พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7249/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกที่ดิน: เจตนาที่แท้จริง, การคำนวณเนื้อที่ผิดพลาด, และผลกระทบต่อการแบ่งมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับแรก ข้อ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2668 ให้แก่บุตร 5 คน คนละ 626.8 ตารางวา ข้อ 2 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เฉพาะส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 เท่ากับที่ยกให้บุตรตามข้อ 1 ต่อมาผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับที่สองว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา ที่เหลือจากยกให้จำเลยที่ 2 ยินดียกให้โจทก์ทั้งหมด ดังนี้ เห็นได้ว่าเกิดจากการคำนวณเนื้อที่ดินเฉพาะส่วนของผู้ตายผิดพลาดว่าเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา หรือ 710 ตารางวา แต่ความจริงที่ดินส่วนของผู้ตายมีเนื้อที่เพียง 606.66 ตารางวา เมื่อยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เฉพาะส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 606.66 ตารางวา ยังไม่ครบตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ผู้ตายระบุไว้ตามที่พินัยกรรมฉบับแรก จึงไม่มีที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เหลือแบ่งแก่โจทก์ ข้อกำหนดพินัยกรรมที่ยกที่ดินแก่โจทก์จึงสิ้นผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7249/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกที่ดิน: การคำนวณพื้นที่ผิดพลาดทำให้การยกมรดกแก่ทายาทสิ้นผล
ผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับแรกระบุว่า ข้อ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2668 ให้แก่บุตร 5 คน คนละ 626.8 ตารางวา ข้อ 2 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เฉพาะส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 เท่ากับที่ยกให้บุตรตามข้อ 1 ต่อมาผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับที่สองว่า ระบุว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา ที่เหลือจากยกให้จำเลยที่ 2 ยินดียกให้โจทก์ทั้งหมด ดังนี้ เห็นได้ว่าเกิดจากการคำนวณเนื้อที่ดินเฉพาะส่วนของผู้ตายผิดพลาดว่าเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา หรือ 710 ตารางวา แต่ความจริงที่ดินส่วนของผู้ตายมีเนื้อที่เพียง 606.66 ตารางวา เมื่อยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เฉพาะส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 606.66 ตารางวา ยังไม่ครบตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ผู้ตายระบุไว้ตามที่พินัยกรรมฉบับแรก จึงไม่มีที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เหลือแบ่งแก่โจทก์ ข้อกำหนดพินัยกรรมที่ยกที่ดินแก่โจทก์จึงสิ้นผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่จำเลยไม่มีสิทธิ ทำให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญา เป็นโมฆะและต้องคืนเงิน
จำเลยหลอกลวงเอาที่ดินที่ตนไม่มีสิทธิมาหลอกขายให้โจทก์ ทำให้โจทก์เข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองสามารถโอนสิทธิและนำไปออกเอกสารสิทธิได้ เป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมสัญญา การซื้อขายที่ดินจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 และต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ จำเลยจึงต้องคืนเงินให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าที่สิ้นผลผูกพัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายอ้างว่าสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากจำเลยใช้อุบายหลอกลวงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีเดิมคือ จำเลยได้กระทำกลฉ้อฉลโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมหรือไม่ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าบัดนี้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดระยะเวลาจึงสิ้นผลผูกพันแล้ว สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นเรื่องที่สัญญาเช่าที่พิพาทมีผลบังคับเพียงใด และสิ้นผลผูกพันแล้วหรือไม่ ข้ออ้างหรือประเด็นพิพาทที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7394-7395/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกเป็นโมฆียะของสัญญาซื้อขายเนื่องจากฉ้อฉล และฟ้องซ้อน
