คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 127

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763-766/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การ ‘ตั้งบ้านเรือน’ ตามกฎหมายเทศบาล พิจารณาจาก ‘ที่อยู่เป็นปกติ’ ในเขตเทศบาล แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน
คำว่า ตั้งบ้านเรือนตามความหมายของ พ.ร.บ.เทศบาล 2486 หรือ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2492 นั้น ต้องตีความว่า มีความหมายตลอดไปถึงบุคคลที่อยู่ในเคหะสถานบ้านเรือนของผู้อื่นด้วย จะหมายเฉพาะแต่ผู้เป็นเจ้าของบ้านของตนเองเท่านั้นหาได้ไม่ ฉะนั้นการตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาลตามกฎหมายเกี่ยวกับเทศบาล จึงมีความหมายเกียวกับการเทศบาล จึงมีความหมายถึงการที่บุคคลมีที่อยู่เป็นปรกติในเคหะสถานใด ๆ ในเขตเทศบาลนั่นเอง ซึ่งย่อมตรงกับคำว่าเจ้าบ้านและผู้อยู่ในบ้าน ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาล พ.ศ.2479
การที่มีชื่อผู้ใดเป็นผู้อยู่ในบ้านตามทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาลนั้น ย่อมเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า ผู้นั้นได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาลนั้น ฉะนั้นเพียงแต่ได้ความว่า ผู้นั้นไปได้ภรรยาที่ตำบลอื่นหรือไปมีบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลอื่นโดยมิได้ความว่าผู้นั้นได้ละทิ้งที่อยู่เดิมในเขตเทศบาลตามที่ปรากฎในทะเบียนราษฎรเป็นที่อยู่ต่อไปแล้ว ก็จะฟังเป็นข้อพิศูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้วไม่ได้ จึงต้องฟังว่าผู้นั้นยังมีที่อยู่ในเขตเทศบาลอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763-766/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ ‘ตั้งบ้านเรือน’ ในกฎหมายเทศบาล: ที่อยู่ถาวรในเขตเทศบาลคือหลักเกณฑ์
คำว่า ตั้งบ้านเรือนตามความหมายของ พระราชบัญญัติเทศบาล 2486หรือ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2492 นั้นต้องตีความว่า มีความหมายตลอดไปถึงบุคคลที่อยู่ในเคหสถานบ้านเรือนของผู้อื่นด้วยจะหมายเฉพาะแต่ผู้เป็นเจ้าของบ้านของตนเองเท่านั้นหาได้ไม่ฉะนั้นการตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาลตามกฎหมายเกี่ยวกับการเทศบาลจึงมีความหมายถึงการที่บุคคลมีที่อยู่เป็นปรกติในเคหสถานใดๆ ในเขตเทศบาลนั่นเองซึ่งย่อมตรงกับคำว่าเจ้าบ้านและผู้อยู่ในบ้าน ตาม พระราชบัญญัติ การทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาล พ.ศ.2479
การที่มีชื่อผู้ใดเป็นผู้อยู่ในบ้านตามทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาลนั้นย่อมเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า ผู้นั้นได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาลนั้นฉะนั้นเพียงแต่ได้ความว่าผู้นั้นไปได้ภรรยาที่ตำบลอื่นหรือไปมีบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลอื่นโดยมิได้ความว่าผู้นั้นได้ละทิ้งที่อยู่เดิมในเขตเทศบาลตามที่ปรากฏในทะเบียนราษฎร เป็นที่อยู่ต่อไปแล้ว ก็จะฟังเป็นข้อพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้วไม่ได้จึงต้องฟังว่าผู้นั้นยังมีที่อยู่ในเขตเทศบาลอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงิน: สัญญาที่ระบุการรับเงินแล้ว ผู้กู้ต้องพิสูจน์การไม่ได้รับเงิน
