คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 156

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและเหตุผลอื่นภายหลัง การเพิกถอนการเลิกจ้างทำไม่ได้เมื่อความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า บริษัท ด. เลิกจ้างโจทก์เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นเหตุที่มีอยู่จริงและเป็นเจตนาของนายจ้างที่จะเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าว ถือไม่ได้ว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยสำคัญผิด และแม้นายจ้างจะพบเหตุอื่น (ความผิดของโจทก์) ในภายหลังก็ไม่สามารถอ้างเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างได้อีก ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้กลฉ้อฉลให้นายจ้างเลิกจ้าง ฉะนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ปกปิดข้อเท็จจริงอันเป็นการฉ้อฉลนายจ้างให้สำคัญผิด จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างบริษัท ด. กับโจทก์สิ้นสุดลงและมีผลตามกฎหมายตามหนังสือเลิกจ้างเป็นต้นไป โดยบริษัท ค. ไม่อาจใช้สิทธิเพิกถอนการเลิกจ้างนั้นได้อีกแม้ภายหลังบริษัท ด. นายจ้างจะพบเรื่องที่อ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงกรณีโจทก์ร่วมกับพวกก่อตั้งบริษัท อ. ประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้าง บริษัท ด. นายจ้างจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกครั้งไม่ได้ เพราะความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างระหว่างบริษัท ด. กับโจทก์ได้สิ้นสุดไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6103/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในราคาทรัพย์สิน + กลฉ้อฉล = นิติกรรมโมฆะ
โจทก์ตกลงขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 โดยสำคัญผิดในราคาที่ดินเพราะถูกนายหน้าหลอกลวงซึ่งจำเลยที่ 1 รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการหลอกลวงดังกล่าว การที่โจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกัน แม้มิใช่สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมหรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม จึงถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156
เมื่อนิติกรรมซื้อขายที่ดินเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและเกิดจากกลฉ้อฉลในขณะเดียวกัน แต่ผลทางกฎหมายต่างกันกล่าวคือ นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมมีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 156 แต่นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลมีผลเป็นโมฆียะตามมาตรา 159 จึงต้องถือว่านิติกรรมเป็นโมฆะ เพราะเป็นผลดีต่อผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยบกพร่องยิ่งกว่าเป็นโมฆียะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6103/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญ + กลฉ้อฉล = นิติกรรมโมฆะ แม้ราคาทรัพย์สินไม่ใช่สาระสำคัญโดยตรง
การที่โจทก์ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ในราคา 4,000,000 บาท ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีเจตนาจะขายที่ดินพิพาทในราคา 52,000,000 บาท และจำเลยที่ 1 ก็ทราบอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทมีราคาท้องตลาดมากกว่า 36,000,000 บาท เป็นการทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดเพราะถูกนายหน้าขายที่ดินพิพาทหลอกลวง ซึ่งตามพฤติการณ์จำเลยที่ 1 กับพวกรู้ถึงการหลอกลวง การที่โจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันเช่นนี้ แม้มิใช่สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมหรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีหรือทรัพย์สิน ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม จึงถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เช่นเดียวกัน เมื่อนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมมีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 156 แต่นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลมีผลเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 159 จึงต้องถือว่านิติกรรมรายนี้เป็นโมฆะเพราะเป็นผลดีต่อผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยบกพร่องยิ่งกว่าเป็นโมฆียะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5188/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ไม่สมบูรณ์: การแสดงเจตนาที่ไม่ชัดเจน และการกรอกข้อความภายหลังทำให้สัญญายังไม่ผูกพัน
