คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 156

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8108/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นโมฆะ ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกคืนเงินที่ชำระไป
ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ จึงเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) และตามมาตรา1305 บัญญัติไว้ว่าจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายหรือพระราชกฤษฎีกา จึงไม่อาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันได้ การที่โจทก์ที่ 1 กับ อ.ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันเพราะเข้าใจว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมนั้น สามารถซื้อขายและโอนกันได้โดยไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีกฎหมายห้ามโอนไว้ แสดงว่าโจทก์ที่ 1 และ อ. เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมว่าสามารถโอนกันได้ จึงเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 เดิมย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องใด ๆ ขึ้น คู่สัญญาปราศจากข้อผูกพันในอันที่จะต้องปฎิบัติตามสัญญาเสมือนหนึ่งไม่มีข้อสัญญาต่อกันนั่นเอง จึงไม่มีกรณีการรอนสิทธิและการส่งมอบทรัพย์สินขาดตกบกพร่อง แต่อย่างไรก็ตามเงินราคาที่ดินพิพาทที่ อ.รับไปจากโจทก์ทั้งสองเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และทำให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ จำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของ อ.จึงต้องคืนเงินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะแล้วถือเสมือนไม่มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากฝ่ายจำเลยโดยอ้างผลแห่งการผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434-455/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม + การครอบครองปรปักษ์ = ที่ดินไม่ตกเป็นของโจทก์
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งมีปัญหาว่าเป็นที่ดินของโจทก์หรือของจำเลยนายอำเภอท้องที่ได้เรียกจำเลยไปพบและได้ทำบันทึกว่าได้เรียกบุคคลที่ปลูกเรือนอยู่ในบริเวณที่ดินของโจทก์มาตกลงกันและจำเลยยอมคืนที่ดินที่ครอบครองแก่โจทก์แต่ต่อมาจำเลยก็ร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดท้องที่คัดค้านและขอความเป็นธรรมที่ถูกกล่าวหาว่าเข้าไปอยู่ในที่ดินโจทก์แม้จำเลยบางคนยอมทำสัญญาเช่ากับทางอำเภอแต่เห็นได้ว่าจำเลยดังกล่าวตกลงไปโดยเข้าใจผิดว่าที่ดินเป็นของโจทก์จึงเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาเช่าตกเป็น โมฆะ ตรงกันข้ามจำเลยดังกล่าวได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตลอดมาโดยภายหลังจำเลยบางคนได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็ไม่ปรากฎว่าฝ่ายโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านแต่อย่างใดที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมซื้อขายที่ดินจากกลฉ้อฉลหรืออาศัยความไม่รู้ของคู่กรณี
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยหลอกให้โจทก์ไปทำสัญญาประกันชีวิตแต่กลับไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นการอ้างความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ขายที่ดินให้จำเลยเท่ากับปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้สำคัญผิดหาได้ยกเรื่องกลฉ้อฉลขึ้นต่อสู้ไม่แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่าเป็นการแสดงเจตนาเพราะกลฉ้อฉลและจำเลยฎีกาในทำนองเดียวกันก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยอาศัยความไม่รู้หนังสือตลอดจนความสูงอายุและความไม่รู้ระเบียบต่างๆของทางราชการของโจทก์ทำให้โจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาททั้งแปลงให้แก่จำเลยทั้งที่โจทก์มีเจตนาจะโอนขายที่ดินเฉพาะส่วนเท่านั้นหนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทจึงเกิดโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา119เดิม(มาตรา156ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3720/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินโมฆะเนื่องจากสำคัญผิดในวัตถุแห่งนิติกรรมที่เป็นที่หลวงหวงห้าม
โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันเพราะเข้าใจว่าที่ดินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมนั้นสามารถซื้อขายและโอนกันได้ โดยไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นที่หลวงซึ่งมีกฎหมายห้ามโอนไว้ แสดงว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมว่าสามารถโอนกันได้ แต่ความจริงโอนกันไม่ได้ เพราะมีกฎหมายห้ามโอนไว้ จึงเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 เดิม (มาตรา 156ที่แก้ไขใหม่) คู่กรณีจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยที่ 1ต้องคืนเงินค่าซื้อที่ดินให้โจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 836/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายโมฆะเนื่องจากผู้ขายไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และการสำคัญผิดในสาระสำคัญ
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ภริยาของจำเลยได้รับยกให้ฝ่ายเดียวในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยโดยมิได้จดทะเบียนสมรสจึงบังคับตามบทบัญญัติเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาไม่ได้ทั้งมิใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ด้วยกันที่จะแบ่งกึ่งหนึ่งในฐานะหุ้นส่วนได้ เมื่อที่ดินพิพาทมิใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลยการที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับโจทก์ จึงเป็นกรณีที่จำเลยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เป็นเหตุให้นิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 836/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินโมฆะจากความผิดพลาดในกรรมสิทธิ์: จำเลยไม่มีสิทธิในที่ดินที่นางตาได้รับยกให้