การที่โจทก์จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะหลงเชื่อตามที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงว่าได้โอนเงินค่าที่ดินเข้าบัญชีเงินฝากของบุตรโจทก์ตามข้อตกลงแล้วนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมเพราะถูกจำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉล ซึ่งหากโจทก์ทราบความจริงว่ายังไม่มีการโอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าว การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ก็คงจะมิได้กระทำขึ้น สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 159 ซึ่งโจทก์มีสิทธิบอกล้างเสียได้ตามมาตรา 175 (3) เท่านั้น หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม หรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม หรือทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม อันจะถือว่าเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ตกเป็นโมฆะตามบทกฎหมายดังกล่าว
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในสำนวนหลังโดยมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับสำนวนแรก ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาก็เป็นอย่างเดียวกัน เพียงแต่มีคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากสำนวนแรกเท่านั้น ซึ่งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์อาจขอได้ในสำนวนแรกอยู่แล้วจึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีสำนวนหลังขณะคดีสำนวนแรกอยู่ระหว่างการพิจารณา ฟ้องโจทก์ในสำนวนหลังจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในสำนวนหลังโดยมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับสำนวนแรก ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาก็เป็นอย่างเดียวกัน เพียงแต่มีคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากสำนวนแรกเท่านั้น ซึ่งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์อาจขอได้ในสำนวนแรกอยู่แล้วจึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีสำนวนหลังขณะคดีสำนวนแรกอยู่ระหว่างการพิจารณา ฟ้องโจทก์ในสำนวนหลังจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนทางภาระจำยอม การสิ้นสุดสิทธิภาระจำยอม และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะหรือไม่ และวินิจฉัยว่าบันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ จำเลยอุทธรณ์ คำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ว่า ที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจากที่ดินของจำเลย เมื่อที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้เปิดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลย แม้จะมีการจดทะเบียนให้โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินของจำเลย ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ในการใช้ที่ดินบางส่วนของจำเลยระงับหรือสิ้นสุดไป จำเลยไม่มีสิทธิปิดทางภาระจำยอมรายพิพาท เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิใช้ที่ดินของจำเลยฐานเป็นทางจำเป็นซึ่งไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทในคดี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 หาได้วินิจฉัยว่าการจดทะเบียนทางภาระจำยอมรายพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ อันเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในการชี้สองสถานไม่ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ภาระจำยอมรายพิพาทได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามสำเนาโฉนดที่ดิน และสำเนาบันทึกข้อตำลงเรื่องภาระจำยอม จึงมีผลบริบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยอ้างว่าไม่มีเจตนาผูกพันตามสำเนาบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แต่จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมรายพิพาทตามคำขอของโจทก์ที่แจ้งแก่จำเลยว่าเพื่อให้บริษัทเงินทุนผู้รับจำนองยอมรับจำนองที่ดินของโจทก์เป็นประกันการขอกู้ยืมเงินของโจทก์นั้นวัตถุประสงค์ดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งจำเลยยังยืนยันว่าบริษัทเงินทุนผู้รับจำนองจะรับจำนองต่อเมื่อที่ดินของโจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมเรื่องทางเดินแล้วเท่านั้น และหลังจากจดทะเบียนภาระจำยอมรายพิพาทโจทก์ได้จำนองที่ดินไว้แก่บริษัทเงินทุนผู้รับจำนอง แสดงว่าจำเลยทราบดีถึงวัตถุประสงค์และผลของการจดทะเบียนทางภาระจำยอมว่าเป็นการให้สิทธิแก่ที่ดินของโจทก์ที่จะใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางภาระจำยอม การจดทะเบียนภาระจำยอมรายพิพาทของจำเลยเป็นการกระทำด้วยใจสมัครและไม่ได้สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม จึงไม่เป็นโมฆะ แม้ต่อมาภายหลังโจทก์ได้ไถ่ถอนจำนองจากบริษัทเงินทุนดังกล่าว ก็หาทำให้ภาระจำยอมที่มีผลบริบูรณ์ตามกฎหมายมาแต่ต้นกลับกลายเป็นโมฆะไม่
