พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาและการล้างมลทิน: ผลกระทบเมื่อคดีถึงที่สุดก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษและเพิ่มโทษจำเลยจนคดีถึงที่สุดและจำเลยได้รับโทษจำคุกในคดีซึ่งมีการเพิ่มโทษครบแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขการเพิ่มโทษดังกล่าว และเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วศาลจะแก้ไขคำพิพากษาเกี่ยวกับการเพิ่มโทษหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่การแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8970/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิ่มโทษจำเลยไม่ได้เนื่องจากเคยต้องโทษในคดีก่อนและพ้นโทษแล้วก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทิน
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยกระทำความผิดในคดีก่อนเมื่ออายุ 14 ปีเศษและจำเลยได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้นั้น แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงสามารถหยิกยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ขณะกระทำความผิดในคดีก่อนจำเลยมีอายุ 14 ปีเศษ เมื่อความผิดที่ได้กระทำในขณะมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 94 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยจึงไม่ชอบ ประกอบกับโจทก์ฟ้องว่าจำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวแล้วกลับมากระทำความผิด คดีนี้อีกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 แสดงให้เห็นว่าจำเลยพ้นโทษในคดีก่อนตั้งแต่ก่อนวันที่ 24 มีนาคม 2548 แล้ว เมื่อ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 2 บัญญัติให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป และมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในคดีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้นเมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยต้องโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยจึงได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้
ขณะกระทำความผิดในคดีก่อนจำเลยมีอายุ 14 ปีเศษ เมื่อความผิดที่ได้กระทำในขณะมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 94 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยจึงไม่ชอบ ประกอบกับโจทก์ฟ้องว่าจำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวแล้วกลับมากระทำความผิด คดีนี้อีกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 แสดงให้เห็นว่าจำเลยพ้นโทษในคดีก่อนตั้งแต่ก่อนวันที่ 24 มีนาคม 2548 แล้ว เมื่อ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 2 บัญญัติให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป และมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในคดีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้นเมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยต้องโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยจึงได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4068/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษทางอาญา: การบวกโทษคดีเก่า, ผลกระทบ พ.ร.บ.ล้างมลทิน, และการริบของกลาง
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มีผลให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ที่ได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับเท่านั้น จำเลยที่ 1 ได้รับการรอการลงโทษ ย่อมไม่มีวันพ้นโทษ ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงไม่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาลสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550
แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ขอให้บวกโทษและไม่ฎีกา ก็เป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก ศาลย่อมบวกโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับการรอการลงโทษไว้ในคดีก่อนได้
แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ขอให้บวกโทษและไม่ฎีกา ก็เป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก ศาลย่อมบวกโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับการรอการลงโทษไว้ในคดีก่อนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาหลังพ.ร.บ.ล้างมลทิน ศาลฎีกาแก้ไขได้หากจำเลยได้รับประโยชน์ตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2551 ซึ่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับแล้ว เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้ต้องโทษและพ้นโทษแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับอันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยจึงเป็นการพิพากษาโดยมีข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 190 บัญญัติให้แก้ไขคำพิพากษาซึ่งอ่านแล้วได้เฉพาะถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดเท่านั้น มิได้บัญญัติรวมถึงการแก้ไขกรณีมีข้อผิดหลงเล็กน้อยไว้เหมือนดังเช่น ป.วิ.พ. มาตรา 143 ดังนี้ แม้คดีจะถึงที่สุดไปแล้ว แต่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากพ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ขอให้งดเพิ่มโทษจำเลย เท่ากับจำเลยร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นให้ถูกต้องและคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพราะมิใช่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22134/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบ พ.ร.บ.ล้างมลทิน ต่อการเพิ่มโทษในคดีอาญา: การถอนฎีกาทำให้คดีไม่ตกอยู่ในอำนาจศาล
