คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 412

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาภมิควรได้จากบัตรภาษีชดเชยค่าภาษีออก: การคืนเงินเมื่อรับโอนโดยสุจริตและนำไปใช้ชำระภาษีแล้ว
ในการอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลภาษีอากรกลางรับรองว่าคดีของจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลภาษีอากรกลางรับรองว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตามคำร้องของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ดังนี้ แม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามที่ยกเว้นใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกต่อโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออก ขอโอนสิทธิรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 6 โจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยค่าภาษีอากรดังกล่าวโดยออกบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 6 ตามคำขอของจำเลยที่ 1 แล้ว ต่อมาโจทก์พบว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ เอกสารที่จำเลยที่ 1 ยื่นประกอบคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรเป็นเอกสารเท็จและเอกสารปลอม จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรตามคำขอที่จำเลยที่ 1 ยื่นต่อโจทก์และไม่มีสิทธิขอโอนบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 6 จำเลยที่ 3 และที่ 6 ไม่มีสิทธิได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ ดังนี้ ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 จงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 6 ไม่ปรากฏว่ามีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์จึงเป็นการได้บัตรภาษีไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจำเลยที่ 3 และที่ 6 ต้องรับผิดคืนบัตรภาษีแก่โจทก์ในมูลลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ว่า ในการรับโอนบัตรภาษีจำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้ยื่นคำร้องขอรับโอนบัตรภาษีต่อโจทก์ระบุว่า "กรณีที่เกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่กรมศุลกากร (โจทก์) ไม่ว่ากรณีใด ๆ ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 3 และที่ 6) ยินยอมรับผิดต่อกรมศุลกากร (โจทก์) ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น" จำเลยที่ 3 และที่ 6 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่ได้ให้คำรับรองไว้นั้น เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้แสดงเจตนายินยอมรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่เกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาและเป็นคนละข้อหากับความผิดฐานละเมิดและลาภมิควรได้ตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงสภาพแห่งข้อหานี้มาในคำฟ้องจึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง แม้ศาลภาษีอากรกลางจะได้ยกความข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยเป็นคุณแก่โจทก์ในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ในคำแก้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัย
บัตรภาษีออกให้แทนการคืนเงินชดเชยค่าภาษีอากรเป็นเงินสดเพื่อให้ผู้รับนำบัตรภาษีไปใช้แทนเงินสดในการชำระค่าภาษีอากรแก่โจทก์ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต หรือภาษีอากรอื่นตามมูลค่าของบัตรภาษีตามที่บัญญัติใน พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรฯ มาตรา 4 และ 18 จึงถือได้ว่าเป็นเงินจำนวนหนึ่งและ ป.พ.พ. มาตรา 412 บัญญัติว่า "ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ท่านว่าต้องคืนเต็มจำนวนนั้น เว้นแต่เมื่อบุคคลได้รับไว้โดยสุจริตจึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน" เมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้รับโอนบัตรภาษีโดยสุจริต จึงต้องคืนบัตรภาษีตามมูลค่าที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 3 และที่ 6 นำบัตรภาษีที่ได้รับไปชำระค่าภาษีอากรแล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 6 จึงไม่ต้องรับผิดคืนบัตรภาษีหรือชดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6784/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับโอนบัตรภาษีจากทุจริตในการขอรับเงินชดเชยฯ และอายุความของสิทธิเรียกร้อง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 ความตกลงทำใว้ล่วงหน้าที่จะตกเป็นโมฆะจะต้องมีข้อความยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์กรณีเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดๆ จึงมิใช่สัญญาที่ยกเว้นให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นโมฆะ และเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี เนื่องจากกระทำการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนบัตรภาษีจึงต้องรับผิดตามที่ให้สัญญาแก่โจทก์ไม่จำต้องนำบทบัญญัติ มาตรา 412 ถึง 418 แห่ง ป.พ.พ.ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม เพราะกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดตามสัญญาที่ให้ไว้แก่โจทก์โดยเฉพาะอันเป็นนิติกรรมแล้ว
ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาในคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีนั้นไม่ปรากฏว่า ป.พ.พ. กับ พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรฯ ได้มีบัญญัติอายุความกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่นนี้ไว้โดยเฉพาะ กรณีจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6459/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาภมิควรได้จากบัตรภาษี: สุจริต, การคืนเงิน, และข้อยกเว้นตามกฎหมาย
บัตรภาษีมีมูลค่าเป็นเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในบัตรภาษีนำไปใช้แทนเงินสดในการชำระภาษีแก่กรมศุลกากร กรมสรรพากร และกรมสรรพสามิตได้ หากการได้รับบัตรภาษีไว้เป็นลาภมิควรได้ก็ต้องถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับไว้ดังกล่าวเป็นเงินจำนวนหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 412
กฎหมายบัญญัติหลักในการคืนเงินที่เป็นลาภมิควรได้ว่า ผู้ได้รับนั้นต้องคืนเงินเต็มจำนวน ส่วนการคืนลาภมิควรได้เพียงบางส่วนที่ยังคงมีอยู่ในขณะที่เรียกคืนเพราะได้รับมาโดยสุจริตเป็นข้อยกเว้น เมื่อจำเลยอ้างว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากข้อยกเว้นตามกฎหมายดังกล่าว จำเลยต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การของตน เพราะปัญหาว่าสุจริตหรือไม่เป็นข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยรับเงินซึ่งเป็นลาภมิควรได้ไว้โดยสุจริตหรือไม่ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยคำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง แม้โจทก์และจำเลยไม่ยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นการคำนวณและระบุจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษาไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9220/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารแปล & อายุความฟ้องเรียกเงินคืน
โจทก์อ้างเอกสารที่เป็นภาษาอังกฤษพร้อมคำแปลซึ่งมีผู้แปลอาชีพเป็นผู้แปลประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ จำเลยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ขณะเบิกความถึงเอกสารดังกล่าวว่าคำแปลไม่ถูกต้อง ทั้งกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องนำผู้แปลเอกสารภาษาต่างประเทศมาสืบเพื่อรับรองความถูกต้องของคำแปล เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลตอนไหนไม่ถูกต้องและคลาดเคลื่อนอย่างไร จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะโต้แย้งหรือเสนอคำแปลที่ถูกต้องได้ แต่จำเลยที่ 1 หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จึงถือได้ว่าคำแปลดังกล่าวถูกต้องแล้ว และศาลชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
ธนาคารโจทก์สาขาท่าแพโอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 รวม 2 ครั้ง ต่อมาวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 หัวหน้าศูนย์บริการการค้าต่างประเทศของโจทก์ สาขาท่าแพ ตรวจสอบการจ่ายเงินให้ลูกค้าทั้งสองครั้ง พบว่าเป็นการจ่ายตามคำสั่งของลูกค้าต่างประเทศเพียงครั้งเดียว จึงถือว่าโจทก์ทราบเหตุการโอนเงินผิดพลาดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2537 จึงยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืน คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะกรรมหมั้นและการคืนสินสอด: สัญญาที่ทำขึ้นภายหลังยังผูกพันได้
ในขณะที่ อ. ทำการหมั้นกับ บ. นั้น บ. อายุยังไม่ครบ 17 ปี บริบูรณ์ โดยมีอายุเพียง 15 ปีเศษ การหมั้นดังกล่าวจึงฝ่าฝืนบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1435 วรรคหนึ่ง ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 วรรคสอง นอกจากนี้มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่า บ. อายุไม่ครบ 17 ปี จำเลยและ บ. จึงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตามมาตรา 412 และ 413 โดยจะถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามอำเภอใจตามมาตรา 407 หาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบิดาและมารดาของ อ. และ บ. ทำบันทึกข้อตกลงภายหลังที่ อ. กับ บ. เลิกการอยู่กินเป็นสามีภริยากันว่าจำเลยตกลงจะคืนสินสอดและของหมั้นแก่โจทก์ จึงมีมูลหนี้และใช้บังคับได้ หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะของการหมั้นและการแต่งงานเมื่ออายุไม่ครบ 17 ปี และผลกระทบต่อการคืนของหมั้นสินสอด