เมื่อบันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระบุว่าเป็น "ภาระจำยอมเรื่องทางเดิน" ย่อมไม่จำเป็นต้องมีความกว้างถึง 3 เมตร ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ทางภาระจำยอมรายพิพาทกว้าง 3 เมตร โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ต้องใช้รถยนต์ผ่านทางภาระจำยอมรายพิพาท เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากที่จดทะเบียนระบุว่าเป็นทางเดิน ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1388 และ 1389
ในการชี้สองสถาน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2542 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าสิทธิใช้ทางภาระจำยอมรายพิพาทของโจทก์สิ้นไป เพราะโจทก์ไม่ได้ใช้เป็นเวลาสิบปีหรือไม่ โดยอ้างว่าเป็นคำให้การที่ขัดกับคำให้การส่วนอื่น ทนายจำเลยซึ่งมาศาลในวันนั้นไม่ได้แถลงด้วยวาจาคัดค้านการไม่กำหนดประเด็นข้อนี้ ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ทนายจำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านคำสั่งศาลความว่า คำให้การของจำเลยไม่ขัดกัน คดีต้องมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ไม่ได้ใช้ทางภาระจำยอมรายพิพาทเป็นเวลาสิบปีหรือไม่ด้วย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยขอคัดค้านเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ 12 ตุลาคม 2542 ว่า "คำแถลงของจำเลยเป็นการแถลงคัดค้านเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา มิใช่คำร้องคัดค้านประเด็นข้อพิพาทที่ศาลกำหนด เพื่อให้ศาลมีคำชี้ขาดใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคท้าย เมื่อทนายจำเลยมาศาลในวันชี้สองสถานด้วยตนเอง แต่เพิ่งยื่นคำแถลงคัดค้านประเด็นข้อพิพาทที่ศาลกำหนดเพื่อการใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาหลังจากศาลทำการชี้สองสถานไปแล้วนานถึง 7 วัน จึงไม่ถือเป็นการแถลงคัดค้านคำสั่งภายในเวลาอันสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) ยกคำแถลง" วันที่ 22 ตุลาคม 2542 ทนายจำเลยยื่นคำแถลงเพิ่มเติมคำแถลงคัดค้านคำสั่งศาลความว่าจำเลยขอเพิ่มเติมข้อความในคำแถลงคัดค้านของจำเลยฉบับลงวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ว่า เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยขัดกันแล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะสอบถามจำเลยว่าจำเลยจะเลือกเอาข้อต่อสู้ใดเป็นประเด็น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นโดยไม่สอบถามจำเลยเพื่อให้จำเลยเลือกประเด็นข้อต่อสู้เป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "รวม" เห็นว่า คำแถลงคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ของจำเลยไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสาม คือไม่ได้ทำเป็นคำร้องและไม่ได้ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดประเด็นเพิ่มเติมตามความเห็นของจำเลย ศาลชั้นต้นอาจมีคำสั่งให้จำเลยทำมาใหม่ให้ถูกต้อง หรือมีคำสั่งยกคำแถลงของจำเลยด้วยสาเหตุดังกล่าวได้แต่ศาลชั้นต้นหาได้มีคำสั่งเช่นว่านั้นไม่ ทั้งเหตุที่ศาลชั้นต้นอ้างเป็นเหตุยกคำแถลงของจำเลยว่า จำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านหลังการชี้สองสถาน 7 วัน ไม่ถือเป็นการคัดค้านคำสั่งศาลในเวลาอันสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) ก็ไม่มีบทกฎหมายสนับสนุน เพราะจำเลยอาจยื่นคำร้องคัดค้านได้ภายใน 7 วัน นับแต่วันชี้สองสถานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสาม และศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งในวันที่จำเลยยื่นคำแถลงกับไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ เมื่อจำเลยยื่นคำแถลงขอเพิ่มเติมคำคัดค้านในภายหลัง ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้มีคำสั่งให้ยกคำแถลงของจำเลยเพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งเดิมที่ให้ยกคำแถลงฉบับลงวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ของจำเลยไปแล้ว กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นส่วนนี้เป็นการไม่ถูกต้อง กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำแถลงคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ของจำเลย โดยที่จำเลยยื่นคำแถลงดังกล่าวภายใน 7 วัน