พบผลลัพธ์ทั้งหมด 907 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายด้วยเกี๊ยะจนเกิดบาดแผลบวมนูน ถือเป็นอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295
จำเลยตีผู้เสียหาย 2 คน ด้วยเกี๊ยะฐานแผลถึงบวมนูนแพทย์ผู้ชันสูตรประมาณว่ารักษาหายภายใน 3 วัน และ 2 วัน ตามลำดับ. โจทก์นำสืบว่า ผู้เสียหายรักษา 7 วัน 5 วัน หาย เห็นว่าลักษณะการกระทำของจำเลยและฐานแผลของผู้เสียหายต้องรักษาอยู่หลายวัน ถือได้ว่าเป็นอันตรายแก่กายไม่จำต้องมีโลหิตไหลเป็นอันตรายแก่กายย่อมมีผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายด้วยเกี๊ยะจนเกิดบาดแผลบวมนูน ถือเป็นอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295
จำเลยตีผู้เสียหาย 2 คน ด้วยเกี๊ยะ ฐานแผลถึงบวมนูน แพทย์ผู้ชันสูตรประมาณว่ารักษาหายภายใน 3 วัน และ 2 วันตามลำดับ โจทก์นำสืบว่า ผู้เสียหาย รักษา 7 วัน 5 วัน หาย เห็นว่าลักษณะการกระทำของจำเลยและฐานแผลของผู้เสียหาย ต้องรักษาอยู่หลายวัน ถือได้ว่าเป็นอันตราย แก่กาย ไม่จำเป็นต้องมีโลหิตไหลเป็นอันตรายแก่กาย ย่อมมีผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาในการลงโทษกระทงความผิดอื่น แม้ศาลชั้นต้นไม่ลงโทษ หากศาลฎีกายกฟ้องกระทงหลัก
เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯลฯไว้เพราะได้ลงโทษในกระทงหนักแล้ว คือ ความผิดฐานพยายามฆ่าคน หากศาลฎีกาวินิจฉัยฟังว่า จำเลยไม่ต้องรับโทษฐานพยายามฆ่าคน ดังนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะกำหนดโทษให้จำเลยต้องรับโทษในความผิดตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯลฯ ได้ ทั้งนี้โดยเห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นวางโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าคน นั้น คงจะได้พิจารณาว่า เป็นการลงโทษหนักอยู่แล้ว จึงวางแต่กระทงหนัก เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยไม่ต้องรับโทษฐานพยายามฆ่าคน ศาลฎีกาก็ควรวางโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่ได้รับอนุญาต (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตวัตถุประสงค์การค้ำประกัน: การตีความ “ประกันตัวบุคคลตามกฎหมาย” ครอบคลุมการค้ำประกันหนี้ในอนาคต
ข้อความในวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียนของสำนักงานจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลมีว่า "รับประกันผู้ต้องหาชั้นสอบสวนและประกันจำเลยชั้นศาลและประกันตัวบุคคลตามกฎหมายบัญญัติไว้"นั้นคำว่า "ประกันตัวบุคคลตามกฎหมายบัญญัติไว้"ย่อมหมายความว่าเป็นการประกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้ประกันได้เมื่อกรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นการที่จำเลยเข้าค้ำประกันตัวบุคคลในการที่จะไปก่อความเสียหายให้กับโจทก์กล่าวคือเป็นการประกันหนี้ในอนาคตที่บุคคลนั้นอาจไปก่อขึ้นซึ่งมี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง บัญญัติไว้ให้ประกันได้ จำเลยก็ต้องรับผิดในฐานที่ได้เข้าเป็นผู้ค้ำประกันตามนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการประกันตามวัตถุประสงค์บริษัท: ประกันตัวเพื่อป้องกันความเสียหายในอนาคตชอบด้วยกฎหมาย
ข้อความในวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียนของสำนักงานจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลมีว่า "รับประกันผู้ต้องหาชั้นสอบสวนและประกันจำเลยชั้นศาล, และประกันตัวบุคคลตามกฎหมายบัญญัติไว้" นั้นคำว่า "ประกันตัวบุคคลตามกฎหมายบัญญัติไว้" ย่อมหมายความว่าเป็นการประกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้ประกันได้ เมื่อกรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นการที่จำเลยเข้าค้ำประกันตัวบุคคลในการที่จะไปก่อความเสียหายให้กับโจทก์ กล่าวคือเป็นการประกันหนี้ในอนาคตที่บุคคลนั้นอาจไปก่อขึ้น ซึ่งมี ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรค 2 บัญญัติไว้ให้ประกันได้ จำเลยก็ต้องรับผิดในฐานที่ได้เข้าเป็นผู้ค้ำประกันตามนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดเริ่มนับเมื่อเกิดความเสียหายจากการกระทำละเมิด ไม่ใช่แค่นั้นทำนบพัง ละเมิดใหม่ต่างหาก
