พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะ แม้ยังไม่แก้โฉนดและไม่ถึง 10 ปี กีดกันกลับไม่ได้ ผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
อุทิศที่ดินให้แก่ทางราชการใช้ทำเป็นถนนและทางสาธารณะแม้จะยังไม่ได้แก้โฉนดและยังใช้เป็นถนนและทางสาธารณะไม่ถึง 10 ปีก็ตาม ที่ดินนั้นก็เป็นทางสาธารณะแล้ว จะกีดกันเอากลับมาเป็นของตนอีกไม่ได้
ปลูกสร้างรุกล้ำทางหลวง อำเภอมีคำสั่งห้ามแล้วยังขัดขืนไม่รื้อถอนออกไปโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจำเลยย่อมต้องมีผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2) ที่โจทก์ขอให้ลงโทษ
ปลูกสร้างรุกล้ำทางหลวง อำเภอมีคำสั่งห้ามแล้วยังขัดขืนไม่รื้อถอนออกไปโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจำเลยย่อมต้องมีผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2) ที่โจทก์ขอให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายอำเภอในการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ แม้มีกฎหมายให้อำนาจผู้ว่าฯ สูงกว่า
ที่สาธารณะประโยชน์เดิมเป็นอำนาจและหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะตรวจตรารักษาตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา122 ต่อมาอำนาจหน้าที่นี้ได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอโดย พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 วรรคสามและไม่มีข้อความแห่งใดใน พระราชบัญญัตินี้เพิกถอนอำนาจนายอำเภอที่มีอยู่ตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ดังกล่าว(พ.ศ.2457)ดังนี้เมื่อนายอำเภอสั่งให้จำเลยออกไปจากที่สาธารณะประโยชน์จำเลยขัดขืนก็มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา มาตรา334(2)(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/98)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจออกคำสั่งของปลัดอำเภอ: ปลัดอำเภอไม่มีอำนาจออกคำสั่งแทนนายอำเภอหากนายอำเภอยังปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ
เมื่อไม่ปรากฏว่านายอำเภอไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามปกติและปลัดอำเภอได้รักษาราชการแทนปลัดอำเภอนั้นย่อมไม่มีอำนาจที่จะออกคำสั่งตาม มาตรา122 พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ได้จำเลยขัดขืนคำสั่งปลัดอำเภอจึงไม่เป็นความผิด กฎหมายอาญามาตรา 334(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ประโยชน์ที่ชายตลิ่งสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน การขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
ที่ชายตลิ่ง ซึ่งฤดูน้ำ น้ำท่วมถึงทุกปีนั้น เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2) เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอจะต้องคอยตรวจตรารักษาอย่าให้ผู้ใดกีดกันเอาไปเป็นประโยชน์แต่เฉพาะตัวตาม พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 122
ฉะนั้นเมื่อกรมการอำเภอมีคำสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดปลูกผักบนที่ชายตลิ่งตรงหน้าที่ดินของผู้อื่น จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายผู้ใดยังฝ่าฝืนคำสั่ง ก็ย่อมมีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2)
ฉะนั้นเมื่อกรมการอำเภอมีคำสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดปลูกผักบนที่ชายตลิ่งตรงหน้าที่ดินของผู้อื่น จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายผู้ใดยังฝ่าฝืนคำสั่ง ก็ย่อมมีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ประโยชน์จากที่ชายตลิ่งสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน และความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
ที่ชายตลิ่ง ซึ่งฤดูน้ำ น้ำท่วมถึงทุกปีนั้น เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1304 (2) เป็นหน้า
ที่ของกรมการอำเภอจะต้องคอยตรวจตรารักษาอย่าให้ผู้ใดกีดกันเอาไปเป็นประโยชน์แต่เฉพาะตัว ตาม พ.ร.บ.
ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122.
ฉะนั้นเมื่อกรมการอำเภอมีคำสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดปลูกผักบนที่ชายตลิ่งตรงหน้าที่ดินของผู้อื่น จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วย
กฎหมาย ผู้ใดยังฝ่าฝืนคำสั่ง ก็ย่อมมีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะมาตรา 334(2) .
ที่ของกรมการอำเภอจะต้องคอยตรวจตรารักษาอย่าให้ผู้ใดกีดกันเอาไปเป็นประโยชน์แต่เฉพาะตัว ตาม พ.ร.บ.
ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122.