นับแต่วันชี้สองสถานซึ่งเป็นวันที่จำเลยอาจยื่นคำร้องคัดค้านได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสาม และศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาส่วนนี้ไม่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยปัญหานี้โดยถือเสมือนหนึ่งว่าจำเลยได้คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นโดยถูกต้องแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจดทะเบียนทางภาระจำยอมรายพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยปิดทางภาระจำยอมรายพิพาท จึงขอบังคับจำเลยให้เปิดทางภาระจำยอมรายพิพาทจำเลยให้การตอนแรกว่า จำเลยจดทะเบียนทางภาระจำยอมรายพิพาทให้แก่โจทก์จริง แต่ปฏิเสธว่าโจทก์อ้างสิทธิทางภาระจำยอมรายพิพาทไม่ได้เพราะการจดทะเบียนทางภาระจำยอมรายพิพาทเป็นโมฆะ คำให้การของจำเลยตอนหลังที่ว่าโจทก์ไม่ได้ใช้ทางภาระจำยอมรายพิพาทติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ภาระจำยอมรายพิพาทจึงสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1399 หาได้ขัดกับคำให้การก่อนหน้านั้นไม่ เพราะข้อเท็จจริงอาจเป็นไปได้ทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน คือนอกจากการจดทะเบียนทางภาระจำยอมจะตกเป็นโมฆะแล้ว ภายหลังต่อมาโจทก์ไม่ได้ใช้ทางภาระจำยอมเป็นเวลาสิบปี ภาระจำยอมดังกล่าวย่อมสิ้นไป ผลแห่งคำให้การของจำเลยดังกล่าวคงมีแต่เพียงว่า หากศาลฟังว่าการจดทะเบียนทางภาระจำยอมเป็นโมฆะตามที่จำเลยให้การต่อสู้คดีในตอนแรกแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิอ้างภาระจำยอมมาบังคับจำเลย ปัญหาว่าภาระจำยอมสิ้นไปเพราะโจทก์ไม่ได้ใช้เป็นเวลาสิบปีหรือไม่ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองไม่กำหนดข้อต่อสู้ของจำเลยข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
ภาระจำยอมรายพิพาทได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามสำเนาโฉนดที่ดิน และสำเนาบันทึกข้อตำลงเรื่องภาระจำยอม จึงมีผลบริบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยอ้างว่าไม่มีเจตนาผูกพันตามสำเนาบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แต่จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมรายพิพาทตามคำขอของโจทก์ที่แจ้งแก่จำเลยว่าเพื่อให้บริษัทเงินทุนผู้รับจำนองยอมรับจำนองที่ดินของโจทก์เป็นประกันการขอกู้ยืมเงินของโจทก์นั้นวัตถุประสงค์ดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งจำเลยยังยืนยันว่าบริษัทเงินทุนผู้รับจำนองจะรับจำนองต่อเมื่อที่ดินของโจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมเรื่องทางเดินแล้วเท่านั้น และหลังจากจดทะเบียนภาระจำยอมรายพิพาทโจทก์ได้จำนองที่ดินไว้แก่บริษัทเงินทุนผู้รับจำนอง แสดงว่าจำเลยทราบดีถึงวัตถุประสงค์และผลของการจดทะเบียนทางภาระจำยอมว่าเป็นการให้สิทธิแก่ที่ดินของโจทก์ที่จะใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางภาระจำยอม การจดทะเบียนภาระจำยอมรายพิพาทของจำเลยเป็นการกระทำด้วยใจสมัครและไม่ได้สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม จึงไม่เป็นโมฆะ แม้ต่อมาภายหลังโจทก์ได้ไถ่ถอนจำนองจากบริษัทเงินทุนดังกล่าว ก็หาทำให้ภาระจำยอมที่มีผลบริบูรณ์ตามกฎหมายมาแต่ต้นกลับกลายเป็นโมฆะไม่
เมื่อบันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระบุว่าเป็น "ภาระจำยอมเรื่องทางเดิน" ย่อมไม่จำเป็นต้องมีความกว้างถึง 3 เมตร ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ทางภาระจำยอมรายพิพาทกว้าง 3 เมตร โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ต้องใช้รถยนต์ผ่านทางภาระจำยอมรายพิพาท เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากที่จดทะเบียนระบุว่าเป็นทางเดิน ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1388 และ 1389
ในการชี้สองสถาน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2542 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าสิทธิใช้ทางภาระจำยอมรายพิพาทของโจทก์สิ้นไป เพราะโจทก์ไม่ได้ใช้เป็นเวลาสิบปีหรือไม่ โดยอ้างว่าเป็นคำให้การที่ขัดกับคำให้การส่วนอื่น ทนายจำเลยซึ่งมาศาลในวันนั้นไม่ได้แถลงด้วยวาจาคัดค้านการไม่กำหนดประเด็นข้อนี้ ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ทนายจำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านคำสั่งศาลความว่า คำให้การของจำเลยไม่ขัดกัน คดีต้องมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ไม่ได้ใช้ทางภาระจำยอมรายพิพาทเป็นเวลาสิบปีหรือไม่ด้วย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยขอคัดค้านเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ 12 ตุลาคม 2542 ว่า "คำแถลงของจำเลยเป็นการแถลงคัดค้านเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา มิใช่คำร้องคัดค้านประเด็นข้อพิพาทที่ศาลกำหนด เพื่อให้ศาลมีคำชี้ขาดใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคท้าย เมื่อทนายจำเลยมาศาลในวันชี้สองสถานด้วยตนเอง แต่เพิ่งยื่นคำแถลงคัดค้านประเด็นข้อพิพาทที่ศาลกำหนดเพื่อการใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาหลังจากศาลทำการชี้สองสถานไปแล้วนานถึง 7 วัน จึงไม่ถือเป็นการแถลงคัดค้านคำสั่งภายในเวลาอันสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) ยกคำแถลง" วันที่ 22 ตุลาคม 2542 ทนายจำเลยยื่นคำแถลงเพิ่มเติมคำแถลงคัดค้านคำสั่งศาลความว่าจำเลยขอเพิ่มเติมข้อความในคำแถลงคัดค้านของจำเลยฉบับลงวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ว่า เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยขัดกันแล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะสอบถามจำเลยว่าจำเลยจะเลือกเอาข้อต่อสู้ใดเป็นประเด็น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นโดยไม่สอบถามจำเลยเพื่อให้จำเลยเลือกประเด็นข้อต่อสู้เป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "รวม" เห็นว่า คำแถลงคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ของจำเลยไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสาม คือไม่ได้ทำเป็นคำร้องและไม่ได้ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดประเด็นเพิ่มเติมตามความเห็นของจำเลย ศาลชั้นต้นอาจมีคำสั่งให้จำเลยทำมาใหม่ให้ถูกต้อง หรือมีคำสั่งยกคำแถลงของจำเลยด้วยสาเหตุดังกล่าวได้แต่ศาลชั้นต้นหาได้มีคำสั่งเช่นว่านั้นไม่ ทั้งเหตุที่ศาลชั้นต้นอ้างเป็นเหตุยกคำแถลงของจำเลยว่า จำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านหลังการชี้สองสถาน 7 วัน ไม่ถือเป็นการคัดค้านคำสั่งศาลในเวลาอันสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) ก็ไม่มีบทกฎหมายสนับสนุน เพราะจำเลยอาจยื่นคำร้องคัดค้านได้ภายใน 7 วัน นับแต่วันชี้สองสถานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสาม และศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งในวันที่จำเลยยื่นคำแถลงกับไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ เมื่อจำเลยยื่นคำแถลงขอเพิ่มเติมคำคัดค้านในภายหลัง ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้มีคำสั่งให้ยกคำแถลงของจำเลยเพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งเดิมที่ให้ยกคำแถลงฉบับลงวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ของจำเลยไปแล้ว กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นส่วนนี้เป็นการไม่ถูกต้อง กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำแถลงคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ของจำเลย โดยที่จำเลยยื่นคำแถลงดังกล่าวภายใน 7 วัน นับแต่วันชี้สองสถานซึ่งเป็นวันที่จำเลยอาจยื่นคำร้องคัดค้านได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสาม และศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาส่วนนี้ไม่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยปัญหานี้โดยถือเสมือนหนึ่งว่าจำเลยได้คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นโดยถูกต้องแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจดทะเบียนทางภาระจำยอมรายพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยปิดทางภาระจำยอมรายพิพาท จึงขอบังคับจำเลยให้เปิดทางภาระจำยอมรายพิพาทจำเลยให้การตอนแรกว่า จำเลยจดทะเบียนทางภาระจำยอมรายพิพาทให้แก่โจทก์จริง แต่ปฏิเสธว่าโจทก์อ้างสิทธิทางภาระจำยอมรายพิพาทไม่ได้เพราะการจดทะเบียนทางภาระจำยอมรายพิพาทเป็นโมฆะ คำให้การของจำเลยตอนหลังที่ว่าโจทก์ไม่ได้ใช้ทางภาระจำยอมรายพิพาทติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ภาระจำยอมรายพิพาทจึงสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1399 หาได้ขัดกับคำให้การก่อนหน้านั้นไม่ เพราะข้อเท็จจริงอาจเป็นไปได้ทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน คือนอกจากการจดทะเบียนทางภาระจำยอมจะตกเป็นโมฆะแล้ว ภายหลังต่อมาโจทก์ไม่ได้ใช้ทางภาระจำยอมเป็นเวลาสิบปี ภาระจำยอมดังกล่าวย่อมสิ้นไป ผลแห่งคำให้การของจำเลยดังกล่าวคงมีแต่เพียงว่า หากศาลฟังว่าการจดทะเบียนทางภาระจำยอมเป็นโมฆะตามที่จำเลยให้การต่อสู้คดีในตอนแรกแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิอ้างภาระจำยอมมาบังคับจำเลย ปัญหาว่าภาระจำยอมสิ้นไปเพราะโจทก์ไม่ได้ใช้เป็นเวลาสิบปีหรือไม่ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองไม่กำหนดข้อต่อสู้ของจำเลยข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกเงินเกินบัญชีโดยไม่สมัครใจ: การกระทำของตัวแทนธนาคาร & เจตนาผู้รับเงิน
จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือมีหลักประกันใดๆ ให้ไว้ต่อโจทก์ และเบิกเงินเกินบัญชีหลังจากยื่นคำขอเปิดบัญชีเพียง 3 วัน การที่ธนาคารโจทก์ยอมให้จำเลยใช้เช็คถอนเงินเกินบัญชีจากธนาคารโจทก์ได้ ทั้งๆ ที่ไม่ปรากฏว่าเคยรู้จักกันเป็นอย่างดีหรือจำเลยเป็นบุคคลพิเศษ แสดงว่าจำเลยมีความผูกพันกับ ช. ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรง ที่เป็นคนเซ็นอนุมัติให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีได้ เจือสมกับข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำเลยทำสัญญารับเหมาก่อสร้างบ้านให้ ช. หลังจากเปิดบัญชีแล้วจำเลยสั่งจ่ายเช็ครับเงินไม่เกินจำนวนเงินค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างบ้านให้ ช. หลังจากนั้นจำเลยก็หยุดใช้เช็คเบิกถอนเงินอีก และน่าเชื่อว่า ช. เป็นคนนำเงินเข้าบัญชีให้แก่จำเลยเป็นการชำระหนี้ค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างบ้าน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวก็เพื่อให้ ช. ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรงนำเงินค่างวดในการจ้างเหมาก่อสร้างบ้านชำระหนี้แก่จำเลยโดยนำเงินเข้าบัญชีให้ และจำเลยจะใช้เช็คเบิกถอนเงินค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างบ้านตามงวด จำเลยไม่มีเจตนาที่จะทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ ดังนั้น หาก ช. ไม่นำเงินเข้าบัญชีให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ แสดงว่า ช. ผิดนัดชำระหนี้จำเลยย่อมจะใช้เช็คถอนเงินไม่ได้โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้จำเลยแทน ช. แต่อย่างใด แต่การที่ ช. ยอมอนุมัติจ่ายเงินตามเช็คให้จำเลยจึงเป็นเรื่องที่จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นการรับเงินค่างวดที่ ช. นำเงินค่าจ้างก่อสร้างบ้านเข้าบัญชีให้เพื่อชำระหนี้ จำเลยไม่มีเจตนาที่จะเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ หาก ช. ไม่ใช่ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรง จำเลยก็ย่อมไม่สามารถจะใช้เช็คถอนเงินตามที่ปรากฏในคดีนี้ได้ และหากเงินในบัญชีไม่มี ธนาคารก็ต้องปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยจะได้รีบดำเนินการทวงถามหรือระงับการก่อสร้างบ้านตามสัญญาให้แก่ ช. ทันท่วงที หรือดำเนินการฟ้องร้องเรียกเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างจาก ช. โดยเร็ว ในขณะที่พยานหลักฐานยังอยู่ครบถ้วน การกระทำของ ช. ถือได้ว่าเป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในฐานะผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรงโดยไม่ชอบ โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวแทนของตน การที่จำเลยรับเงินไปจากธนาคารโจทก์โดยสำคัญผิดว่าเป็นเงินค่างวดที่จำเลยมีสิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่มีเจตนาที่จะผูกนิติสัมพันธ์ทำนิติกรรมเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยในฐานะเป็นลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4997/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในวัตถุแห่งนิติกรรม-อายุความ-ละเมิด: ศาลปรับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้-สิทธิติดตามทรัพย์สินไม่มีอายุความ
ในวันนัดจดทะเบียนขายฝากที่ดิน โจทก์ให้จำเลยที่ 1 พาโจทก์ไปดูที่ดินที่จะขายฝาก จำเลยที่ 1 กลับชี้ให้โจทก์ดูที่ดินของผู้อื่นซึ่งอยู่ติดถนนลาดยางแปลงเดียวกับที่จำเลยที่ 2 เคยพาบุคคลอื่นไปดู ซึ่งมิใช่ที่ดินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 2 หลอกลวงโจทก์ให้รับซื้อฝากที่ดินต่อโจทก์ ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงนายหน้าของจำเลยที่ 1 หรือเป็นผู้ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 แล้วนำไปขายต่อให้แก่โจทก์ และไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์หวังผลกำไรจากการรับซื้อฝากที่ดินหรือไม่ เพราะมิใช่สาระสำคัญที่จะทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป การที่โจทก์หลงเชื่อและรับฝากที่ดินไว้จากจำเลยที่ 1 โดยเข้าใจว่าเป็นที่ดินแปลงที่อยู่ติดถนนลาดยางตามที่จำเลยที่ 1 นำชี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และเป็นกรณีที่โจทก์แสดงเจตนารับซื้อฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม อันเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 มีผลเท่ากับการขายฝากที่ดินมิได้เกิดมีขึ้น และไม่ก่อสิทธิใด ๆ แก่จำเลยที่ 1 ที่จะยึดถือเอาเงินของโจทก์ไว้ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