ในขณะที่นาย อ. ทำการหมั้นกับนางสาว บ. นั้น นางสาว บ. อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ โดยมีอายุเพียง 15 ปีเศษ การหมั้นดังกล่าวจึงฝ่าฝืนบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1435 วรรคหนึ่ง ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 วรรคสอง นอกจากนี้มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่านางสาว บ. อายุไม่ครบ 17 ปี จำเลยและนางสาว บ. จึงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตามมาตรา 412 และ 413 โดยจะถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามอำเภอใจตามมาตรา 407 หาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบิดาและมารดาของนาย อ. และนางสาว บ. ทำบันทึกข้อตกลงภายหลังที่นาย อ. กับนางสาว บ. เลิกการอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ว่าจำเลยตกลงจะคืนเงินสินสอดและของหมั้นแก่โจทก์ จึงมีมูลหนี้และใช้บังคับได้ หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2547

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะสัญญาขายฝาก, ลาภมิควรได้, การคืนเงิน, ดอกเบี้ยผิดนัด, เพิกถอนทะเบียน
เมื่อสัญญาขายฝากที่ดิน น.ส.3 ตกเป็นโมฆะ การคืนทรัพย์สินอันเกิดจากนิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้นต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับกล่าวคือ ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่งก็ต้องคืนเต็มจำนวนนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสองและโจทก์ทั้งสองมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ เพราะเป็นหนี้เงิน แต่ไม่ปรากฏชัดเจนว่าได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 คืนเงินที่รับไว้และจำเลยที่ 1 ทราบแล้วตั้งแต่เมื่อใด โจทก์ทั้งสองคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ได้นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป โดยถือว่าเป็นวันที่โจทก์ทั้งสองทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5176/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินที่ได้รับเกินจากการโอนเงินซ้ำซ้อน และอายุความลาภมิควรได้เริ่มต้นเมื่อตรวจพบข้อผิดพลาด
จำเลยเปิดบัญชีกับโจทก์สองบัญชี เป็นบัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์ที่สาขาย่อยสะพานปลาระนอง เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 ลูกค้าของจำเลยนำเช็คธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวนเงิน 1,000,000 บาท พร้อมเงินสด59,518 บาท มาฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยโดยวิธีโอนเงินจากสาขาระนองมายังสาขาย่อยสะพานปลาระนอง สาขาระนองดำเนินการโอนเงินแล้ว ปรากฏที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ว่าการสื่อสารปลายทางขัดข้อง ลูกค้าของโจทก์จึงนำเช็คพร้อมเงินสดจำนวนดังกล่าวกลับไป แล้วนำไปฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองในวันเดียวกัน ต่อมาโจทก์ตรวจสอบบัญชีของโจทก์พบว่าเกิดการผิดพลาดเพราะสาขาระนองสามารถโอนเงินจำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยในวันที่ 28 ธันวาคม 2537 ได้ บัญชีของจำเลยจึงมีรายการซ้ำซ้อน ทำให้เงินในบัญชีของจำเลยเพิ่มขึ้น 1,059,518 บาท ดังนี้ เมื่อลูกค้าของจำเลยรับเช็คและเงินสดคืนไปจากโจทก์สาขาระนองและนำมาเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองแล้ว สาขาระนองของโจทก์จึงไม่ต้องโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองอีก การที่เกิดการผิดพลาดโดยสาขาระนองของโจทก์โอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองอีกและจำเลยรับเงินจำนวนที่โอนมาไว้โดยที่จำเลยได้รับเงินจำนวนเดียวกันจากลูกค้าของจำเลยแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยรับเงินจากโจทก์ไว้โดยสุจริต จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับเกินมาทั้งหมดให้โจทก์ และอายุความเรื่องลาภมิควรได้ในกรณีเช่นนี้ ย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่ฝ่ายตรวจสอบบัญชีของโจทก์ตรวจพบในวันที่ 24 มีนาคม 2538โจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามป.พ.พ.มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5176/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเงินผิดพลาดและอายุความลาภมิควรได้ จำเลยต้องคืนเงินที่รับเกินมาทั้งหมด
จำเลยเปิดบัญชีกับโจทก์สองบัญชี เป็นบัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์ที่สาขาย่อยสะพานปลาระนอง เมื่อวันที่ 28ธันวาคม 2537 ลูกค้าของจำเลยนำเช็คธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวนเงิน 1,000,000 บาท พร้อมเงินสด 59,518 บาท มาฝากเข้า บัญชีออมทรัพย์ของจำเลยโดยวิธีโอนเงินจากสาขาระนอง มายังสาขาย่อยสะพานปลาระนอง สาขาระนอง ดำเนินการโอนเงินแล้วปรากฏที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ว่าการสื่อสารปลายทางขัดข้อง ลูกค้าของโจทก์จึงนำเช็คพร้อมเงินสดจำนวนดังกล่าวกลับไป แล้วนำไปฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่สาขาย่อย สะพานปลาระนอง ในวันเดียวกัน ต่อมาโจทก์ตรวจสอบบัญชีของโจทก์พบว่าเกิดการผิดพลาดเพราะสาขาระนองสามารถโอนเงินจำนวนดังกล่าวเข้า บัญชีเงินฝากของจำเลยในวันที่ 28 ธันวาคม 2537 ได้บัญชีของจำเลยจึงมีรายการซ้ำซ้อน ทำให้เงินในบัญชีของจำเลย เพิ่มขึ้น 1,059,518 บาท ดังนี้ เมื่อลูกค้าของจำเลยรับเช็ค และเงินสดคืนไปจากโจทก์สาขาระนองและนำมาเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองแล้ว สาขาระนอง ของโจทก์จึงไม่ต้องโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยที่สาขาย่อย สะพานปลาระนองอีก การที่เกิดการผิดพลาดโดยสาขาระนอง ของโจทก์โอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองอีกและจำเลยรับเงินจำนวนที่โอนมาไว้โดยที่จำเลยได้รับเงิน จำนวนเดียวกันจากลูกค้าของจำเลยแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยรับ เงินจากโจทก์ไว้โดยสุจริต จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับเกินมา ทั้งหมดให้โจทก์ และอายุความเรื่องลาภมิควรได้ในกรณีเช่นนี้ ย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่ฝ่ายตรวจสอบบัญชีของโจทก์ตรวจพบ ในวันที่ 24 มีนาคม 2538 โจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5643/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังล้มละลายเป็นโมฆะ ผู้รับชำระต้องคืนเงินและเสียดอกเบี้ย
คำว่า "ศาล" ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 24หมายถึงศาลที่มีคำสั่งหรือความเห็นชอบในการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้เฉพาะในกรณีที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เท่านั้น
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งหรือให้ความเห็นชอบในกรณีที่จำเลยผ่อนชำระเงินตามเช็คให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเพื่อให้ผู้คัดค้านถอนฟ้องคดีอาญาแก่จำเลย แม้ศาลในคดีอาญาจดรายงานกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านและให้เลื่อนการพิพากษาคดีอาญาไป ก็หาใช่ศาลที่ให้ความยินยอมตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 24 ไม่
ปัญหาที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 22 และ 24 ไม่ได้บัญญัติให้อำนาจผู้ร้องที่จะร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ของจำเลยได้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้นั้นแม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำคัดค้าน และมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่กรณีเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง และ 249 วรรคสองประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้ให้เป็นการไม่ชอบ และแม้ผู้คัดค้านจะมิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ แต่กลับยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็วินิจฉัยให้ได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
การชำระหนี้ของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านเป็นการชำระหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา22 และ 24 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องซึ่งมีอำนาจในการจัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยย่อมมีอำนาจร้องขอให้ผู้คัดค้านคืนเงินที่จำเลยชำระได้
ปัญหาที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ต้องคืนด้วยนั้นไม่ชอบ เพราะผู้คัดค้านรับชำระหนี้จากจำเลยโดยสุจริต เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการชำระหนี้ของจำเลยขัดต่อมาตรา 22 และ 24 ไม่ว่าผู้คัดค้านจะทราบว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่นั้น ไม่ชอบด้วยเช่นกัน เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้าน ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้
การชำระหนี้ของจำเลยตกเป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22 และ 24 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เงินที่ผู้คัดค้านรับไว้จากจำเลย จะต้องคืนให้แก่จำเลยฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 412แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องคดีนี้ ผู้ร้องได้เรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินให้จึงต้องถือว่าผู้ร้องเรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินนับแต่วันยื่นคำร้องในคดีนี้เป็นต้นไป
คดีนี้ผู้คัดค้านจะอ้างว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยสุจริตเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ไม่ได้ เพราะผู้ร้องมิได้ร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามบทมาตราดังกล่าว ทั้งการร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามมาตรา 114 จะต้องเป็นการกระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังเท่านั้น อันหมายถึงการชำระหนี้ที่กระทำก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หาใช่เป็นการชำระหนี้ที่กระทำหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดดังเช่นคดีนี้ไม่ ดังนี้ การชำระหนี้ของจำเลยจึงขัดต่อมาตรา 22 และ 24 ไม่ว่าผู้คัดค้านจะทราบว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่และตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ ผู้ร้องย่อมร้องขอให้ผู้คัดค้านคืนเงินในส่วนนี้ได้
of 4