ระหว่างที่จำเลยยังไม่ยื่นคำร้องขอถอนฎีกาได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาลสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ใช้บังคับแล้ว แต่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอถอนฎีกาและศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนฎีกากับจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลฎีกา จึงไม่มีคดีของจำเลยอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาอีก เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 ลงโทษและเพิ่มโทษจำเลยก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ แม้ความผิดซึ่งจำเลยต้องโทษในคดีก่อนที่เป็นเหตุถูกเพิ่มโทษในคดีนี้จะเกิดขึ้นก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และจำเลยได้พ้นโทษในคดีก่อนแล้วก็ตามก็ไม่เป็นเหตุให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขการเพิ่มโทษคดีนี้ได้เพราะมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ซึ่งถึงที่สุดแล้วขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยจากประวัติอาชญากรรมเดิมถูกจำกัดโดย พ.ร.บ.ล้างมลทิน และศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบจำเลยว่า เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษหรือไม่และโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏก็ตาม แต่จำเลยเบิกความตอบโจทก์ถามค้านว่าเคยต้องโทษในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษจริง ถือว่าความปรากฏแก่ศาลแล้ว การที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยปัญหาข้อนี้จึงไม่ชอบ แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 ที่บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้น เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยพ้นโทษมาแล้วก่อนวันที่ พระราชบัญญัติใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลมีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวข้องกับการวางโทษทวีคูณ, การล้างมลทิน, และการบังคับคดีปรับที่ผิดลำดับตามกฎหมาย
การให้ถ้อยคำของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนเป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่จะให้การอย่างไรหรือไม่ให้การก็ได้ ในกรณีที่ผู้ต้องหาให้การเหมือนๆ กันหรือทำนองเดียวกัน บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของผู้ต้องหาย่อมมีโอกาสเหมือนหรือคล้ายกัน และในการทำความเห็นสั่งฟ้องคดี หากพนักงานอัยการเห็นว่าการสอบสวนไม่ชอบ ไม่ถูกต้อง ย่อมจะส่งสำนวนการสอบสวนกลับไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมหรือปฏิบัติเสียใหม่ให้ถูกต้อง ประกอบกับวิทยาการสมัยใหม่ที่เอกสารสอบสวนสองฉบับจะมีข้อความตรงกันย่อมเกิดขึ้นได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้ลงชื่อในบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา ย่อมถือว่าการสอบสวนคดีนี้ชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 แต่ตามมาตรา 27 ของกฎหมายใหม่ยังคงบัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดรับคนต่างด้าวเข้าทำงานเช่นเดียวกันกับกฎหมายเดิม เว้นแต่คนต่างด้าวซึ่งมีใบอนุญาตทำงาน กรณีจึงไม่ถือว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกความผิดของจำเลยที่ 1 อย่างไรก็ตามโทษปรับในความผิดฐานรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตเข้าทำงาน ตามกฎหมายเดิมเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า จึงต้องใช้โทษปรับตามกฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 3
ก่อนคดีนี้ จำเลยที่ 1 เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ลงโทษปรับ 240,000 บาท และต้องคำพิพากษาในความผิดเดียวกัน ให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน และปรับ 22,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี คดีนี้ จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ อีก ซึ่งพ้นโทษในคดีก่อนยังไม่ครบ 5 ปี กรณีต้องมีการวางโทษทวีคูณแก่จำเลยที่ 1 ในคดีนี้ แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำความผิดคดีนี้หลังจากได้ชำระค่าปรับครบถ้วนและพ้นกำหนดรอการลงโทษจำคุกในคดีก่อนที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้วางโทษทวีคูณคดีนี้แล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ต้องโทษและได้พ้นโทษในคดีก่อนไปแล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้จะใช้บังคับและได้รับการล้างมลทินโดยถือว่าจำเลยที่ 1 มิเคยถูกลงโทษในความผิดนี้มาก่อนตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่อาจวางโทษทวีคูณแก่จำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้
ป.อ. มาตรา 29 บัญญัติว่า "ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ..." การที่ศาลทรัพย์สินฯ พิพากษาว่า "หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้กักขังแทนค่าปรับ" ไปเสียเลย จึงเป็นการบังคับค่าปรับผิดลำดับตามบทกฎหมาย ต้องแก้เป็นว่า หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการ ตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 หากจะกักขังให้กักขังแทนค่าปรับไม่เกิน 1 ปี
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2553)