ฉะนั้นเมื่อกรมการอำเภอมีคำสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดปลูกผักบนที่ชายตลิ่งตรงหน้าที่ดินของผู้อื่น จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วย
กฎหมาย ผู้ใดยังฝ่าฝืนคำสั่ง ก็ย่อมมีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะมาตรา 334(2) .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดขวางการซ่อมแซมเหมืองสาธารณะและการขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
การที่จำเลยไม่ยอมให้ใครเข้าไปซ่อมเหมืองสาธารณะ ซึ่งคันเหมืองถูกทำลายเป็นเหตุให้น้ำไม่ไหลไปตามลำเหมืองไปสู่นาของราษฎรตามปกตินั้น กรมการอำเภอย่อมมีอำนาจตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 122 ที่จะสั่งให้จำเลยเลิกถอนการบุกรุกเหมืองนี้ได้เมื่อสั่งแล้วจำเลยบังอาจขัดขืนโดยยึดถือเอาเหมืองนั้นเป็นที่ของตนเสีย ไม่ยอมให้ผู้ใดเข้าไปซ่อม หรือทำเหมืองให้น้ำไหลไปตามปกติแล้ว จำเลยก็ย่อมมีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 334(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการดำเนินคดีอาญาเมื่อข้อพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดินยังไม่สิ้นสุด และการโต้แย้งสิทธิในที่ดินในทางแพ่ง
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยขัดคำสั่งนายอำเภอที่สั่งให้จำเลยออกจากหนองสาธารณะตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334(2) จำเลยต่อสู้ว่า ที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ หากเป็นที่ของจำเลยมีกรรมสิทธิ
ศาลชั้นต้นฟังว่า ที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ จึงพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นหนองสาธารณะ แต่คงเห็นว่าจำเลยไม่ผิดในทางอาญา จึงพิพากษายืนให้ยกฟ้อง ดังนี้ดดจำเลยจะฎีกาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ว่าที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ โดยเห็นว่าประเด็นข้อขัดคำสั่งทางอาญานั้นได้ยุติลงแล้วคู่ความชอบที่จะโต้แย้งกันในทางแพ่งได้ว่า หนองพิพาทเป็นหนองสาธารณะหรือไม่
ศาลชั้นต้นฟังว่า ที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ จึงพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นหนองสาธารณะ แต่คงเห็นว่าจำเลยไม่ผิดในทางอาญา จึงพิพากษายืนให้ยกฟ้อง ดังนี้ดดจำเลยจะฎีกาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ว่าที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ โดยเห็นว่าประเด็นข้อขัดคำสั่งทางอาญานั้นได้ยุติลงแล้วคู่ความชอบที่จะโต้แย้งกันในทางแพ่งได้ว่า หนองพิพาทเป็นหนองสาธารณะหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยคดีอาญา: การโต้แย้งสถานะที่ดินในคดีขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยขัดคำสั่งนายอำเภอที่สั่งให้จำเลยออกจากหนองสาธารณะตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2) จำเลยต่อสู้ว่า ที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ หากเป็นที่ของจำเลยมีกรรมสิทธิ์
ศาลชั้นต้นฟังว่าที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ จึงพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นหนองสาธารณะ แต่คงเห็นว่าจำเลยไม่ผิดในทางอาญา จึงพิพากษายืนให้ยกฟ้อง ดังนี้ จำเลยจะฎีกาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ว่าที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ โดยเห็นว่าประเด็นข้อขัดคำสั่งทางอาญานั้นได้ยุติลงแล้วคู่ความชอบที่จะโต้แย้งกันในทางแพ่งได้ว่า หนองพิพาทเป็นหนองสาธารณะหรือไม่
ศาลชั้นต้นฟังว่าที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ จึงพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นหนองสาธารณะ แต่คงเห็นว่าจำเลยไม่ผิดในทางอาญา จึงพิพากษายืนให้ยกฟ้อง ดังนี้ จำเลยจะฎีกาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ว่าที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ โดยเห็นว่าประเด็นข้อขัดคำสั่งทางอาญานั้นได้ยุติลงแล้วคู่ความชอบที่จะโต้แย้งกันในทางแพ่งได้ว่า หนองพิพาทเป็นหนองสาธารณะหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายอำเภอสั่งรื้อการบุกรุกหนองน้ำสาธารณะ และความผิดตามกฎหมายอาญา
หนองน้ำที่เป็นที่สาธารณะประโยชน์สำหรับราษฎรใช้ด้วยกันและอยู่ในหน้าที่กรมการอำเภอตรวจตรารักษาไม่ให้ผู้ใดเกียดกันเอาไปเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัวตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 นั้น นายอำเภอย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้ที่ทำการบุกรุกหนองน้ำนั้นให้เลิกทำการบุกรุกได้ ถ้าผู้นั้นขัดขืน ก็ต้องมีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334 ข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายอำเภอในการสั่งให้เลิกบุกรุกหนองสาธารณะประโยชน์ และความผิดต่อ ก.ม.ลักษณะอาญา
หนองน้ำที่เป็นที่สาธารณะประโยชน์สำหรับราษฎรใช้ด้วยกันและอยู่ในหน้าที่กรมการอำเภอตรวจตรารักษาไม่ให้ผู้ใดเกียดกันเอาไปเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัว ตามความในมาตรา 122 แห่ง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 นั้น นายอำเภอย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้ที่ทำการบุกรุกหนองน้ำนั้นให้เลิกทำการบุกรุกได้ ถ้าผู้นั้นขัดขืน ก็ต้องมีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334 ข้อ 2