พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การปฏิเสธฟ้องต้องชัดเจน เหตุแห่งการปฏิเสธต้องแสดงให้เห็นการกระทำที่เป็นเหตุให้ไม่ต้องรับผิดตามสัญญา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ คำให้การของจำเลยประกอบคำแถลงของจำเลยในวันชี้สองสถานมีข้อความว่า จำเลยขอปฏิเสธฟ้องโดยสิ้นเชิง เพราะสัญญาที่โจทก์ทำขึ้นเป็นการฉ้อฉล โดยโจทก์ใช้อุบายหลอกลวงให้จำเลยลงชื่อในสัญญากู้ และจำเลยไม่ได้รับเงินจากโจทก์เช่นนี้ การใช้อุบายหลอกลวงของโจทก์ก็มีความหมายเช่นเดียวกับการฉ้อฉลที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กระทำขึ้นนั่นเอง ไม่อาจทำให้เข้าใจได้ว่าโจทก์กระทำการอย่างไรบ้าง อันจะแสดงว่าเป็นการฉ้อฉลหรือใช้อุบายหลอกลวงจำเลย และเป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้ จึงเป็นคำให้การปฏิเสธที่มิได้แสดงเหตุโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสองจำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบตามคำให้การ
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ จำเลยย่อมมีภาระการพิสูจน์ว่าเหตุใดจึงจะไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้นั้น แต่เมื่อคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ คดีก็ไม่จำเป็นต้องทำการสืบพยานโจทก์ต่อไป ศาลย่อมมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ จำเลยย่อมมีภาระการพิสูจน์ว่าเหตุใดจึงจะไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้นั้น แต่เมื่อคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ คดีก็ไม่จำเป็นต้องทำการสืบพยานโจทก์ต่อไป ศาลย่อมมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ไม่สมบูรณ์จากการเจรจาชดใช้หนี้เดิม สัญญาที่ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ฝ่ายเดียว
โจทก์เป็นหนี้อาจำเลย โจทก์จ่ายเงินให้อาจำเลยไป20,000 บาท และให้จำเลยทำสัญญาว่าจะผ่อนคืนให้โจทก์เดือนละ 300 บาทจำเลยทำสัญญากู้ให้โจทก์ก็เพื่อให้โจทก์ยอมชำระหนี้แก่อาจำเลย โดยจำเลยไม่ได้รับเงินหรือมีมูลหนี้ที่จะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ - มูลหนี้ - การแปลงหนี้ - หลักประกัน - ความรับผิด
จำเลยยอมตกลงว่าจะใช้เงินที่โจทก์เสียไปคืนให้แก่โจทก์หากบุตรโจทก์ไม่ได้ไปทำงานที่ต่างประเทศตามที่จำเลยชักนำ โดยจำเลยยอมทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้เพื่อเป็นหลักประกัน เมื่อบริษัทจัดหางานไม่สามารถส่งบุตรโจทก์ไปทำงานต่างประเทศได้ จำเลยก็ต้องรับผิดใช้หนี้ให้โจทก์ตามที่ตกลงทำสัญญากู้ไว้ จะอ้างว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันหาได้ไม่ เพราะการกู้ยืมเงินนั้น ผู้กู้ไม่จำต้องรับเงินไปจากผู้ให้กู้เสมอไป ผู้กู้อาจตกลงยอมรับเอาหนี้สินอย่างอื่นมาแปลงเป็นหนี้เงินกู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3326/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายบริษัทไม่ใช่การกู้ยืม และการประนีประนอมยอมความเป็นหลักฐานการเกิดหนี้ที่ใช้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
จ่ายเงินทดรองค่าใช้จ่ายของบริษัทไม่ใช่กู้ยืมเงิน ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อเป็นหนี้กันจริงก็ไม่เป็นการสมยอม ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายให้ดำเนินการกู้เงิน เงินที่ได้รับถือเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกร้องหนี้สินได้เต็มจำนวน
