คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธรรมบัณฑิตสิทธิศฤงคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,319 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบสิทธิหุ้นและผลผูกพันจากการชำระค่าหุ้น การแสดงเจตนาที่ชัดเจนของผู้โอนสิทธิ
โอนหุ้นที่จองไว้ เมื่อบริษัทได้ก่อตั้งขึ้นแล้ว ผู้โอนต้องไปจัดการโอนให้ผู้รับโอนตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728-730/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าเพื่ออยู่อาศัย vs. เช่าเพื่อค้า: เหตุผลการเช่าและสภาพการใช้งานเป็นหลัก
ในการที่จะวินิจฉัยว่าการเช่ารายใดเป็นการเช่าเพื่ออยู่อาศัยอันได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ หรือเป็นการเช่าเพื่อประกอบธุรกิจการค้าอันมีผลตรงข้ามนั้น จะถือหลักเกณฑ์ตายตัวแบบองค์ความผิดในทางอาญา เป็นต้นว่าที่เช่าอยู่ในทำเลการค้า จดทะเบียนการค้า ยอมให้ขึ้นค่าเช่าได้เรื่อยมา ถือว่าเป็นการเช่าเพื่อประกอบธุรกิจการค้าเช่นนั้นไม่ได้ เหตุผลเหล่านี้เป็นเพียงเครื่องประกอบข้อวินิจฉัยทั่วๆ ไปเท่านั้น และในเรื่องจดทะเบียนการค้า เมื่อผู้เช่าไปจดทะเบียนประเภทตรงตามที่จำเลยกระทำอยู่ เพื่อความสะดวกในการเรียกเก็บภาษีของเจ้าพนักงานส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่เป็นการเด็ดขาดตายตัวว่าเป็นการเช่าเพื่อประกอบธุรกิจการค้าขึ้นมาได้
หลักสำคัญอยู่ที่เหตุผลแห่งการเช่าและการค้าของผู้เช่าแต่ละรายในห้องเช่านั้นๆ ว่ามีอยู่มากหรือน้อยเพียงใด ตลอดจนรายได้จากการค้าดังกล่าว อันปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวนประกอบกับสภาพความจริงตามที่ศาลได้ไปตรวจดูสถานที่มานั้น ซึ่งควรที่จะได้บันทึกโดยละเอียดและชัดแจ้ง ย่อมชี้ถึงความจริงได้ว่าเป็นการเช่าเพื่อประกอบธุรกิจการค้าโดยตรง หรือเป็นการเช่าเพื่ออยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ หากแต่มีการค้าปะปนบ้างเล็กๆ น้อยๆ เพียงเพื่อการดำรงชีวิตของตนเองหรือครอบครัวเท่านั้น ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงโดยเฉพาะของแต่ละเรื่อง ไม่ใช่หลักเกณฑ์ตายตัวที่จะนำไปใช้กันได้ในทุกเรื่อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681-686/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิให้เช่าหลังยกตึกให้เทศบาล: คำพิพากษาตามยอมสร้างสิทธิได้ แม้ไม่มีสัญญาเช่าเป็นลายลักษณ์อักษร
เดิมโจทก์เช่าที่ดินจากเทศบาลปลูกตึกพิพาท และจำเลยเป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากโจทก์ ต่อมาเทศบาลได้ฟ้องขับไล่โจทก์ให้รื้อตึกพิพาท ในคดีนั้นศาลพิพากษาตามยอม คือโจทก์ยอมยกตึกพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของเทศบาลและทางเทศบาลยอมให้โจทก์เช่าตึกพิพาทต่อไปอีก 1 ปี โดยมีเงื่อนไขว่าให้โจทก์ไปทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือต่อเทศบาลภายในวันที่ 1 เม.ย.98 แต่แล้วโจทก์ก็มิได้ไปทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเลยเช่นนี้ คำพิพากษาตามยอมนั้นแสดงว่าเทศบาลยอมให้โจทก์เช่าตึกพิพาทนี้แล้วด้วย ส่วนเงื่อนไขที่ว่าต้องไปทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือนั้น เป็นแต่เพียงพิธีการ ภายหลังจากที่โจทก์ยกตึกพิพาทให้เทศบาลนั้นแล้ว เทศบาลไม่ได้เปลี่ยนแปลงฐานะที่จะให้เช่าโจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าตึกพิพาทและมีสิทธิฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ทรงเช็ค – การต่อสู้ของผู้สั่งจ่าย – การพิสูจน์การโอนเช็ค
เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คจำเลยจะอ้างว่าจำเลยออกเช็คให้บุคคลที่สามโดยถูกบุคคลที่สามหลอกลวง มาเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์หาได้ไม่เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล ซึ่งตกเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องสืบ หาใช่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงจะต้องสืบว่าได้รับโอนเช็คมาอย่างไรไม่