จำเลยใช้เรือขุด ขุดแร่ทำให้น้ำขุ่นข้นมูลดินมูลทรายไหลเข้านาโจทก์ เพราะทำนบกั้นน้ำพังนั้น เพียงแต่ทำนบกั้นน้ำพัง ไม่ใช่เป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ แต่การละเมิดสิทธิเกิดขึ้นเมื่อน้ำไหลพามูลดินทรายเข้าที่นาโจทก์ ทำให้โจทก์ทำนาไม่ได้ ฉะนั้นอายุความจึงตั้งต้นแต่น้ำเข้านาโจทก์หาใช่ตั้งแต่ทำนบพังไม่
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในการที่จำเลยเดินเรือขุดแร่ทำให้น้ำขุ่นข้นมูลดินทรายไหลเข้านาโจทก์จนโจทก์ทำนาไม่ได้ในปี พ.ศ.2492เป็นเงินจำนวนหนึ่ง เมื่อจำเลยยังคงไม่ปิดทำนบกั้นน้ำ และยังคงใช้เรือขุดแร่ ขุดต่อมาใน พ.ศ.2493โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการทำนาในพ.ศ.2493ได้อีกต่างหากไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะเป็นการละเมิดใหม่ต่างหากจากที่ฟ้องคราวก่อน
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในการที่จำเลยเดินเรือขุดแร่ทำให้น้ำขุ่นข้นมูลดินทรายไหลเข้านาโจทก์จนโจทก์ทำนาไม่ได้ในปี พ.ศ.2492เป็นเงินจำนวนหนึ่ง เมื่อจำเลยยังคงไม่ปิดทำนบกั้นน้ำ และยังคงใช้เรือขุดแร่ ขุดต่อมาใน พ.ศ.2493โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการทำนาในพ.ศ.2493ได้อีกต่างหากไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะเป็นการละเมิดใหม่ต่างหากจากที่ฟ้องคราวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดเริ่มนับเมื่อเกิดความเสียหายจากการกระทำละเมิด ไม่ใช่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความเสียหาย
จำเลยใช้เรือขุด ขุดแร่ทำให้น้ำขุ่นข้นมูลดินมูลทรายไหลเข้านาโจทก์ เพราะทำนบกั้นน้ำพังนั้น เพียงทำนบกั้นน้ำ พังไม่ใช่เป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ แต่การละเมิดสิทธิเกิดขึ้นเมื่อน้ำไหลพามูลดินทรายเข้าที่นาโจทก์ ทำให้โจทก์ทำ นาไม่ได้ ฉะนั้นอายุความจึงตั้งต้นแต่น้ำเข้านาโจทก์หาใช่ตั้งแต่ทำนบพังไม่.
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ในการที่จำเลยเดินเรือขุดแร่ ทำให้น้ำขุ่นข้นมูลดินทรายไหลเข้านา โจทก์ ่จนโจทก์นำนาไม่ได้ในปี พ.ศ. 2492 เป็นเงินจำนวนหนึ่ง เมื่อจำเลยยังคงไม่ปิดทำนบกั้นน้ำ และยังคงใช้ เรือขุดแร่ ขุดต่อมาใน พ.ศ. 2493 โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการทำนาใน พ.ศ. 2493 ได้อีก ต่างหากไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะเป็นการละเมิดใหม่ ต่างหากจากที่ฟ้องคราวก่อน./
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ในการที่จำเลยเดินเรือขุดแร่ ทำให้น้ำขุ่นข้นมูลดินทรายไหลเข้านา โจทก์ ่จนโจทก์นำนาไม่ได้ในปี พ.ศ. 2492 เป็นเงินจำนวนหนึ่ง เมื่อจำเลยยังคงไม่ปิดทำนบกั้นน้ำ และยังคงใช้ เรือขุดแร่ ขุดต่อมาใน พ.ศ. 2493 โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการทำนาใน พ.ศ. 2493 ได้อีก ต่างหากไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะเป็นการละเมิดใหม่ ต่างหากจากที่ฟ้องคราวก่อน./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'ฝิ่น' ตาม พ.ร.บ.ฝิ่น พ.ศ.2472 แม้มีสิ่งเจือปนก็ถือเป็นฝิ่นได้
ตาม พระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ.2472 คำว่า 'ฝิ่น' หมายความว่า(1) ฝิ่นดิบซึ่งจะเป็นฝิ่นบริสุทธิก็ดี หรือมีสิ่งอื่นผสมอยู่ด้วยเป็นรูปหรือของปรุงใดๆ ก็ดี (2) ฝิ่นสุกแม้จะไม่มีคำวิเคราะห์ศัพท์ไว้ก็เมื่อฝิ่นดิบมีสิ่งอื่นๆ เจือปนถือเสมือนว่าสิ่งที่เจือปนเป็นฝิ่นแล้วเมื่อทำให้ฝิ่นสุก สิ่งเจือปนก็ย่อมถือเสมือนว่าเป็นฝิ่นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิยาม 'ฝิ่น' ตาม พ.ร.บ.ฝิ่น: แม้มีสิ่งเจือปนก็ถือเป็นฝิ่นได้
