พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13045/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาเกินขอบเขตและคดีถึงที่สุดแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิงนั้นยินยอม ส่วนความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพรากเด็ก ฯ ด้วย ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ต่อมาจำเลยขอถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตแล้ว ย่อมมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นฐานกระทำชำเราเด็กหญิง ฯ เด็ดขาดเฉพาะจำเลย ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพรากเด็ก ฯ ตามอุทธรณ์ของโจทก์ด้วย จำเลยมีสิทธิฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะในความผิดฐานพรากเด็ก ฯ ได้เท่านั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยยื่นฎีกาโดยขอให้ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยสถานเบาหรือลดโทษแก่จำเลย ซึ่งหมายถึงขอให้ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจกำหนดโทษให้จำเลยเสียใหม่ทั้งสองฐานความผิด การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อหากระทำชำเราเด็กหญิง ฯ ซึ่งเด็ดขาดไปแล้ว จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ส่วนในความผิดฐานพรากเด็ก ฯ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา มีผลทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในความผิดฐานนี้เป็นอันถึงที่สุดไปด้วย ศาลฎีกาย่อมไม่อาจรับวินิจฉัยให้ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7123/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากเด็กและกระทำชำเรา ศาลฎีกาแก้ไขโทษฐานร่วมกันกระทำความผิดและลดโทษจำเลย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 และฐานร่วมกันกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอมตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสามและมาตรา 277 วรรคสาม แต่มีความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีโดยปราศจากเหุตอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แก้วรรคของความผิดในบทมาตราเดียวกันซึ่งมีระวางโทษต่างกันไม่มากนัก และเป็นการแก้ไขปรับบทให้ถูกต้องตามฟ้องโจทก์ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะแก้โทษด้วยก็เป็นการพิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยที่ 2 ให้เหมาะสมตามความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและเด็กหญิงไม่ยินยอมตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ที่ใช้บังคับขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิด จะต้องมีผู้ร่วมกระทำชำเราเด็กหญิงอย่างน้อยสองคน โดยผลัดเปลี่ยนกันกระทำชำเราเด็กหญิงและโดยมีเจตนาร่วมกันในขณะกระทำความผิด ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายที่ 2 ไปบ้านที่เกิดเหตุและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 พา ต. มาและจำเลยที่ 2 พาจำเลยที่ 1 ออกไปจากบ้านที่เกิดเหตุ หลังจากนั้น ต. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 และในเวลาใกล้เคียงต่อเนื่องกันยังมี ร. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีก พยานหลักฐานโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมคบคิดหรือนัดแนะกับคนอื่นในการกระทำความผิดอย่างไร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้วออกไปจากที่เกิดเหตุ จึงเป็นการกระทำโดยลำพังเฉพาะตัว ไม่มีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและเด็กหญิงไม่ยินยอมตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ที่ใช้บังคับขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิด จะต้องมีผู้ร่วมกระทำชำเราเด็กหญิงอย่างน้อยสองคน โดยผลัดเปลี่ยนกันกระทำชำเราเด็กหญิงและโดยมีเจตนาร่วมกันในขณะกระทำความผิด ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายที่ 2 ไปบ้านที่เกิดเหตุและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 พา ต. มาและจำเลยที่ 2 พาจำเลยที่ 1 ออกไปจากบ้านที่เกิดเหตุ หลังจากนั้น ต. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 และในเวลาใกล้เคียงต่อเนื่องกันยังมี ร. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีก พยานหลักฐานโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมคบคิดหรือนัดแนะกับคนอื่นในการกระทำความผิดอย่างไร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้วออกไปจากที่เกิดเหตุ จึงเป็นการกระทำโดยลำพังเฉพาะตัว ไม่มีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่อการอนาจาร แม้ผู้เสียหายไม่ได้อยู่กับบิดามารดา แต่ยังอยู่ภายใต้การดูแลของผู้อื่น