โจทก์นำแบบพิมพ์สัญญาซึ่งยังมิได้กรอกข้อความมาให้จำเลยลงลายมือชื่อโดยอ้างว่าเป็นใบสมัครงาน จำเลยหลงเชื่อจึงลงลายมือชื่อในเอกสารไปโดยจำเลยยังไม่ได้ตกลงกับโจทก์ตามข้อความที่ปรากฏในสัญญา การที่โจทก์นำสัญญาไปกรอกข้อความในภายหลัง แม้จะมีลายมือชื่อจำเลยเป็นคู่สัญญาก็จะถือว่าจำเลยได้แสดงเจตนาเข้าทำสัญญากับโจทก์ตามข้อความที่ปรากฏในสัญญายังไม่ได้ จึงยังไม่มีผลผูกพันจำเลย โจทก์จะนำสัญญามาฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามหรือเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานผิดสัญญาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4128/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายห้องชุด การแยกสัญญาซื้อขาย และผลของการผิดนัดโอน
เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบังคับให้ชำระภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนรวมกัน การที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดและสัญญาซื้อขายเฟอร์นิเจอร์ แยกออกเป็น 2 ฉบับ จึงเป็นสิทธิโดยชอบของจำเลยที่จะกระทำได้ ทั้งโจทก์ยินยอมทำสัญญากับจำเลย สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดและสัญญาซื้อขายเฟอร์นิเจอร์ย่อมมีผลสมบูรณ์ หาใช่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 ไม่
ตามสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดระบุเนื้อที่ประมาณ50 ตารางเมตร แม้ความจริงแต่ละห้องมีเนื้อที่เพียง 45.31 ตารางเมตร ก็ตามแต่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าที่ประมาณไว้ในสัญญาไม่มาก จึงไม่เพียงพอที่จะถือว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม อันจะทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 156 สำหรับแผ่นภาพโฆษณาและใบแจ้งราคาและเนื้อที่ห้องชุดของจำเลยที่ระบุเนื้อที่ 50 ตารางเมตร เป็นเพียงหนังสือเชิญชวนบุคคลทั่วไปให้สนใจในห้องชุดดังกล่าวเท่านั้น หามีผลต่อคดีไม่
เมื่อจำเลยก่อสร้างห้องชุดเสร็จ จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ไปรับโอนห้องชุด 2 ครั้ง แต่โจทก์ไม่ไปตามนัดในการแจ้งโอนครั้งที่ 2 โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด การที่โจทก์ไม่ทราบเรื่องเพราะโจทก์อยู่ต่างประเทศย่อมไม่เป็นข้อแก้ตัวการบอกเลิกสัญญาของจำเลยและริบเงินที่โจทก์ชำระมาแล้วจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4128/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายห้องชุดและเฟอร์นิเจอร์ไม่เป็นโมฆะ แม้แยกสัญญาและมีเนื้อที่ต่างจากที่ระบุ การบอกเลิกสัญญาชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบังคับให้ชำระภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนรวมกัน การที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดและสัญญาซื้อขายเฟอร์นิเจอร์ แยกออกเป็น 2 ฉบับจึงเป็นสิทธิโดยชอบของจำเลยที่จะกระทำได้ ทั้งโจทก์ยินยอมทำสัญญากับจำเลย สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดและสัญญาซื้อขายเฟอร์นิเจอร์ย่อมมีผลสมบูรณ์ หาใช่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 ไม่
ตามสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดระบุเนื้อที่ประมาณ50 ตารางเมตร แม้ความจริงแต่ละห้องมีเนื้อที่เพียง 45.31 ตารางเมตรก็ตาม แต่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าที่ประมาณไว้ในสัญญาไม่มาก จึงไม่เพียงพอที่จะถือว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม อันจะทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 สำหรับแผ่นภาพโฆษณาและใบแจ้งราคาและเนื้อที่ห้องชุดของจำเลยที่ระบุเนื้อที่50 ตารางเมตร เป็นเพียงหนังสือเชิญชวนบุคคลทั่วไปให้สนใจในห้องชุดดังกล่าวเท่านั้น หามีผลต่อคดีไม่
เมื่อจำเลยก่อสร้างห้องชุดเสร็จ จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ไปรับโอนห้องชุด 2 ครั้ง แต่โจทก์ไม่ไปตามนัดในการแจ้งโอนครั้งที่ 2โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด การที่โจทก์ไม่ทราบเรื่องเพราะโจทก์อยู่ต่างประเทศย่อมไม่เป็นข้อแก้ตัว การบอกเลิกสัญญาของจำเลยและริบเงินที่โจทก์ชำระมาแล้วจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360-3410/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ดิน: ผู้ประมูลต้องตรวจสอบความถูกต้องเอง ความสำคัญผิดไม่เป็นเหตุเพิกถอน
