คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 650

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญากู้ที่ไม่ชัดเจนเรื่องอัตราดอกเบี้ย ศาลอนุญาตให้สืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายความหมายได้
เมื่อสัญญากู้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้แต่เพียงร้อยละห้าไม่ชัดเจนว่าร้อยละห้าสลึงหรือร้อยละห้าบาท โจทก์มีสิทธิสืบพยานบุคคลได้ว่าดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้นั้นร้อยละห้าสลึงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง เพราะเป็นการสืบอธิบายความหมายของสัญญากู้ มิใช่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญากู้ที่ไม่ชัดเจนเรื่องดอกเบี้ย การสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายความหมายของสัญญา
เมื่อสัญญากู้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้แต่เพียงร้อยละห้าไม่ชัดเจนว่าร้อยละห้าสลึงหรือร้อยละห้าบาท โจทก์มีสิทธิสืบพยานบุคคลได้ว่าดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้นั้นร้อยละห้าสลึงได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรค 2 เพราะเป็นการสืบอธิบายความหมายของสัญญากู้ มิใช่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และข้อยกเว้นการห้ามนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสาร
ฟ้องโจทก์มีทุนทรัพย์ 37,500 บาท ส่วนฟ้องแย้งมีทุนทรัพย์ 30,000 บาท คำขออื่นตามฟ้องแย้งเป็นคำขอไม่มีทุนทรัพย์ต่อเนื่องจากคำขอมีทุนทรัพย์ดังนั้นทุนทรัพย์ที่พิพาทตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกินห้าหมื่นบาทเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6)พ.ศ.2518 มาตรา 6
การที่จำเลยนำสืบว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้นั้น มิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างสัญญาเช่าซื้อว่าไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์ และการนำสืบหักล้างสัญญาเช่าซื้อว่าเป็นนิติกรรมอำพราง
ฟ้องโจทก์มีทุนทรัพย์ 37,500 บาท ส่วนฟ้องแย้งมีทุนทรัพย์ 30,000 บาท คำขออื่นตามฟ้องแย้งเป็นคำขอไม่มีทุนทรัพย์ต่อเนื่องจากคำขอมีทุนทรัพย์ ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกินห้าหมื่นบาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 6
การที่จำเลยนำสืบว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้นั้น มิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร หากแต่เป็นการนำสืบหักล้างสัญญาเช่าซื้อว่าไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ยืมเงินทดรอง และผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตของลูกน้อง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ผู้ยืมเงินทดรองจากโจทก์ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับขององค์การโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ยืมเงินทดรองแล้วมอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 รับแทน แล้วจำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกไปโดยไม่ได้ติดตามควบคุมให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับให้มีการหักล้างเงินยืมภายใน 7 วัน หรือ 30 วัน นับแต่วันจ่ายเงินของแต่ละประเภทตามระเบียบข้อบังคับนั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ปฏิบัติราชการโดยประมาทเลินเล่อต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ลงชื่อในใบยืมเงินทดรองของโจทก์ไปโดยตำแหน่งหน้าที่ในฐานะพนักงานของโจทก์ในขอบเขตแห่งหน้าที่ของตนตามระเบียบแบบแผนของโจทก์ที่วางไว้เพื่อใช้ดำเนินงานของโจทก์โดยมอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 ส่งเงินไปยังหน่วยงานที่ยืมนั้น แม้จะมีข้อบังคับให้ผู้ยืมต้องส่งเงินเหลือจ่ายคืนพร้อมใบสำคัญคู่จ่ายเพื่อหักล้างบัญชีก็เป็นเรื่องกำหนดความรับผิดชอบของผู้ยืมไว้เป็นการเฉพาะเป็นหลักปฏิบัติงานในหน่วยงานของโจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 มิได้อยู่ในฐานะของผู้ยืมตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงิน เช็คคืนเงินไม่ได้ สิทธิเรียกร้องหนี้ และดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย
จำเลยกู้เงินโจทก์ 60,000 บาท ออกเช็คให้โจทก์ไว้โจทก์โอนเช็คต่อไปจนถึง ว. ว. เบิกเงินไม่ได้ จำเลยทำหนังสือกู้ให้โจทก์ไว้ 84,000 บาท รวมกับหนี้ที่จำเลยรับโอนจาก ท. ลูกหนี้โจทก์ ต่อมา ว. ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยดังนี้โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามเช็คสัญญากู้ที่จำเลยทำให้โจทก์จึงไม่มีมูลหนี้จำนวนนี้ ส่วนอีก 20,000 บาท ซึ่งจำเลยรับโอนจาก ท. ลูกหนี้โจทก์นั้น จำเลยต้องชำระแก่โจทก์แต่ดอกเบี้ยอีก 4,000 บาท นั้นเป็นอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนดอกเบี้ยเป็นโมฆะโจทก์คงเรียกจากจำเลยได้เพียง 20,000 บาท กับดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันฟ้อง