โจทก์ตั้งเรื่องฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองสมคบกันหลอกลวงโจทก์โดยนำชี้และอ้างว่าที่ดินของผู้อื่นซึ่งอยู่ติดถนนลาดยางเป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อ จึงรับซื้อฝากและมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง ความจริงแล้วที่ดินโฉนดดังกล่าวอยู่ห่างไกลถนนและมีราคาต่ำกว่าที่โจทก์รับซื้อฝากไว้มากหากโจทก์ทราบความจริงจะไม่รับซื้อฝาก การบรรยายฟ้องดังกล่าวเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงในลักษณะเล่าเรื่องให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงเข้ากับตัวบทกฎหมายเพื่อวินิจฉัยคดี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงและฟังว่าโจทก์แสดงเจตนารับซื้อฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 ก็ดี หรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยข้อเท็จจริงและฟังว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 ก็ดี จึงเป็นการปรับข้อเท็จจริงที่ได้ความเข้ากับตัวบทกฎหมายเพื่อวินิจฉัยถึงสิทธิของคู่ความแต่ละฝ่าย ซึ่งหากจำเลยทั้งสองมิได้หลอกลวงโจทก์และโจทก์มิได้แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดแล้ว จำเลยทั้งสองก็ไม่ต้องรับผิดคืนเงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง กรณีมิใช่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องหรือพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงโจทก์ให้รับซื้อฝากที่ดินของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์หลงเชื่อและเสียเงินให้แก่จำเลยทั้งสองไป 1,500,000 บาท และมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ 1,500,000 บาท เท่ากับราคาที่ดินที่ซื้อฝากซึ่งโจทก์ได้มอบให้แก่จำเลยทั้งสองไปนั้น มิใช่คำฟ้องในเรื่องละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี เพียงอย่างเดียว แต่มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนจากจำเลยทั้งสองผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ด้วย ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ ส่วนดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นค่าเสียหายนั้นคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในความผิดฐานฉ้อโกง โจทก์ฟ้องคดีในระหว่างที่คดีอาญายังไม่เด็ดขาด จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง
โจทก์ตั้งเรื่องฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองสมคบกันหลอกลวงโจทก์โดยนำชี้และอ้างว่าที่ดินของผู้อื่นซึ่งอยู่ติดถนนลาดยางเป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อ จึงรับซื้อฝากและมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง ความจริงแล้วที่ดินโฉนดดังกล่าวอยู่ห่างไกลถนนและมีราคาต่ำกว่าที่โจทก์รับซื้อฝากไว้มากหากโจทก์ทราบความจริงจะไม่รับซื้อฝาก การบรรยายฟ้องดังกล่าวเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงในลักษณะเล่าเรื่องให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงเข้ากับตัวบทกฎหมายเพื่อวินิจฉัยคดี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงและฟังว่าโจทก์แสดงเจตนารับซื้อฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 ก็ดี หรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยข้อเท็จจริงและฟังว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 ก็ดี จึงเป็นการปรับข้อเท็จจริงที่ได้ความเข้ากับตัวบทกฎหมายเพื่อวินิจฉัยถึงสิทธิของคู่ความแต่ละฝ่าย ซึ่งหากจำเลยทั้งสองมิได้หลอกลวงโจทก์และโจทก์มิได้แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดแล้ว จำเลยทั้งสองก็ไม่ต้องรับผิดคืนเงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง กรณีมิใช่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องหรือพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงโจทก์ให้รับซื้อฝากที่ดินของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์หลงเชื่อและเสียเงินให้แก่จำเลยทั้งสองไป 1,500,000 บาท และมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ 1,500,000 บาท เท่ากับราคาที่ดินที่ซื้อฝากซึ่งโจทก์ได้มอบให้แก่จำเลยทั้งสองไปนั้น มิใช่คำฟ้องในเรื่องละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี เพียงอย่างเดียว แต่มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนจากจำเลยทั้งสองผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ด้วย ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ ส่วนดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นค่าเสียหายนั้นคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในความผิดฐานฉ้อโกง โจทก์ฟ้องคดีในระหว่างที่คดีอาญายังไม่เด็ดขาด จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญากู้เงินโดยความยินยอม การแก้ไขข้อตกลงเดิม และผลของการผิดสัญญา
