พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาจำนองเป็นเอกสารมหาชน โจทก์มีสิทธิได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานความถูกต้อง และจำเลยมีภาระพิสูจน์ความไม่บริบูรณ์
หนังสือสัญญาจำนองที่ดินมีข้อความว่า ถือสัญญาจำนองนี้เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินด้วยและผู้จำนองได้รับเงินเป็นการเสร็จแล้ว แม้การกู้ยืมเงินเข้าลักษณะเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองที่ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง แต่หนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ถึงความไม่บริบูรณ์ของการกู้ยืมเงินตามที่ปรากฏอยู่ในเอกสารขึ้นต่อสู้โจทก์ จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างจึงมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงถึงความไม่บริบูรณ์ของการกู้ยืมเงินเพื่อสนับสนุนคำให้การของตน ไม่ใช่ภาระการพิสูจน์ของฝ่ายโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 การที่โจทก์ไม่นำสืบหลักฐานการจ่ายเงินกู้ยืมให้แก่จำเลย จึงหาเป็นเหตุผลเพียงพอถึงกับจะทำให้ฟังว่าการกู้ยืมเงินไม่บริบูรณ์ไม่
โจทก์มีคำขอในส่วนของการบังคับจำนองว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนอง รวมตลอดทั้งยึดและอายัดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน โดยสัญญาจำนองที่ดินไม่มีข้อตกลงว่า หากมีการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ผู้จำนองยังจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดจำนวนอยู่จนครบถ้วน กรณีจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 733 ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ยังขาดจำนวนอยู่ โจทก์จึงไม่อาจมีคำขอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วนได้
โจทก์มีคำขอในส่วนของการบังคับจำนองว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนอง รวมตลอดทั้งยึดและอายัดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน โดยสัญญาจำนองที่ดินไม่มีข้อตกลงว่า หากมีการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ผู้จำนองยังจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดจำนวนอยู่จนครบถ้วน กรณีจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 733 ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ยังขาดจำนวนอยู่ โจทก์จึงไม่อาจมีคำขอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองห้องชุด, การรับผิดของลูกหนี้ร่วม, ดอกเบี้ยผิดนัด, การบังคับชำระหนี้
ข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของ จ. ว่า จำเลยที่ 4 ปลอมลายมือชื่อตน ทำรายงานการประชุมเท็จ และนำห้องชุด 20 ห้องของจำเลยที่ 5 ไปจดทะเบียนจำนองกับโจทก์ตามฟ้อง และ จ. มาฟ้องจำเลยที่ 4 เป็นคดีอาญาและคดีแพ่งดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วหรือไม่ ผลแห่งคดีเป็นเช่นไร ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวนั้น ก็เป็นเรื่องการดำเนินการภายในของจำเลยที่ 5 ไม่มีผลผูกพันโจทก์ โดยโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองห้องชุด 20 ห้อง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร ข้ออ้างของจำเลยที่ 5 ดังกล่าวจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้ โจทก์มิอาจทราบได้ว่าจำเลยที่ 4 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 5 ดังที่จำเลยที่ 5 ฎีกา ประกอบกับโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 5 โดยชอบแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาจำนองเพิ่มหลักทรัพย์เป็นประกันโดยไม่เพิ่มวงเงิน รวม 20 ห้องชุด และตามสัญญาค้ำประกัน ตามที่โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6612/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับจำนอง: การจำกัดความรับผิดของลูกหนี้เมื่อยึดทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้
แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้กู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานก่อนก็ตาม แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องด้วยว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ และบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองได้จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีเอาจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับจำนองด้วย เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าสัญญาจำนองไม่มีข้อตกลงกันว่า หากโจทก์ผู้รับจำนองเอาทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้แก่ผู้รับจำนองได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระให้ยึดทรัพย์สินอื่นของผู้จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาใช้หนี้แก่ผู้รับจำนองโดยครบถ้วนอันเป็นการตกลงยกเว้น ป.พ.พ. มาตรา 733 ไว้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ หากได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ โจทก์ไม่อาจขอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วนได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2559)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2559)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10011/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ แม้คำพิพากษาไม่ได้ระบุชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยชำระหนี้ตามสัญญากู้และโจทก์ประสงค์บังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้องซึ่งเป็นหลักประกัน อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องตามบทบัญญัติใน ป.