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระเงินกู้ตามสัญญากู้ จำเลยให้การรับว่าได้ลงชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญาจริง แต่ไม่ได้รับเงินไปสัญญากู้ไม่สมบุรณ์ตามกฎหมายดังนี้ เมื่อในสัญญากู้ข้อ 1 มีความชัดว่าจำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว ก็ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยได้รับเงินไปตามสัญญาแล้ว ฉะนั้นเมื่อจำเลยมีข้อต่อสู้อย่างใดที่จะหักล้างได้ก็ต้องเป็นหน้าที่จำเลยนำสืบเพราะถ้าไม่มีการสืบกันแล้ว ข้อเท็จจริงก็อันเป็นอันยุติว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ และรับเงินไปตามที่ปรากฎในสัญญานั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน: การสันนิษฐานการได้รับเงิน และหน้าที่การนำสืบของจำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระเงินกู้ตามสัญญากู้ จำเลยให้การรับว่าได้ลงชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญาจริง แต่ไม่ได้รับเงินไปสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ดังนี้ เมื่อในสัญญากู้ข้อ 1 มีความชัดว่าจำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนแล้วก็ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยได้รับเงินไปตามสัญญาแล้วฉะนั้นเมื่อจำเลยมีข้อต่อสู้อย่างใดที่จะหักล้างได้ก็ต้องเป็นหน้าที่จำเลยนำสืบ เพราะถ้าไม่มีการสืบกันแล้วข้อเท็จจริงก็อันเป็นอันยุติว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์และรับเงินไปตามที่ปรากฏในสัญญานั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1796-1797/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินด้วยการครอบครองปรปักษ์ จำเป็นต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของ
ฟ้องขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิในที่ดินมีโฉนดโดยอ้างว่าฝ่ายจำเลยผู้มีชื่อในโฉนดได้ขายให้โดยไม่ได้ทำหนังสือ สัญญากันแต่ได้มอบโฉนดและที่ดินให้ฝ่ายโจทก์ปกครองมาเกิน 10 ปึแล้ว
จำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้ขายเป็นแต่กู้เงิน ฝ่ายโจทก์มาแล้วมอบโฉนดให้ยึดถือมอบนาให้ทำต่างดอกเบี้ยดังนี้ เป็นหน้าที่ฝ่ายโจทก์จะต้องนำสืบก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1796-1797/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ครอบครองต้องพิสูจน์เจตนาเป็นเจ้าของ
ฟ้องขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนด โดยอ้างว่าฝ่ายจำเลยผู้มีชื่อในโฉนดได้ขายให้โดยไม่ได้ทำหนังสือสัญญากัน แต่ได้มอบโฉนดและที่ดินให้ฝ่ายโจทก์ปกครองมาเกิน 10 ปีแล้ว
จำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้ขาย เป็นแต่กู้เงิน ฝ่ายโจทก์มาแล้วมอบโฉนดให้ยึดถือมอบนาให้ทำต่างดอกเบี้ย ดังนี้เป็นหน้าที่ฝ่ายโจทก์จะต้องนำสืบก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตเทศบาลกับการคุ้มครองค่าเช่า: ศาลหยิบยก พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าได้ แม้ไม่ได้ยกขึ้นเป็นประเด็นหลัก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าพิพาท เมื่อปรากฎข้อความในฟ้องทำให้เข้าใจได้ว่าจำเลยอยู่ในห้องเช่าพิพาทหนี้และตามคำให้การของจำเลยก็บอกไว้ว่า จำเลยตั้งบ้านเรือนอยู่ในตำบลเขตต์เทศบาล ดังนี้ ก็พอฟังได้ว่าห้องพิพาทกันนี้อยู่ในเขตต์เทศบาลและจำเลยยังกล่าวในคำให้การว่า โจทก์ขึ้นค่าเช่ามีเจตนาฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯลฯ จำเลยจึงปฏิเสธ ดังนี้พอฟังได้ว่าจำเลยกล่าวอ้างขอความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯลฯ แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716-717/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์, เงื่อนไขการโอน, การซื้อขาย, การครอบครอง, ฟ้องแย้ง
