คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 733

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อใด? ผู้รับจำนองต้องรับผิดอย่างไร?
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2(ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตามแต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์ คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้ เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่า จำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ 1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มี การสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกัน ทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึง เป็นอันเลิกกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุด ในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์ บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะ ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิ พักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยัง บุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไป ทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่ เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง เท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนอง เป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน 56,000 บาท ทำให้ ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้น เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะ เป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนอง ในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนอง โดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สาม จะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตาม หนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวน หากบังคับจำนองแล้วได้เงิน ไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และความรับผิดของผู้รับโอนจำนอง
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกัน และมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2 (ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกันทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันเลิกกันในวันที่ 31ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุดในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน56,000 บาท ทำให้ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนองในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนองโดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สามจะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวนหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิบังคับคดีจำกัดเฉพาะทรัพย์จำนองหรือไม่
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมกำหนดไว้ว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ ให้ศาลพิพากษาสั่งให้ยึดที่ดินพิพาทซึ่งจำนองไว้และให้นำออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทน โดยไม่มีข้อความว่าหากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้โจทก์ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้ด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการบังคับจำนองทรัพย์สิน แม้หนี้ขาดอายุความแต่จำนองยังใช้บังคับได้
เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 27 กันยายน 2523 แล้ว โจทก์ยังคงยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินและจำเลยที่ 1 ก็นำเงินเข้าหักทอนบัญชีต่อมาอีกหลายครั้ง ถือว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาแต่ต่อมาปรากฏตามบัญชีว่า โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1ถอนเงินโดยการโอนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2526หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ดังนี้ แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ว่าไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และหลังจากโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ถอนเงินครั้งสุดท้ายดังกล่าวแล้ว ต่อมาโจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีในวันที่ 28 ตุลาคม 2526 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เป็นเงิน 1,878,616.82 บาทซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันสิ้นสุดลงในวันที่ 28 ตุลาคม 2526 โจทก์ย่อมบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2526 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 26 สิงหาคม 2537 ซึ่งเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กับที่ 3ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงขาดอายุความ จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประกันหนี้จำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ในวงเงิน 555,000 บาทและยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3จดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประกันหนี้จำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในวงเงิน 445,000 บาท และยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เมื่อบังคับจำนองเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมรับผิดใช้เงินที่ขาดจำนวนให้โจทก์จนครบ ดังนี้แม้หนี้ของจำเลยที่ 1ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำนองทรัพย์สินเป็นประกันจะขาดอายุความ แต่กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27และมาตรา 745 กล่าวคือโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองแม้เมื่อหนี้ที่จำนองเป็นประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังเกินกว่าห้าปีไม่ได้โจทก์จึงยังมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจำนองได้ แต่คงบังคับได้เฉพาะจากทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จำนองแก่โจทก์ไว้เท่านั้น จะบังคับจากทรัพย์สินอื่นอีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันสิ้นผลเมื่อมีการจำนองประกันทรัพย์สินแทน การฟ้องละเมิดอายุความ 10 ปี