การขายทอดตลาดที่ดินพิพาทโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีแตกต่างจากการซื้อขายที่ดินตามปกติทั่ว ๆ ไป เพราะประกาศขายทอดตลาดจะระบุรายละเอียดต่าง ๆ ของที่ดินพิพาทไว้ชัดแจ้ง และเปิดเผยต่อประชาชนทั่วไป ผู้เข้าประมูลมีโอกาสตรวจสอบ ความถูกต้องได้ ที่ผู้ร้องอ้างว่าสำคัญผิดว่าที่ดินพิพาทอยู่ติดกับ ที่ดินของผู้ร้อง โดยผู้ร้องมิได้ทำการตรวจสอบความถูกต้องในที่ตั้งของที่ดินพิพาทก่อนที่จะเข้าประมูลสู้ราคาทั้ง ๆ ที่สามารถ จะกระทำได้ จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเองและถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ผู้ร้องไม่อาจอ้างความสำคัญผิดในที่ตั้งของที่ดินแปลงพิพาทมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินแปลงพิพาทโดยฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีฯ จึงไม่มีเหตุที่จะ เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินแปลงพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยไม่เป็นโมฆะ แม้รายละเอียดรถยนต์ในกรมธรรม์คลาดเคลื่อน หากเจตนาทำสัญญาถูกต้องและแก้ไขได้
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมย่อมมีผลทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 156 สัญญาประกันภัยรถยนต์ย่อมถือเอาตัวรถยนต์เป็นสาระสำคัญตามกรมธรรม์ซึ่งจำเลยผู้รับประกันภัยออกให้แก่โจทก์ ระบุรายการรถยนต์ที่เอาประกันภัยตรงกับรายการจดทะเบียนรถยนต์ของโจทก์และจำเลยมิได้โต้แย้งว่าโจทก์มีรถยนต์คันอื่นอีก หมายเลขทะเบียนรถยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ และหมายเลขตัวถังเป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย เมื่อโจทก์ขอแก้หมายเลขทะเบียน หมายเลขเครื่องยนต์และหมายเลขตัวถังของรถยนต์ที่เอาประกันภัยให้ถูกต้อง แม้ขอแก้ไขภายหลังเกิดอุบัติเหตุแล้ว จำเลยก็แก้ไขให้ทุกรายการ การทำสัญญารับประกันภัยของจำเลยจึงมิใช่เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญในตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในตัวทรัพย์สิน สัญญาประกันภัยรถยนต์ไม่เป็นโมฆะ แม้รายละเอียดไม่ตรงกัน
การทำสัญญาประกันภัยรถยนต์ถือเอาตัวรถยนต์เป็นสาระสำคัญ
ตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจำเลยผู้รับประกันภัยออกให้แก่โจทก์ได้ระบุรายการรถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัยคือ ยี่ห้อ รุ่นปี ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแบบตัวถัง และเป็นรถยนต์ 4 ล้อ ตรงกับรายการจดทะเบียนรถยนต์ของโจทก์ และจำเลยมิได้โต้แย้งว่าโจทก์มีรถยนต์คันอื่นอีก กรณีเช่นนี้จึงมิใช่การสำคัญผิดในตัวรถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัย สำหรับหมายเลขทะเบียนรถยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ และหมายเลขตัวถังเป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย แม้จะระบุในกรมธรรม์ประกันภัยคลาดเคลื่อนไปก็ไม่ใช่สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ เพราะเมื่อโจทก์ขอแก้หมายเลขทะเบียน หมายเลขเครื่องยนต์ และหมายเลขตัวถังของรถยนต์ที่เอาประกันภัยให้ถูกต้อง แม้เป็นการขอแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว จำเลยก็จัดการแก้ไขให้ทุกรายการโดยกรรมการผู้อำนวยการของจำเลยเป็นผู้ลงชื่อในเอกสารการแก้รายการรถยนต์ เมื่อการทำสัญญารับประกันภัยมิใช่การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในราคาที่ดินทำให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะ และสิทธิในการนำสืบพยาน
จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพราะสำคัญผิดในราคาที่ดินพิพาทที่ตกลงซื้อขายกัน ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง
เมื่อจำเลยอ้างว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไม่สมบูรณ์ เพราะจำเลยสำคัญผิดในราคาที่ดินซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไม่สมบูรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง หาใช่เป็นการสืบพยานบุคคลแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในเอกสารไม่
of 18