คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 156

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างโฆษณา: การสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญาไม่เกิดขึ้น แม้โจทก์ไม่มีสิทธิจัดพิมพ์สมุดรายนาม
โจทก์โฆษณาทางหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนอื่น ๆ ว่า จะทำการจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้เช่าทุกรายในฐานะสมุดธุรกิจอิสระไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แสดงว่าโจทก์มีความบริสุทธิ์ใจในการจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ดังกล่าว ใบสั่งลงโฆษณาที่จำเลยทั้งสองจ้างโจทก์ให้ลงโฆษณาในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ดังกล่าวก็ระบุความไว้เช่นนั้น ทั้งจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งว่า จำเลยทั้งสองต้องการโฆษณาในสมุดเยลโล่เพจเจ็ส แต่ประการใดเป็นเวลาถึง 6 เดือนคงมาโต้แย้งเมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินค่าโฆษณา เมื่อโจทก์ไม่เคยติดต่อกับจำเลยทั้งสองมาก่อน และจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายติดต่อกับโจทก์ขอลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือของโจทก์โดยที่โจทก์ก็เคยโฆษณาไว้แล้วว่าจะจัดทำเป็นสมุดธุรกิจอิสระ และโจทก์ทำการโฆษณาให้จำเลยทั้งสองแล้วเช่นนี้ ไม่อาจฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองว่าจ้างโจทก์ให้ลงโฆษณาโดยจำเลยทั้งสองสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญาจ้างสัญญาจ้างโฆษณาจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ส่วนโจทก์จะมีสิทธิจัดพิมพ์สมุดดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หากโจทก์ไม่มีสิทธิจัดพิมพ์โจทก์ก็ต้องรับผิดต่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยทั้งสองที่จะไม่ต้องชำระค่าจ้างโฆษณา เพราะเป็นคนละเรื่องกับสัญญาจ้างโฆษณาที่จำเลยทั้งสองทำไว้กับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องยื่นพร้อมค่าธรรมเนียม หรือวางเงินค่าธรรมเนียม หากไม่ปฏิบัติตาม ศาลอุทธรณ์มีสิทธิไม่รับวินิจฉัย
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องและสั่งให้จำเลยเสียค่าธรรมเนียมศาลภายใน 15 วัน การที่จำเลยขอขยายระยะเวลาดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลา ที่ศาลกำหนด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจะต้องกระทำก่อนระยะเวลา ดังกล่าวสิ้นสุดลงเว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความ อีก ฝ่ายหนึ่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แต่จำเลย ยื่นอุทธรณ์โดยมิได้ชำระเงินค่าธรรมเนียม และนำค่าธรรมเนียม ซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์และ มิได้รับอนุญาตให้นำมาวางได้ภายหลัง จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย กฎหมาย ศาลอุทธรณ์ชอบที่ จะปฏิเสธไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการมิชอบ และถือไม่ได้ว่า เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิ ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา, การหนีราชการถือเป็นการผิดสัญญา, การคำนวณค่าปรับจากเงินเดือน
จำเลยที่1ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศและได้รับทุนให้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยทำสัญญาไว้ว่าจะกลับมารับราชการโดยไม่ลาออกหรือโอนไปรับราชการที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนดนั้นหากปรากฏว่าจำเลยที่1หนีราชการไปก่อนครบกำหนดระยะเวลาและกองทัพอากาศได้ปลดจำเลยที่1ออกจากราชการเนื่องจากเหตุดังกล่าวดังนี้ถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาเพราะคำว่าหนีราชการเป็นถ้อยคำที่แสดงบ่งชัดให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่ามีเจตนาที่จะไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการจึงจะอ้างว่ากองทัพอากาศปลดจำเลยที่1ออกเองจำเลยไม่ผิดสัญญาหาได้ไม่ เงินเดือนที่จำเลยที่1ได้รับในระหว่างไปศึกษาต่างประเทศนั้นอยู่ในความหมายของคำว่าเงินรายเดือนที่ทางราชการได้จ่ายให้เนื่องในการเดินทางและศึกษาตามข้อสัญญาที่จำเลยที่1ทำให้ไว้แก่โจทก์และยอมชดใช้ในกรณีผิดสัญญาจึงนำเงินเดือนมารวมคำนวณคิดเป็นค่าปรับได้ การที่จำเลยที่1ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ2ครั้งในระหว่างที่ปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาโดยมีข้อสัญญาว่าจะยอมปฏิบัติราชการชดใช้ทุนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อจากสัญญาฉบับอื่นนั้นจำเลยที่1จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศก่อนจากนั้นจึงนับระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนในการไปศึกษาต่อต่างประเทศครั้งที่1และครั้งที่2ต่อจากระยะเวลาที่ครบกำหนดการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศตามลำดับ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2ที่3รับผิดร่วมกับจำเลยที่1ในหนี้คนละจำนวนจำเลยที่2ที่3จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่ตนต้องรับผิดตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา: การหนีราชการถือเป็นการผิดสัญญา และเงินเดือนระหว่างทุนนำมาคำนวณค่าปรับได้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศ และได้รับทุนให้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ โดยทำสัญญาไว้ว่าจะกลับมารับราชการโดยไม่ลาออกหรือโอนไปรับราชการที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนดนั้น หากปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หนีราชการไปก่อนครบกำหนดระยะเวลา และกองทัพอากาศได้ปลดจำเลยที่ 1 ออกจากราชการเนื่องจากเหตุดังกล่าว ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เพราะคำว่า หนีราชการ เป็นถ้อยคำที่แสดงบ่งชัดให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่ามีเจตนาที่จะไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการ จึงจะอ้างว่ากองทัพอากาศปลดจำเลยที่ 1 ออกเอง อันไม่เป็นการผิดสัญญาหาได้ไม่
เงินเดือนที่จำเลยที่ 1 ได้รับในระหว่างไปศึกษาต่างประเทศนั้น อยู่ในความหมายของคำว่า เงินรายเดือนที่ทางราชการได้จ่ายให้เนื่องในการเดินทางและศึกษา ตามข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำให้ไว้แก่โจทก์และยอมชดใช้ในกรณีผิดสัญญา จึงนำเงินเดือนมารวมคำนวณคิดเป็นค่าปรับได้
การที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ 2 ครั้งในระหว่างที่ปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศยังไม่ครบกำหนดระยะเวลา โดยมีข้อสัญญาว่าจะยอมปฏิบัติราชการชดใช้ทุนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อจากสัญญาฉบับอื่นนั้น จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศก่อน จากนั้นจึงนับระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนในการไปศึกษาต่อต่างประเทศครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ต่อจากระยะเวลาที่ครบกำหนดการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศตามลำดับ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในหนี้คนละจำนวน จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่ตนต้องรับผิดตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา, การหนีราชการ, และความรับผิดร่วมในหนี้
จำเลยที่1ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศและได้รับทุนให้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยทำสัญญาไว้ว่าจะกลับมารับราชการโดยไม่ลาออกหรือโอนไปรับราชการที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนดนั้นหากปรากฏว่าจำเลยที่1หนีราชการไปก่อนครบกำหนดระยะเวลาและกองทัพอากาศได้ปลดจำเลยที่1ออกจากราชการเนื่องจากเหตุดังกล่าวดังนี้ถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาเพราะคำว่าหนีราชการเป็นถ้อยคำที่แสดงบ่งชัดให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่ามีเจตนาที่จะไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการจึงจะอ้างว่ากองทัพอากาศปลดจำเลยที่1ออกเองอันไม่เป็นการผิดสัญญาหาได้ไม่ เงินเดือนที่จำเลยที่1ได้รับในระหว่างไปศึกษาต่างประเทศนั้นอยู่ในความหมายของคำว่าเงินรายเดือนที่ทางราชการได้จ่ายให้เนื่องในการเดินทางและศึกษาตามข้อสัญญาที่จำเลยที่1ทำให้ไว้แก่โจทก์และยอมชดใช้ในกรณีผิดสัญญาจึงนำเงินเดือนมารวมคำนวณคิดเป็นค่าปรับได้ การที่จำเลยที่1ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ2ครั้งในระหว่างที่ปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาโดยมีข้อสัญญาว่าจะยอมปฏิบัติราชการชดใช้ทุนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อจากสัญญาฉบับอื่นนั้นจำเลยที่1จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศก่อนจากนั้นจึงนับระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนในการไปศึกษาต่อต่างประเทศครั้งที่1และครั้งที่2 ต่อจากระยะเวลาที่ครบกำหนดการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศตามลำดับ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2ที่3รับผิดร่วมกับจำเลยที่1ในหนี้คนละจำนวนจำเลยที่2ที่3จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่ตนต้องรับผิดตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับวันจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้างประสบอันตราย: หลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายเป็นรายเดือน หมายความว่าต้องจ่ายค่าทดแทนทุกเดือน เพื่อคุ้มครองมิให้ลูกจ้างต้องขาดรายได้นานเกินไปไม่ใช่ข้อกำหนดในการนับระยะเวลา ข้อความที่ว่าให้นับแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ไปจนตลอดเวลาที่ไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้ ไม่อาจแปลความได้ว่า ให้นับระยะเวลาเป็นรายวันติดต่อกัน กรณีถือได้ว่ากฎหมายแรงงานมิได้กำหนดการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนับตามหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาจ่ายค่าทดแทนกรณีประสบอันตราย: นับตามหลักทั่วไปประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายเป็น รายเดือน หมายความว่าต้องจ่ายค่าทดแทนทุกเดือน เพื่อคุ้มครองมิให้ลูกจ้างต้องขาดรายได้นานเกินไปไม่ใช่ข้อกำหนดในการนับระยะเวลา ข้อความที่ว่าให้นับแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ไปจนตลอดเวลาที่ไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้ ไม่อาจแปลความได้ว่าให้นับระยะเวลาเป็นรายวันติดต่อกัน กรณีถือได้ว่ากฎหมายแรงงานมิได้กำหนดการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนับตามหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาฎีกา: เริ่มนับในวันรุ่งขึ้นของวันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ทำให้การยื่นฎีกาภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 28กุมภาพันธ์ 2526 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือน คู่ความย่อมฎีกาได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2526 เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 158 เริ่มนับอายุฎีกา 1 ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งเป็น วันต้นของเดือน และครบ 1 เดือนตามปฏิทินในวันที่ 31 มีนาคมจำเลยยื่นฎีกาในวันที่ 29 มีนาคม 2526 จึงอยู่ภายในกำหนด1 เดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247
(อ้างคำสั่งคำร้องของศาลฎีกา ที่ 37/2484)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฎีกา: การนับอายุความเริ่มต้นในวันรุ่งขึ้นของวันอ่านคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2526 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนคู่ความย่อมฎีกาได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2526 เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 เริ่มนับอายุฎีกา 1 ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งเป็น วันต้นของเดือน และครบ 1 เดือนตามปฏิทินในวันที่ 31 มีนาคมจำเลยยื่นฎีกาในวันที่ 29 มีนาคม 2526 จึงอยู่ภายในกำหนด1 เดือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 (อ้างคำสั่งคำร้องของศาลฎีกา ที่ 37/2484)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อรับเงินบำเหน็จ เศษของปีเกิน 6 เดือนนับเป็น 1 ปี
ขณะลาออกโจทก์มีระยะเวลาปฏิบัติงานรวม 4 ปี 9 เดือน 9 วัน จำเลยมีข้อบังคับว่า พนักงานที่ลาออกหากมีระยะเวลาปฏิบัติงานครบ 5 ปีแล้วให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จและวิธีคำนวณระยะเวลาปฏิบัติงานตามข้อบังคับกำหนดว่าเศษของปีถ้าถึงหกเดือนให้นับเป็น 1 ปี ดังนี้ ถือว่าโจทก์มีระยะเวลาปฏิบัติงานครบ 5 ปี และมีสิทธิได้รับบำเหน็จ
of 18