คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 277

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พรากเด็กหญิงเพื่ออนาจาร แม้ผู้เสียหายเต็มใจไปก็เป็นความผิด เจตนาจำเลยสำคัญกว่า
ความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่ออนาจาร ไม่ว่าผู้เสียหายจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจไปกับจำเลยก็เป็นความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ถือเจตนาของจำเลยที่พาไปหรือแยกผู้เสียหายออกจากความดูแลของบิดามารดาของผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราผู้เยาว์โดยมีตัวการร่วม ข่มขู่ และผลกระทบต่อการแจ้งความล่าช้า
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 3 ได้ช่วยจำเลยที่ 3 ถอดเสื้อผ้าผู้เสียหายออกระหว่างนั้นก็คอยปิดปากและจับแขนผู้เสียหายไว้เหนือศีรษะให้จำเลยที่ 3 กระทำชำเราจนสำเร็จความใคร่ ถือได้ว่าเป็นตัวการร่วมในการกระทำชำเราผู้เสียหายแล้วตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 83
การที่ผู้เสียหายเบิกความถึงเหตุการณ์หลังจากถูกกระทำชำเราแล้วจำเลยที่ 2 และที่ 3 ข่มขู่ว่าหากเอาเรื่องไปบอกคนอื่นจะฆ่าให้ตาย ผู้เสียหายเคยเล่าเรื่องให้จำเลยที่ 1 ฟังแต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ ซ้ำยังถูกจำเลยที่ 2 ตบอีกอันเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เสียหายเกรงกลัว ไม่กล้าเล่าให้ผู้ใดฟัง ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์อายุเพียง 14 ปีเศษ มีการศึกษาน้อยไม่เคยอยู่ที่จังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นจังหวัดเกิดเหตุมาก่อน ไม่ทราบว่าสถานีตำรวจอยู่ที่ไหนและจะต้องดำเนินการอย่างไร เมื่อสบโอกาสเพราะบ้านเกิดเหตุปลอดคน ผู้เสียหายจึงหนีกลับบ้านที่จังหวัดเพชรบุรีแล้วเล่าเรื่องให้ ล. ฟังนั้น เป็นการเบิกความถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับและสมเหตุผล แม้ว่าเมื่อเกิดเหตุแล้วผู้เสียหายไม่ได้รีบแจ้งความก็ไม่เป็นพิรุธเพราะถูกขู่เอาไว้ส่วนที่ ล. เบิกความว่าไม่ได้รีบแจ้งความทันทีเพราะไม่อาจตัดสินใจว่าจะจัดการอย่างไร เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีพระคุณต่อผู้เสียหายมาก่อน ต้องรอปรึกษามารดาจำเลยที่ 1 ก่อนแล้วจึงไปแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า ล. เคยมีเหตุโกรธเคืองกับจำเลยที่ 3 มาก่อน จึงไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะกลั่นแกล้งหรือปรักปรำจำเลยที่ 3 คำเบิกความดังกล่าวของ ล. จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9742/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานกระทำชำเรา/ข่มขืนกระทำชำเราหลายกรรมต่างวาระกันชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่กับจำเลยและจำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายตั้งแต่ปี 2539 ถึงปี 2542 โดยจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายขณะผู้เสียหายเป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี 2 กรรม ต่อมาจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอีก 38 กรรม หลังจากข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในแต่ละกรรม จำเลยมิได้ควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้ในสถานที่เกิดเหตุเพื่อกระทำชำเราผู้เสียหายในครั้งต่อไปแต่อย่างใด ผู้เสียหายคงอยู่บ้านและไปทำงานได้ตามปกติดังนี้ ผู้เสียหายย่อมพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยในแต่ละกรรมแล้ว แม้จำเลยจะกระทำชำเราผู้เสียหายในแต่ละเดือนจำนวนหลายครั้ง และในแต่ละครั้งจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเดียวกันคือกระทำชำเราก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยในแต่ละครั้งแต่ละกรรมเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายคนละวันต่างวาระกัน และมิได้กระทำต่อเนื่องกันโดยหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายไว้จนผู้เสียหายไม่สามารถไปไหนได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7664/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงที่มิได้รับอนุญาตสมรส และเจตนาในการกระทำความผิดต่างกรรมกัน
การกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำผิดได้รับการยกเว้นโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสุดท้าย จะต้องเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและต่อมาภายหลังศาลอนุญาตให้ชายหญิงนั้นสมรสกัน คดีนี้ แม้ว่าภายหลังการกระทำผิดจำเลยกับผู้เสียหายจะจดทะเบียนสมรสกัน แต่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายไม่ยินยอมและศาลก็มิได้อนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายสมรสกัน การกระทำของจำเลยจึงไม่ได้รับยกเว้นโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6510/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามข่มขืนกระทำชำเรา: การลงมือกระทำความผิดแต่ไม่สำเร็จ และอำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย
ผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย แต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักฐานทางวิชาการที่ น่าเชื่อถือและเชื่อได้ว่าจำเลยยังมิได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การที่จำเลยพาผู้เสียหายเข้าไปในโรงแรมแล้วกอดปล้ำ ผู้เสียหาย ถอดเสื้อผ้าของผู้เสียหายออกเพื่อจะข่มขืนกระทำชำเราโดยมีเจตนาจะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย อวัยวะเพศของจำเลยคงจะเสียดสีกับอวัยวะเพศของผู้เสียหายจนทำให้เกิดรอยแดงด้านนอกของอวัยวะเพศของผู้เสียหายและหากอวัยวะเพศของจำเลยล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายเยื่อพรหมจารีของผู้เสียหายคงต้องมีร่องรอยฉีกขาด การกระทำของจำเลยเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิด แต่กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล จึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย
ปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จหรืออยู่ในขั้นพยายามกระทำความผิดเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงที่ยินยอมและสมรสภายหลัง: ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุไม่เกิน15 ปี โดยผู้เสียหายยินยอมย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่ง แต่ในวรรคท้ายบัญญัติว่า ความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่า 13 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ มีความหมายว่าในกรณีที่ชายและเด็กหญิงมีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448 หากจะสมรสกันอันจะทำให้ชายไม่ต้องรับโทษต้องมีคำสั่งของศาลอนุญาตให้ทำการสมรส ฉะนั้น เมื่อขณะที่จำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสกันนั้น ทั้งจำเลยและผู้เสียหายมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว ย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล จำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายอิสลามแล้ว ย่อมเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานชำเรา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย ที่บัญญัติว่า"และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยตัวผู้กระทำผิดนั้นไป" นั้นสำหรับกรณีที่จะต้องให้ศาลอนุญาตให้สมรสกันดังกล่าวนั้นหมายความว่าชายหรือหญิงมีอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ จะสมรสกันจึงจะต้องขออนุญาตต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 แต่จำเลยและผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ได้จดทะเบียนสมรสกันในเวลาต่อมาย่อมเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วโดยไม่ต้องขออนุญาตต่อศาลจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย: การกระทำชำเราเด็กหญิงและพรากเด็กจากบิดามารดา
จำเลยมีอาชีพรับราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ 5ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการในโครงการต่าง ๆ ของทางราชการหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมอาชีพแก่ชาวบ้าน เด็กและเยาวชน ตลอดจนเป็นวิทยากรอบรมลูกเสือชาวบ้าน จำเลยจึงได้พบปะผู้คนมากมีประสบการณ์ในชีวิตพอสมควร พอจะประมาณการได้ว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุประมาณเท่าใด จำเลยรู้จักกับผู้เสียหายมาก่อนเกิดเหตุเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ เพราะรับสอนผู้เสียหายขับรถยนต์โดยผู้เสียหายไปกับมารดาทุกครั้ง แต่วันเกิดเหตุจำเลยเบิกความยอมรับว่าก่อนเกิดเหตุ 1 วัน จำเลยบอกมารดาของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายสามารถขับรถทางไกลได้ พรุ่งนี้เมื่อมารดาขับรถเสร็จแล้วไม่ต้องรอรับผู้เสียหายกลับบ้านเพราะจะนำผู้เสียหายฝึกหัดขับรถทางไกลเป็นเวลา2 ชั่วโมงนับว่าเป็นเรื่องผิดปกติ วันเกิดเหตุจำเลยก็ให้ผู้เสียหายขับรถไกลถึงประมาณ 60 กิโลเมตร ก็เป็นพิรุธเพราะกว่าจะไปและกลับคงต้องใช้เวลานานกว่าที่ฝึกขับรถปกติวันละ 2 ชั่วโมง จำเลยเป็นครูฝึกหัดขับรถแต่ไปสอบถามเรื่องส่วนตัวของผู้เสียหายซึ่งเป็นคนละเรื่องกับหน้าที่ของตนเอง หากจำเลยพูดคุยกับผู้เสียหายก็น่าจะพอคาดคิดได้ว่าผู้เสียหายมีระดับสติปัญญาเป็นเด็กเพียงใด พฤติการณ์ที่จำเลยขับรถพาผู้เสียหายเข้าโรงแรมก็ไม่ปรากฏว่าได้รักใคร่ชอบพอผู้เสียหายหรือเคยพูดจาแสดงความรักกันมาก่อน เพียงแต่จำเลยเบิกความทำนองคิดว่าผู้เสียหายมีใจแก่จำเลยเท่านั้น นับว่าเป็นการฉวยโอกาสจากความไร้เดียงสาของผู้เสียหายเพื่อสนองตัณหาของตนเท่านั้น ชั้นจับกุมและสอบสวนจำเลยก็มิได้แสดงว่าจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหายอย่างใด กรณีจะเป็นเรื่องสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก จะต้องมีพฤติการณ์หรือเหตุชักจูงใจให้สำคัญผิดโดยสุจริต มิใช่คาดคะเนเอาเองดังที่จำเลยเบิกความพฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อเป็นข้อแก้ตัวว่าจำเลยสำคัญผิดโดยสุจริต ดังนั้น เมื่อจำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก และการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราที่ห้องของโรงแรมที่เกิดเหตุ เป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพรากผู้เยาว์ต้องปรากฏชัด แม้มีการกระทำชำเราภายหลังก็ไม่ถือเป็นเหตุพราก
จำเลยมาพบผู้เสียหายขณะที่ผู้เสียหายกำลังเดินทางไปโรงเรียนก็เนื่องจากผู้เสียหายนัดจำเลยให้มาพบเพื่อให้จำเลยนำเสื้อมาให้ แต่จำเลยไม่ได้นำเสื้อมาให้ เมื่อผู้เสียหายบอกว่าจะต้องใช้เสื้อ จำเลยจึงพาผู้เสียหายไปที่ห้องเช่าของจำเลยเพื่อไปเอาเสื้อ โดยผู้เสียหายรออยู่ที่ปากซอย หลังจากผู้เสียหายได้เสื้อแล้วขณะนั้นเป็นเวลา 8.30 นาฬิกา ผู้เสียหายบอกจำเลยว่าไปโรงเรียนไม่ทันแล้วจะไปโรงเรียนเวลาเที่ยง จำเลยจึงชวนผู้เสียหายให้คอยที่ห้องเช่าของจำเลยก่อน นั่งอยู่ได้ประมาณครึ่งชั่วโมงจำเลยบอกจะออกไปเอาหนังสือการ์ตูนข้างนอก ผู้เสียหายขอตามจำเลยไปด้วย ไปที่บ้านเพื่อนจำเลยประมาณ30 นาที จำเลยก็พาผู้เสียหายกลับไปที่ห้องเพื่อให้ผู้เสียหายไปโรงเรียนตอนเที่ยงตามพฤติการณ์แห่งคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้ต่อมาจำเลยจะกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม
คดีนี้แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพรากผู้เยาว์ - การกระทำไม่ถึงองค์ประกอบความผิด
จำเลยมาพบผู้เสียหายขณะที่ผู้เสียหายกำลังเดินทางไปโรงเรียนก็เนื่องจากผู้เสียหายนัดจำเลยให้มาพบเพื่อให้จำเลยนำเสื้อมาให้ แต่จำเลยไม่ได้นำเสื้อมาให้ เมื่อผู้เสียหายบอกว่าจะต้องใช้เสื้อ จำเลยจึงพาผู้เสียหายไปที่ห้องเช่าของจำเลยเพื่อไปเอาเสื้อ โดยผู้เสียหายรออยู่ที่ปากซอย หลังจากผู้เสียหายได้เสื้อแล้วขณะนั้นเป็นเวลา 8.30 นาฬิกา ผู้เสียหายบอกจำเลยว่าไปโรงเรียนไม่ทันแล้วจะไปโรงเรียนเวลาเที่ยง จำเลยจึงชวนผู้เสียหายให้คอยที่ห้องเช่าของจำเลยก่อน นั่งอยู่ได้ประมาณครึ่งชั่วโมงจำเลยบอกจะออกไปเอาหนังสือการ์ตูนข้างนอก ผู้เสียหายขอตามจำเลยไปด้วย ไปที่บ้านเพื่อนจำเลยประมาณ 30 นาที จำเลยก็พาผู้เสียหายกลับไปที่ห้องเพื่อให้ผู้เสียหายไปโรงเรียนตอนเที่ยง ตามพฤติการณ์แห่งคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้ต่อมาจำเลยจะกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม
คดีนี้แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
of 18