คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรูญเนติศาสตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 907 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาประนีประนอมยอมความและการปฏิบัติตามสัญญาเช่า
คู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลว่าจำเลยยอมให้โจทก์เช่าศาลาท่าน้ำและชานศาลาเป็นท่าขึ้นลงสำหรับที่เรือจ้างรับส่งคนโดยสาร เมื่อศาลพิพากษาให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญายอมความนั้นแล้วผลก็ย่อมผูกพันจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญายอมความนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกจำเลยจะอ้างว่า ต้องทำสัญญาเช่ากันใหม่ เพราะเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้าโจทก์ไม่ยอมเซ็นสัญญาเช่าใหม่แล้วจำเลยก็ยังไม่ยอมให้โจทก์เช่า ดังนี้ ไม่ได้ เพราะการเช่าย่อมเกิดขึ้นแล้วตามสัญญายอมความ และตามสัญญายอมความก็ไม่มีข้อความว่าจะต้องไปทำสัญญาเช่ากันใหม่ไม่ ฉะนั้นถ้าจำเลยขัดขืนโจทก์ก็ขอให้ศาลออกคำบังคับจำเลยได้ทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลฟ้องแย้ง: กรณีประเด็นกรรมสิทธิเกิดจากฟ้องเดิม ศาลพิจารณาเฉพาะเจาะจงเพื่อคืนค่าขึ้นศาลเกิน
โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิที่ดินแปลงหนึ่ง ขอให้ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้อง จำเลยต่อสู้กรรมสิทธิว่าเป็นที่ดินของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท ดังนี้ ในคดีที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทุนทรัพย์ที่ดินพิพาท ส่วนที่จำเลยฟ้องแย้งนั้นจำเลยเสียค่าขึ้นศาลเพียง 15 บาท เท่านั้น เพราะปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของใครนั้น เกิดขึ้นโดยคำฟ้องเดิมของโจทก์และข้อต่อสู้ของจำเลยอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลฟ้องแย้ง: คำฟ้องเดิมเป็นเหตุให้เกิดข้อพิพาท จำเลยเสียค่าขึ้นศาลขั้นต่ำ
โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่ง ขอให้ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้อง จำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ว่าเป็นที่ดินของจำเลยจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดจริงและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทดังนี้ ในคดีที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทุนทรัพย์ที่ดินพิพาท ส่วนที่จำเลยฟ้องแย้งนั้นจำเลยเสียค่าขึ้นศาลเพียง 15 บาทเท่านั้น เพราะปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของใครนั้น เกิดขึ้นโดยคำฟ้องเดิมของโจทก์และข้อต่อสู้ของจำเลย อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิและหน้าที่ของผู้เช่าเมื่อมีการซื้อขายที่ดิน ผู้รับโอนย่อมได้รับสิทธิและหน้าที่เดิม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท โดยอ้างว่า โจทก์ซื้อกรรมสิทธิจากเจ้าของเดิมจำเลยเป็นผู้อาศัย จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าจากเจ้าของเดิมไม่ใช่อาศัย จำเลยไม่ได้คัดค้านว่าโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิในที่พิพาทโอนกรรมสิทธิมาเป็นของผู้ใดไม่ทราบ หากโอนมาเป็นของโจทก์ๆ ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ ซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วยเท่านั้น ดังนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่โจทก์จะต้องนำโฉนดหรือหนังสือสัญญาซื้อขายมาแสดงต่อศาล เพราะไม่มีประเด็นในคดีว่า โจทก์ไม่ได้รับโอนที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน & สิทธิของผู้เช่า: โอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว ผู้ซื้อรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่เดิม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าโจทก์ซื้อกรรมสิทธิ์มาจากเจ้าของเดิมจำเลยเป็นผู้อาศัย จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าจากเจ้าของเดิม ไม่ใช่อาศัย จำเลยไม่ได้คัดค้านว่าโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จำเลยให้การเพียงว่าที่พิพาทโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นของผู้ใดไม่ทราบ หากโอนมาเป็นของโจทก์โจทก์ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วยเท่านั้นดังนี้จึงไม่มีความจำเป็นที่โจทก์จะต้องนำโฉนดหรือหนังสือสัญญาซื้อขายมาแสดงต่อศาล เพราะไม่มีประเด็นในคดีว่า โจทก์ไม่ได้รับโอนที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1318/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยไม่ดำเนินคดี: ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีได้เมื่อโจทก์ละเลย
การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพร้อมกันนั้น จะเรียกว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้
โจทก์จำเลยขอให้ศาลงดการพิจารณาไว้รอฟังผลของอีกคดีหนึ่ง เมื่อคดีนั้นได้ผลอย่างใดจะมาแถลงให้ศาลทราบ ครั้นเมื่อคดีนั้นพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โจทก์ก็หาได้กระทำประการใดไม่ จนเวลาล่วงเลยไปร่วมปี และซ้ำเมื่อจำเลยยื่นคำแถลงให้ศาลทราบ ศาลนัดโจทก์จำเลยมาพร้อมกันโจทก์ได้รับหมายแล้ว ก็ยังหามาศาลไม่การละเลยของโจทก์ เช่นนี้ เรียกได้ว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีได้แล้วและถือว่าเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 174(2) ด้วยซึ่งศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียได้แล้ว
