คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 136

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่สมบูรณ์ตามเจตนาของคู่กรณีโดยเป็นสัญญาโอนการครอบครอง
แม้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก และมาตรา 115ก็ตาม แต่พฤติการณ์เป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่า ถ้าเดิมที่โจทก์กับจำเลยได้รู้ว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็คงจะได้ตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นสัญญาโอนการครอบครองโดยมีค่าตอบแทน การทำนิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสมบูรณ์ตามอย่างหลังนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136 กฎหมายไม่ได้บังคับว่าการโอนการครอบครองที่ดินต้องมีหนังสือมาแสดง กรณีนี้จึงนำพยานบุคคลมาสืบและศาลรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสารได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินแทนกัน สิทธิครอบครอง vs. สิทธิเจ้าของ และอายุความฟ้องร้อง
โจทก์มอบที่พิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ย การที่จำเลยได้ไปยื่นขอรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทเมื่อปี พ.ศ. 2520 และโจทก์ได้ยื่นคำคัดค้านเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2520 เจ้าหน้าที่จึงมิได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลย กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการถือที่พิพาทโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าตนไม่เจตนาที่จะยึดถือที่พิพาทไว้แทนโจทก์อีกต่อไปดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381จึงต้องถือว่าจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์อยู่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ตัดต้นตาลของโจทก์ 6 ต้นเป็นเงิน 3,000 บาท โจทก์เบิกความลอย ๆ ว่าเวลานี้เหลือต้นตาลเพียง 4 ต้นในที่พิพาท ไม่ทราบว่าใครตัดไป 8 ต้น น้องสาวโจทก์บอกโจทก์ว่าจำเลยตัดไปทำบ้าน ตามคำของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนตัด ที่โจทก์อ้างว่าน้องสาวโจทก์บอกว่าจำเลยเป็นคนตัดก็เป็นพยานบอกเล่ารับฟังไม่ได้ โจทก์จึงเรียกร้องค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่เป็นหนังสือและจดทะเบียน โมฆะ ผู้มีสิทธิบังคับโอนคือผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย
การซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันก่อน โดยตกลงกันว่าชำระราคาแล้วจะนัดไปทำการจดทะเบียนโอนกันที่สำนักงานที่ดินเลย ครั้งถึงวันนัดโจทก์จำเลยไปยื่นคำขอจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินจัดหวัดอุบลราชธานี แต่ผู้ร้องสอดไปคัดค้านและขออายัดที่ดิน โจทก์จำเลยจึงขอถอนยกเลิกคำขอจดทะเบียน สัญญาซื้อขายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดเมื่อทรัพย์สินที่ซื้อขายเป็นอสังหาริมทรัพย์ และไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 และจะถือว่าสมบูรณ์ในฐานะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายก็ไม่ได้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ ผู้ร้องสอดซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทจากจำเลย จึงเป็นผู้ที่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้แก่ตนเพียงผู้เดียว
สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยระบุว่า จำเลยตกลงขายที่ดินแปลงหนึ่งโฉนดเลขที่ 125 เท่านั้น มิได้ระบุที่ดินอีกแปลงโฉนดเลขที่ 13305 ตามที่โจทก์ฟ้องมาหรือโฉนดเลขที่ 233205 ตามโฉนดที่ดินที่โจทก์ส่งศาลไว้ด้วย จึงบังคับให้โอนได้แต่เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 125 เท่านั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนที่พิพาทโดยมิได้ระบุเลขโฉนดที่ดินจึงไม่ชัดแจ้งพอศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้จำเลยไปจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 125 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ให้ผู้ร้องสอด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าโมฆะ แต่สิทธิโอนการครอบครองยังคงมีผลบังคับได้
สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าที่ทำเป็นหนังสือ แต่ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาประสงค์จะให้สัญญาซื้อขายได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และตกเป็นโมฆะ อีกทั้งจะนำสืบว่าผู้ขายจะไปยื่นคำขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วจดทะเบียนโอนให้ผู้ซื้อหาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเอกสารต้องห้ามตามกฎหมาย
การซื้อขายที่ดินมือเปล่าซึ่งตกเป็นโมฆะ เมื่อปรากฏข้อความในสัญญาว่าผู้ขายยอมมอบที่ดินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อในวันทำสัญญา กรณีย่อมเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่า ถ้าคู่สัญญาได้รู้ว่าการซื้อขายไม่สมบูรณ์ ก็คงจะตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นสัญญาโอนการครอบครองโดยมีค่าตอบแทนผู้ซื้อจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้ส่งมอบการครอบครองที่ดินที่ซื้อขาย เพื่อโอนการครอบครองให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาได้ แต่จะบังคับให้โอนที่ดินโดยทำเป็นหนังสือและจำทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นโมฆะ แต่สิทธิครอบครองยังฟ้องบังคับได้
สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าที่ทำเป็นหนังสือโดยมิได้มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าผู้ซื้อกับผู้ขายประสงค์จะให้สัญญาซื้อขายได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่นนี้ การที่จะนำสืบว่าผู้ขายจะไปยื่นคำขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) แล้วจะ จดทะเบียนโอนให้ผู้ขายนั้น เป็นการสืบเพิ่มเติมเอกสาร สัญญาซื้อขาย ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา94 สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่ดิน เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา456 วรรคแรก และ มาตรา115

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3187-3188/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายมีเงื่อนไข การเป็นตัวแทนเชิด และอำนาจฟ้องบังคับให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากตัวแทนจำหน่ายของจำเลยราคา 68,000 บาท ชำระในวันทำสัญญา 16,000 บาท และผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 2,000 บาท ตลอดมา ชำระงวดสุดท้ายแล้ว 40,000 บาท เมื่อโจทก์ขอให้แก้ชื่อในทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อโจทก์เป็นเจ้าของ ตัวแทนของจำเลยและจำเลยขอผัดเรื่อยมาจึงขอให้บังคับจำเลยจัดการจดทะเบียนรถยนต์แก้ชื่อเป็นชื่อของโจทก์ ดังนี้ เป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม โจทก์หาจำต้องแสดงหลักฐานสัญญาเช่าซื้อประกอบข้ออ้างในคำฟ้องไม่
โจทก์ฟ้องว่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยโดยมี ส.ตัวแทนจำหน่ายของจำเลย ดังนี้ การที่ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยรู้แล้วยอมให้ ส.เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยต้องรับผิดเสมือนว่า ส.เป็นตัวแทนของจำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยตามข้อหาในฟ้องที่ว่า ส.เป็นตัวแทนของจำเลย ไม่เป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในฟ้อง
แม้โจทก์บรรยายฟ้องและขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนแก้ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทตามสัญญาซึ่งโจทก์เรียกว่าสัญญาเช่าซื้อ แต่เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าสัญญานั้นเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และโจทก์ได้ชำระราคารถยนต์พิพาทครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญานั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องเรียกชื่อสัญญาดังกล่าวว่าสัญญาเช่าซื้อ หาเป็นข้อสารสำคัญไม่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนแก้ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองโมฆะเนื่องจากพยานไม่ครบ แต่สมบูรณ์ในฐานะพินัยกรรมธรรมดาได้
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองซึ่งมีผู้ลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานคนหนึ่งและมีผู้ลงลายมือชื่อเป็นพยานอีกคนหนึ่ง กับมีนายอำเภอผู้จัดทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อในฐานะนายอำเภอนั้นการลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานใช้ไม่ได้ พยานในพินัยกรรมจึงเหลือเพียงคนเดียวขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 แต่พินัยกรรมฉบับนี้ได้ทำต่อหน้านายอำเภอ จึงถือได้ว่านายอำเภอเป็นพยานในพินัยกรรมด้วยอีกผู้หนึ่งโดยไม่จำต้องมีข้อความเขียนบอกว่าลงชื่อเป็นพยานอีกฐานะหนึ่ง เมื่อรวมแล้วจึงเป็นพินัยกรรมที่ทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันอนุโลมเข้าแบบพินัยกรรมธรรมดาตามมาตรา 1656,136(อ้างฎีกาที่ 1612/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง: การลงลายพิมพ์นิ้วมือพยานไม่สมบูรณ์ แต่ถือเป็นพยานธรรมดาได้ หากมีพยานอื่นร่วมด้วย
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองซึ่งมีผู้ลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานคนหนึ่ง และมีผู้ลงลายมือชื่อเป็นพยานอีกคนหนึ่ง กับมีนายอำเภอผู้จัดทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อในฐานะนายอำเภอนั้น การลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานใช้ไม่ได้ พยานในพินัยกรรมจึงเหลือเพียงคนเดียวขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 แต่พินัยกรรมฉบับนี้ได้ทำต่อหน้านายอำเภอ จึงถือได้ว่านายอำเภอเป็นพยานในพินัยกรรมด้วยอีกผู้หนึ่งโดยไม่จำต้องมีข้อความเขียนบอกว่าลงชื่อเป็นพยานอีกฐานะหนึ่ง เมื่อรวมแล้วจึงเป็นพินัยกรรมที่ทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกับอนุโลมเข้าแบบพินัยกรรมธรรมดาตามมาตรา 1656, 136 (อ้างฎีกาที่ 1612/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เงินกู้ ดอกเบี้ยเกินอัตรา และการพิสูจน์การชำระหนี้ด้วยพยานบุคคล
จำเลยอ้างว่าชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้วบางส่วน และโจทก์ออกใบรับให้ แต่ต่อมาปลวกขึ้นบ้านจำเลยกินใบรับนั้นเสียดังนี้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
จำเลยกู้เงินโจทก์ไปจริงเพียง 2,000 บาท ซึ่งจำเลยชำระแล้ว 1,000 บาท ส่วนอีก 2,420 บาท เป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าที่โจทก์เรียกเกินอัตราและคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้มีการตกลงเป็นหนังสือต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654,655 ดังนั้นดอกเบี้ยดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ตกเป็นโมฆะส่วนหนี้เงินต้นที่ยังคงค้างชำระอยู่อีก 1,000 บาทนั้น ยังคงสมบูรณ์อยู่ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับได้และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้กู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยเกินอัตราและทบต้นเป็นโมฆะ ส่วนที่สมบูรณ์บังคับได้
จำเลยอ้างว่าชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้วบางส่วน และโจทก์ออกใบรับให้แต่ต่อมาปลวกขึ้นบ้านจำเลยกับใบรับนั้นเสีย ดังนี้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
จำเลยกู้เงินให้โจทก์ไปจริงเพียง 2,000 บาท ซึ่งจำเลยชำระแล้ว 1,000 บาท ส่วนอีก 2,420 บาทเป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าที่โจทก์เรียกเกินอัตรา และคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้มีการตกลงเป็นหนังสือต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654, 655 ดังนั้นดอกเบี้ยดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ตกเป็นโมฆะ ส่วนหนี้เงินต้นที่ยังคงค้างชำระอยู่อีก 1,000 บาท นั้นยังคงสมบูรณ์อยู่ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ ในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับได้ และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จ
of 5