การพรากเด็กอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม คือการพรากเด็กไปเสียจากบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล แม้ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง ว. จะไม่ได้พักอาศัยอยู่กับบิดา มารดา เนื่องจากไปทำงานเป็นพนักงานในร้านอาหาร ส. ที่จังหวัดชุมพรก็ตาม แต่บิดาของเด็กหญิง ว. ได้มอบหมายให้ พ. ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหาร ส. เป็นผู้ดูแลเด็กหญิง ว. การที่จำเลยพาเด็กหญิง ว. ไปที่บ้านของจำเลยและกระทำชำเราเด็กหญิง ว. จึงเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารแล้ว
แม้คดีนี้ตามฟ้องของโจทก์จะเป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดา มารดา เพื่อการอนาจาร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากผู้ดูแล เพื่อการอนาจารก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใด อีกทั้งจำเลยโต้เถียงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีเพียงว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายที่กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในข้อดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
แม้คดีนี้ตามฟ้องของโจทก์จะเป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดา มารดา เพื่อการอนาจาร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากผู้ดูแล เพื่อการอนาจารก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใด อีกทั้งจำเลยโต้เถียงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีเพียงว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายที่กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในข้อดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7841/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุผู้เสียหายสำคัญต่อความผิดฐานข่มขืน/กระทำชำเรา และพรากผู้เยาว์ การยินยอมมีผลต่อความผิด
มาตรา 16 ป.พ.พ. บัญญัติว่า การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2532 จึงต้องนับอายุตั้งแต่วันเกิด คือนับตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2532 เป็นหนึ่งวันเต็ม ผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 193/5 คดีได้ความว่าเหตุเกิดวันที่ 5 มีนาคม 2547 เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ดังนั้น ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุเกินกว่า 15 ปีบริบูรณ์แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 227 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีความผิดตามบทบัญญัติมาตรานี้และแม้จะมีบทบัญญัติความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราในมาตรา 276 แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ยินยอมการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 276 เช่นกัน ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้นไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 แต่ก็เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ตาม ป.อ. มาตรา 319
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7841/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุผู้เสียหายสำคัญต่อการพิจารณาความผิดฐานพรากผู้เยาว์และกระทำชู้
ป.พ.พ. มาตรา 16 บัญญัติว่า การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2532 จึงต้องนับอายุแต่วันเกิดคือนับแต่วันที่ 5 มีนาคม 2532 เป็นหนึ่งวันเต็ม ผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/5 คดีได้ความว่า เหตุเกิดวันที่ 5 มีนาคม 2547 เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ดังนั้นขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุเกินกว่า 15 ปีบริบูรณ์แล้ว กรณีจึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 และ 317
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากเด็กเพื่อหากำไรและการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลฎีกายืนโทษจำเลย
ขณะเกิดเหตุเด็กทั้งสามคนยังมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแลใช้อำนาจปกครองอยู่ และมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งจึงไม่ใช่เป็นเด็กจรจัด เร่ร่อน ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแลและไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งตามที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง บิดามารดาของเด็กทั้งสามคนมีฐานะยากจนต้องออกทำงานหาเลี้ยงชีพในแต่ละวันจึงต้องปล่อยให้เด็กทั้งสามคนเที่ยวเล่นอยู่ตามลำพัง ตามประสาเด็กเท่านั้น แต่ก็ยังใช้อำนาจปกครองเด็กทั้งสามคนอยู่ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองชักชวนเด็กทั้งสามคนไปทำงานบ้านอยู่กับจำเลยทั้งสองที่จังหวัดสุพรรณบุรี แต่กลับพาไปบวชเป็นสามเณรแล้วพาออกแจกซองผ้าป่าตามจังหวัดต่าง ๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของเด็กทั้งสามคน จึงเป็นการพรากเด็กทั้งสามคนไปจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควร และการที่จำเลยทั้งสองนำเด็กทั้งสามคนแต่งกายเป็นสามเณรออกเที่ยวแจกซองผ้าป่า เรี่ยไรเงินจากชาวบ้านแล้วแบ่งผลประโยชน์กัน อันเป็นการใช้เด็กทั้งสามคนและศาสนาเป็นเครื่องมือในการหาเลี้ยงชีพของจำเลยทั้งสอง ทำให้ศาสนาต้องมัวหมองและเป็นที่เสื่อมศรัทธาแก่ผู้พบเห็นโดยทั่วไป พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานพรากเด็กชายทั้งสามซึ่งอายุไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อหากำไรตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 317 มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองอำนาจการปกครองของบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแลของผู้เยาว์ ไม่ให้ถูกผู้ใดพาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแล ฉะนั้น แม้จำเลยทั้งสองจะพูดชักชวนและพาเด็กทั้งสามคนไปในครั้งเดียวคราวเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำที่มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายและบิดามารดา ผู้ปกครองหรือดูแลของผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันหาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวไม่
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 317 มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองอำนาจการปกครองของบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแลของผู้เยาว์ ไม่ให้ถูกผู้ใดพาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแล ฉะนั้น แม้จำเลยทั้งสองจะพูดชักชวนและพาเด็กทั้งสามคนไปในครั้งเดียวคราวเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำที่มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายและบิดามารดา ผู้ปกครองหรือดูแลของผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันหาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่อแสวงหาผลประโยชน์และการกระทำความผิดหลายกรรม การกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์
บิดามารดาของเด็กทั้งสามมีฐานะยากจนต้องออกทำงานหาเลี้ยงชีพในแต่ละวัน จึงต้องปล่อยให้เด็กทั้งสามเที่ยวเล่นอยู่ตามลำพังตามประสาเด็กเท่านั้น แต่เมื่อเด็กทั้งสามไม่กลับบ้านตามปกติ บิดามารดาของเด็กทั้งสามก็ตามหาและแจ้งแก่เจ้าพนักงานตำรวจ ยังใช้อำนาจปกครองเด็กทั้งสามอยู่ การที่จำเลยทั้งสองชักชวนเด็กทั้งสามคนไปทำงานบ้านอยู่กับจำเลยทั้งสองที่จังหวัดสุพรรณบุรี แต่กลับพาไปบวชเป็นสามเณรแล้วพาออกแจกซองผ้าป่าตามจังหวัดต่าง ๆ เรี่ยไรเงินจากชาวบ้านแล้วแบ่งผลประโยชน์กันโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของเด็กทั้งสามคน จึงเป็นการพรากเด็กทั้งสามคนไปจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควร พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานพรากเด็กชายทั้งสามซึ่งอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแล โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อหากำไรตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคสาม
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 317 มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองอำนาจการปกครองของบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแลของผู้เยาว์ ไม่ให้ถูกผู้ใดพาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแล แม้จำเลยทั้งสองจะพูดชักชวนและพาเด็กทั้งสามไปในครั้งเดียวคราวเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำที่มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายและบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลของผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ.มาตรา 91 หาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 317 มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองอำนาจการปกครองของบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแลของผู้เยาว์ ไม่ให้ถูกผู้ใดพาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแล แม้จำเลยทั้งสองจะพูดชักชวนและพาเด็กทั้งสามไปในครั้งเดียวคราวเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำที่มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายและบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลของผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ.มาตรา 91 หาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: กฎหมายคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา แม้ผู้เยาว์จะสมัครใจ