หนี้ตามสัญญากู้ 84,000 บาท เป็นหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกาพิพากษาลดเป็นให้จำเลยใช้ 20,000 บาท ให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานเพื่อพิสูจน์จำนวนเงินกู้ที่ได้รับจริง ไม่ถือเป็นการแก้ไขเอกสาร และข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามจำนวนในสัญญากู้ 8,000 บาท แม้โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องว่าจำเลยได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้ว แต่พอเข้าใจตามคำฟ้องนั้นได้ว่าจำเลยได้รับเงินตามสัญญากู้แล้ว จำเลยให้การว่ากู้ไปเพียง 300 บาท แต่โจทก์ตกลงให้มารับเงินกู้ไปจนครบจำนวนที่ลงไว้ในสัญญากู้ จำเลยได้รับเงินกู้ไปหลายครั้ง เป็นเงินรวมทั้งหมด 3,300 บาท เห็นได้ว่าจำเลยสู้คดีว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องไม่สมบูรณ์ เพราะโจทก์ส่งมอบเงินตามสัญญากู้ให้จำเลยไม่ครบจำนวนที่ตกลงกัน จำเลยมีสิทธิ์นำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ว่าได้รับเงินจากโจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยมิได้นำข้อความในเอกสารบางข้อที่อ้างอิงขึ้นมาวินิจฉัย แต่นำข้อความบางข้อมาวินิจฉัยในทางที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ เป็นการมิชอบ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดีของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขีดฆ่าอากรแสตมป์ไม่จำเป็นต้องลงวันเดือนปี หากมีเจตนาทำให้ใช้ไม่ได้ สัญญาใช้เป็นพยานหลักฐานได้
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 103 จะให้ความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ว่า "การกระทำเพื่อมิใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณีแสตมป์ปิดทับได้ลงลายมือชื่อ หรือลงชื่อห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวัน เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย ฯลฯ"ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่า ความมุ่งหมายขอคำว่า "ขีดฆ่า" นั้น ก็เพื่อจะให้แสตมป์ที่ปิดทับเอกสารนั้นใช้ไม่ได้ต่อไปเท่านั้น มาตรา 103 จึงให้ความหมายไว้ในตอนแรกว่า เป็นการกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก ส่วนข้อความตอนต่อไปนั้นเป็นเพียงการอธิบายเพิ่มเติมวิธีกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อได้กระทำการใด ๆ ให้แสตมป์นั้นใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามข้อความที่อธิบายเพิ่มเติมไว้ก็ถือได้ว่าเป็นการขีดฆ่าตามความหมายของมาตรา 103 ที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับคำว่า ขีดฆ่า นั้นแล้ว
การขีดฆ่าอากรแสตมป์ที่ปิดบนเอกสารสัญญากู้ด้วยหมึกเพื่อมิให้อากรแสตมป์นั้นใช้ไดอีกต่อไป เป็นการขีดฆ่าที่ชอบแล้ว แม้จะมิได้ลงวัน เดือน ปี ที่ขีดฆ่าก็ถือว่า สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องนี้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่ทำสัญญากู้เพราะดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยต้งอรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อไปในต้นเงินกู้ให้โจทก์ในระหว่างที่จำเลยผิดนัดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 224 และเมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีได้มีการผิดนัด จำเลยจึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การท้าตรวจลายมือชื่อเพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันสัญญา การยอมแพ้ตามคำท้าเมื่อความเห็นผู้เชี่ยวชาญเป็นไปตามที่ตกลง
โจทก์จำเลยท้ากันว่า ให้ศาลส่งลายมือชื่อของจำเลยในสัญญากู้กับลายเซ็นซึ่งจำเลยเซ็นต่อหน้าศาลและในใบแต่งทนายไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อของจำเลยจริง จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยโจทก์ยอมแพ้คดี ศาลส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์แล้ว ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า น่าเชื่อว่าลายมือชื่อในเอกสารเหล่านั้นเป็นของบุคคลคนเดียวกัน ดังนี้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นการสมตามคำท้าของโจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับผลการตรวจลายมือชื่อของผู้เชี่ยวชาญตามคำท้าของคู่ความ ถือเป็นการผูกพันตามข้อตกลง
โจทก์จำเลยท้ากันว่า ให้ศาลส่งลายมือชื่อของจำเลยในสัญญากู้กับลายเซ็นซึ่งจำเลยเซ็นต่อหน้าศาลและในใบแต่งทนายไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อของจำเลยจริง จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยโจทก์ยอมแพ้คดี ศาลส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์แล้ว ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า น่าเชื่อว่าลายมือชื่อในเอกสารเหล่านั้นเป็นของบุคคลคนเดียวกัน ดังนี้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นการสมตามคำท้าของโจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2518)
of 25