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 แต่ตามมาตรา 27 ของกฎหมายใหม่ยังคงบัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดรับคนต่างด้าวเข้าทำงานเช่นเดียวกันกับกฎหมายเดิม เว้นแต่คนต่างด้าวซึ่งมีใบอนุญาตทำงาน กรณีจึงไม่ถือว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกความผิดของจำเลยที่ 1 อย่างไรก็ตามโทษปรับในความผิดฐานรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตเข้าทำงาน ตามกฎหมายเดิมเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า จึงต้องใช้โทษปรับตามกฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 3
ก่อนคดีนี้ จำเลยที่ 1 เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ลงโทษปรับ 240,000 บาท และต้องคำพิพากษาในความผิดเดียวกัน ให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน และปรับ 22,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี คดีนี้ จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ อีก ซึ่งพ้นโทษในคดีก่อนยังไม่ครบ 5 ปี กรณีต้องมีการวางโทษทวีคูณแก่จำเลยที่ 1 ในคดีนี้ แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำความผิดคดีนี้หลังจากได้ชำระค่าปรับครบถ้วนและพ้นกำหนดรอการลงโทษจำคุกในคดีก่อนที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้วางโทษทวีคูณคดีนี้แล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ต้องโทษและได้พ้นโทษในคดีก่อนไปแล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้จะใช้บังคับและได้รับการล้างมลทินโดยถือว่าจำเลยที่ 1 มิเคยถูกลงโทษในความผิดนี้มาก่อนตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่อาจวางโทษทวีคูณแก่จำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้
ป.อ. มาตรา 29 บัญญัติว่า "ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ..." การที่ศาลทรัพย์สินฯ พิพากษาว่า "หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้กักขังแทนค่าปรับ" ไปเสียเลย จึงเป็นการบังคับค่าปรับผิดลำดับตามบทกฎหมาย ต้องแก้เป็นว่า หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการ ตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 หากจะกักขังให้กักขังแทนค่าปรับไม่เกิน 1 ปี
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14087/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขโทษหลังคดีถึงที่สุด: ผลของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน และข้อยกเว้น ป.วิ.อ. มาตรา 190
ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2550 ว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสอง จำคุก 7 ปี และปรับ 400,000 บาท เพิ่มโทษกึ่งหนึ่งเป็นจำคุก 10 ปี 6 เดือน และปรับ 600,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 5 ปี 3 เดือน และปรับ 300,000 บาท ต่อมาวันที่ 4 มิถุนายน 2551 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่าจำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้นั้น เห็นว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษและเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 จนคดีถึงที่สุดแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขการเพิ่มโทษในคดีหลังได้ และเมื่อศาลอ่านคำพิพากษาจนคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลนั้นจะแก้ไขคำพิพากษาเกี่ยวกับการเพิ่มโทษหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่การแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดซึ่งขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 และกรณีดังกล่าวไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่จะทำให้ศาลมีอำนาจยกคดีขึ้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2553)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8129/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง แม้โจทก์มิได้ขอ และผลกระทบของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 ที่บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ มีผลเพียงให้ถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษจำคุกเท่านั้น มิได้มีผลถึงกับให้ถือว่าความประพฤติของจำเลยที่เป็นเหตุให้ต้องรับโทษจำคุกนั้นถูกล้างไปด้วย
แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีเดิมเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ แต่เมื่อจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ภายในกำหนดระยะเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนก็ต้องนำโทษจำคุกที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก
แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีเดิมเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ แต่เมื่อจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ภายในกำหนดระยะเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนก็ต้องนำโทษจำคุกที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกและผลของการรอการลงโทษ/กำหนดโทษต่อการล้างมลทินในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
คดีอาญาที่ศาลเพียงแต่ลงโทษปรับและจำเลยได้ชำระค่าปรับแล้วคดีถึงที่สุด ถือว่า จำเลยเป็นผู้ต้องโทษและได้พ้นโทษไปแล้ว
คดีอาญาที่ศาลลงโทษจำคุกและปรับแต่โทษจำคุกให้รอการลงอาญากับอีกคดีที่ศาลรอการกำหนดโทษ กรณีของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่ผู้ต้องโทษตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550
คดีอาญาที่ศาลลงโทษจำคุกและปรับแต่โทษจำคุกให้รอการลงอาญากับอีกคดีที่ศาลรอการกำหนดโทษ กรณีของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่ผู้ต้องโทษตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550