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีนั้นกฎหมายให้ศาลไว้เพื่อใช้ตามควรแก่กรณี ไม่ใช่บังคับว่าจะต้องจำหน่ายเสมอไป ศาลย่อมพิจารณาตามสมควรแก่พฤติการณ์(อ้างคำสั่งคำร้องฎีกาที่ 57/2493) ฉะนั้นอำนาจที่จะสั่งนั้นอย่างหนึ่งสมควรสั่งหรือไม่นั้นอีกอย่างหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1318/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีของโจทก์และการใช้ดุลยพินิจของศาลในการจำหน่ายคดี
การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพร้อมกันนั้น จะเรียกว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้
โจทก์จำเลยขอให้ศาลงดกาพิจารณาไว้รอฟังผลของอีกคดีหนึ่ง เมื่อคดีนั้นได้ผลอย่างใดจะมาแถลงให้ศาลทราบ ครั้นเมื่อคดีนั้นพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โจทก์ก็หาได้กระทำประการใดไม่ จนเวลาล่วงเลยไปร่วมปี และซ้ำเมื่อจำเลยยื่นคำแถลงให้ศาลทราบ ศาลนัดโจทก์จำเลยมาพร้อมกัน โจทก์ได้รับหมายแล้ว ก้ยังหามาศาลไม่ การละเลยของโจทก์ เช่นนี้ เรียกได้ว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีได้แล้ว และถือว่าเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดตามความใน ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 174(2) ด้วย ซึ่งศาลมีอำนาจสั้งจำหน่ายคดีโจทก์เสีสยได้แล้ว
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีนั้นกฎหมายให้ศาลไว้เพื่อใช้ตามควรแก่กรณี ไม่ใช่บังคับว่าจะต้องจำหน่ายเสมอไป ศาลย่อมพิจารณาตามสมควรแก่พฤติการณ์(อ้างคำสั่งคำร้องฎีกาที่ 57/2493) ฉะนั้นอำนาจที่จะสั้งนั้นอย่างหนึ่งสมควรสั่งหรือไม่นั้นอีกอย่างหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยและการแสดงสิทธิ: คดีไม่มีข้อพิพาทที่ไม่ได้รับการรับรอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188 นั้น เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องและดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาท แต่กรณีใดจะฟ้องได้หรือไม่ เป็นบทบัญญัติของมาตรา 55 กล่าวคือต่อเมื่อมีสิทธิฟ้องตามมาตรา 55 แล้ว จึงจะใช้มาตรา 188 ในเมื่อไม่มีข้อพิพาท
การร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท อ้างว่าตนเป็นคนไทยแต่บิดาไปขอจดทะเบียนว่าเป็นคนต่างด้าว จนพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้ยึดถือเป็นการผิดพลาด จึงขอให้ศาลแสดงว่าผู้ร้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยนั้น ไม่ใช่กรณีจะต้องใช้สิทธิในทางศาลตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 55 จึงจะมายื่นคำร้องขอต่อศาลไม่ได้หากจะถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิ ก็ชอบที่จะดำเนินการฟ้องร้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิตน เป็นคดีมีข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อยืนยันสัญชาติไทย: ต้องมีสิทธิฟ้องตามมาตรา 55
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188 นั้น เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องและดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาท แต่กรณีใดจะฟ้องได้หรือไม่ เป็นบทบัญญัติของมาตรา 55 กล่าวคือต่อเมื่อมีสิทธิฟ้องตามมาตรา 55 แล้ว จึงจะใช้มาตรา 188 ในเมื่อเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท
การร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท อ้างว่าตนเป็นคนไทยแต่บิดาไปขอจดทะเบียนว่าเป็นคนต่างด้าว จนพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้ยึดถือ เป็นการผิดพลาด จึงขอให้ศาลแสดงว่าผู้ร้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยนั้น ไม่ใช่กรณีจะต้องใช้สิทธิในทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จึงจะมายื่นคำร้องขอต่อศาลไม่ได้ หากจะถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิก็ชอบที่จะดำเนินการฟ้องร้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิตน เป็นคดีมีข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์ก่อนล้มละลายและการทำลายการโอน รวมถึงความสามารถในการฟ้องคดีของสตรี
ทรัพย์ที่ผู้ล้มละลายโอนไปยังผู้อื่นแล้ว ก่อนล้มละลายนั้นว่าโดยปกติย่อมยึดไม่ได้ เว้นแต่จะมีการทำลายการโอนนั้นเสียก่อน อำนาจที่จะขอทำลายการโอนนั้นเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หาใช่ของโจทก์ในคดีล้มละลายไม่ ฉะนั้นเมื่อมีผู้ร้อง ร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลายบางสิ่ง โดยอ้างว่าได้รับโอนมาจากผู้ล้มละลายโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาแล้วเห็นสมควร จึงสั่งให้ถอนการยึด ดังนี้โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ย่อมไม่มีผล
หญิงมีสามีย่อมเป็นผู้ไร้ความสามารถแต่เฉพาะในกรณีที่จะผูกพันสินบริคณห์เท่านั้น ส่วนในแง่ผูกพันสินส่วนตัวหาได้เป็นบุคคลผู้ไร้ความสามารถไม่ จึงจะถือว่าหญิงมีสามีเป็นผู้ไร้ความสามารถ จะฟ้องคดีต้องได้รับอนุญาตจากสามีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ยังมิได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 หรือมาตราอื่นๆ ที่ห้ามไว้โดยเฉพาะถ้าหากมีเท่านั้น
of 91