได้จะอ้างเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 ว่า ต้องทำใบมอบฉันทะทุกครั้งไม่ได้ เพราะเมื่อผู้รับมอบฉันทะยังไม่ได้ฟังคำพิพากษาก็เท่ากับยังไม่ได้ทำการตามที่รับมอบมา ใบมอบฉันทะจึงหาหมดอายุไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลไม่ต้องส่งฎีกาให้รับรอง การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา
การที่จำเลยขวนขวายจะให้ได้คำรับรองเพื่อฎีกา เป็นการรับอยู่ในตัวว่าจำเลยเห็นด้วยกับศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลย เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เข้าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 224 ซึ่งให้ร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา
เมื่อไม่ต้องด้วยบทบัญญัติให้ร้องตรงมายังศาลฎีกา อีกทั้งยังไม่มีการรับฎีกาอันจะถือได้ว่าคดีได้ขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นจำเลยก็มีแต่ทางจะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม & การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา: จำเลยต้องใช้วิธีการปกติคืออุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ไม่ใช่ร้องขอให้ศาลดำเนินการให้
การที่จำเลยขวนขวายจะให้ได้ คำรับรองเพื่อฎีกา เป็นการรับอยู่ในตัวว่าจำเลยเห็นด้วยกับศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลย เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เข้าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 224 ซึ่งให้ร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา
เมื่อไม่ต้องด้วยบทบัญญัติให้ร้องตรงมายังศาลฎีกา อีกทั้งยังไม่มีการรับฎีกาอันจะถือได้ว่า คดีได้ขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยก็มีแต่ทางจะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2503)
of 91