ในเรื่องเช็ค จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต แต่ไม่ได้กล่าวว่าไม่สุจริตอย่างไร ย่อมไม่มีประเด็นที่จะสืบ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ที่ห้ามไม่ให้ยกขึ้นต่อสู้กับผู้ทรงนั้น ได้รวมตลอดถึงห้ามผู้สั่งจ่ายด้วย และ มาตรานี้ซึ่งบัญญัติถึงเรื่องตั๋วแลกเงิน ก็อนุโลมมาใช้ในเรื่องเช็คได้ เพราะไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพูด 'ไม่ให้อยากได้ไปฟ้องเอา' ไม่ถือเป็นคำหมิ่นประมาท และการเลี้ยงดูต้องพิจารณาฐานะของผู้รับ
คำของผู้รับการให้โดยเสน่หาที่ว่า "ไม่ให้อยากได้ไปฟ้องเอา" นั้น หาใช่เป็นคำหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: สัญญาประนีประนอมจำกัดสิทธิหน้าที่บิดา
โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันแต่มิได้จดทะเบียนเกิดบุตรคนหนึ่งโจทก์จึงฟ้องจำเลยให้รับรองเด็กเป็นบุตรและให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแล้วโจทก์จำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมรับรองเด็กเป็นบุตรและจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์เป็นเดือนมีกำหนดเวลาโดยมิได้มีเงื่อนไขสงวนสิทธิใด ๆ ของโจทก์ไว้พ้นกำหนดแล้ว โจทก์จะมาฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรอีกไม่ได้ เป็นการฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าและการชำระค่าที่ดินเพิ่ม กรณีศาลไม่วินิจฉัยประเด็นเฉพาะเจาะจง
เมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยถึงคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับสิทธิการเป็นผู้เช่าของจำเลยตามกฎหมายแล้วจำเลยไม่สมประสงค์แต่ข้อที่ขอให้วินิจฉัยถึงค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเท่านั้นจึงอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาโดยเฉพาะประเด็นข้อนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาพิจารณาเห็นว่าไม่มีเหตุให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่คดีย่อมไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะคืนค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำให้การรับสารภาพหลังคดีเสร็จสำนวน: เหตุผลความสำคัญผิดที่ไม่สมควร
คดีอาญาที่จำเลยให้การรับสารภาพ และคู่ความไม่สืบพยานจนศาลนัดอ่านคำพิพากษาแล้วจำเลยมาขอถอนคำให้การเดิมและขอให้การปฏิเสธโดยอ้างว่าเพราะสำคัญผิดเช่นนี้ไม่เป็นเหตุผลอันควรอนุญาตให้จำเลยถอนคำให้การเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงบทกฎหมายโทษปรับจากการกระทำผิดจราจร ศาลสามารถลงโทษตามบทที่แก้ไขได้หากโทษไม่เปลี่ยนแปลง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทและหยุดรถในที่คับขัน ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2477 ม.14,29,66 แต่ปรากฎว่ามาตรา 66 นี้ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2481 มาตรา 4 เสียแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างถึงกฎหมายปี พ.ศ. 2481 ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียหายเสียเปรียบในเชิงคดี และจะถือว่าโจทก์ฟ้องความมิได้อ้างบทก็ไม่ได้ เพราะโจทก์อ้างไว้แล้วแต่ไม่ถูกบท โดยบทที่อ้างได้มีการเปลี่ยนแปลงให้อำนาจเจ้าพนักงานมากขึ้นเท่านั้น ส่วนโทษปรับมิได้เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงบทกฎหมายโทษอาญาหลังการแก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก: ศาลยังคงลงโทษได้ตามบทที่แก้ไข แม้ฟ้องอ้างบทเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทและหยุดรถในที่คับขัน ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 4,29,66. แต่ปรากฏว่ามาตรา 66 นี้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2481 มาตรา 4 เสียแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างถึงกฎหมายปี พ.ศ.2481 ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียหายเสียเปรียบในเชิงคดี และจะถือว่าโจทก์ฟ้องความมิได้อ้างบทก็ไม่ได้ เพราะโจทก์อ้างไว้แล้วแต่ไม่ถูกบท โดยบทที่อ้างได้มีการเปลี่ยนแปลงให้อำนาจเจ้าพนักงานมากขึ้นเท่านั้น ส่วนโทษปรับมิได้เปลี่ยนแปลง
of 132