ตาม พ.ร.บ. ฝิ่น พ.ศ.2472 คำว่า "ฝิ่น" หมายความว่า (1) ฝิ่นดิบซึ่งจะเป็นฝิ่นบริสุทธิก็ดี หรือมีสิ่งอื่นผสมอยู่ด้วยเป็น รูปหรือของปรุงใด ๆ ก็ดี (2) ฝิ่นสุก แม้จะไม่มีคำวิเคราะห์ศัพท์ไว้ ก็เมื่อฝิ่นดิบมีสิ่งอื่น ๆ เจือปนคือเสมือนว่าสิ่งที่เจือ ปนเป็นฝิ่นแล้ว เมื่อทำให้ฝิ่นสุก สิ่งเจือปนก็ย่อมถือเสมือนว่าเป็นฝิ่นด้วย./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของคณะรัฐมนตรีในการจัดตั้งองค์การเพื่อลดค่าครองชีพ และการสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
การที่คณะรัฐมนตรีลงมติตั้งองค์การสรรพาหารขึ้น เพื่อดำเนินการลดค่าครองชีพของประชาชนนั้นย่อมเป็นการดำเนินการลดค่าครองชีพของประชาชน ให้ประชาชนได้มีอาหารครองชีพถูก จึงอยู่ภายในวัตถุที่ประสงค์ของการบริหารแผ่นดินคณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจจัดตั้งองค์การนี้ขึ้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484-2495มาตรา 5 มีว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี และราชการอื่นๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การสรรพาหารอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี จึงชอบแล้วเพราะวัตถุประสงค์ขององค์การสรรพาหาร เป็นราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ทั้งเป็นราชการอื่นซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ
องค์การสรรพาหารมิใช่กระทรวง ทบวงหรือกรม การตั้งจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติและไม่ตั้งขึ้นเป็นการแบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการงานเท่านั้นจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
อนึ่งแม้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484มาตรา 6 จะแยกราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ ไม่มีกล่าวถึงองค์การสรรพาหารแต่เมื่อกิจการขององค์การสรรพาหารอยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว เมื่อไม่อาจขึ้นอยู่ในกรมใดในสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังอาจขึ้นอยู่ในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เพราะกรมเลขาธิการเป็นกรมที่ทำหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงจึงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมิได้แยกไปให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2476มาตรา 11 ดังที่แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ พ.ศ.2477มาตรา 4
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484-2495มาตรา 5 มีว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี และราชการอื่นๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การสรรพาหารอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี จึงชอบแล้วเพราะวัตถุประสงค์ขององค์การสรรพาหาร เป็นราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ทั้งเป็นราชการอื่นซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ
องค์การสรรพาหารมิใช่กระทรวง ทบวงหรือกรม การตั้งจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติและไม่ตั้งขึ้นเป็นการแบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการงานเท่านั้นจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
อนึ่งแม้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484มาตรา 6 จะแยกราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ ไม่มีกล่าวถึงองค์การสรรพาหารแต่เมื่อกิจการขององค์การสรรพาหารอยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว เมื่อไม่อาจขึ้นอยู่ในกรมใดในสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังอาจขึ้นอยู่ในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เพราะกรมเลขาธิการเป็นกรมที่ทำหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงจึงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมิได้แยกไปให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2476มาตรา 11 ดังที่แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ พ.ศ.2477มาตรา 4