พ.พ. อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติและเป็นคดีมีข้อพิพาท ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายแสดงให้เห็นแล้วว่าหากมีการบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยทั้งสามยอมรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ขาดนั้นให้โจทก์จนครบถ้วน และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุว่า หากจำเลยทั้งสามไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน ศาลย่อมมีอำนาจหน้าที่ตาม ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติในการที่จะวินิจฉัยและพิพากษาคดี โดยหากวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมายสารบัญญัติ ก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์ตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยทั้งสามในทางแพ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้เงิน รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองผู้ทรงทรัพยสิทธิจำนองเหนือที่ดินตามฟ้องตามกฎหมายสารบัญญัติด้วย ความรับผิดดังกล่าวของจำเลยทั้งสามก็คือ หนี้ตามคำพิพากษา หากจำเลยทั้งสามในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมมีสิทธิบังคับคดี และในกรณีหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน การบังคับคดีย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาตรา 278 และมาตรา 282 คือการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามหรือบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยทั้งสาม เพื่อนำออกขายทอดตลาดและนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ อันเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์โดยสืบเนื่องจากผลแห่งคำพิพากษา และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจำต้องระบุสิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามไว้ในคำพิพากษาด้วย ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามฟ้อง และโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสาม การที่คำพิพากษามิได้ระบุให้โจทก์ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดอันเป็นขั้นตอนในการบังคับคดี จึงหาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ เมื่อมีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่พอชำระหนี้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมบังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามนอกเหนือจากที่จำนองไว้ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้เงิน รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองผู้ทรงทรัพยสิทธิจำนองเหนือที่ดินตามฟ้องตามกฎหมายสารบัญญัติด้วย ความรับผิดดังกล่าวของจำเลยทั้งสามก็คือ หนี้ตามคำพิพากษา หากจำเลยทั้งสามในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมมีสิทธิบังคับคดี และในกรณีหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน การบังคับคดีย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาตรา 278 และมาตรา 282 คือการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามหรือบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยทั้งสาม เพื่อนำออกขายทอดตลาดและนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ อันเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์โดยสืบเนื่องจากผลแห่งคำพิพากษา และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจำต้องระบุสิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามไว้ในคำพิพากษาด้วย ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามฟ้อง และโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสาม การที่คำพิพากษามิได้ระบุให้โจทก์ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดอันเป็นขั้นตอนในการบังคับคดี จึงหาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ เมื่อมีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่พอชำระหนี้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมบังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามนอกเหนือจากที่จำนองไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3803/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการฟ้องคดี, สิทธิเรียกร้อง, การค้ำประกัน, สัญญาจำนอง, และข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
การออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์เป็นราชการประจำตามปกติที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังปฏิบัติอยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่เฉพาะแต่โจทก์ยังมีธนาคารอื่นที่ได้รับใบอนุญาตเช่นกัน ดังนั้น ปลัดกระทรวงการคลังย่อมใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์โดยตั้งเป็นสาขาในประเทศไทยได้ โดยไม่จำต้องผ่านความเห็นชอบของบุคคลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 6 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2514 ข้อ 1 การที่ปลัดกระทรวงการคลังออกใบอนุญาตให้แก่โจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย และตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 7 ทวิ บัญญัติว่า "ผู้ใดจะกระทำการแทนธนาคารต่างประเทศโดยมีสำนักงานติดต่อกับบุคคลทั่วไปในราชอาณาจักร