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่าส.ลูกจ้างโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่อย่างไรผิดข้อบังคับอย่างไรและจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไรซึ่งเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ขาดหรือสูญหายไปซึ่งจำเลยผู้ค้ำประกันการทำงานของส.ต้องรับผิดดังนี้ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องส.กับพวกในคดีของศาลแรงงานกลางโดยบรรยายฟ้องว่าส. กับพวกเป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกิจการและดำเนินงานของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวคือมีหน้าที่เก็บรักษาตรวจสอบจัดทำทะเบียนคุมสินค้าและวัสดุของโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับแต่หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่เป็นเหตุให้สินค้าและวัสดุของโจทก์ขาดหรือสูญหายไปนับว่าเป็นมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานหาใช่เป็นมูลละเมิดอย่างเดียวไม่แต่มีมูลเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วยเมื่อสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปคืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30 เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมมีมติให้ส.ใช้บุคคลค้ำประกันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะจัดหาที่ดินมาจำนองเป็นประกันแทนต่อมาส. ได้จัดหาที่ดินมาจำนองแล้วโดยจำเลยที่2เป็นผู้นำที่ดินมาจำนองดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่1ทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นความผูกพันนับแต่จำเลยที่2นำที่ดินมาจำนองจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างและผู้ค้ำประกันจากการละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงาน
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่า ส.ลูกจ้างโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่อย่างไร ผิดข้อบังคับอย่างไร และจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไร ซึ่งเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป ซึ่งจำเลยผู้ค้ำประกันการทำงานของ ส.ต้องรับผิด ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้อง ส.กับพวกในคดีของศาลแรงงานกลาง โดยบรรยายฟ้องว่า ส.กับพวกเป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งผู้จัดการ มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกิจการและดำเนินงานของโจทก์ ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กล่าวคือ มีหน้าที่เก็บรักษาตรวจสอบ จัดทำทะเบียนคุมสินค้าและวัสดุของโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับ แต่หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ เป็นเหตุให้สินค้าและวัสดุของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป นับว่าเป็นมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่เป็นมูลละเมิดอย่างเดียวไม่ แต่มีมูลเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วย เมื่อสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป คือ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมมีมติให้ ส.ใช้บุคคลค้ำประกันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะจัดหาที่ดินมาจำนองเป็นประกันแทน ต่อมา ส.ได้จัดหาที่ดินมาจำนองแล้วโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำที่ดินมาจำนอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นความผูกพันนับแต่จำเลยที่ 2 นำที่ดินมาจำนองจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันสิ้นผลเมื่อมีการจำนองประกันแทน และอายุความฟ้องละเมิดระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้างใช้ อายุความ 10 ปี
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่า ส.ลูกจ้างโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่อย่างไร ผิดข้อบังคับอย่างไร และจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไร ซึ่งเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป ซึ่งจำเลยผู้ค้ำประกันการทำงานของ ส.ต้องรับผิดดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้อง ส.กับพวกในคดีของศาลแรงงานกลาง โดยบรรยายฟ้องว่าส. กับพวกเป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งผู้จัดการ มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกิจการและดำเนินงานของโจทก์ ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กล่าวคือมีหน้าที่เก็บรักษาตรวจสอบ จัดทำทะเบียนคุมสินค้าและวัสดุของโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับ แต่หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ เป็นเหตุให้สินค้าและวัสดุของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป นับว่าเป็นมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานหาใช่เป็นมูลละเมิดอย่างเดียวไม่ แต่มีมูลเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วย เมื่อสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป คือ อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมมีมติให้ ส.ใช้บุคคลค้ำประกันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะจัดหาที่ดินมาจำนองเป็นประกันแทน ต่อมา ส. ได้จัดหาที่ดินมาจำนองแล้วโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำที่ดินมาจำนอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นความผูกพันนับแต่จำเลยที่ 2นำที่ดินมาจำนองจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองบังคับชำระหนี้: ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาด หากสัญญาจำนองไม่ได้ระบุ
สัญญาจำนองไม่มีข้อความว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ลูกหนี้จึงไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา733 ปัญหาที่ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวนในกรณีบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในศาลชั้นต้นก็มีสิทธิยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์หนี้จำนอง: การบังคับคดีเกินกว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์เพียงแต่อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 5 รับผิดในหนี้ที่เหลือซึ่งเป็นหนี้สามัญ นอกเหนือไปจากหนี้จำนองที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในวงเงินต้น 2,000,000 บาท เท่านั้น โจทก์หาได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 5รับผิดในหนี้จำนองเพิ่มขึ้นไม่ ดังนั้น หากโจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว ก็ไม่อาจบังคับจำนองได้มากไปกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในหนี้จำนองจึงไม่มีเหตุที่จะให้งดการไถ่ถอนทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 5 ไว้ในระหว่างอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากการจำนองและการจำกัดสิทธิในการไถ่ถอนทรัพย์สินจำนองเมื่อมีการอุทธรณ์
โจทก์เพียงแต่อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่5รับผิดในหนี้ที่เหลือซึ่งเป็นหนี้สามัญนอกเหนือไปจากหนี้จำนองที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่5รับผิดในวงเงินต้น2,000,000บาทเท่านั้นโจทก์หาได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่5รับผิดในหนี้จำนองเพิ่มขึ้นไม่ดังนั้นหากโจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์แล้วก็ไม่อาจบังคับจำนองได้มากไปกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่5รับผิดในหนี้จำนองจึงไม่มีเหตุที่จะให้งดการไถ่ถอนทรัพย์จำนองของจำเลยที่5ไว้ในระหว่างอุทธรณ์
of 9