ทะเบียนรถยนต์ไม่เหมือนโฉนดที่ดิน ซึ่งเป็นเอกสารอันเป็นที่ตั้งแห่งกรรมสิทธิ์ทะเบียนรถยนต์เป็นแต่พยานหลักฐานอย่างหนึ่ง ที่แสดงว่าผู้มีชื่อเป็นเจ้าของรถ
การซื้อขายรถยนต์ โดยฝ่ายผู้ซื้อรับมอบรถไป และต่างตกลงกันว่าฝ่ายผู้ซื้อจะต้องชำระราคาให้หมดเสียก่อนผู้ขายจึงจะโอนทะเบียนให้นั้นเป็นเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ซึ่งกรรมสิทธิ์ในรถยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ
เงินประมูลราคาทรัพย์สินพิพาทซึ่งฝ่ายที่ประมูลได้นำเงินมาวางศาลไว้โดยมีข้อตกลงกันว่า 'ในที่สุดใครชนะคดีก็มีสิทธิได้เงินนั้นไป' นั้นหมายถึงชนะคดีเมื่อคดีถึงที่สุด เมื่อคู่ความตกลงกันใหม่ในศาลดังกล่าวแล้วแม้การยึดจะได้ทำตามมาตรา 254 ก็ต้องถือว่าเรื่องได้ผ่านมาตรา 254 ไปแล้วจะนำมาตรา 260 มาใช้เพื่อถอนการยึดคืนเงินให้จำเลยไปทันทีไม่ได้
ชั้นฎีกาหากคู่ความมิได้ยกประเด็นข้อใดโต้เถียงศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
จำเลยซึ่งฟ้องแย้งด้วยนั้น หากแพ้คดีนอกจากจะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมที่แพ้คดีตามฟ้องโจทก์แล้ว ศาลให้จำเลยที่ฟ้องแย้งต้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมโจทก์ในกรณีที่ฟ้องแย้งถูกยกฟ้องนั้นด้วยอีกส่วนหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์และการพิสูจน์ปีที่หย่าขาดจากกัน
ผู้ที่ได้รับยกให้ที่ดินและครอบครองมา ย่อมแสดงว่าได้ครอบครองที่ดินในฐานะเป็นเจ้าของโดยสงบและเปิดเผยเมื่อเกิน 10 ปี ก็ได้กรรมสิทธิ์
เมื่อวินิจฉัยว่า ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองก็ไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยว่า การยกให้แต่แรกนั้นจะมีหนังสือหรือไม่
เอกสารบันทึกของเจ้าพนักงาน ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับให้ศาลต้องรับฟังเด็ดขาดนั้น เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้โต้เถียงอยู่ว่าเจ้าพนักงานเทียบปีและบันทึกปีผิดไป ดังนี้ ฝ่ายนั้นย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าความจริงเป็นปีใดแน่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์ และการโต้แย้งปีที่หย่าขาดจากกัน
ผู้ที่ได้รับยกให้ที่ดินและครอบครองมา ย่อมแสดงว่าได้ครอบครองที่ดินในฐานะเป็นเจ้าของโดยสงบและเปิดเผย เมื่อเกิน 10 ปี ก็ได้กรรมสิทธิ์
เมื่อวินิจฉัยว่า ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยครอบคอรงก็ไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยว่า การยกให้แต่แรกนั้นจะมีหนังสือหรือไม่
เอกสารบันทึกของเจ้าพนักงาน ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับให้ศาลต้องรับฟังเด็ดขาดนั้น เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้โต้เถียงอยู่ว่าเจ้าพนักงานเทียบปีและบันทึกปีผิดไป ดังนี้ ฝ่ายนั้นย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าความจริงเป็นปีใดแน่
of 18