ลูกหนี้ได้กู้เงินเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ไปสองครั้งโดยได้ทำสัญญากู้ไว้ 2 ฉบับฉบับละ 400,000 บาท แม้จะปรากฏว่าเงินที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ในครั้งแรกจำนวน 400,000 บาท เป็นเงินของเจ้าหนี้เอง 200,000 บาท และเป็นเงินของบิดาเจ้าหนี้ 200,000 บาท และเงินที่ให้ลูกหนี้กู้ในครั้งที่สองเป็นเงินของเจ้าหนี้เอง 100,000 บาท เป็นของบิดาเจ้าหนี้ 100,000 บาท และเป็น ของ ท. ป้าของเจ้าหนี้ 200,000 บาท ก็ตาม เงินในส่วนที่เป็นของบิดาเจ้าหนี้และของป้าเจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นเงินที่บิดาและป้ามอบหมายให้เจ้าหนี้เป็นผู้ดำเนินการให้ลูกหนี้กู้ไป จึงเท่ากับเจ้าหนี้เป็นผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินทั้งหมดตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับนั้นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ได้เต็มตามจำนวนที่ลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้เงินจากบุคคลอื่นแล้วนำมาให้ลูกหนี้กู้ต่อ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหนี้ได้เต็มจำนวน
ลูกหนี้ได้กู้เงินเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ไปสองครั้งโดยได้ทำสัญญากู้ไว้ 2 ฉบับ ฉบับละ 400,000 บาท แม้จะปรากฏว่าเงินที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ในครั้งแรกจำนวน 400,000 บาท เป็นเงินของเจ้าหนี้เอง 200,000 บาท และเป็นเงินของบิดาเจ้าหนี้ 200,000 บาท และเงินที่ให้ลูกหนี้กู้ในครั้งที่สองเป็นเงินของเจ้าหนี้เอง 100,000 บาท เป็นของบิดาเจ้าหนี้ 100,000 บาท และเป็นของ ท.ป้าของเจ้าหนี้ 200,000 บาทก็ตาม เงินในส่วนที่เป็นของบิดาเจ้าหนี้และของป้าเจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นเงินที่บิดาและป้ามอบหมายให้เจ้าหนี้เป็นผู้ดำเนินการให้ลูกหนี้กู้ไป จึงเท่ากับเจ้าหนี้เป็นผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินทั้งหมดตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับนั้น เจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ได้เต็มตามจำนวนที่ลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่ยังไม่สมบูรณ์ การพิสูจน์การรับเงินเป็นสาระสำคัญ
จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้และรับเงินตามเอกสารซึ่งโจทก์ให้จำเลยลงพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ แล้วโจทก์กรอกข้อความเอาในภายหลัง จำเลยไม่ได้รับเงินจากโจทก์ จำเลยเชื่อกลฉ้อฉลของโจทก์ ดังนี้ เรื่องจำเลยไม่ได้รับเงินที่กู้ การกู้จึงไม่สมบูรณ์ตาม มาตรา 650 ไม่ใช่นอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์ด้วยการขู่เข็ญ: การแย่งเงินจากผู้ถูกข่มขู่ ถือเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แม้เงินยังไม่ได้ส่งมอบ
จำเลยบังคับให้ บ. ยืมเงิน ท. มาให้จำเลย การที่จำเลยถือปืนขู่ บ. เป็นการขู่ ท. อยู่ในตัว ท. หยิบเงินออกมายังไม่ทันส่งมอบแก่ บ. จำเลยเอาเงินไปจากมือ ท. เป็นชิงทรัพย์ ท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาที่ผูกพันทายาทหลังเจ้ามรดกถึงแก่กรรม และอายุความในการฟ้องเรียกหนี้