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 317 ถึงมาตรา 319 กฎหมายมุ่งคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล มิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระทั่งต่ออำนาจปกครองไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยปริยาย ไม่ว่าผู้เยาว์จะไปอยู่ที่แห่งใด หากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลยังเอาใจใส่อยู่ ผู้เยาว์ย่อมอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตลอดเวลา นอกจากนี้กฎหมายมิได้จำกัดว่าพรากโดยวิธีการอย่างใดและไม่ว่าผู้เยาว์จะเป็นฝ่ายออกจากบ้านไปเองโดยมีผู้ชักนำ หรือไม่มีผู้ชักนำก็ตาม ก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น การที่ผู้เยาว์ไปหาจำเลยที่บ้าน ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายนัดหมายชักชวนกันก่อนแล้วจำเลยร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือความยินยอมจากบิดามารดาของผู้เยาว์ย่อมทำให้อำนาจปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ถูกพรากจากไปโดยปริยาย และการที่ผู้เยาว์โทรศัพท์หาจำเลยว่าจะหนีออกจากบ้านไปพัทยาและนัดพบจำเลย เมื่อพบกันจำเลยไม่ยอมให้ผู้เยาว์ไปตามลำพัง แต่จำเลยขอไปด้วย โดยเปิดห้องพักอยู่ด้วยกัน 2 คืน ผู้เยาว์เป็นคนชำระค่าห้องพักและค่าใช้จ่าย ทั้งผู้เยาว์ยังให้เงินจำเลยเป็นค่าใช้จ่ายในการหลบหนีด้วยก็ตาม แต่จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายทุกคืน พฤติการณ์จำเลยมิใช่การไปเป็นเพื่อนแต่เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารทั้งสองกรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7673/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่อการอนาจาร: การกระทำโดยสมัครใจและเจตนา รวมถึงอำนาจการวินิจฉัยของศาล
การวินิจฉัยว่าการกระทำเป็นความผิดฐานใดหรือไม่ เป็นการปรับข้อเท็จจริงเข้าสู่ข้อกฎหมาย เป็นปัญหาข้อกฎหมายและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
ความผิดฐานพรากเด็กมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลที่มีต่อเด็กไม่ให้ผู้ใดพรากเด็กไปเสียจากความปกครองดูแล เมื่อขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 มีอายุเพียง 12 ปีเศษ จึงต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การที่วันที่ 10 วันที่ 12 และวันที่ 16 เมษายน 2547 จำเลยซึ่งเคยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 มาแล้วหลายครั้ง ได้นัดให้ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งพบกันขณะผู้เสียหายที่ 1 เดินไปส่งเพื่อนให้ไปพบจำเลยที่โรงเรียน จ. และกวักมือเรียกผู้เสียหายที่ 1 จากสนามบาสเกตบอลให้เข้าไปหาจำเลยแล้วพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเรา และจำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าไปหาผู้เสียหายที่ 1 ในสนามแบดมินตันโรงเรียน จ. บอกให้ไปพบจำเลยที่แท็งก์น้ำด้านหลังแล้วพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเรา แม้ในเบื้องต้นผู้เสียหายที่ 1 จะออกจากบ้านไปเองก็ถือไม่ได้ว่าพ้นจากอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และแม้ผู้เสียหายที่ 1 จะสมัครใจไปกับจำเลยก็ถือเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันควร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยนั่งดื่มสุรากับเพื่อนที่บ้าน ว. ผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้าน ว. และไปเข้าห้องน้ำ โดยจำเลยไม่ได้นัดแนะหรือบอกให้ผู้เสียหายที่ 1 ทำเช่นนั้น จำเลยเพียงฉวยโอกาสตามเข้าไปขอกระทำชำเราโดยผู้เสียหายที่ 1 ยินยอม อันเป็นการมุ่งที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 เพียงอย่างเดียว โดยมิได้เจตนาจะล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