จำเลยมีความรู้ด้านกฎหมายเป็นอย่างดี และมีประสบการณ์จากการเป็นทนายความ จึงย่อมต้องมีความระมัดระวัง และมีความละเอียดรอบคอบในการทำสัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำสัญญาที่ผูกพันตนเอง ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะลงลายมือชื่อทำสัญญาในขณะที่ยังได้กรอกข้อความในเอกสารให้ครบถ้วน และแม้ในการขอกู้เงินจะกำหนดเวลาการผ่อนชำระหนี้ไว้เดือนละ 5,000 บาท ภายในกำหนดเวลา 5 ปี แต่ต่อมาเมื่อทำสัญญาเงินกู้กันโดยได้มีการกำหนดเวลาชำระหนี้ในสัญญาเงินกู้ว่าจะชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 1 ปี ซึ่งจำแลยยินยอมลงลายมือชื่อโดยไม่โต้แย้งคัดค้านประการใด ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจยกเลิกกำหนดเวลาชำระหนี้ตามข้อตกลงเดิมและกำหนดชำระหนี้กันใหม่ตามที่ระบุในสัญญากู้เงินคือชำระภายในกำหนด 1 ปี จำเลยจึงมิได้ทำสัญญาเงินกู้โดยสำคัญผิดในเงื่อนกำหนดเวลาชำระหนี้ หรือเพราะถูกโจทก์ใช้กลฉ้อฉลแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองโมฆะเนื่องจากสำคัญผิดในสาระสำคัญ และการวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 โดยประสงค์จะทำสัญญาซื้อขายต่อไป แต่จำเลยทั้งสองหลอกลวงโจทก์ให้ทำสัญญาจำนอง โจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญาจำนองและไม่มีเจตนาทำนิติกรรมจำนอง ขอให้เพิกถอนสัญญาจำนอง จำเลยทั้งสองให้การว่าสัญญาจำนองกระทำโดยชอบและสุจริต ไม่มีเหตุเพิกถอนตามคำคู่ความดังกล่าว จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าการทำสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ ทั้งปัญหาว่าสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาว่าสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพรางขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ก็สามารถยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ตามคำคู่ความมีประเด็นเพียงว่า โจทก์มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองเพื่อประกันเงินกู้และโจทก์ได้รับเงินตามสัญญากู้หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าสัญญาจำนองที่ดินเป็นโมฆียะเพราะโจทก์กระทำโดยถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้กลฉ้อฉลหรือไม่นั้น จึงไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหาตามประเด็นที่ถูกต้องศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัย แต่เนื่องจากคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ประสงค์ทำนิติกรรมจะขายที่ดินโดยไม่มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองที่ดินแก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น การทำสัญญาจำนองของโจทก์จึงเป็นการกระทำไปโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรม สัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ก็สามารถยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ตามคำคู่ความมีประเด็นเพียงว่า โจทก์มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองเพื่อประกันเงินกู้และโจทก์ได้รับเงินตามสัญญากู้หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าสัญญาจำนองที่ดินเป็นโมฆียะเพราะโจทก์กระทำโดยถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้กลฉ้อฉลหรือไม่นั้น จึงไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหาตามประเด็นที่ถูกต้องศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัย แต่เนื่องจากคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ประสงค์ทำนิติกรรมจะขายที่ดินโดยไม่มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองที่ดินแก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น การทำสัญญาจำนองของโจทก์จึงเป็นการกระทำไปโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรม สัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง