คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 72

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการซื้อขายที่ดินอันเกิดจากการจัดการทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มีที่มาจากบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ทำกับทายาทของ ก. เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ก. ให้แก่ทายาท โดยตกลงให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 8235 (เลขที่ 96870) ให้แก่โจทก์ จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก อันมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคสอง โจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามข้อตกลงในสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการมรดกโดยทั่วไปและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนภายใต้ขอบอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719, 1723, 1724 วรรคหนึ่ง และ 1745 การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกรู้ว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่กับโจทก์ แต่กลับมอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทวันที่ 22 มีนาคม 2561 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันที่ 10 เมษายน 2561 เป็นเวลาหลังจากได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทเพียง 18 วัน แสดงให้เห็นถึงความต้องการของจำเลยที่ 1 ที่จะเอาที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกมาเป็นประโยชน์ของตนเพียงผู้เดียว ย่อมไม่เป็นไปเพื่อการจัดการทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอันเป็นการกระทำผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกและนอกขอบอำนาจของผู้จัดการมรดก จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้ผู้มีชื่อไปขอใบแทนทั้งที่โฉนดที่ดินไม่ได้สูญหาย ใบแทนโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 นำไปจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลให้โฉนดที่ดินถูกยกเลิกไป และถือไม่ได้ว่าใบแทนโฉนดที่ดินเป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่คู่กรณีจะนำไปใช้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. ได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 63 วรรคแรกและวรรคสอง, 72 การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีโต้แย้งสิทธิในที่ดิน: จำเลย (นายอำเภอ) ไม่ต้องรับผิดเมื่อมีข้อพิพาทระหว่างคู่กรณี
ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์มีข้อโต้แย้งกับ ฮ. หรือผู้จัดการมรดกของ ฮ.ที่ไม่ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์ครอบครองตามหนังสือสัญญาเลิกหุ้นส่วนโจทก์ต้องว่ากล่าวดำเนินคดีทางศาลแก่ ฮ.หรือผู้จัดการมรดกของ ฮ.ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71ประกอบด้วยมาตรา 72 หมายถึง ผู้ประสงค์จะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจะต้องมีสิทธิในอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยชอบและคู่กรณีนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หาใช่หนังสือแสดงสิทธิเป็นของผู้อื่นและยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่เช่นกรณีของโจทก์ไม่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่สามารถที่จะจดทะเบียนสิทธิครอบครองให้ได้ขอให้โจทก์ใช้สิทธิทางศาลเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบไม่เป็นละเมิดและไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานที่ดินไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามคำพิพากษา เนื่องจากโฉนดอยู่กับธนาคารจำนอง ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานที่ดินไม่ยอมจดทะเบียนโอนโฉนดให้ตามคำพิพากษาเพราะจำเลยจำนองที่ดินพิพาทไว้กับธนาคารซึ่งไม่ยอมส่งโฉนดที่ดินมาให้เช่นนี้โจทก์จะร้องขอให้ศาลในคดีเดิมมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนให้โดยไม่ต้องมีโฉนดคู่ฉบับมาแสดงหาได้ไม่เพราะเจ้าพนักงานที่ดินเป็นบุคคลภายนอกและกรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่ให้คำพิพากษามีผลผูกพันบุคคลภายนอกได้ตามป.วิ.พ.มาตรา145หากโจทก์เห็นว่าการที่เจ้าพนักงานที่ดินไม่กระทำการตามที่โจทก์ประสงค์นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็ชอบที่โจทก์จะดำเนินการว่ากล่าวกับเจ้าพนักงานที่ดินตามกฎหมายต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารมอบอำนาจโดยสุจริต แม้ลายมือชื่อและตราประทับจะคล้ายคลึงกับของจริง ไม่ถือเป็นความประมาทเลินเละ
คดีก่อนจำเลยที่5ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยที่3ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทและศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดในคดีดังกล่าวว่าจำเลยที่5ไม่มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในการปลอมใบมอบอำนาจคำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์คดีนี้ตามป.วิ.พ.มาตรา145โจทก์จะมาอ้างในคดีนี้อีกว่าจำเลยที่5ได้มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นเกี่ยวกับการกระทำปลอมหนังสือมอบอำนาจที่ใช้ในการขายที่ดินพิพาทให้กับโจทก์หาได้ไม่ กรมที่ดินได้วางระเบียบเพื่อป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้นเกี่ยวแก่การมอบอำนาจไว้ว่า"ฯโดยที่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบลายมือชื่อมิใช่ผู้ชำนาญการพิเศษโดยเฉพาะการตรวจสอบจึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างวิญญูชนจะพึงกระทำได้...ฯลฯ...การตรวจสอบลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจ...ให้ตรวจสอบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับของเดิมพอที่จะเชื่อถือได้หรือไม่...ฯลฯ..."ดังนี้เมื่อลายมือชื่อปลอมของผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจปลอมกับลายมือชื่อที่แท้จริงของผู้มอบอำนาจมีลักษณะตัวอักษรช่องไฟและลีลาในการเขียนคล้ายคลึงกันมากในสายตาของวิญญูชนย่อมถือได้ว่าเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันการที่เจ้าพนักงานที่ดินเชื่อว่าลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจปลอมเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงจึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานที่ดินกระทำโดยประมาทเลินเล่อ กรมที่ดินวางระเบียบว่า"หนังสือมอบอำนาจควรมีพยานอย่างน้อย1คนถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายมือต้องมีพยาน2คน...ฯลฯ..."เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจนอกจากจะมีผู้รับมอบอำนาจลงชื่อเป็นพยานคนหนึ่งแล้วยังมีลายมือชื่อพยานอื่นอีกเช่นนี้แม้จะตัดลายมือชื่อพยานที่เป็นผู้รับมอบอำนาจออกไปใบมอบอำนาจนั้นก็ยังสมบูรณ์อยู่เมื่อไม่มีระเบียบให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจสอบใบมอบอำนาจถ่ายบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจติดเรื่องไว้การที่เจ้าพนักงานไม่ได้กระทำเช่นนั้นจึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นคนประมาทเลินเล่อถึงกับเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหาย โจทก์เบิกความเพียงว่าหากจำเลยที่3ตรวจดวงตราเขตบางรักที่ประทับก็จะรู้ว่าเป็นตราปลอมส่วนจำเลยที่4ก็เคยเห็นดวงตราเขตบางรักเสมอๆแต่มิได้นำสืบให้เห็นว่าดวงตราที่แท้จริงของเขตบางรักเป็นอย่างไรคำเบิกความของโจทก์จึงเป็นเพียงความเข้าใจหรือการคาดคะเนของโจทก์เองเป็นการเลื่อนลอยกรณียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่3ที่4กระทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของเจ้าพนักงานที่ดินในการตรวจสอบหนังสือมอบอำนาจ – พยานหลักฐานต้องชัดเจนและมีน้ำหนัก
คดีก่อนจำเลยที่5ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยที่3ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทและศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดในคดีดังกล่าวว่าจำเลยที่5ไม่มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในการปลอมใบมอบอำนาจคำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์คดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145โจทก์จะมาอ้างในคดีนี้อีกว่าจำเลยที่5ได้มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นเกี่ยวกับการกระทำปลอมหนังสือมอบอำนาจที่ใช้ในการขายที่ดินพิพาทให้กับโจทก์หาได้ไม่. กรมที่ดินได้วางระเบียบเพื่อป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้นเกี่ยวแก่การมอบอำนาจไว้ว่า'ฯโดยเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบลายมือชื่อมิใช่ผู้ชำนาญการพิเศษโดยเฉพาะการตรวจสอบจึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างวิญญูชนจะพึงกระทำได้.....ฯลฯ.....การตรวจสอบลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจ....ให้ตรวจสอบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับของเดิมพอที่จะเชื่อถือได้หรือไม่....ฯลฯ....'ดังนี้เมื่อลายมือชื่อปลอมของผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจปลอมกับลายมือชื่อที่แท้จริงของผู้มอบอำนาจมีลักษณะตัวอักษรช่องไฟและลีลาในการเขียนคล้ายคลึงกันมากในสายตาของวิญญูชนย่อมถือได้ว่าเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันการที่เจ้าพนักงานที่ดินเชื่อว่าลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจปลอมเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงจึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานที่ดินกระทำโดยประมาทเลินเล่อ. กรมที่ดินวางระเบียบว่า'หนังสือมอบอำนาจควรมีพยานอย่างน้อย1คนถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายมือต้องมีพยาน2คน...ฯลฯ...'เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจนอกจากจะมีผู้รับมอบอำนาจลงชื่อเป็นพยานคนหนึ่งแล้วยังมีลายมือชื่อพยานอื่นอีกเช่นนี้แม้จะตัดลายมือชื่อพยานที่เป็นผู้รับมอบอำนาจออกไปใบมอบอำนาจนั้นก็ยังสมบูรณ์อยู่เมื่อไม่มีระเบียบให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจสอบใบมอบอำนาจถ่ายบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจติดเรื่องไว้การที่เจ้าพนักงานไม่ได้กระทำเช่นนั้นจึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อถึงกับเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหาย. โจทก์เบิกความเพียงว่าหากจำเลยที่3ตรวจดวงตราเขตบางรักที่ประทับก็จะรู้ว่าเป็นตราปลอมส่วนจำเลยที่4ก็เคยเห็นดวงตราเขตบางรักเสมอๆแต่มิได้นำสืบให้เห็นว่าดวงตราที่แท้จริงของเขตบางรักเป็นอย่างไรคำเบิกความของโจทก์จึงเป็นเพียงความเข้าใจหรือการคาดคะเนของโจทก์เองเป็นการเลื่อนลอยกรณียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่3ที่4กระทำละเมิดต่อโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2708/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนโอนที่ดินตามคำพิพากษาศาล: ไม่จำเป็นต้องใช้ น.ส.3 ฉบับผู้ถือ หากศาลมีคำสั่งให้ถือคำพิพากษาเป็นเจตนา
ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72 ที่บัญญัติให้คู่กรณีนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น หมายถึงคู่กรณีที่มีความประสงค์จะขอทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยปกติธรรมดา จึงต้องนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับผู้ถือมาจดทะเบียน มิใช่กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาชี้ขาดให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของคู่กรณีที่ไม่ยอมมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
การที่ศาลพิพากษาให้ บ. โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของ บ. เมื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ขอจดทะเบียนที่ดิน โดยถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของ บ. ดังนี้ แม้โจทก์ไม่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ฉบับผู้ถือไปแสดงเพราะบ. ผู้มีชื่อใน น.ส.3 ไม่ยอมมาจดทะเบียนให้ จำเลยก็ชอบที่จะจดทะเบียนให้ตามคำพิพากษานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต แม้ประกาศขายจะผิดพลาด ย่อมได้รับสิทธิตามมาตรา 1330
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินมีโฉนดของโจทก์มาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่โจทก์ร่วมซึ่งเป็นสามีโจทก์ถูกจำเลยฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ แม้ในการยึดเจ้าพนักงานบังคับคดีจะยึดอย่างที่ดินมือเปล่าโดยนำ ส.ค.1 สำหรับที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ร่วมมา และประกาศขายทอดตลาดว่าเป็นที่ดินมี ส.ค. 1 โดยระบุเลขที่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำโดยสุจริต และจำเลยเป็นผู้ซื้อที่ดินดังกล่าวจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต จำเลยย่อมได้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีกระทบสิทธิผู้รับโอนสิทธิในที่ดิน ส.ค.1 ตามคำพิพากษาตามยอม
เมื่อที่พิพาทมี ส.ค.1 แล้ว ก็แสดงว่าเป็นที่ดินที่มีผู้ครอบครองและทำประโยชน์อยู่แล้ว ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 5 และในเมื่อเป็นที่ที่ทำประโยชน์อยู่แล้วเช่นนี้ เพียงแต่มีคำรับรองจากนายอำเภอก็โอนกันได้ตามมาตรา 9 โดยมีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินมาจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72ดังนั้นผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิของตนตามคำพิพากษาตามยอมได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ด้วยเหตุนี้ แม้ที่ดินจะยังเป็นของจำเลยอยู่ก็ตาม แต่โจทก์ก็จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินนั้นให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องดังกล่าวแล้วหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา287(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน ส.ค.๑ ที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกให้ผู้ร้อง แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องได้
เมื่อที่พิพาทมี ส.ค.1 แล้ว ก็แสดงว่าเป็นที่ดินที่มีผู้ครอบครองและทำประโยชน์อยู่แล้ว ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 5 และในเมื่อเป็นที่ที่ทำประโยชน์อยู่แล้วเช่นนี้ เพียงแต่มีคำรับรองจากนายอำเภอก็โอนกันได้ตามมาตรา 9 โดยมีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินมาจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72 ดังนั้นผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิของตนตามคำพิพากษาตามยอมได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ด้วยเหตุนี้ แม้ที่ดินจะยังเป็นของจำเลยอยู่ก็ตาม แต่โจทก์ก็จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินนั้นให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องดังกล่าวแล้วหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา287
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน ส.ค.1 ที่ทำประโยชน์แล้ว การบังคับคดี และการจดทะเบียนโอนตามคำพิพากษา
เมื่อที่พิพาทมี ส.ค.1 แล้ว ก็แสดงว่าเป็นที่ดินที่มีผู้ครอบครองและทำประโยชน์อยู่แล้ว ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 5. และในเมื่อเป็นที่ที่ทำประโยชน์อยู่แล้วเช่นนี้ เพียงแต่มีคำรับรองจากนายอำเภอก็โอนกันได้ตามมาตรา 9. โดยมีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินมาจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72. ดังนั้นผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิของตนตามคำพิพากษาตามยอมได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300. ด้วยเหตุนี้ แม้ที่ดินจะยังเป็นของจำเลยอยู่ก็ตาม แต่โจทก์ก็จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินนั้นให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องดังกล่าวแล้วหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา287.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511).
of 2