ความผิดฐานพรากเด็กมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลที่มีต่อเด็กไม่ให้ผู้ใดพรากเด็กไปเสียจากความปกครองดูแล เมื่อขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 มีอายุเพียง 12 ปีเศษ จึงต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การที่วันที่ 10 วันที่ 12 และวันที่ 16 เมษายน 2547 จำเลยซึ่งเคยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 มาแล้วหลายครั้ง ได้นัดให้ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งพบกันขณะผู้เสียหายที่ 1 เดินไปส่งเพื่อนให้ไปพบจำเลยที่โรงเรียน จ. และกวักมือเรียกผู้เสียหายที่ 1 จากสนามบาสเกตบอลให้เข้าไปหาจำเลยแล้วพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเรา และจำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าไปหาผู้เสียหายที่ 1 ในสนามแบดมินตันโรงเรียน จ. บอกให้ไปพบจำเลยที่แท็งก์น้ำด้านหลังแล้วพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเรา แม้ในเบื้องต้นผู้เสียหายที่ 1 จะออกจากบ้านไปเองก็ถือไม่ได้ว่าพ้นจากอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และแม้ผู้เสียหายที่ 1 จะสมัครใจไปกับจำเลยก็ถือเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันควร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยนั่งดื่มสุรากับเพื่อนที่บ้าน ว. ผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้าน ว. และไปเข้าห้องน้ำ โดยจำเลยไม่ได้นัดแนะหรือบอกให้ผู้เสียหายที่ 1 ทำเช่นนั้น จำเลยเพียงฉวยโอกาสตามเข้าไปขอกระทำชำเราโดยผู้เสียหายที่ 1 ยินยอม อันเป็นการมุ่งที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 เพียงอย่างเดียว โดยมิได้เจตนาจะล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7673/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี: การกระทำที่เข้าข่ายความผิดและข้อยกเว้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ให้อำนาจศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยกปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยขึ้นวินิจฉัยเองได้ การวินิจฉัยว่าการกระทำใดเป็นความผิดฐานใดหรือไม่ เป็นการปรับข้อเท็จจริงเข้าสู่กฎหมาย เป็นปัญหาข้อกฎหมายและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 ได้
ผู้เสียหายที่ 1 อายุ 12 ปีเศษ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บิดามารดาเลิกร้างกัน พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาผู้เสียหายที่ 1 จึงอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 จำเลยเคยแอบปีนหน้าต่างห้องนอนเข้าไปกระทำอนาจารและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในบ้านของผู้เสียหายที่ 2 ในเวลาวิกาลมาแล้วหลายครั้งได้นัดให้ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งพบกันขณะผู้เสียหายที่ 1 ไปส่งเพื่อให้ไปพบจำเลยที่โรงเรียนแล้วพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเราที่ข้างอาคารเรียน แม้ผู้เสียหายที่ 1 จะสมัครใจไปกับจำเลยก็เป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยนั่งดื่มสุรากับเพื่อนอยู่ที่บ้าน ว. อยู่ก่อน ผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้าน ว. และไปเข้าห้องน้ำหลังบ้าน ว. เอง โดยจำเลยไม่ได้นัดแนะหรือบอกให้ผู้เสียหายที่ 1 ทำเช่นนั้น จำเลยเพียงแต่ฉวยโอกาสลุกจากวงสุราตามเข้าไปขอกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในห้องน้ำดังกล่าวโดยผู้เสียหายที่ 1 ยินยอม เสร็จแล้วจำเลยก็ออกจากห้องน้ำกลับไปนั่งดื่มสุราต่อ โดยไม่ได้กระทำการอื่นใดแก่ผู้เสียหายที่ 1 อีก จำเลยมุ่งที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 เพียงอย่างเดียว มิได้มีเจตนาที่จะล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
ผู้เสียหายที่ 1 อายุ 12 ปีเศษ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บิดามารดาเลิกร้างกัน พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาผู้เสียหายที่ 1 จึงอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 จำเลยเคยแอบปีนหน้าต่างห้องนอนเข้าไปกระทำอนาจารและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในบ้านของผู้เสียหายที่ 2 ในเวลาวิกาลมาแล้วหลายครั้งได้นัดให้ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งพบกันขณะผู้เสียหายที่ 1 ไปส่งเพื่อให้ไปพบจำเลยที่โรงเรียนแล้วพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเราที่ข้างอาคารเรียน แม้ผู้เสียหายที่ 1 จะสมัครใจไปกับจำเลยก็เป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยนั่งดื่มสุรากับเพื่อนอยู่ที่บ้าน ว. อยู่ก่อน ผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้าน ว. และไปเข้าห้องน้ำหลังบ้าน ว. เอง โดยจำเลยไม่ได้นัดแนะหรือบอกให้ผู้เสียหายที่ 1 ทำเช่นนั้น จำเลยเพียงแต่ฉวยโอกาสลุกจากวงสุราตามเข้าไปขอกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในห้องน้ำดังกล่าวโดยผู้เสียหายที่ 1 ยินยอม เสร็จแล้วจำเลยก็ออกจากห้องน้ำกลับไปนั่งดื่มสุราต่อ โดยไม่ได้กระทำการอื่นใดแก่ผู้เสียหายที่ 1 อีก จำเลยมุ่งที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 เพียงอย่างเดียว มิได้มีเจตนาที่จะล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม