พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีเพื่ออนาจาร: เจตนาพาไปเพื่อกระทำอนาจารแม้ไม่มีผู้ปกครองอยู่ด้วย
ผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุ 12 ปี ย. มารดาพาผู้เสียหายไปเที่ยวงานที่วัดดอนกลางคืน ระหว่างเที่ยวงานผู้เสียหายขออนุญาต ย.ไปปัสสาวะที่ห้องน้ำบริเวณหลังวัดโดยชวนน.ไปเป็นเพื่อน ขณะที่จะเดินกลับไปหาย. ได้พบจำเลย จำเลยบอกผู้เสียหายให้เดินไปทางทิศใต้ผู้เสียหายเดินไปกับจำเลย จากนั้นจำเลยให้ ผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปตามถนน แล้วจำเลยได้กระทำอนาจารผู้เสียหายที่ป่าละเมาะ ใกล้สวนแตงโม การกระทำของจำเลยเป็นการบ่งชี้ เจตนาให้เห็นตั้งแต่แรกว่าจำเลยมาเรียกผู้เสียหาย ไปเพื่อการอนาจาร ถึงแม้ว่าในขณะที่จำเลยพาผู้เสียหายไป นั้น ย. ไม่ได้อยู่ในบริเวณนั้น ก็ต้องถือว่าผู้เสียหาย อยู่ ในความปกครองดูแลของ ย. ซึ่งอยู่ที่บริเวณงานวัดการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารนั้นเป็น การแยกเด็กไปจากอำนาจปกครองของ ย.โดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นการพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการลงโทษจำเลยตามคำฟ้อง: ศาลจำกัดการลงโทษเฉพาะความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้พรากเด็กหญิงผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่โดยผู้เสียหายไม่ยินยอมขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277,317,90 ซึ่งมิได้มีรายละเอียดให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษทุกกรรม ทั้งอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 มาด้วย ดังนี้แม้ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์กับข่มขืนกระทำชำเรา อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจะลงโทษจำเลยในแต่ละกรรมนอกเหนือจากคำฟ้องและคำขอของโจทก์หาได้ไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ โดยให้ลงโทษในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม มาตรา 317 วรรคสาม กรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์และการให้รอการลงโทษในคดีชู้สาว โดยคำนึงถึงความสมัครใจของผู้เยาว์และประโยชน์ที่ได้รับ
ผู้เยาว์อายุ 14 ปีเศษ ไปที่บ้านจำเลยเอง มารดาจำเลยทราบว่าได้เสียกับจำเลยแล้ว จึงยอมให้อยู่บ้านจำเลยฉันสามีภริยา เป็นเรื่องที่ผู้เยาว์ต้องการเป็นภริยาจำเลยและสมัครใจไปจากบิดามารดาจำเลยไม่ได้พรากผู้เยาว์ไปจากบิดามารดา จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร บิดามารดาผู้เยาว์หย่าขาดจากกัน มารดาผู้เยาว์มีสามีใหม่ย่อมเป็นเหตุให้ผู้เยาว์ขาดความรักและความอบอุ่น เมื่อพบจำเลยก็มีความรักถึงกับยอมให้จำเลยร่วมประเวณีและสมัครใจไปอยู่กับจำเลยเพื่อเป็นภริยา จำเลยเลี้ยงดูผู้เยาว์เป็นภริยา จนผู้เยาว์มีอายุ 17 ปีเศษ สามารถทำการสมรสกับจำเลยตามกฎหมายได้ เมื่อคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้เยาว์ได้รับ และเพื่อไม่ให้เป็นปัญหาแก่สังคมในภายหน้า จึงควรรอการลงโทษจำเลยเพื่อให้โอกาสประพฤติตนเป็นพลเมืองดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์ต้องเจตนาพาไปโดยไม่สมัครใจ การอยู่กินฉันสามีภริยาโดยสมัครใจไม่ถือเป็นความผิด
เด็กหญิงว.ไปที่บ้านของจำเลยเองและช่วยจำเลยทำขนมที่บ้านมารดาจำเลยทราบว่าได้เสียกับจำเลย แล้วจึงยอมให้อยู่บ้านกับจำเลยฉันสามีภริยาดังนี้เป็นเรื่องเด็กหญิงว. ต้องการเป็นภริยาจำเลยและสมัครใจไปจากบิดามารดาเอง จำเลยไม่ได้พรากเด็กหญิงว. ไปจากบิดามารดาผู้ปกครองจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษในคดีพรากเด็กและกระทำชำเรา การพิพากษาต้องถูกต้องตามวรรคของกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยพรากเด็กหญิง พ.อายุ 14 ปีเศษยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดาและผู้ปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควรและเพื่อการอนาจาร และในวันที่เกิดเหตุนั้น จำเลยได้กระทำชำเราเด็กหญิง พ. ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิง พ.ไม่ยินยอม ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวนี้แสดงว่า โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดข้อหากระทำชำเราตาม ป.อ.มาตรา 277วรรคแรก กระทงหนึ่ง และในความผิดข้อหาพรากเด็กไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควรและเพื่อการอนาจารตาม ป.