พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหา: การรวบรวมหลักฐาน vs. การขัดขืนคำสั่ง
ฟ้องว่า จำเลยบังอาจขัดขืนไม่กระทำตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ที่สั่งให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือของจำเลยในฐานะเป็นผู้ต้องหา ไม่มีข้อความว่าเพื่อตรวจสอบว่าเคยต้องโทษมาแล้วหรือไม่ดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการสั่งเพื่อรวบรวมหลักฐาน ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 131,132 คงฟังได้เพียงเป็นเรื่อง ตามมาตรา 11 ฉะนั้นจึงยังไม่เป็นผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรามาตรา 334 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดขืนคำสั่งพิมพ์ลายนิ้วมือ: ไม่ถือเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน
ฟ้องว่า จำเลยบังอาจขัดขืนไม่กระทำตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ที่สั่งให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือของจำเลยในฐานะเป็นผู้ต้องหา ไม่มีข้อความว่าเพื่อตรวจสอบว่าเคยต้องโทษมาแล้วหรือไม่ ดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการสั่งเพื่อรวบรวมหลักฐาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 131,132 คงฟังได้เพียงเป็นเรื่อง ตามมาตรา11 ฉะนั้นจึงยังไม่เป็นผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานในการห้ามใช้ประโยชน์ที่สาธารณะประโยชน์ และความผิดฐานขัดคำสั่ง
นายอำเภอได้ประกาศและมีคำสั่งห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดทำนาหรือทำประโยชน์ใดรุกล้ำเข้าไปในเขตบึงแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่สาธารณะประโยชน์และหวงห้ามรักษาพืชพันธ์สัตว์น้ำนั้น ถือว่าเป็นคำสั่ง อันชอบด้วยกฎหมายตามความใน พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ 2457 มาตรา 122 ผู้ใดฝ่าฝืนย่อมเป็นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งห้ามทำประโยชน์ในที่สาธารณะ: ความชอบด้วยกฎหมายและการฝ่าฝืน
นายอำเภอได้ประกาศและมีคำสั่งห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดทำนาหรือทำประโยชน์ใดรุกล้ำเข้าไปในเขตบึงแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่สาธารณะประโยชน์และหวงห้ามรักษาพืชพันธุ์สัตว์น้ำนั้น ถือว่าเป็นคำสั่ง อันชอบด้วยกฎหมายตามความในพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 122 ผู้ใดฝ่าฝืนย่อมเป็นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหา: ต้องแสดงเจตนาเพื่อตรวจสอบประวัติหรือสอบสวนหลักฐาน
ฟ้องกล่าวว่าจำเลยขัดคำสั่งของพนักงานสอบสวน ไม่ยอมพิมพ์ลายนิ้วมือของจำเลยลงในแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือในฐานะเป็นผู้ต้องหาในคดีผิด พระราชบัญญัติยาสูบ ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2) เพียงเท่านี้ ยังไม่พอจะให้เข้าใจว่าเป็นการสั่งให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบเรื่องเคยต้องโทษหรือว่าเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนหลักฐาน อันเป็นข้อสาระสำคัญ ที่จะแสดงว่า ได้สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132 ฉะนั้นจึงยังลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหา: จำเป็นต้องระบุวัตถุประสงค์ของการสั่งตามกฎหมายหรือไม่
ฟ้องกล่าวว่าจำเลยขัดคำสั่งของพนักงานสอบสวน ไม่ยอมพิมพ์ลายนิ้วมือของจำเลยลงในแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือในฐานะเป็นผู้ต้องหาในคดีผิด พ.ร.บ.ยาสูบ ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334 (2) เพียงเท่านี้ ยังไม่พอจะให้เข้าใจว่าเป็นการสั่งให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบเรื่องเคยต้องโทษหรือว่าเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนหลักฐานอันเป็นข้อสาระสำคัญ ที่จะแสดงว่า ได้สั่งตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 132 ฉะนั้นจึงยังลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดขืนหมายเรียกพนักงานสอบสวน: กฎหมายลักษณะพยานถูกยกเลิกโดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พ.ร.บ.ลักษณะพยาน ร.ศ.113 มาตรา 48(5) เรื่องพยานขัดหมายเรียกของพนักงานสอบสวนนั้น ถือได้ว่าได้ถูกยกเลิกโดยพ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.2477 มาตรา4 และมาตรา 3 กฎหมายอาญาแล้ว เพราะได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ประกอบด้วยมาตรา334(2) กฎหมายอาญา
พยานที่ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวนคือไม่ยอมไปเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนนั้น ย่อมมีผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2) (รูปคดีไม่ตรงกับฎีกาที่ 1140/2481)
พยานที่ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวนคือไม่ยอมไปเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนนั้น ย่อมมีผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2) (รูปคดีไม่ตรงกับฎีกาที่ 1140/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกกฎหมายเก่าเกี่ยวกับการขัดขืนหมายเรียกพยาน และความผิดตามกฎหมายอาญา
พ.ร.บ.ลักษณะพยาน ร.ศ. 113 มาตรา 48(5) เรื่องพยานขัดหมายเรียกของพนักงานสอบสวนนั้น +ได้ว่าให้ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวล ก.ม.พิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 มาตรา 4 และมาตรา 3 +เพราะได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 133 ประกอบด้วยมาตรา 304(2) กฎหมายอาญา
พยานที่ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวนคือไม่ยอมเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนนั้น ย่อมมีผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334(2)
(รูปคดีไม่ตรงกับฎีกาที่ 1140/2481)
พยานที่ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวนคือไม่ยอมเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนนั้น ย่อมมีผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334(2)
(รูปคดีไม่ตรงกับฎีกาที่ 1140/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำสั่งเลิกกระทำ – ไม่รวมถึงการรื้อถอน/คืนสภาพเดิม
การที่เจ้าพนักงานสั่งให้จำเลยเลิกทำนาและขุดบ่อปลานั้นไม่กินความถึงว่าให้จำเลยทำให้ทรัพย์คืนสภาพเดิม ฉะนั้นการที่จำเลยหยุดทำนาและขุดบ่อปลาแต่ไม่ได้ทำให้คืนสภาพเดิม จึงไม่มีผิดฐานขัดคำสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินทำกินก่อนมีคำสั่งสาธารณะประโยชน์ และเจตนาขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงาน
ในเรื่องขอให้ลงโทษฐานตัดไม้ประเภทหวงห้ามโจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นว่า ที่ที่ตัดไม้นั้นเป็นที่ป่า
ในเรื่องความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานนั้น จำเลยจะต้องรู้ว่า คำสั่งนั้นชอบด้วยกฎหมาย และมีเจตนาขัดขืนจึงจะมีความผิด
ในเรื่องความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานนั้น จำเลยจะต้องรู้ว่า คำสั่งนั้นชอบด้วยกฎหมาย และมีเจตนาขัดขืนจึงจะมีความผิด