โจทก์ฟ้องทายาทผู้ตายขอให้คืนเงินที่ผู้ตายกู้ยืมไปให้แก่โจทก์โดยกล่าวในฟ้องว่า ผู้ตายทำสัญญาให้โจทก์เช่าที่ดินเพื่อปลูกห้องแถวโดยสิ่งปลูกสร้างจะต้องตกเป็นของผู้ตาย ต่อมาผู้ตายได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตกลงจะชำระคืนให้โจทก์ภายในเวลาที่กำหนด หรือเมื่อห้องที่โจทก์เช่าถูกไฟไหม้ หรืออาคารที่สร้างชำรุด และโจทก์ไม่ทำการก่อสร้างใหม่ภายใน 6 เดือน ให้ถือว่าสัญญากู้ยืมเป็นอันระงับ ผู้ตายต้องคืนเงินให้แก่โจทก์และระบุไว้ในสัญญาข้อหนึ่งว่า "ในระหว่างอายุแห่งสัญญานี้ยังมีผลใช้บังคับอยู่ ถ้าผู้ให้สัญญา(ผู้ตาย) ถึงแก่กรรม ผลแห่งสัญญานี้ผู้ให้สัญญายอมให้ผูกพันทายาทผู้รับทรัพย์มรดกรายนี้ต่อไปจนครบอายุสัญญา หรือตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ . . . . ." ตามสัญญาข้อนี้แสดงให้เห็นว่าหนี้รายนี้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อทายาทของผู้ตายได้รับที่ดินแปลงที่โจทก์เช่าจากเจ้ามรดกแล้วกรณีแห่งคดีนี้จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลย (ทายาท) คืนเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยในฐานะที่จำเลยเป็นผู้สืบสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับผู้ตาย ซึ่งโจทก์ถือว่าจำเลยเป็นผู้รับมรดกของผู้ตายเฉพาะที่แปลงที่โจทก์เช่าเป็นคู่สัญญากับโจทก์ กรณีมิใช่โจทก์เป็นเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดก จะนำบทบัญญัติมาตรา 1754 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบสิทธิในหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อและผลของการระงับสัญญาต่อการเกิดหนี้ของทายาท
โจทก์ฟ้องทายาทผู้ตายขอให้คืนเงินที่ผู้ตายกู้ยืมไปให้แก่โจทก์โดยกล่าวในฟ้องว่า ผู้ตายทำสัญญาให้โจทก์เช่าที่ดินเพื่อปลูกห้องแถวโดยสิ่งปลูกสร้างจะต้องตกเป็นของผู้ตาย ต่อมาผู้ตายได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตกลงจะชำระคืนให้โจทก์ภายในเวลาที่กำหนด หรือเมื่อห้องที่โจทก์เช่าถูกไฟไหม้ หรืออาคารที่สร้างชำรุด และโจทก์ไม่ทำการก่อสร้างใหม่ภายใน 6 เดือน ให้ถือว่าสัญญากู้ยืมเป็นอันระงับ ผู้ตายต้องคืนเงินให้แก่โจทก์และระบุไว้ในสัญญาข้อหนึ่งว่า "ในระหว่างอายุแห่งสัญญานี้ยังมีผลใช้บังคับอยู่ ถ้าผู้ให้สัญญา (ผู้ตาย) ถึงแก่กรรม ผลแห่งสัญญานี้ผู้ให้สัญญายอมให้ผูกพันทายาทผู้รับทรัพย์มรดกรายนี้ต่อไปจนครบอายุสัญญา หรือตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้....."ตามสัญญาข้อนี้แสดงให้เห็นว่าหนี้รายนี้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อทายาทของผู้ตายได้รับที่ดินแปลงที่โจทก์เช่าจากเจ้ามรดกแล้ว กรณีแห่งคดีนี้จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลย (ทายาท) คืนเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยในฐานะที่จำเลยเป็นผู้สืบสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับผู้ตาย ซึ่งโจทก์ถือว่าจำเลยเป็นผู้รับมรดกของผู้ตายเฉพาะที่แปลงที่โจทก์เช่าเป็นคู่สัญญากับโจทก์ กรณีมิใช่โจทก์เป็นเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดก จะนำบทบัญญัติมาตรา 1754 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับไม่ได้