หรือธนาคารพาณิชย์ใดนอกจากสาขาของธนาคารต่างประเทศจะตั้งสำนักงานเพื่อกระทำการแทนธนาคารพาณิชย์ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย..." เห็นได้ว่า บทบัญญัติดังกล่าวไม่ใช้บังคับแก่สาขาของธนาคารต่างประเทศ ดังนั้น ห. ผู้จัดการสาขาของโจทก์ในประเทศไทยซึ่งกระทำการแทนโจทก์มิได้กระทำเป็นการส่วนตัว จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อตกลงตามสัญญาจำนองที่ว่า หากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 3 ผู้จำนองจะชำระส่วนที่ขาดจนครบ แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะผิดไปจากบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 733 ก็ตาม แต่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงตามบันทึกต่อสัญญาจำนองที่กำหนดว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จำนองต้องรับผิดในส่วนที่ขาดหากบังคับจำนองแล้วไม่พอชำระหนี้ก็เป็นไปตามปกติประเพณีของสัญญาจำนอง ซึ่งจำเลยที่ 3 รวมทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างทราบดีอยู่แล้ว จะถือว่าโจทก์ได้เปรียบในการต่อรองในการปฏิบัติตามสัญญาและจำเลยทั้งสามต้องรับภาระหนักกว่าโจทก์มากตามความใน พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 10 (1) (3) และ (4) หาได้ไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
หนังสือสัญญาค้ำประกันแม้จะไม่ได้ระบุจำนวนเงินไว้ แต่การค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 และ 681 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าหนี้ที่ค้ำประกันจะต้องมีจำนวนแน่นอน โดยหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขซึ่งเกิดขึ้นได้จริงก็ค้ำประกันได้ หนังสือสัญญาค้ำประกันจึงมีผลบังคับได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์พร้อมกับคำพิพากษา จำเลยทั้งสามชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวพร้อมกับอุทธรณ์คำพิพากษาภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา แต่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งจนพ้นกำหนดอุทธรณ์แล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงยุติไป จำเลยทั้งสามจึงไม่อาจยกขึ้นฎีกาได้อีก ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อตกลงตามสัญญาจำนองที่ว่า หากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 3 ผู้จำนองจะชำระส่วนที่ขาดจนครบ แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะผิดไปจากบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 733 ก็ตาม แต่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงตามบันทึกต่อสัญญาจำนองที่กำหนดว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จำนองต้องรับผิดในส่วนที่ขาดหากบังคับจำนองแล้วไม่พอชำระหนี้ก็เป็นไปตามปกติประเพณีของสัญญาจำนอง ซึ่งจำเลยที่ 3 รวมทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างทราบดีอยู่แล้ว จะถือว่าโจทก์ได้เปรียบในการต่อรองในการปฏิบัติตามสัญญาและจำเลยทั้งสามต้องรับภาระหนักกว่าโจทก์มากตามความใน พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 10 (1) (3) และ (4) หาได้ไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
หนังสือสัญญาค้ำประกันแม้จะไม่ได้ระบุจำนวนเงินไว้ แต่การค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 และ 681 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าหนี้ที่ค้ำประกันจะต้องมีจำนวนแน่นอน โดยหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขซึ่งเกิดขึ้นได้จริงก็ค้ำประกันได้ หนังสือสัญญาค้ำประกันจึงมีผลบังคับได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์พร้อมกับคำพิพากษา จำเลยทั้งสามชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวพร้อมกับอุทธรณ์คำพิพากษาภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา แต่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งจนพ้นกำหนดอุทธรณ์แล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงยุติไป จำเลยทั้งสามจึงไม่อาจยกขึ้นฎีกาได้อีก ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประกันการชำระหนี้เฉพาะทรัพย์สินจำนอง: สิทธิเรียกร้องขยายไปยังทรัพย์สินอื่นไม่ได้
สัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินข้อ 6 ระบุว่า "เมื่อมีการบังคับจำนองเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกับหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วก็ดี... เงินยังขาดจำนวนเท่าใด ผู้จำนองและลูกหนี้ยอมรับผิดใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบ" เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีผลผูกพันและบังคับได้แต่เฉพาะระหว่างคู่สัญญาในลักษณะบุคคลสิทธิ มิใช่เป็นทรัพยสิทธิที่จะตกติดไปกับตัวทรัพย์สินซึ่งจำนอง จำเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองจากจำเลยที่ 2 มิได้มีนิติสัมพันธ์อันก่อให้เกิดสิทธิหรือหน้าที่อันใดกับโจทก์อย่างในฐานะผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้นหรือลูกหนี้ร่วมในหนี้ตามคำพิพากษา ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่มีอยู่แก่โจทก์ย่อมมีอยู่เพียงที่ทรัพย์สินซึ่งจำนองที่ตนรับโอนมาซึ่งตราเป็นประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจอ้างข้อตกลงตามสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าวมาเพื่อบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 3 ตามคำพิพากษานอกเหนือไปจากทรัพย์สินซึ่งจำนองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15363/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองน้อยกว่าหนี้ประธาน: บังคับจำนองได้เฉพาะวงเงินจำนอง ส่วนที่เกินยังต้องรับผิด
กรณีหนี้จำนองมีจำนวนน้อยกว่าหนี้ประธาน หากเอาทรัพย์จำนองหลุดและทรัพย์สินนั้นมีราคาต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ หรือถ้าเอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ เงินยังขาดอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ขาดนั้น แต่ในส่วนที่เกินกว่าวงเงินจำนอง ลูกหนี้ต้องรับผิดชำระหนี้ประธานต่อเจ้าหนี้จนครบจำนวนต่อไป ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ 5 กับโจทก์ จำเลยที่ 5 ตกลงจำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้ค่าภาษีอากร 593,750 บาท จากหนี้ค่าภาษีอากรซึ่งเป็นหนี้ประธาน 1,255,291.40 บาท โดยไม่มีข้อตกลงยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 733 ถ้านำที่ดินของจำเลยที่ 5 ขายทอดตลาดแล้วได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่า 593,750 บาท เงินยังขาดจากจำนวน 593,750 บาท อยู่เท่าใด จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ต้องรับผิดในส่วนของจำนวนเงินตามสัญญาจำนองที่ยังขาดอยู่ แต่หากนำที่ดินของจำเลยที่ 5 ดังกล่าวออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินจำนวนสุทธิมากกว่า 593,750 บาท เงินส่วนที่เกินจากจำนวน 593,750 บาท โจทก์ต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 5 เนื่องจากเกินวงเงินจำนองที่จำเลยที่ 5 มีเจตนาทำสัญญาจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 สำหรับจำนวนหนี้ค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ในส่วนที่เกินจำนวน 593,750 บาท ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินซึ่งเป็นหนี้ประธานนั้น จำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ค่าภาษีอากรค้างส่วนที่เกินจากวงเงินจำนองจนครบถ้วนต่อไป ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรค้างของจำเลยที่ 1 เพราะเป็นความรับผิดต่างหากจากสัญญาจำนองในหนี้ค่าภาษีอากรที่เกินจากวงเงินจำนองจนครบถ้วนต่อไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14806/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง: ผู้กู้และผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดในส่วนเกินหลังบังคับจำนอง หากสัญญามิได้ระบุข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 733
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ยืมและบังคับจำนอง เมื่อตามสัญญาจำนองมิได้ตกลงยกเว้นความใน ป.พ.พ. มาตรา 733 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในเงินส่วนที่ขาดหลังจากการบังคับจำนอง และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยตามมาตรา 698 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การจำกัดสิทธิเรียกร้องเมื่อบังคับคดีเฉพาะทรัพย์จำนอง
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมกำหนดไว้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ หนี้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้เงินกู้รวม 36,130,856.01 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 2 ตกลงร่วมรับผิดในหนี้ 27,265,664.86 บาท โจทก์ตกลงลดยอดหนี้ให้จำเลยทั้งสามเหลือจำนวน 19,152,000 บาท โดยให้ผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งยอมให้โจทก์บังคับคดีในยอดหนี้เต็มจำนวนและยึดทรัพย์จำนองตามฟ้องได้ทันที โดยไม่มีข้อความว่า หากบังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ก็ให้โจทก์บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นได้ด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามได้อีก และไม่อาจนำหนี้ที่เหลือมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดจำนอง: เจตนาจำนองเฉพาะวงเงินต้นเงิน, ทายาทรับผิดจำกัดมรดก
การแปลความหมายแห่งสัญญานั้นจะต้องดูข้อความที่ปรากฏในสัญญาทั้งฉบับและเจตนาของคู่สัญญาที่มุ่งทำสัญญาต่อกัน ตามสัญญาจำนองมีข้อความทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 7 ถึงที่ 10 ที่ 14 ที่ 16 ที่ 17 และ ผ. จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ตามสัญญาฝากเก็บและแปรสภาพข้าวเปลือกของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้กับโจทก์เป็นเงินแต่ละจำนวนที่ระบุไว้ตามลำดับ ซึ่งเป็นการระบุจำนวนต้นเงินไว้ชัดแจ้งแน่นอน แสดงให้เห็นว่าผู้จำนองแต่ละคนมีเจตนาจำนองที่ดินซึ่งประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวงเงินที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองเท่านั้น แม้สัญญาจำนองจะมีข้อสัญญาด้วยว่า เมื่อมีการบังคับจำนองเอาทรัพย์ซึ่งจำนองนี้ออกขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกับค่าอุปกรณ์ต่างๆ ดังได้กล่าวแล้วนั้นเงินยังขาดอยู่จำนวนเท่าใด ผู้จำนองและลูกหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบจำนวน ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้จำนองแต่ละคนยอมเข้ารับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ในอันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาภายในต้นเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ยที่ค้างชำระของต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น หาได้มีความหมายว่าจะต้องรับผิดชำระหนี้ที่ขาดจำนวนหลังจากบังคับจำนองซึ่งเท่ากับจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งจำนวนไม่