เมื่อจำเลยและนาง ต. มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ที่ดินพิพาทที่นางต. ได้รับการยกให้จากพี่ชายในระหว่างที่อยู่กินด้วยกันกับจำเลย จึงบังคับตามบทบัญญัติเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาไม่ได้ และที่ดินพิพาทดังกล่าวนาง ต. ได้รับการยกให้ฝ่ายเดียวจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ด้วยกันกับจำเลย อันจะแบ่งในฐานะหุ้นส่วนครึ่งหนึ่งดังที่โจทก์อ้าง จำเลยจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเลย การที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับโจทก์จึงเป็นกรณีที่จำเลยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินยกให้ก่อนสมรส ไม่ใช่สินสมรส จำเลยสำคัญผิดในนิติกรรม
เมื่อจำเลยและนาง ต.มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ที่ดินพิพาทที่นาง ต.ได้รับการยกให้จากพี่ชายในระหว่างที่อยู่กินด้วยกันกับจำเลย จึงบังคับตามบทบัญญัติเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาไม่ได้ และที่ดินพิพาทดังกล่าวนาง ต.ได้รับการยกให้ฝ่ายเดียว จึงมิใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ด้วยกันกับจำเลย อันจะแบ่งในฐานะหุ้นส่วนครึ่งหนึ่งดังที่โจทก์อ้าง จำเลยจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเลยการที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับโจทก์จึงเป็นกรณีที่จำเลยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม, อำนาจศาล, การพิจารณาคดีนอกประเด็น, และการเข้าเป็นคู่ความแทน
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว คดี จึง อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งคำร้องของ จำเลย ที่ขอให้เรียกบุคคลอื่นมาเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้บุคคลอื่น เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต ตามคำร้องจึงไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องของ จำเลยไปเสียทีเดียว โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง โจทก์ฟังว่าโจทก์ถูกจำเลยหลอกให้ลงลายพิมพ์นิ้วมือทำนิติกรรมแตกต่างไปจากเจตนาอันแท้จริงของโจทก์เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญ ของ นิติกรรมเป็นโมฆะ จำเลยให้การว่าโจทก์มิได้สำคัญผิด ในลักษณะของนิติกรรมการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่จึงมีความหมายแปลได้ว่าจำเลยหลอกให้โจทก์สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมที่โจทก์จะทำและให้โจทก์หลงเชื่อแสดงเจตนาทำนิติกรรมกับจำเลยโดยสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมอันเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามฟ้องหรือไม่ โจทก์ฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และ ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี โดยมิได้ยกข้อพิพาท ในเนื้อหาของคดีขึ้นมาในคำฟ้องฎีกา และมิได้ขอให้พิพากษา ตามคำขอของโจทก์ตามที่ฟ้องมา ศาลฎีกาจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจ พิจารณาข้อพิพาทในส่วนที่นอกจากปรากฏในคำฟ้องฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำแถลงขอถอนการยึดทรัพย์จากความสำคัญผิด ไม่ถือเป็นการสละสิทธิเด็ดขาดในการบังคับคดี
ตัวแทนโจทก์ในการบังคับคดียื่นคำแถลงขอถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยและด้วยความสำคัญผิด ตัวแทนโจทก์ได้ระบุในคำแถลงด้วยว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว ทั้งที่ความจริงจำเลยยังชำระไม่ครบ การยื่นคำแถลงขอถอนการยึดทรัพย์จึงไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของโจทก์ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิเด็ดขาดในการบังคับคดีจำเลย โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนข้อความที่ระบุว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้วได้เพื่อให้เป็นไปตามความจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับแม้ส่วนดอกเบี้ยผิดกฎหมาย, ดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
หนังสือสัญญากู้เงินท้ายฟ้องเห็นได้ว่ามีสองส่วน คือส่วนการกู้เงินกับส่วนการเรียกดอกเบี้ย ส่วนการกู้เงินไม่ผิดกฎหมายแต่ส่วนการเรียกดอกเบี้ยโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดส่วนนี้จึงตกเป็นโมฆะ สองส่วนนี้แยกต่างหากจากกันได้โดยถือว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะให้ต้นเงินสูญไปด้วย ดังนั้น ต้นเงินจึงไม่ตกเป็นโมฆะ เพราะเป็นส่วนที่สมบูรณ์แยกต่างหากจากการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราซึ่งเป็นส่วนที่ไม่สมบูรณ์ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เมื่อลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดให้คิดดอกเบี้ยได้เสมอไม่ว่าจะมีข้อตกลงให้ดอกเบี้ยกันหรือไม่ก็ตาม เพราะเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยผลของกฎหมายเมื่อสัญญากู้ถึงกำหนดชำระคืนในวันที่ 8 มีนาคม 2529 จำเลยไม่ชำระย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จึงมีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2529 ซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไป ดอกเบี้ยภายหลังจากที่จำเลยผิดนัดไม่ตกเป็นโมฆะ
of 18