พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร vs. ความผิดฐานข่มขืนในความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา
แม้ผู้เสียหายพักอยู่กับยาย แต่เมื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะย่อมต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาที่สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย พฤติการณ์ที่จำเลยให้ผู้เสียหายไปทำความสะอาดห้องนอนของจำเลย แล้วตามไปกระทำชำเราผู้เสียหายให้ห้องนอนของตนในครั้งแรกก็ดี และเมื่อผู้เสียหายไปหาจำเลยที่บ้านเพื่อสอบถามถึงเหตุที่จำเลยไม่รับผิดชอบ จำเลยกลับกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นครั้งที่สองก็ดี ล้วนเป็นการกระทำอันล่วงล้ำอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้เสียหายทั้งสิ้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา แต่การที่จำเลยยังมิได้มีภริยาจึงอยู่ในสถานะที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันสามีภริยาได้ ทั้งหลังเกิดเหตุแล้วผู้เสียหายกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันโดยได้รับอนุญาตจากศาล ย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลยได้ว่าประสงค์จะเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภริยาการกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารแต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี และการพรากผู้เยาว์ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอายุ 14 ปี พักอาศัยอยู่กับยายเมื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะย่อมต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยให้ผู้เสียหายไปทำความสะอาดห้องนอนของจำเลยแล้วตามไปกระทำชำเราผู้เสียหายในครั้งแรก และเมื่อผู้เสียหายไปหาจำเลยที่บ้านเพื่อสอบถามว่าเหตุใดจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายแล้วจึงไม่รับผิดชอบจำเลยกลับกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นครั้งที่สองล้วนเป็นการกระทำอันล้วงล้ำต่ออำนาจการปกครองของบิดามารดาของผู้เสียหายทั้งสิ้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร อย่างไรก็ดี จำเลยยังไม่มีภริยา จึงอยู่ในสถานะที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันสามีภริยาได้ และต่างก็รักใคร่ชอบพอกันทั้งได้จดทะเบียนสมรส โดยได้รับอนุญาตจากศาล จึงมิใช่เป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: เจตนาเลี้ยงดูฉันสามีภรรยาเป็นเหตุบรรเทาโทษ
ขณะเกิดเหตุ เด็กหญิง ก. ผู้เสียหายอายุ 14 ปีเศษ พักอาศัยอยู่กับยาย แต่ผู้เสียหายยังไม่บรรลุนิติภาวะย่อมต้องอยู่ ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาซึ่งสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย พฤติการณ์ของจำเลยที่ให้ผู้เสียหายไปทำความสะอาดห้องนอนของจำเลย แล้วจำเลยตามไปกระทำชำเราผู้เสียหายในห้องนอนของตนในครั้งแรก และเมื่อผู้เสียหายไปหาจำเลย ที่บ้าน จำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหายเป็นครั้งที่สอง ล้วนเป็นการกระทำอันล่วงล้ำต่ออำนาจปกครองของบิดามารดาผู้เสียหาย ทั้งสิ้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา แต่จำเลยยังมิได้มีภริยาจึงอยู่ในสถานะที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันสามีภรรยาได้ และผู้เสียหายและจำเลยต่างก็รักใคร่ชอบพอกันทั้งต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยก็ได้จดทะเบียนสมรสโดยได้รับอนุญาตจากศาล ย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลยได้ว่า ประสงค์ที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภริยา พฤติการณ์ของจำเลยจึงมิใช่เป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แต่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก ประกอบ ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5821/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่ออนาจาร – ความผิดหลายกรรมต่างกัน – การพิพากษาลงโทษ – การสืบพยาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยพรากเด็กหญิงอายุไม่เกิน15 ปีไปเสียจากความปกครองดูแลของบิดา เพื่อการอนาจารต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม แต่คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุว่า ขอให้ลงโทษตามมาตราดังกล่าววรรคใด และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 วรรคแรก ซึ่งมีระวางโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 176 และไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์เสียก่อน ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 วรรคแรกได้
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กหญิง ณ. ไปโดยมีเจตนาเพื่อการอนาจาร การที่จำเลยกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. หลังจากนั้น จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ทั้งจำเลยพรากเด็กหญิง ณ. ไปเพื่อการอนาจารถึง 2 ครั้ง ต่างวันเวลากัน และกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. หลังจากนั้นอีก 2 ครั้งจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กหญิง ณ. ไปโดยมีเจตนาเพื่อการอนาจาร การที่จำเลยกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. หลังจากนั้น จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ทั้งจำเลยพรากเด็กหญิง ณ. ไปเพื่อการอนาจารถึง 2 ครั้ง ต่างวันเวลากัน และกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. หลังจากนั้นอีก 2 ครั้งจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อค้าประเวณี แม้ผู้เสียหายอยู่กินฉันสามีภริยา ก็ยังอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของมารดา
การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปอยู่กินฉันสามีภริยากับชายอื่น แต่มิได้ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียหายจึงยังไม่บรรลุนิติภาวะและยังคงอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของมารดา เมื่อจำเลยที่ 3 พาผู้เสียหายไปพบจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพื่อพาผู้เสียหายไปค้าประเวณี การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากเด็ก/ผู้เยาว์สำเร็จตั้งแต่พรากออกจากผู้ปกครอง การสมรส/ค่าสินไหมทดแทนไม่ลบล้างความผิด
ความผิดฐานพรากเด็กและพรากผู้เยาว์นั้นเป็นการกระทำต่อบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือผู้ดูแล และเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่จำเลยได้พาหรือแยกเด็กหรือผู้เยาว์ออกจากความปกครองดูแลของบิดามารดา การที่บิดามารดาของผู้เสียหายได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนแล้วก็ดี และการที่ศาลอนุญาตให้ ผู้เสียหายสมรสกับจำเลยก็ดี ล้วนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุแล้ว ไม่อาจลบล้างความผิดที่จำเลยกระทำได้ และความผิดฐานพรากเด็กและ ผู้เยาว์ไม่มีบทบัญญัติยกเว้นโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดดังเช่นบทบัญญัติในเรื่องการกระทำชำเราเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ และข่มขืนกระทำชำเรา ศาลฎีกาพิจารณาการปรับบทกฎหมายและโทษที่เหมาะสม
จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าผู้เสียหายที่ 1 กับจำเลยที่ 2 รักใคร่กันฉันชู้สาว ในคืนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปแจ้งให้ผู้เสียหายที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ด้วยกันตามลำพังในยามวิกาลทราบว่า ผู้ปกครองของผู้เสียหายที่ 1 กำลังติดตามหาผู้เสียหายที่ 1 อีกทั้งจำเลยที่ 1 ยังขับรถพาจำเลยที่ 2 และผู้เสียหายที่ 1 ไปหลบเพื่อให้พ้นจากการติดตามหาตัวผู้เสียหายที่ 1 พบ จำเลยที่ 1 มีอายุ 27 ปี เป็นผู้ใหญ่กว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอายุ 17 ปีเศษ และผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งอายุเพียง 14 ปีเศษ จำเลยที่ 1 ย่อมทราบดีว่าโดยพฤติการณ์และในสภาวะที่จำเลยที่ 2 พาผู้เสียหายที่ 1 ไปตามลำพังเช่นนั้น ย่อมเป็นโอกาสที่จำเลยที่ 2 จะล่วงเกินทางเพศต่อผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งยังเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม จำคุกคนละ 3 ปี และปรับคนละ 10,000 บาท ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 1 ปี 6 เดือน และปรับคนละ 5,000 บาท และรอการลงโทษให้ โจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ควรรอการลงโทษแก่จำเลยทั้งสอง แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจหยิบยกปัญหาที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษความผิดข้อหาดังกล่าวมาไม่ถูกต้องขึ้นวินิจฉัยเองโดยพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม อันเป็นการปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องลงโทษแก่จำเลยทั้งสองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยทั้งสองเสียใหม่ โดยโทษที่จำเลยทั้งสองได้รับสำหรับความผิดในข้อหานี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์สูงกว่าโทษที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลยทั้งสอง จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม จำคุกคนละ 3 ปี และปรับคนละ 10,000 บาท ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 1 ปี 6 เดือน และปรับคนละ 5,000 บาท และรอการลงโทษให้ โจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ควรรอการลงโทษแก่จำเลยทั้งสอง แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจหยิบยกปัญหาที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษความผิดข้อหาดังกล่าวมาไม่ถูกต้องขึ้นวินิจฉัยเองโดยพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม อันเป็นการปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องลงโทษแก่จำเลยทั้งสองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยทั้งสองเสียใหม่ โดยโทษที่จำเลยทั้งสองได้รับสำหรับความผิดในข้อหานี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์สูงกว่าโทษที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลยทั้งสอง จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ต้องทำให้ความปกครองดูแลของมารดาถูกรบกวนหรือกระทบกระเทือนจึงจะมีความผิด
คำว่า "พราก" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า จากไป พาเอาไปเสียจาก แยกออกจากกันหรือเอาออกจากกัน ดังนั้น คำว่า "พราก" ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร จึงหมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกไปจากความปกครองดูแล ทำให้ความปกครองดูแลของมารดาเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน
การที่จำเลยจูงเด็กหญิง ส. เข้าไปในห้องโดยมิได้ใช้แรงฉุด แล้วให้นั่งรออยู่คนเดียวประมาณ 20 นาที ระหว่างนั้นเด็กหญิง ส. สามารถที่จะกลับบ้านได้และเด็กหญิง ส. เคยไปนั่งเล่นในห้องนอนจำเลยบ่อย ๆ พฤติการณ์แห่งคดีมีลักษณะส่อแสดงให้เห็นว่า การที่เด็กหญิง ส. เข้าไปในห้องนอนจำเลยและอยู่ในห้องนอนจำเลยแต่เพียงผู้เดียวเป็นเวลานานนั้นเป็นไปด้วยความเต็มใจของเด็กหญิง ส. เนื่องจากเด็กหญิง ส. ชอบพอจำเลยมากกว่าที่จะถูกชักชวนและจูงจากจำเลยเพราะเด็กหญิง ส. สามารถที่จะไม่ไปตามที่จำเลยจูงก็ได้เนื่องจากจำเลยมิได้ใช้กำลังและสามารถที่จะกลับบ้านตนเองได้ระหว่างที่อยู่คนเดียว เนื่องจากไม่มีอะไรมาขัดขวางการกระทำของจำเลยจึงยังไม่เข้าลักษณะพาไปหรือแยกเด็กไปจากความปกครองดูแลของมารดาเด็ก อันทำให้ความปกครองดูแลของมารดาเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน จึงไม่เป็นการพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี
การที่จำเลยจูงเด็กหญิง ส. เข้าไปในห้องโดยมิได้ใช้แรงฉุด แล้วให้นั่งรออยู่คนเดียวประมาณ 20 นาที ระหว่างนั้นเด็กหญิง ส. สามารถที่จะกลับบ้านได้และเด็กหญิง ส. เคยไปนั่งเล่นในห้องนอนจำเลยบ่อย ๆ พฤติการณ์แห่งคดีมีลักษณะส่อแสดงให้เห็นว่า การที่เด็กหญิง ส. เข้าไปในห้องนอนจำเลยและอยู่ในห้องนอนจำเลยแต่เพียงผู้เดียวเป็นเวลานานนั้นเป็นไปด้วยความเต็มใจของเด็กหญิง ส. เนื่องจากเด็กหญิง ส. ชอบพอจำเลยมากกว่าที่จะถูกชักชวนและจูงจากจำเลยเพราะเด็กหญิง ส. สามารถที่จะไม่ไปตามที่จำเลยจูงก็ได้เนื่องจากจำเลยมิได้ใช้กำลังและสามารถที่จะกลับบ้านตนเองได้ระหว่างที่อยู่คนเดียว เนื่องจากไม่มีอะไรมาขัดขวางการกระทำของจำเลยจึงยังไม่เข้าลักษณะพาไปหรือแยกเด็กไปจากความปกครองดูแลของมารดาเด็ก อันทำให้ความปกครองดูแลของมารดาเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน จึงไม่เป็นการพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำอนาจารเด็กและการพรากเด็ก: การพิจารณาความผิดฐานพรากเด็กเมื่อเด็กอยู่ในบริเวณวัด
ผู้เสียหายเป็นเด็กมีอายุ 8 ปี 6 เดือน ได้ไปที่วัดที่จำเลยจำพรรษาอยู่ ขณะที่ผู้เสียหายกำลังจะกลับบ้าน จำเลยได้จูงมือผู้เสียหายและเด็กหญิง ก. ชวนไปรับประทานขนมที่กุฏิของจำเลยการที่จำเลยจูงมือผู้เสียหายซึ่งไปที่วัดช่วยพระทำงานอยู่ในบริเวณวัดไปที่กุฏิของจำเลยซึ่งอยู่ในวัดนั่นเอง ยังไม่ถือว่าเป็นการพรากผู้เสียหายไปจากความปกครองดูแลของบิดามารดา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย: การกระทำชำเราเด็กหญิงและพรากเด็กจากบิดามารดา
จำเลยมีอาชีพรับราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ 5ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการในโครงการต่าง ๆ ของทางราชการหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมอาชีพแก่ชาวบ้าน เด็กและเยาวชน ตลอดจนเป็นวิทยากรอบรมลูกเสือชาวบ้าน จำเลยจึงได้พบปะผู้คนมากมีประสบการณ์ในชีวิตพอสมควร พอจะประมาณการได้ว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุประมาณเท่าใด จำเลยรู้จักกับผู้เสียหายมาก่อนเกิดเหตุเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ เพราะรับสอนผู้เสียหายขับรถยนต์โดยผู้เสียหายไปกับมารดาทุกครั้ง แต่วันเกิดเหตุจำเลยเบิกความยอมรับว่าก่อนเกิดเหตุ 1 วัน จำเลยบอกมารดาของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายสามารถขับรถทางไกลได้ พรุ่งนี้เมื่อมารดาขับรถเสร็จแล้วไม่ต้องรอรับผู้เสียหายกลับบ้านเพราะจะนำผู้เสียหายฝึกหัดขับรถทางไกลเป็นเวลา2 ชั่วโมงนับว่าเป็นเรื่องผิดปกติ วันเกิดเหตุจำเลยก็ให้ผู้เสียหายขับรถไกลถึงประมาณ 60 กิโลเมตร ก็เป็นพิรุธเพราะกว่าจะไปและกลับคงต้องใช้เวลานานกว่าที่ฝึกขับรถปกติวันละ 2 ชั่วโมง จำเลยเป็นครูฝึกหัดขับรถแต่ไปสอบถามเรื่องส่วนตัวของผู้เสียหายซึ่งเป็นคนละเรื่องกับหน้าที่ของตนเอง หากจำเลยพูดคุยกับผู้เสียหายก็น่าจะพอคาดคิดได้ว่าผู้เสียหายมีระดับสติปัญญาเป็นเด็กเพียงใด พฤติการณ์ที่จำเลยขับรถพาผู้เสียหายเข้าโรงแรมก็ไม่ปรากฏว่าได้รักใคร่ชอบพอผู้เสียหายหรือเคยพูดจาแสดงความรักกันมาก่อน เพียงแต่จำเลยเบิกความทำนองคิดว่าผู้เสียหายมีใจแก่จำเลยเท่านั้น นับว่าเป็นการฉวยโอกาสจากความไร้เดียงสาของผู้เสียหายเพื่อสนองตัณหาของตนเท่านั้น ชั้นจับกุมและสอบสวนจำเลยก็มิได้แสดงว่าจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหายอย่างใด กรณีจะเป็นเรื่องสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก จะต้องมีพฤติการณ์หรือเหตุชักจูงใจให้สำคัญผิดโดยสุจริต มิใช่คาดคะเนเอาเองดังที่จำเลยเบิกความพฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อเป็นข้อแก้ตัวว่าจำเลยสำคัญผิดโดยสุจริต ดังนั้น เมื่อจำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก และการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราที่ห้องของโรงแรมที่เกิดเหตุ เป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม