พบผลลัพธ์ทั้งหมด 907 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกเมื่อไม่มีผู้ครอบครอง และอายุความไม่ขาด
เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมายมรดก และเมื่อไม่มีทายาทคนใดได้ครอบครองมรดก ก็ต้องถือว่าทายาททุกคนมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1745 และมีสิทธิฟ้องขอแบ่งมรดกจากัน แม้จะเป็นเวลาภายหลัง เจ้ามรดกตายเกิน 1 ปี ก็ได้ คดีไม่ขาดอายุความมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการสิ้นสุดสิทธิเช่า: แม้ศาลฎีกาจะยกฟ้อง แต่ผู้เช่าที่ถูกขับไล่ตามคำพิพากษาเดิม ไม่มีสิทธิกลับเข้าใช้ห้องเช่า
ผู้เช่าถูกผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่ออกจากห้องเช่า ศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ขับไล่ และไม่ได้รับการทุเลาการบังคับ ผู้เช่าจึงต้องออกจากห้องเช่าไป ต่อมาศาลฎีกา พิพากษายกฟ้อง กลับปรากฎว่าให้ผู้เช่าได้เอาห้องเช่านั้นไปให้ไปให้ผู้อื่นเช่าอยู่ต่อไปเสียแล้ว ดังนี้เมื่อการเช่าไม่มีหลีกฐาน เป็นหนังสือ ผู้เช่าคนเดิมก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับคดีให้ผู้เช่าและคนเช่าใหม่คืนห้องเช่าแก่ตนได้
และการที่ผู้เช่าต้องออกจากห้องเช่า ก็เป็นไปโดยคำบังคับของศาลตามคำพิพากษาซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีคำพิพากษาของศาลสูงกว่าเปลี่ยนแปลงฉะนั้นแม้ภายหลังศาลสูงจะพิพากษากลับว่ายังขับไล่ผู้เช่าไม่ได้ ผู้ให้เช่าก็ไม่ต้องรับผิด
และการที่ผู้เช่าต้องออกจากห้องเช่า ก็เป็นไปโดยคำบังคับของศาลตามคำพิพากษาซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีคำพิพากษาของศาลสูงกว่าเปลี่ยนแปลงฉะนั้นแม้ภายหลังศาลสูงจะพิพากษากลับว่ายังขับไล่ผู้เช่าไม่ได้ ผู้ให้เช่าก็ไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาเดิม แม้ศาลสูงจะพิพากษากลับ ผู้ให้เช่าไม่ต้องรับผิด
ผู้เช่าถูกผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่ออกจากห้องเช่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ขับไล่ และไม่ได้รับการทุเลาการบังคับ ผู้เช่าจึงต้องออกจากห้องเช่าไป ต่อมาศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง กลับปรากฏว่าผู้ให้เช่าได้เอาห้องเช่านั้นไปให้ผู้อื่นเช่าอยู่ต่อไปเสียแล้ว ดังนี้เมื่อการเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้เช่าคนเดิมก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับคดีให้ผู้ให้เช่าและคนเช่าใหม่คืนห้องเช่าแก่ตนได้
และการที่ผู้เช่าต้องออกจากห้องเช่า ก็เป็นไปโดยคำบังคับของศาลตามคำพิพากษาซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีคำพิพากษาของศาลสูงกว่าเปลี่ยนแปลงฉะนั้นแม้ภายหลังศาลสูงจะพิพากษากลับว่ายังขับไล่ผู้เช่าไม่ได้ ผู้ให้เช่าก็ไม่ต้องรับผิด
และการที่ผู้เช่าต้องออกจากห้องเช่า ก็เป็นไปโดยคำบังคับของศาลตามคำพิพากษาซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีคำพิพากษาของศาลสูงกว่าเปลี่ยนแปลงฉะนั้นแม้ภายหลังศาลสูงจะพิพากษากลับว่ายังขับไล่ผู้เช่าไม่ได้ ผู้ให้เช่าก็ไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความครบถ้วนของฟ้องอาญา: การระบุสถานที่ศาล
ฟ้องหาว่าจำเลยยื่นคำร้องเท็จต่อศาลอาญา ขอให้ลงโทษแม้จะไม่กล่าวในฟ้องว่า ศาลอาญาตั้งอยู่ที่ตำบล อำเภอ และจังหวัดใด จำเลยก็เข้าใจข้อหาได้ดีเพราะมีศาลอาญาเดียวในประเทศไทย ถือว่าเป็นฟ้องที่ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความครบถ้วนของฟ้องอาญา: การระบุสถานที่ศาล, ความเข้าใจของจำเลย, เหตุแห่งการยกฟ้อง
ฟ้องหาว่าจำเลยยื่นคำร้องเท็จต่อศาลอาญา ขอให้ลงโทษ แม้จะไม่กล่าวในฟ้องว่า ศาลอาญาตั้วอยู่ที่ตำบล อำเภอ และจังหวัดใด จำเลยก็เขาใจข้อหาได้ดี เพราะมีศาลอาญาเดียวในประเทศไทย ถือว่าเป็นฟ้องที่ครบถ้วนตา ป.ม.วิ.อาญามาตรา 158(5) แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมั้นและการจดทะเบียนสมรส: สิทธิและหน้าที่ของคู่สมรสและบิดามารดา
การจะจดทะเบียนสมรสหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของชายหญิงคู่สมรสเอง บิดามารดาของหญิงมีแต่จะให้ความยินยอมในกรณีจำเป็น ฉะนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าบิดามารดาของหญิงได้ขัดขวางไม่ให้บุตรสาวไปจดทะเบียนกับชาย หรือไม่ให้ความยินยอมอนุญาตแต่ประการใดแล้ว ชายจะฟ้องขอให้บิดามารดาหญิง ใช้ค่าเสียหายแก่ตนในการที่ตนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับหญิง ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนสมรสเป็นสิทธิส่วนบุคคลของคู่สมรส บิดามารดาให้ความยินยอมเฉพาะกรณีจำเป็น
การจะจดทะเบียนสมรสหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของชายหญิงคู่สมรสเองบิดามารดาของหญิงมีแต่จะให้ความยินยอมในกรณีจำเป็นฉะนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าบิดามารดาของหญิงได้ขัดขวางไม่ให้บุตรสาวไปจดทะเบียนกับชายหรือไม่ให้ความยินยอมอนุญาตแต่ประการใดแล้วชายจะฟ้องขอให้บิดามารดาหญิง ใช้ค่าเสียหายแก่ตนในการที่ตนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับหญิง ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญา: หน้าที่การสืบพยานเมื่อจำเลยอ้างได้รับการนิรโทษกรรม
โจทก์ฟ้องว่าขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญาและขอให้เพิ่มโทษจำเลยตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 72 จำเลยให้การรับว่าข้อเคยต้องโทษตามฟ้องนั้น จำเลยได้รับนิรโทษกรรมตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พ.ศ. 2489 แล้ว ดังนี้เท่ากับเถียงว่าเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบ เมื่อโจทก์จำเลยต่างไม่สืบพยาน ศาลก็เพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลย: หน้าที่การนำสืบและผลของนิรโทษกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญาและขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 72 จำเลยให้การรับว่าข้อเคยต้องโทษตามฟ้องนั้น จำเลยได้รับนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม พ.ศ.2489 แล้ว ดังนี้เท่ากับเถียงว่าเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบ เมื่อโจทก์จำเลยต่างไม่สืบพยาน ศาลก็เพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ แต่ยังคงความผิดเดิม ฟ้องไม่ตก
โจทก์ฟ้องบรรยายว่าจำเลยใช้มีดแทงผู้ตาย ตายโดยเจตนาฆ่าแต่ตามท้องสำนวนได้ความว่า ผู้ตายถูกแทงด้วยของแข็งแหลมดังนี้แม้จะไม่ได้ความชัดว่า ถูกแทงด้วยมีดดังโจทก์ระบุในฟ้อง ก็เป็นการถูกแทงเช่นเดียวกัน หาใช่เป็นกรณีข้อเท็จจริงในทางพิจารณาต่างกับคำบรรยายฟ้อง อันจะทำให้ฟ้องตกไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ไม่