อาญามาตรา 317 วรรคสาม อีกกระทงหนึ่ง แม้ความผิดทั้งสองข้อหาโจทก์มิได้ระบุวรรคมาก็ตาม ฟ้องโจทก์ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่เมื่อความผิดตามมาตรา 317 วรรคสาม มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หากจำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยานโจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้อย่างไรก็ตามเมื่อความผิดในมาตราดังกล่าวในวรรคแรกมีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป ไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย และศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์เสียก่อน หากศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพ ศาลก็คงลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้เฉพาะในวรรคแรกเท่านั้น ดังนั้น คดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องและลงโทษจำเลยตาม มาตรา 317 โดยมิได้ระบุวรรคซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องแต่ก็มิได้หมายความว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม มาตรา 317 วรรคสามหากศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้โดยปรับบทลงโทษและลงโทษจำเลยใหม่ให้ถูกต้องก็มีอำนาจกระทำได้ แต่การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม ทั้งวางโทษจำเลยโดยอาศัยบทมาตราดังกล่าว จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษอาญาและการพิจารณาโทษสถานเบา กรณีจำเลยให้การรับสารภาพ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หากจำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยได้กระทำผิดจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยานโจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ แต่เมื่อความผิดในมาตราดังกล่าวในวรรคแรกมีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ศาลลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้เฉพาะในวรรคแรกเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์วางโทษจำเลยไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ เนื่องจากเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ร่วมประเวณี และความผิดฐานพรากผู้ถูกปกครองดูแล
การที่จำเลยที่ 1 กับพวกพาผู้เสียหายออกจากบ้านไปโดยไม่ให้คนในบ้านรู้ แล้วพาไปชำเราในป่ายางข้างทาง ทั้งที่ผู้เสียหายอายุเพียง 14 ปี กับอีก 1 เดือนเศษ ยังเป็นนักเรียน จำเลยที่ 1เองก็ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 6 หลังจากตนเองได้ร่วมประเวณีแล้วยังมอบผู้เสียหายให้ไปกับจำเลยที่ 2 ปล่อยให้จำเลยที่ 2ร่วมประเวณีผู้เสียหายอีกหลายคืน ถือได้ว่าเป็นการพรากผู้เสียหายไปโดยปราศจากเหตุอันสมควร ตาม ป.อ. มาตรา 317.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากเด็กจากผู้ดูแล, ร่วมประเวณีกับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี, ความผิดฐานร่วมกระทำความผิด
การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันพาผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 14 ปีเศษและอยู่ในความดูแลของ ช. ออกจากบ้านโดยไม่ให้คนในบ้านรู้ แล้วจำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายไปชำเราในป่ายางข้างทางและที่อื่น ๆ อีกหลายครั้ง หลังจากจำเลยที่ 1 ได้ร่วมประเวณีแล้วยังได้มอบผู้เสียหายให้ไปกับจำเลยที่ 2 ปล่อยให้จำเลยที่ 2ร่วมประเวณีอีกหลายคืน ถือได้ว่าเป็นการพรากเด็กไปเสียจากผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: การหนีตามกันเพื่ออยู่กินฉันสามีภริยา ไม่เข้าข่ายความผิด
ได้ความจากพยานโจทก์และจำเลยว่า จำเลยกับผู้เสียหายหนีตาม กันไปเพื่ออยู่กินร่วมกันฉัน สามีภริยา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยพรากผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3465/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์ฯ เกิดจากความสมัครใจของผู้เสียหาย ไม่มีเจตนาพราก
ผู้เสียหายกับจำเลยรับใคร่ ชอบพอกันมาก่อน ผู้เสียหายได้ไปหาจำเลย และเป็นฝ่ายชักชวนให้จำเลยซึ่งยังไม่มีภริยาพาผู้เสียหายไป จำเลยจึงพาผู้เสียหายไปที่บ้านบิดามารดาของจำเลยเพื่ออยู่กินกันฉันสามีภริยา ดังนี้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร